วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์

ดูทั้งหมด

  •  

การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ จะต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ก่อนที่จะไปถึงการตรวจเพิ่มเติมทางห้องแล็บ เอกซเรย์ หรือวิธีการอื่นๆ

การซักประวัติจะต้องเริ่มต้นจากประวัติปัจจุบัน คือ ผู้ป่วยมาด้วยอาการอะไร เช่น ปวดท้อง เริ่มปวดเมื่อไหร่ กี่ชั่วโมง กี่วันแล้ว อาการปวดเป็นอย่างไร ปวดตื้อๆ จี๊ดๆ เป็นพักๆ หรือปวดตลอด ปวดแบบบีบๆ (colic) ปวดมาก ปวดน้อย อาการปวดร้าวไปไหนมีอะไรทำให้มีอาการปวด เช่น หิวข้าวทำให้ปวด เดินทำให้ปวด มีอะไรทำให้อาการปวดแย่ลง มีอะไรทำให้อาการปวดดีขึ้น เช่น กินข้าวหรือหยุดเดิน นอกจากอาการปวดแล้วมีอาการอะไรร่วมด้วยหรือไม่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ประจำเดือนมาไม่มา ผิดปกติ น้ำหนักลด ฯลฯ


แพทย์ยังต้องถามว่าเคยเป็นมาก่อนไหม เป็นครั้งแรกเมื่อไหร่ เคยไปหาแพทย์หรือไม่ มีประวัติปวดท้องแบบนี้ในครอบครัวไหม คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ไหม มีโรคอะไรบ้างถ้าเสียชีวิตแล้วเสียจากโรคอะไร

ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือไม่ อะไรบ้าง เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ กินยาอะไรอยู่ มากน้อยแค่ไหน

และต้องถามทั่วๆ ไปด้วย เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ การออกกำลังกาย น้ำหนักเพิ่มหรือลด การขับถ่ายอุจจาระเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงไหม ปกติคนเราจะถ่ายวันละ 3 ครั้งจนถึง 3 วันครั้ง แต่ต้องถ่ายแบบนี้มานานแล้ว ถ้าเปลี่ยนจากนี้อาจถือว่าผิดปกติแล้ว เช่น เคยถ่ายวันละ 3 ครั้ง แต่ระยะหลังถ่ายวันละครั้ง ควรไปปรึกษาแพทย์ได้แล้ว

มีการใช้สารเสพติดหรือไม่ มีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ถ้ามีอย่างปลอดภัยไหม มีการกินยาเองหรือไม่ ไม่ว่าเป็นยาไทย จีน สมุนไพร รวมทั้งกัญชา ฯลฯ ในอดีตเคยเป็นโรคอะไรบ้าง สรุปก็คือต้องการ Present history-ประวัติปัจจุบัน, Past history-ประวัติโรคภัยไข้เจ็บในอดีต, Personal history-ประวัติส่วนตัว, Family history-ประวัติครอบครัว รวมทั้งอารมณ์ด้วย ความเครียด ความกังวล มีงานอดิเรกหรือไม่ ครอบครัว สามีภรรยา พ่อแม่ บุตรมีหรือไม่ เป็นอย่างไร

จากการซักประวัติอย่างละเอียดนี้ จะสามารถช่วยทำให้แพทย์รู้ทิศทางของโรค เช่นจะเป็นโรคระบบไหน หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ประสาท รวมทั้งสามารถวินิจฉัยโรคได้เกินครึ่ง ฯลฯ หลังจากนั้นแพทย์จึงจะต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายแบบละเอียดแบ่งกว้างๆ ออกเป็น 4 อย่าง คือ 1) general appearance-การดูรูปร่างหน้าตาทั่วๆ ไป เช่น เป็นชายไทย จีน ฝรั่งแขก ฯลฯ สมอายุ หรืออ่อน แก่ กว่าวัย ท่าทางสบายดี หรือไม่สบาย หน้าตากังวล หน้าซีด แดง หอบ แสดงอาการปวด ผอมแห้ง แก้มตอบ ตาโปน (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) มีหนังตาตก ฯลฯ 2) vital signs คือ สัญญาณชีพที่สำคัญคือ ความดันโลหิต ชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย 3) การตรวจร่างกายทั้งตัว แต่จากการซักประวัติที่ได้จากผู้ป่วยแพทย์อาจตรวจอย่างละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้นกว่าปกติ ในระบบที่แพทย์สงสัยว่าเป็นโรค

จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย สามารถช่วยทำให้แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร หรืออย่างน้อยระบบอะไร เช่น ระบบประสาท ระบบหัวใจ ปอด ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ โลหิต ฯลฯ การตรวจเพิ่มเติมควรตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช่เหวี่ยงแหไปหมดควรเริ่มต้นจากวิธีการที่น่าจะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเท่านั้น และใช้วิธีตรวจจากง่ายไปยาก จากถูกไปแพง จากไม่เจ็บตัวไปเจ็บตัว เช่น อาจตรวจปัสสาวะ ถ้าสงสัยโรคไต การตรวจปัสสาวะสามารถช่วยบอกอะไรได้มากมาย เช่น ดูว่ามีเม็ดเลือดแดง ขาว โปรตีน น้ำตาล เชื้อโรคหรือไม่ การตรวจปัสสาวะเป็นวิธีการตรวจหาโรคไตแบบง่ายที่สุด เช่น ถ้ามีโปรตีน ถ้ามีเม็ดเลือดแดงขาวอาจนึกถึงการติดเชื้อ การมีนิ่ว การมีมะเร็ง การตรวจพบน้ำตาลอาจเป็นโรคเบาหวาน หรือไม่เป็น แต่เป็นภาวะที่ไตไม่สามารถดูดน้ำตาลเก็บไว้ในร่างกายได้

ขั้นต่อไปจึงตรวจเลือดเช่นกัน ไม่เหวี่ยงแห ตรวจเลือดเฉพาะที่จำเป็น เช่น สงสัยโรคตับก็ตรวจการทำงานของตับ คือ liver function test, LFT ซึ่งประกอบด้วย bilirubin (total, direct) alkaline phosphatase, SGOT, SGPT albumin, globulin, PT time, INR แต่ในกรณีที่สงสัยโรคตับที่เป็นมากอาจสั่งตรวจ CBC-complete blood count ด้วย อาจพบว่ามีโลหิตจาง หรือมีเกล็ดเลือดต่ำ (ในรายที่เป็นมาก เป็นถึงขั้นโรคตับแข็ง)

ส่วนการตรวจเลือด แล็บ เอกซเรย์อื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์สงสัยอะไร การตรวจทั้งหมดตามที่กล่าวมานี้ต้องใช้เวลานาน เช่น 30 นาที ซึ่งแพทย์ทุกแห่งมักไม่มีเวลา ทั้งนี้เพราะประเทศไทย ในมุมมองของผม ยังขาดแพทย์อีกมาก ประเทศอังกฤษมีแพทย์มากกว่าเรา 3-4 เท่า ยังบอกว่ามีแพทย์ไม่พอ ผมถึงอยากให้รัฐบาล หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ผลิตแพทย์ ผู้ใช้แพทย์ ผู้ให้งบในการผลิตมาพบกันอย่างเอาจริงเอาจังว่าประเทศไทยควรมีแพทย์ 1 คนต่อประชากรเท่าใด ขณะนี้ถ้านับแพทย์ทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา ไม่ว่าจะยังทำหน้าที่เป็นแพทย์หรือไม่ อาจมีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน แต่การกระจายยังไม่ดี เช่นใน กทม. ปริมณฑล เมืองใหญ่ต่างๆ มีแพทย์มาก แต่ชนบทขาดมาก เราต้องผลิตให้พอ กระจายให้ได้และรักษาแพทย์เหล่านี้ไว้ในระบบด้วยการมีสวัสดิการที่ดี เหมาะสม ไม่ใช่เป็นการบังคับ

วันหลังจะคุยต่อเรื่องกำลังคนทางด้านสาธารณสุข ครับ

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:25 น. ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
09:15 น. 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
09:06 น. รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
09:06 น. ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568
08:59 น. 'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

'แพรรี่'เทศน์พระเอี่ยวสีกา สึกออกมาก็แค่ตาแก่คนหนึ่ง สีกาก็ร้ายไปเป็นเปรตแน่นอน

'ทรัมป์'ร่อนจดหมายภาษีอีก8ประเทศ 'บราซิล'อ่วมเจอรีดภาษีนำเข้า50%เซ่นปม'โบลโซนาโร'

'สมเด็จฮุน เซน'กลัวมากถ้า'คนไทย'จะรักตนเอง แซะเจ็บไทยควรโฟกัสผู้นำตัวเองดีกว่า

  • Breaking News
  • ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
  • \'กอบศักดิ์\' ฟันธง \'ภาษีทรัมป์\' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่ 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
  • รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง \'ก๊ก อาน\' รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
  • ยิปซีพยากรณ์\'ดวงรายวัน\'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568 ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568
  • \'มทภ.2\' นำสิ่งของพระราชทาน จาก\'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ\' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา 'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

6 ก.ค. 2568

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

29 มิ.ย. 2568

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

15 มิ.ย. 2568

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

8 มิ.ย. 2568

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

25 พ.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม

ชีวิตประจำวันของผม

18 พ.ค. 2568

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved