วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การคลังยุคหุ่นยนต์ ตอนที่ 2

ดูทั้งหมด

  •  

2. หน้าที่และเครื่องมือทางการคลัง

หน้าที่ทางการคลังของรัฐ อาจแยกได้เป็น 3 ประการ1 คือ


ประการแรก การจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การคลังสามารถทำให้การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เนื่องจากทรัพยากรในโลกจะมีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ที่ดิน คน รัฐจึงต้องบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุดโดยอาศัยการคลังเข้าช่วย กล่าวคือ จัดสรรให้ดี เช่น จัดสรรน้ำไปทำการเกษตร จัดสรรน้ำหรือทรายไปขายให้ต่างชาติ วางแผนการจัดสรรการใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น นำเงินภาษีของประชาชนไปตั้งบ่อนกาสิโนเพื่อดึงดูดเงินจากต่างชาติ นำเงินภาษีไปซื้อคอมพิวเตอร์แจกประชาชนเพื่อการศึกษา การสื่อสาร จะได้มีความสามารถสูงขึ้น สามารถแข่งขันกับคนต่างชาติได้ วางสายเคเบิลใยแก้วเพื่อการติดต่อสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบทบาทของการคลังว่าจะนำเงินไปใช้ทำอะไร หากรัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดประโยชน์สุข บรรลุภาระหน้าที่ของรัฐได้อีกทางหนึ่ง

ประการที่สอง การกระจายความมั่งคั่ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจ เกลี่ยความเจริญให้ทั่วถึงเท่าเทียมกัน การคลังมีบทบาทกระจายความมั่งคั่งให้เป็นธรรม กล่าวคือ หากรัฐสามารถทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพแล้ว ทำให้ประเทศมั่งคั่ง แต่หากจัดสรรไม่ดีก็จะทำให้ความมั่งคั่งกระจุกตัว คนที่ได้ความมั่งคั่งมากกว่าก็จะมีแต่คนเก่ง คนฉลาด นายทุน ฯลฯ คนที่ไม่เก่ง คนที่ไม่มีเงินทุน ก็จะจนลงๆ เพราะฉะนั้น หากประเทศใดมีจำนวนคนจนคนรวยต่างกันมาก มีคนจนจำนวนมาก มีคนรวยหยิบมือเดียวและบริโภคประโยชน์ แรงงานต่างๆ ที่ประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น ประเทศนั้นก็จะมีแต่ความไม่สงบ คนรวยก็จะรังแกคนจน คนจนก็จะตอบโต้2 ดังนั้น รัฐจึงต้องพยายามทำให้ฐานะของคนในประเทศมีความใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสังคม และเมื่อนั้น ความเป็นธรรมจึงจะตามมา อำนาจทางการคลังนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนได้ เช่น จัดสรรเงินงบประมาณช่วยคนจนมากขึ้น สร้างโรงเรียนที่ให้คนจนมีโอกาสได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การใช้มาตรการเก็บภาษีจากคนรวย เช่น ภาษีมรดก ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย การยกเว้นให้คนจนไม่ต้องเสียภาษี

ประการที่สาม การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนสถาพร เป็นการเน้นในเรื่องของระยะเวลาที่ให้มีความยั่งยืน ทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนยาวนาน ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีความผันผวนรวดเร็ว แม้ธรรมชาติมีความเกิดดับ ก็ต้องทำให้วัฏจักรขาลงส่งผลร้ายน้อยที่สุด ซึ่งการคลังก็เข้ามาช่วยได้ กล่าวคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจดีเกินไป เศรษฐกิจร้อนแรงมาก คนหาเงินได้มากและมีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย รัฐก็ควรจะจัดเก็บภาษีสูงขึ้นบ้างเพื่อให้รัฐดึงเงินส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจเข้ามาเก็บในคลัง ทำให้คนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยน้อยลง ส่วนในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภัยธรรมชาติ รัฐก็อาจลดหรือยกเว้นภาษีเพื่อให้คนในชาติมีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อันจะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ ไม่ถึงกับตกต่ำจนเกินไป มิฉะนั้นอาจจะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาลตามมาและยากจะฟื้นฟูให้กลับสภาพเดิม

ปัญหาว่ารัฐควรมีหน้าที่กว้างแคบเพียงใด มีประสิทธิภาพเพียงใด เหตุใดไม่ปล่อยให้เอกชนดำเนินการเองนั้น ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่หลายมุมมอง แต่ในสภาพปัจจุบัน นานาประเทศยังเห็นบทบาทภาครัฐยังจำเป็น และมีบางด้านที่เอกชนทำเองไม่ได้ หรือทำแล้วไม่เกิดผลดีเท่า ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าเอกชนจะสามารถสร้างถนนบางแห่งได้เอง แต่ว่าถนนบางส่วนหรือสิ่งของต่างๆ ที่สาธารณชนใช้ร่วมกันบางครั้งก็เป็นเรื่องที่เอกชนทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี เช่น รถไฟที่เชื่อมโยงโครงข่ายทั่วประเทศ ถนนหลวง ที่จะส่งเสริมการขนส่งทรัพยากรในประเทศให้หมุนเวียนไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

เหตุผลคือ ประการแรก การสร้างสิ่งเหล่านี้จำต้องอาศัยเงินทุนมหาศาลซึ่งเอกชนอาจไม่มีศักยภาพเพียงพอ ประการที่สอง หากสร้างถนนขึ้นมาแล้วส่วนใหญ่จะไปหวงกันไม่ให้คนมาใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะถนนสาธารณะ ทางหลวง ไม่เหมือนกับถนนส่วนบุคคลในหมู่บ้านที่เอกชนสามารถหวงกันได้ ด้วยเหตุนี้ภาคเอกชนที่เคยชินกับระบบที่ตนเองเป็นเจ้าของและสามารถหวงกันคนอื่นได้ ถ้าให้มาสร้างถนนหลวงแล้วหวงกันไม่ได้ ไม่ได้ประโยชน์ตอบแทนอะไร ภาคเอกชนก็ไม่เข้ามาทำเพราะเอกชนย่อมลงทุนเพื่อแสวงหากำไร แต่หากเป็นทางด่วนที่เก็บค่าผ่านทาง เอกชนก็อาจเข้ามาลงทุนสร้างแล้วบริหารโดยที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ เมื่อหมดสัมปทานก็ตกเป็นของรัฐ หรือกรณีสัมปทาน 3G ที่แม้ว่ารัฐจะสามารถลงทุนวางระบบเครือข่ายได้เอง

แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องอาศัยเงินเป็นจำนวนมหาศาล ต้องอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ ซึ่งหากรัฐจะลงมือทำเอง รัฐก็อาจจะต้องกู้ยืมเงินหรือเก็บภาษีเพิ่มซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่พอใจ ดังนั้นการจะสร้างสิ่งสาธารณูปโภค บางครั้งรัฐก็ใช้วิธีให้ภาคเอกชนได้รับสัมปทานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้ภาคเอกชนยังกังวลว่าหากให้รัฐมาทำธุรกิจเสียเอง รัฐอาจกีดกันหรือรังแกเอกชนได้เพราะรัฐมีอำนาจอยู่ในมือ สามารถออกกฎหมายต่างๆ ได้ ซึ่งรัฐอาจจะออกกฎหมายที่เกื้อกูลธุรกิจของรัฐและเอาเปรียบเอกชนทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ดังเช่นเคยมีข่าวกรณีโรงงานกระดาษซึ่งเป็นของรัฐได้ทำหนังสือราชการถึงส่วนราชการต่างๆ ให้มาซื้อกระดาษกับโรงงานของตน ห้ามซื้อกับเอกชน

แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายเอกชนก็มองว่าการสั่งเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม เนื่องจากทางราชการควรจะมีสิทธิเลือกว่าจะใช้กระดาษของใคร เช่น อาจจะใช้วิธีเปิดประมูลเพื่อดูว่าใครเสนอราคาขายถูกที่สุด ดังนั้นต่อมาภายหลังจึงได้มีคำสั่งยกเลิกหนังสือราชการดังกล่าว เพราะเป็นการใช้อำนาจรัฐในทางที่เอาเปรียบเอกชน อีกประการหนึ่งที่เอกชนกังวล คือ ธุรกิจที่รัฐทำหลายอย่างๆ มักจะล้มเหลว เนื่องจากประสบปัญหาคอร์รัปชั่น ไม่ค่อยมีการตรวจตราดูแลเหมือนอย่างเอกชน เหตุที่ไม่ค่อยมีการตรวจตราดูแลก็เพราะไม่มีเจ้าภาพ ต่างจากเอกชนที่จะดูแลหวงกันผลประโยชน์ของตนและขยันเพื่อที่จะหากำไรให้ได้มากที่สุด แต่รัฐมักทำธุรกิจโดยขาดการตรวจสอบกวดขันทำให้เกิดปัญหาทุจริต3 ไม่ได้เน้นให้ได้กำไรไปแบ่งกันเหมือนอย่างเอกชน เนื่องจากรัฐควรคำนึงถึงการกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นหลัก

ดังนั้นรัฐจึงไม่เหมาะที่จะทำธุรกิจเพราะธุรกิจเป็นเรื่องแสวงหากำไรซึ่งเอกชนมีความเชี่ยวชาญเหมาะสม ภาคเอกชนต่างต้องการหาประโยชน์ในทางที่ดีที่สุด สูงที่สุด ดูแลรายจ่าย ดูแลประสิทธิภาพต่างๆ รักษาลูกค้า แต่รัฐไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรหากแต่ต้องการให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เริ่มมีบทบัญญัติที่ห้ามรัฐประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชนเป็นครั้งแรก แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าเป็นกรณีเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย รัฐก็สามารถทำได้ ดังที่เราเห็นได้จากการทำธุรกิจโดยรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (มีกิจการสำรวจ กลั่น ขายน้ำมันภายหลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน)4

ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
07:30 น. นายกฯเสียค่าโง่?! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

เช็คอากาศวันนี้! ทั่วไทยฝนตกหนักบางแห่ง กทม.ฟ้าคะนอง 70%

รวบเขมรลอบเข้าเมือง! ซิมเถื่อน200เบอร์-เงินแสนในมือ คาดโยงแก๊งอาชญากรข้ามชาติ!

  • Breaking News
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
  • นายกฯเสียค่าโง่?! \'นิพิฏฐ์\'เตือน\'อิ๊งค์\'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว นายกฯเสียค่าโง่?! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved