วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559, 02.00 น.
เที่ยวไทยมีเฮ...‘ทศกัณฐ์’มีฮือ!

ดูทั้งหมด

  •  

หลายวันมานี้ หากใครติดตามเฟซบุ๊ค “ปู-จิตกร บุษบา” จะพบว่า ผมก็เหมือนกับคนไทยอีกหลายๆ คน ที่หมกมุ่น คร่ำเคร่ง กับการหาคำตอบในปรากฏการณ์ “วิวาทะ” ว่าด้วยมิวสิกวีดีโอเพลง “เที่ยวไทยมีเฮ” ซึ่งจับเอาตัวละครจาก “รามเกียรติ์” คือ ทศกัณฐ์ มาใช้เป็นตัวเดินเรื่อง นำไปสู่บรรยากาศฮาเฮตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของไทย ว่าเราควรจะมองเรื่องนี้อย่างไร

ก่อนอื่น ผมเห็นปฏิกิริยาของคนในสังคม 4 แบบ คือ 1.ไม่เห็นด้วยที่เอาทศกัณฐ์มาทำกิริยาอย่างนั้น เช่น หยอดขนมครก ขี่โกคาร์ท เซลฟี่ เป็นต้น 2.ชอบ ดูสนุกดี ทศกัณฐ์น่ารักขึ้นเยอะ ตอบโจทย์คำว่า “เที่ยวไทยมีเฮ” จึงไม่เห็นด้วย ที่จะต้องถูกแบน หรือแม้แต่ตัดฉากบางฉากออกไป 3.เห็นการถกเถียงกันในเรื่องนี้ เป็นเรื่อง “ไร้สาระ” จะมาเถียงกันทำไมนักหนา 4.ก็เข้าใจทั้งสองฝ่ายนะ พวกหนึ่งอยากอนุรักษ์ตามแบบแผนในจารีต พวกหนึ่งอยากนำมาใช้ในบริบทใหม่ และมองว่า สร้างสรรค์จรรโลง ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น ไม่อยู่แต่บนหิ้ง 5.ไม่สนใจเรื่องนี้เลย

ที่น่าสนใจมากสำหรับผมก็คือ คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ กระโดดลงมามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันในเรื่องนี้ โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คนที่เรียนวรรณคดี การแสดง หรือสายโขนละคร นั่นแปลว่าอะไร? แปลว่า ทศกัณฐ์อยู่ในความรับรู้ของคนทั่วไป และเขาอยาก “ร่วมเป็นเจ้าของ” และ “ร่วมใช้” ตัวละครตัวนี้ ในบริบทของพวกเขา

แต่บทสรุปในท้ายที่สุด ที่ผู้กำกับฯ คือ บัณฑิต ทองดี ยอมตัดฉากหยอดขนมครก ขี่ม้าที่หัวหิน ขับโกคาร์ท และเซลฟี่ ออกไปนั้น อาจเป็นที่พอใจของฝ่ายร้องเรียน ทว่าตัวผู้กำกับ นักร้อง และทีมงาน ตลอดจนฝ่ายที่ชอบทศกัณฐ์ในบทบาทแบบนี้ ล้วนมีสิ่ง “คาใจ” จึงเป็นการจบที่ไม่จบ หรืออาจจบแล้ว จบกันไปเลย คือ หวงนัก มึงเก็บไว้ให้ตายพร้อมมึงก็แล้วกัน อะไรประมาณนี้

หลังจากฟังหลายๆ ฝ่ายมาหลายวัน สุดท้ายผมก็พบ “เส้น” ที่ต้องจับให้ถูกในเรื่องนี้แล้ว


1) “ทศกัณฐ์” เป็นแค่ตัวละครสมมุติในวรรณคดี

คนที่จับเส้นนี้ จะมองว่า ตาลุง ยายป้า ที่ดาหน้ากันออกมาคัดค้าน เขาเป็นบ้าอะไรของเรารึ? มันก็แค่ตัวละครในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” ซึ่งเป็น “เรื่องแต่ง” ลุงๆ ป้าๆ จะอะไรกันนักกันหนาล่ะ แล้วก็ยกตัวอย่าง ทศกัณฐ์ในหนังยอดมนุษย์ ทศกัณฐ์ถูกนำไปใช้เป็นชื่อ “เกมทศกัณฐ์” เป็นต้น

2) ทศกัณฐ์ก็แค่ยักษ์บ้ากาม

ผมเป็นคนหนึ่งที่จับเส้นนี้ตั้งแต่ต้น คือไปจับที่ตัวละคร ว่าทศกัณฐ์เป็นตัวละครฝ่ายชั่ว มีพฤติกรรมอันธพาล ตัณหาจัด ถึงขนาดสมสู่กับนางปลา จนได้ลูกเป็น “สุพรรณมัจฉา” สมสู่กับนางช้าง จนได้ลูกแฝดเป็น “ทศคีรีวัน-ทศคีรีธร” แถมไปลักนางสีดามาจากพระราม พิเภกทำนายฝันให้ส่งคืนก็โกรธ ขับน้องออกจากเมือง ส่งลูกส่งหลานและเพื่อนฝูงไปตายแทนในการสู้รบ ไม่เคารพในคำตัดสินคดีของท้าวมาลีวราช เป็นต้น ฉะนั้น ยักษ์แบบทศกัณฐ์ทำไมจะมาเที่ยวหยอดขนมครกไม่ได้ล่ะ?

3) นี่มิวสิกวีดีโอนะป้า ไม่ใช่เวทีโขน

คนที่จับเส้นนี้ พยายามชี้ “เทศะ” คือชี้ว่า เขาไม่ได้กำลังเล่นโขนกันนะครับ คุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณปู่ คุณครูทั้งหลาย สมองน่ะแยกออกไหม ว่าทศกัณฐ์ในมิวสิกวีดีโอ ก็แค่ตัวละครจากกรุงลงกาที่มาเที่ยวประเทศไทย เขาก็ร่วมกิจกรรมในสถานที่
ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อ “ความสุขในการท่องเที่ยว” เท่านั้น มันเสียหายตรงไหนล่ะ? นี่เป็นแค่การหยิบยืมตัวละครข้าม “เวที” มา เพื่อสื่อว่า การ “ท่องเที่ยววิถีไทย” นั้น มันสนุก มันมีเอกลักษณ์ ในแบบของมัน แค่เป็นตัวละครเดินเรื่อง นำผู้ชมไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวและบรรยากาศการท่องเที่ยวที่หลากหลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทยเท่านั้นเอง

4) อาชีพขายขนมครกมันต่ำนักหรือ?

คนที่จับเส้นนี้ สัมผัสถึงความหยามเหยียดใน “อาชีพการงาน” แหมๆๆๆ เป็นเจ้ากรุงลงกา ราชายักษ์ มาหยอดขนมครกเนี่ย มันเสียเกียรตินักเหรอ ฉันแคะขนมครกขาย ส่งลูกเรียนจบ ออกมาเป็นคนดีของสังคมตั้งหลายคน พูดอย่างนี้ แสดงออกอย่างนี้ มันเหยียดหยามกันนี่หว่า

สำหรับผม เดินตามเส้นทั้งสามไปครบทุกเส้น ตามไปบ่นไป ตั้งคำถามไป ตำหนิไป จนกระทั่งมา “ตกผลึก” ในท้ายที่สุดว่า บรรดาคนที่คัดค้าน ขอให้แก้ เขาจับเส้นไหน? ซึ่งผมได้อธิบายกับน้องหนิง นันทิยา จิตตโสภาวดี ที่จัดรายการ “ข่าวฟ้ายามเย็น” ทางช่อง “ฟ้าวันใหม่” ด้วยกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า

“พี่จับได้แล้ว ว่าสิ่งที่พวกครูโขนครูละครเขารับไม่ได้ คืออะไร เขารับไม่ได้กับการเอาคนมาแต่งชุดโขนครบเครื่อง ออกท่าออกทางเป็นโขน แต่ไปทำกิริยานอกจารีตโขน”

ความเข้าใจนี้มาถูกย้ำอีกครั้ง เมื่อพบในข่าวว่า นายจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์โขน กล่าวว่า ผู้ผลิต
สามารถนำโขนไปใช้ในการแสดงได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องแสดงในบทบาทของโขน ไม่ใช่นำไปใช้ในทางที่ไม่ควร และอยากฝากว่า เมื่อสวมชุดโขนแล้ว จะไปเต้นในลักษณะท่าทางที่ไม่ใช่โขนไม่ได้!!

“การแสดงโขน ต้องทำในสถานที่เหมาะสม อย่างเช่น โรงละครแห่งชาติ ในราชสำนัก มีพิธีตามจารีตของโขนที่ต้องปฏิบัติก่อนการแสดงทุกครั้ง มีการครอบครู มีครูบาอาจารย์ จุดธูปจุดเทียนก่อนการแสดง ขออนุญาต หากว่ามีการแสดงใดๆ บกพร่องไม่ถูกต้องก็ขออภัย หากว่าจะเกิดขึ้นโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือท่าทางใดๆ ที่เกิดจากสถานการณ์ที่ไม่ควรด้วยประการทั้งปวง ไม่ใช่ใครจะเอาไปทำอย่างไร สถานที่แบบไหน อย่างไรก็ได้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าจะทำเพื่อการท่องเที่ยวก็ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของชาติไปด้วยถึงจะถูกต้อง”

ครูจตุพร (ต้อย) ปัจจุบันอายุ 80 ปี เป็นศิลปินกรมศิลปากร ผู้ได้รับพระราชทานครอบและรับมอบกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ, ได้กราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และมีผลงานการแสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ บทยักษ์ใหญ่ทศกัณฐ์ เป็นบทที่อยู่ในความทรงจำของคนรักโขนกรมศิลปากรมานานกว่า 40 ปี เป็นผู้ร่วมงานเคียงข้าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการก่อตั้งและสร้างสรรค์โขนธรรมศาสตร์เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงของรัฐ

นอกจากนี้มีผลงานโดดเด่นอื่นๆ ทางด้านโขนและละครทั้งด้านการเป็นศิลปินผู้แสดง เป็นผู้สอน ผู้เผยแพร่ทั้งทางด้านปฏิบัติและทฤษฎี ปัจจุบันแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังทำงานเป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึกหัดให้เป็นไปตามขั้นตอนและจารีตของโขน ที่สถาบันคึกฤทธิ์ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช 2552

และเมื่อเราจับถูกเส้นแล้ว ย้อนไปอ่านคำอธิบายของผู้หลักผู้ใหญ่หลายๆ ท่านก็เข้าใจเขามากขึ้น และเห็นข้อบกพร่องในการสื่อสารของเขา ที่ “เฉพาะกลุ่ม เฉพาะทาง” ไปหน่อย เช่น

นายปรเมษฐ์ บุณยะชัย ผู้เชี่ยวชาญสาขาศิลปะการแสดง กล่าวว่า การจะนำโขนไปทำอะไร ต้องเข้าใจฐานานุศักดิ์ ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้ง ในฐานานุศักดิ์นั้น ยังมีจารีต อาจมีผู้สงสัยว่าทำไมถึงใช้การแสดงโขนในงานสำคัญทั้งงานมงคลและอวมงคล ไม่ได้เล่นในงานทั่วไป ยกตัวอย่างในงานอวมงคล การแสดงโขนหน้าไฟนั้น แสดงถึงความกตัญญูของผู้มีชีวิตที่แสดงออกต่อผู้ชีวาวาย อีกทั้งแต่ละงานต้องมีการเลือกตอนแสดงให้เข้ากับงานเพื่อความเหมาะสมกับงานนั้นๆ

“ผมดูเอ็มวีครั้งแรก รู้สึกว่าตลกดี แต่บางช่วงบางตอน ผู้ผลิตอาจจะไม่เข้าใจบริบทของวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ จึงทำให้คนที่รู้จริงออกมาต่อต้าน ผมไม่โทษผู้ผลิตที่นำโขนไปใช้แสดงในเอ็มวี เพราะเขาอาจไม่รู้ว่าอันไหนควร ไม่ควร ผมไม่เคยบอกว่าโขนต้องนำไปขึ้นหิ้ง แล้วนำไปทำอะไรไม่ได้ แต่ผมว่าการไม่มีที่ปรึกษาต่างหากที่เป็นสิ่งที่น่ากลัว” นายปรเมษฐ์กล่าว (ก่อนจะจับเส้นถูก ผมก็เถียงอยู่ในใจว่า อ๋อ เรื่องของเรื่องคือ เขาไม่ไปปรึกษา แค่ทำตัวเป็น “คนสำคัญ” แต่ถูกข้ามหัวไปเท่านั้นใช่มั้ย?)

นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวในงานเสวนา “โขน นาฏกรรมชั้นสูง องค์ความรู้คู่วัฒนธรรมชาติ” ว่า ขณะนี้มีการให้ข่าวเกี่ยวกับเอ็มวีเที่ยวไทยมีเฮ เจ้าของจริงที่ผลิตคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปกันคนละทิศทาง บ้างก็บอกว่าไม่เหมาะสม บ้างก็มองว่าตนเป็นเต่าล้านปี บ้างก็ว่าโขนจับต้องไม่ได้ ตนขอชี้แจงตรงนี้เลยว่า สถาบันบัณฑิตฯ มีหน้าที่อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาและสร้างสรรค์ ส่วนกรณีเอ็มวีเที่ยวไทยมีเฮ น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย อดีตศิลปินกองการสังคีต กรมศิลปากร ไม่เคยเข้ามาร้องเรียนต่อสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ให้ระงับเอ็มวีดังกล่าว แต่เคยไปร่วมหารือกับฝ่ายผู้ผลิตที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เรื่องการแสดงโขนต้องทำความเข้าใจ 3 เรื่องคือ 1.ศิลปะ 2.จารีต และ 3.จรรยาบรรณ การเอาศิลปะชั้นสูงไปต่อยอด ต้องทำให้สูงขึ้น ไม่ใช่ทำให้ต่ำลง ถ้าเช่นนั้นไม่เรียกว่าต่อยอด

เมื่อไปศึกษาดู จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้ไม่เคยไประราน ทศกัณฐ์ที่เป็นแอนิเมชั่นและงานศิลปะในรูปแบบอื่น แม้กระทั่ง “โขนสด” ซึ่งเอาไปเล่นอย่างตลกโปกฮา เพียงแต่ครั้งนี้ มีความสะท้อนใจว่า ลูกศิษย์ลูกหาหรือคนทำงานศิลปะ เอาคนแต่งชุดโขนเต็มเครื่อง
ไปอยู่ในบริบทที่ “คนโขน” เขาไม่ทำกัน ก็เท่านั้นเอง

ต้องเข้าใจเพิ่มเติมว่า “หัวโขน” หรือ “เศียร” ชั้นครูนั้น มีทศกัณฐ์รวมอยู่ด้วย การกระทำใดๆ ต่อเศียรครูและชุดโขน พวกเขาได้รับการบ่มเพาะ ปลูกฝังมาว่า ให้กระทำด้วยความเคารพ แต่หากจะเพ้นท์หน้าเป็นยักษ์ หยิบเอาตัวละครชั้นรองอย่างหนุมานหรือยักษ์ตัวอื่นๆ ไปเล่น ก็คงไม่เกิดประเด็นทักท้วงนี้ขึ้น

ทั้งหมดที่เขียนมานี้ ก็เพื่อให้เกิด “ความเข้าใจในกันและกัน” และเข้าใจใน “รากเหง้า” ของการแสดงที่ไปอิงอยู่กับจารีตที่เคร่งครัดบางประการด้วย

ก็คงเหมือนเมื่อครั้งที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เอาแสงเลเซอร์ไปส่องพระปรางค์วัดอรุณและทำพรีเซ็นเทชั่นราวกับเป็น “อาคารชั้นต่ำ” ที่ใช้เป็น “ฉากประกอบ” แสงสีเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จนเกิดเสียงตำหนิ เพราะพระปรางค์ดังกล่าว ริเริ่มให้สร้างโดยรัชกาลที่ 2 เพื่อให้เป็น “มหาธาตุประจำเมือง” แต่ได้ขยายขนาดและก่อสร้างจนแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 3 ดังนั้น โดยจำลองผังภูมิจักรวาลและวิมานพระอินทร์มาอยู่ในตัวพระปรางค์นี้ด้วย ศักดิ์หรือฐานะของพระปรางค์องค์นี้ จึงอยู่ในชั้นที่ “ใช่ว่าจะเอาไปทำอะไรก็ได้” และเป็นสิ่งสำคัญในการลงหลักพระพุทธศาสนาของชาติ ซึ่งไม่ใช่ “ของเล่น”

เหมือนที่ต้องสั่งปลดชุด “สุวรรณเจดีย์” ที่มิสซิสไทยแลนด์จะใส่ไปประกวดบนเวทีในต่างประเทศนั้นแหละ เพราะอุตริไปเอาเจดีย์ทองในวัดพระแก้วมาเป็นแบบ โดยไม่คำนึงถึงฐานะของพระเจดีย์ดังกล่าว

จึงขอปิดท้ายด้วยความเห็นของ ผศ.ดร.ชาญป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า ประเด็นนี้ ตนเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายศิลปินหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ ห่วงว่าจะเป็นการลดทอนคุณค่า ส่วนอีกฝ่ายก็ทำไปด้วยความรักเช่นกัน โดยมองว่าเป็นการสร้างสรรค์ กล่าวคือ เป็นการใช้ชุดคุณค่าคนละชุด สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่ 2 ฝ่ายไม่ปรับเข้าหากัน

“ส่วนตัวดูมิวสิกวีดีโอแล้ว มองว่าน่ารักดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมผู้เสพ เรื่องนี้เข้าใจทั้งคนหัวอกอนุรักษ์ที่อยากทำให้เป็นแบบแผน เป็นของมีครู ส่วนคนสมัยใหม่ก็อยากเป็นเจ้าของร่วมเหมือนกัน ถ้าไม่ปรับเข้าหากันน่ากลัวว่า เยาวชนที่รู้สึกว่าสมบัติตรงนี้ตัวเองก็รัก อยากรู้ อยากเป็นเจ้าของ เมื่อโดนห้าม อาจเป็นการผลักออก ว่าถ้าแตะไม่ได้ก็ไม่แตะ ปล่อยให้ขึ้นหิ้งไป”

ในวิกฤติคิดต่างครั้งนี้ จึงเปลี่ยนเป็น “โอกาส” ได้ เพียงแค่ “เข้าใจให้ตรงกัน” สื่อสารให้ “ซับซ้อนน้อยลง” ฟังกันให้มากขึ้น และนำคนไป “สนุก” กับการเสพ “รามเกียรติ์” ในทุกมิติ แม้กระทั่ง “โขนในจารีต” ก็ทำให้เป็น “ศิลปะสาธารณะ”มากขึ้นได้ ดั่งเช่น “โขนพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ” ซึ่งจะเห็นว่า คนดูเต็มทุกรอบ แย่งตั๋วกันอุตลุดเสมอ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:19 น. เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3
10:11 น. ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน
09:57 น. แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล
09:55 น. สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด'เปิดบัญชีม้า'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย
09:52 น. ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3

ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน

สุขสันต์วันเกิด 'หมูเด้ง' ครบรอบ 1 ขวบ เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ชมฟรี

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

  • Breaking News
  • เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3 เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3
  • ข่าวดี! หยุด 2 วัน\'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา\' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง  รวม 61 ด่าน ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน
  • แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล
  • สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด\'เปิดบัญชีม้า\'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด'เปิดบัญชีม้า'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย
  • ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! \'ชานน สัมพันธารักษ์\'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ความไม่รู้สี่รู้แปดของ‘แพทองธาร’

ความไม่รู้สี่รู้แปดของ‘แพทองธาร’

9 ก.ค. 2568

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

6 ก.ค. 2568

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved