วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนให้คิด
เขียนให้คิด

เขียนให้คิด

เฉลิมชัย ยอดมาลัย
วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานต้นจามจุรีแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูทั้งหมด

  •  

“ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงปลูกต้นจามจุรีพระราชทาน เมื่อวันที่สิบห้า มกราคม พุทธศักราชสองพันห้าร้อยห้า พระมหากรุณาธิคุณได้หยั่งรากลงลึกแล้วในหัวใจชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน (ข้อความจากป้ายหน้าต้นจามจุรีพระราชทาน ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมา
ทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้น หน้าหอประชุม และได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่า ดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล่าว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทานห้าต้นจึงยืนต้นอย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ข้อความจากหอประวัติจุฬาฯ)


แต่แล้วเมื่อเวลาประมาณแปดนาฬิกา สี่สิบนาที วันที่ 8 มิถุนายน 2562 ต้นจามจุรีหนึ่งในห้าต้นที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ชาวจุฬาฯ ก็ได้โค่นล้มลง ยังความเสียใจเป็นอันมากให้แก่ชาวจุฬาฯ ซึ่งทั้งนี้ชาวจุฬาฯ ได้เชิญต้นจามจุรีที่โค่นนั้นไปเก็บรักษาไว้ เพื่อจะได้นำไปทำสิ่งแสดงเครื่องอนุสรณ์ในอนาคต

เขียนให้คิดสัปดาห์นี้ ขอนำบทความเรื่อง ประวัติต้นจามจุรีพระราชทาน เขียนโดย อาจารย์สวัสดิ์ จงกล มาเล่าสู่กันฟัง

หลักฐานที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของการถือว่าจามจุรีเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย หรือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ นั้นยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด เรื่องนี้ก็คงจะคล้ายกับประเพณีของจุฬาฯ ในหลายๆ เรื่องไม่มีใครบันทึกไว้ว่ามีมาเมื่อใด ใครเป็นผู้กำหนด ทำไมจึงกำหนด แต่ก็เป็นที่ยึดถือปฏิบัติต่อๆ กันมา ประเพณีบางอย่างก็ไม่มีการปฏิบัติอีกแล้ว แต่ประเพณีหลายอย่างก็มีการปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งชาวจุฬาฯ และสังคมทั่วไปก็คือ บริเวณที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีต้นจามจุรีขึ้นอย่างหนาแน่น อาจารย์และนิสิตรุ่นเก่าๆ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตใครก็ตามประสงค์จะไปติดต่อราชการหรือธุระส่วนตัวที่ “โรงเรียนมหาวิทยาลัย” หรือ “โรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งค่อยๆ สั้นลงมาเป็น “โรงเรียนจุฬาฯ” และเหลือแต่ “จุฬาฯ” นั้น จะมีผู้แนะนำให้สังเกตว่าที่ใดเป็นโรงเรียนมหาวิทยาลัยนั่นคือไปที่ปทุมวัน บริเวณที่มีถนนผ่านต้นจามจุรีมากๆ พอไปถึงจะเป็นตึกเรียน นักเรียนและอาจารย์เส้นทางที่จะไปสถานที่ซึ่งมีจามจุรีมากๆ คือ ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 และถนนพญาไท

นิสิตรุ่น พ.ศ.2460 กว่าๆ เล่าให้ฟังว่า บริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของสนามศุภชลาศัยและที่เป็น “เชียงกง” และร้านค้าใกล้สี่แยกเจริญผลเป็นสวนผัก ซึ่งนิสิตจะแอบมองและเกี้ยวพาราสี “หมวยสาว” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หอพักหลังวังวินด์เซอร์ ส่วนบริเวณที่เป็น Siam Square ในปัจจุบัน
เป็นสวนหย่อมซึ่งทางราชการใช้เป็นแหล่งทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เส้นทางถนนพญาไท ทางเดินและทางรถยนต์เลี้ยวเข้าวังวินด์เซอร์แถวหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบันนั้น เป็นเส้นทางซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านเพื่อไปสอนหนังสือที่วังวินด์เซอร์ นิสิตคณะแพทยศาสตร์คงจำกันได้แม่นยำว่าจะพากันเดินช้าๆ (กะว่าเวลารถยนต์พระที่นั่งผ่าน) พระองค์ท่านจะทรงหยุดรถและรับนิสิตขึ้นรถยนต์พระที่นั่งเพื่อให้ไปเรียนทัน บ่อยเข้าก็รับสั่งอย่างรู้ทันว่าหากอยากนั่งรถยนต์พระที่นั่งก็รอปากทางก็แล้วกัน ไม่ต้องเดินทอดน่องให้เห็นหรอก เล่นเอานิสิตผู้วางแผน “มาสาย” เขินไปตามๆ กัน นิสิตรุ่นนั้นต่างเล่าตรงกันว่าต้นจามจุรีให้ร่มเงาในเวลาเดินทางไปมา และเดินทางจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่อาคารตึกบัญชาการ (ตึกอักษรศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน) และได้อาศัยโคนต้นจามจุรีเป็นที่นั่งพักผ่อนตลอดจนดูหนังสือ

นิสิตรุ่น พ.ศ.2470 กว่าๆ ต่างก็ให้ข้อมูลตรงกัน เช่น ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี คุณเกรียง กีรติกร อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา (ถึงแก่กรรมมาหลายปีแล้ว) เล่าให้ฟังว่าคุณเกรียงกับศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ เป็นคู่หนึ่งในหลายๆ คู่ ที่ซ้อนท้ายจักรยานจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่ตึกบัญชาการเวลาเปลี่ยนชั่วโมงเรียนเพื่อไปเรียนภาษาอังกฤษ ได้อาศัยร่มเงาของจามจุรีเดินทางทั้งตามถนนโรยกรวด หรือถ้าไม่มีฝนตกก็ลัดเลาะผ่านต้นจามจุรีซึ่งขึ้นเต็มไปหมด

นิสิตรุ่น พ.ศ.2480 กว่าๆ ได้เล่าให้ลูกศิษย์และน้องๆ และลูกหลานฟัง โดยเฉพาะนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์จะจดจำกันว่าเวลาถึงหน้าหนาวจะต้องคอยดูเสื้อกันหนาวของตนให้ดี นิสิตที่ยิ่งสวยมากเท่าไรก็มีโอกาสที่เสื้อกันหนาวจะลอยไปค้างที่กิ่งจามจุรีหลังตึกอักษรศาสตร์ ส่วนใหญ่กลัว 2 อย่าง คือ กลัวผี เพราะมีคนผูกคอตายหลายราย กับกลัวสัตว์ร้าย โดยเฉพาะงู เพราะต้นจามจุรีขึ้นหนาทึบ ตามพื้นดินมีกิ่งไม้ใบไม้ทับถมหนา จามจุรีจึงเป็นต้นไม้แห่งความหลังอันระทึกใจ และมีทั้งชื่นใจและตรอมใจอยู่หลายคู่

นิสิตรุ่น พ.ศ.2490 กว่าๆ เริ่มพบกับจามจุรีที่เป็นซุ้มรับน้องใหม่ ปลายทศวรรษนี้เริ่มมีมาลัยจามจุรีมอบให้น้องใหม่หรือเป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่างๆในปี พ.ศ.2492 ต่อ 2493 สุนทราภรณ์ได้แต่งเพลง “จามจุรีศรีจุฬาฯ” ให้แก่ชาวจุฬาฯ ทั้งนี้เพราะสมัยโน้นวงดนตรีสุนทราภรณ์และจุฬาฯ ใกล้ชิดกันมาก สุนทราภรณ์ได้นำความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ และจามจุรีมาแต่งเนื้อร้องที่มีความหมายกินใจ และใส่ทำนองเพลงที่ไพเราะยิ่งเชื่อว่าสายสัมพันธ์อันเป็นที่มาของเพลงนี้คงจะมีมาก่อนทศวรรษ 2490 แน่นอน

ช่วงเวลา พ.ศ.2490 จามจุรีเป็นชื่อทีมฟุตบอลที่แข่งขันถ้วยต่างๆ สโมสรนิสิต (สจม.) และสโมสรนิสิตเก่า (สนจ.) ใช้เป็นชื่อทีมฟุตบอลแข่งขันงานที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้น คนรุ่นหลังโดยเฉพาะผู้ที่ชอบและติดตามการแข่งขันฟุตบอลเริ่มรู้ว่าชาวจุฬาฯมีความผูกพันกับจามจุรีเพียงใด

นอกเหนือจากข้อมูลที่ประมวลมาเสนอข้างต้นแล้ว สิ่งที่นิสิตจุฬาฯ มีความรู้สึกนึกคิดตรงกันคือสีดอกจามจุรีเป็นสีชมพู จามจุรีให้ร่มเงาสำหรับการเดินไป-มา การพักผ่อน การดูหนังสือ ใช้กิ่งก้านใบจามจุรีในกิจกรรมรับน้องใหม่กับการแข่งขันกีฬา วัฏจักรของจามจุรีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ สีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในภาคต้น และภาคที่สองทั้งใบและฝักเตือนให้รีบดูหนังสือเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นจะพบกัน repeat หรือ retire จามจุรีอยู่ที่จุฬาฯ มานานจนบอกไม่ได้ว่าเมื่อไร ด้วยเหตุนี้จามจุรีกับจุฬาฯ จึงผูกพันกันมากจนกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ

ประมาณต้นทศวรรษของ พ.ศ.2500 ผู้บริหารของจุฬาฯ เห็นว่าจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบ และฝักทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯ สกปรก มีโรคพืชทำให้กิ่งก้านหักหล่น จึงไม่มีนโยบายปลูกทดแทนต้นที่ตายไป นอกจากนั้นในช่วง พ.ศ.2480-2500 มีคณะต่างๆ เกิดขึ้นมาก จึงต้องโค่นจามจุรีเพื่อสร้างตึกใหม่ จามจุรีจึงลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ส่วนจะมีเหตุอะไรที่อยู่เบื้องหลังนโยบายไม่ปลูกต้นจามจุรีจะมีอะไรบ้างนั้นคงจะเล่าเรื่องบางเรื่องในข้อเขียนไม่ได้เพราะเสี่ยงต่อการตกเป็นจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท

จากการที่จามจุรีมีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชกระแสถามถึงเหตุที่ทำไมจามจุรีจึงมีน้อย อาจารย์และนิสิตเก่าอาวุโสหลายท่านเล่าให้ฟังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งว่า จามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาฯ ไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่15 มกราคม พ.ศ.2505 มีโทรศัพท์จากพระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานถึงผู้บริหารจุฬาฯ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรี ความโกลาหลระคนกับความปลื้มปีติเกิดขึ้นและแผ่ขยายไปทั้งจุฬาฯ ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้นหน้าหอประชุม ได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ จึงทรงนำมาปลูกไว้ที่จุฬาฯ ก่อนจบกระแสพระราชดำรัสในวันที่ได้รับสั่งว่า “ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล” จามจุรีพระราชทานทั้งห้าต้นจึงยืนต้นอย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ มาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:05 น. บวงสรวงซีรีส์ ‘หลิง – ออม’ ปลื้มแฟนคลับจัดฟู้ดทรัคเปย์กว่า 20 คัน
15:04 น. สง่างาม! 'มายด์ ณภศศิ'สวมชุดไทยร่วมรำถวายพญานาค
14:58 น. (คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'
14:46 น. 'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน
14:45 น. (คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
ชุดทหารพรานก็ไม่รอด!! เขมรแต่งเครื่องแบบคล้ายชุดทหารพรานไทย สวนสนามต้อนรับ'ฮุน มาเนต'
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
ดูทั้งหมด
เรามีระบบตรวจสอบ หรือมีแต่ใบอนุญาตที่ซื้อได้?
บุคคลแนวหน้า : 16 กรกฎาคม 2568
ทับละมุ
เชลียร์จนได้เรื่อง!
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สง่างาม! 'มายด์ ณภศศิ'สวมชุดไทยร่วมรำถวายพญานาค

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'

  • Breaking News
  • บวงสรวงซีรีส์ ‘หลิง – ออม’ ปลื้มแฟนคลับจัดฟู้ดทรัคเปย์กว่า 20 คัน บวงสรวงซีรีส์ ‘หลิง – ออม’ ปลื้มแฟนคลับจัดฟู้ดทรัคเปย์กว่า 20 คัน
  • สง่างาม! \'มายด์ ณภศศิ\'สวมชุดไทยร่วมรำถวายพญานาค สง่างาม! 'มายด์ ณภศศิ'สวมชุดไทยร่วมรำถวายพญานาค
  • (คลิป) ชำแหละ! \'นิรโทษกรรม ม.112\' ฉบับ! \'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ\' (คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'
  • \'สุริยะ\'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน 'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน
  • (คลิป) \'รัชดา ธนาดิเรก\'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า (คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง

13 ก.ค. 2568

ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ

ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ

5 ก.ค. 2568

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

29 มิ.ย. 2568

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

15 มิ.ย. 2568

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

8 มิ.ย. 2568

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

1 มิ.ย. 2568

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

25 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved