วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การคลังยุคหุ่นยนต์ ตอนที่ 6

ดูทั้งหมด

  •  

พิจารณาภาระในเชิงพฤตินัย การกู้ต่างประเทศเพื่อบริโภคทำให้การบริโภครวมปัจจุบันเพิ่ม แต่อนาคตลด จึงเป็นภาระคนในรุ่นต่อไป แต่ถ้ากู้เพื่อลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ อาจไม่เป็นภาระเพิ่ม อธิบายได้ว่าตอนที่กู้มาคนที่ได้ประโยชน์ ได้บริโภคสินค้า บริการเพิ่มแบบกะทันหันก็คือคนในยุคนั้น เพราะเป็นเงินนอกที่ไหลเข้ามาในประเทศทำให้ปริมาณเงินในประเทศมีมากขึ้น เมื่อมีเงินจากต่างประเทศเข้ามาก็จะทำให้การบริโภคเฟื่องฟู มีเงินสำหรับจ้างคนสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้คนมีรายได้และนำไปใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อถึงยุคที่จะต้องชำระหนี้ก็ต้องดูดทรัพยากรในประเทศออกไป เพราะฉะนั้นคนที่รับภาระที่คนยุคก่อนสร้างไว้ ก็คือ คนในยุคหลังที่ต้องจ่ายภาษีเพื่อให้รัฐบาลนำเงินไปชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการกู้เพื่อนำมาใช้ลงทุนในระยะยาว ใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่กู้มาเพื่อการบริโภคในระยะสั้น เช่น กู้มาเพื่อปรับปรุงระบบการศึกษา พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สร้างถนน รถไฟ ทางด่วน อันจะทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตคุ้มค่า เช่นนี้แล้วก็ไม่ต้องกังวลมากเพราะคนก็จะค่อยๆ รวยขึ้นในภายภาคหน้า เมื่อคนรวยขึ้นแล้วก็สามารถนำเงินไปใช้หนี้ได้

ภาระหนี้สาธารณะจะตกอยู่กับใครก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมุมมองในลักษณะใด ขึ้นอยู่กับว่ากู้ยืมในประเทศหรือนอกประเทศ และขึ้นอยู่กับว่านำเงินนั้นมาใช้ในเรื่องอะไร นำมาใช้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายๆ อย่าง อีกทั้งการกู้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป เนื่องจากบางครั้งแม้รัฐบาลจะมีเงินอยู่มากก็ยังสามารถใช้วิธีกู้ยืมเงินได้ เพราะรัฐบาลเป็นองค์กรที่มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี อะไรที่รัฐคิดว่าดีสำหรับประชาชน รัฐก็จะทำ และบางครั้งแม้รัฐจะมีเงินมาก แต่หากขาดสภาพคล่อง รัฐก็จะกู้เงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่อง1


โดยเหตุที่การเก็บภาษีและการกู้หนี้ต่างทำให้รัฐมีรายรับ ข้อต่างกันคือ ในการเก็บภาษี เมื่อเก็บมาแล้วก็สามารถนำไปใช้ในประโยชน์และไม่มีข้อผูกพันที่ต้องชดใช้คืน แต่การกู้หนี้นั้น ในท้ายที่สุด ต้องมีการเก็บภาษีไปใช้คืนหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่ดี อาจมีข้อดีตรงที่รัฐอาจกู้หนี้ระยะยาวได้และสามารถก่อหนี้ใหม่เพื่อไปใช้หนี้เก่าได้ไม่จบสิ้น จึงมีปัญหาว่าถ้ารัฐต้องการหาเงินมาใช้ รัฐควรจะหาเงินโดย “การเก็บภาษี” หรือ “การกู้ยืมเงิน” อย่างไรดีกว่ากัน Harvey S. Rosen ได้วางหลักในการพิจารณาไว้ 5 ประการ2ดังนี้

(1) หลักใครได้ประโยชน์ต้องจ่ายตอบแทน หลักนี้เสนอว่า ถ้าคนยุคนี้ได้ประโยชน์จากเงินที่นำมาใช้ ก็ควรใช้วิธีเก็บภาษี ไม่ควรใช้วิธีกู้เงินแล้วไปผลักภาระให้คนยุคหลังจ่ายเงินคืน แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ระยะยาว เช่น สร้างเขื่อน (ที่มีอายุการใช้งานหลายสิบหลายร้อยปี) กรณีนี้เป็นกรณีที่มีประชาชนได้รับประโยชน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากใช้วิธีเก็บภาษีกับคนในยุคที่สร้างเขื่อนก็ดูจะไม่เป็นธรรมเพราะต้องเก็บภาษีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าเป็นกรณีที่ลงทุนแล้วมีผู้ได้ประโยชน์มาก และเป็นเรื่องระยะยาว กรณีเช่นนี้ก็สามารถใช้วิธีกู้เงินแล้วค่อยๆ ทยอยชำระหนี้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องพิจารณาเป็นรายโครงการไปว่าจะนำเงินมาใช้เพื่ออะไร เป็นประโยชน์ในระยะสั้นหรือระยะยาว ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์

1 เหมือนกับบริษัทเอกชนที่แม้จะมีเงินอยู่เยอะ แต่ก็ยังไปกู้เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เนื่องจากบริษัทเอกชนส่วนใหญ่จะนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและยังไม่ได้รับผลตอบแทน ยังไม่สามารถนำเงินมาใช้ได้ทันที ดีกว่าที่จะต้องไปยกเลิกการลงทุนระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูงในอนาคต

2 Harvey S. Rosen, op.cit. , pp. 466-470.

(2) หลักถ่ายเทความมั่งมีและความจนระหว่างคนต่างยุค หลักนี้เสนอว่ารัฐอาจจะมองไปข้างหน้า ถ้ามองไปแล้วคิดว่าคนในอนาคตจะรวยก็สามารถใช้วิธีกู้เงิน เพื่อที่ว่าจะได้ถ่ายเทความยากจน ความเดือดร้อนในยุคนี้โดยเอาความมั่งมีในยุคถัดไปมาช่วยถ่ายเทชำระหนี้3 ในทางตรงกันข้ามถ้าคิดว่าคนในยุคนี้รวยแต่ยุคต่อไปจะจน ก็ควรใช้วิธีเก็บภาษี เป็นการนำเรื่องในภายภาคหน้ามาเป็นเหตุผลประกอบ (เช่น เก็บภาษีนำเงินมาสร้างเขื่อน สิ่งสาธารณูปโภค) ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีหลักฐานและการพิสูจน์ด้วย เช่น หากจะลงทุนด้านการศึกษาซึ่งต้องใช้เงินของคนยุคนี้เป็นจำนวนมากเพื่อจ้างครู สร้างสถาบัน ฯลฯ แต่คนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนในยุคถัดไปซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้อาจใช้วิธีกู้ยืมเงินเพื่อสร้างการศึกษาที่ดี เมื่อคนมีการศึกษาดีขึ้นก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นหากจะเก็บภาษีไปใช้หนี้ที่กู้มาในยุคก่อนหน้าก็คงจะไม่เดือดร้อน

(3) หลักประสิทธิภาพของความประหยัด หลักนี้เสนอว่า ควรใช้วิธีที่ทำให้ประหยัดได้มากกว่า เพราะการเก็บภาษีก็มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บด้วย ทั้งยังต้องป้องกันการทุจริตต่างๆ ส่วนการกู้ยืมมักไม่ค่อยมีการตกหล่นของเม็ดเงินเพราะเป็นการกู้มาใช้ตรงๆ และมีค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมน้อย แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงในเรื่องดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้ดีว่าในภาวการณ์ตอนนั้น วิธีการหาเงินวิธีใดก่อให้เกิดความประหยัดมากกว่ากัน

3 เนื่องจากเป็นคนในประเทศเดียวกันและมีสายเลือดใกล้ชิดกัน

(4) หลักเสถียรภาพของเศรษฐกิจ หลักนี้เสนอว่าให้มองความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นหลัก คือในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคือง คนไม่มีเงินใช้ คนไม่อยากลงทุน การค้าขายซบเซา สภาวการณ์เช่นนี้คงกู้เงินได้ยากและคงจะเก็บภาษีได้น้อย เพราะฉะนั้นหากรัฐต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวก็ไม่ควรจะเก็บภาษี และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินก็ควรจะใช้วิธีกู้เงิน เพราะการกู้เงินจะทำให้เม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น การค้าขายเริ่มกระเตื้อง โรงงานขายสินค้าได้มากขึ้น เริ่มมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น อันจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ในทางตรงกันข้าม หากเศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไปก็ไม่ควรจะกู้เงินเพราะการกู้เงินจะยิ่งทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจร้อนแรง เพราะจะทำให้คนมีเงินเยอะขึ้น แย่งกันกินแย่งกันใช้ ทำให้โรงงานต้องเร่งผลิตสินค้าจนสินค้ามีคุณภาพต่ำลงและผลิตมากจนควบคุมดูแลได้ไม่ทั่วถึง กรณีนี้จึงควรใช้วิธีการเก็บภาษีเพื่อดูดเงินเข้ารัฐ แต่เมื่อดูดมาแล้วก็ต้องใช้จ่ายน้อยด้วยเพื่อให้ปริมาณเงินในระบบลดน้อยลง อย่าให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป เพราะไม่ใช่เรื่องดี เศรษฐกิจที่ดีควรต้องค่อยเป็นค่อยไป

(5) หลักศีลธรรมและการเมือง หลักนี้เสนอว่า ในทางศีลธรรมหรือศาสนานั้น บางศาสนาก็ไม่นิยมให้มีการกู้ยืม เช่น ศาสนาอิสลามที่ถือว่าการกู้ยืม การคิดดอกเบี้ย เป็นบาป ไม่ควรทำ เพราะฉะนั้นธนาคารอิสลามจึงไม่มีการคิดดอกเบี้ย (ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้) แต่จะเปลี่ยนชื่อและเนื้อหาให้อยู่ในรูปของผลประโยชน์ หรือส่วนแบ่งที่ต่างจากระบบธนาคารทั่วไปแทน ส่วนในทางการเมือง ก็มองว่านักการเมืองมีแนวโน้มต้องการเสียงของประชาชน เพราะฉะนั้นหากต้องการใช้เงิน นักการเมืองมักไม่ใช้วิธีเก็บภาษีเพิ่มเพราะการเก็บภาษีจะทำให้ฐานเสียงลดน้อยลง ดังนั้นนักการเมืองจึงมักจะมีแนวโน้มใช้วิธีกู้เงินมาใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดสภาพหนี้ท่วมประเทศ ประชาชนจึงควรช่วยกันดูแล อย่าไปคิดแต่เพียงว่าการกู้ดีกว่าการเก็บภาษี และนักการเมืองต้องมีวินัย และจรรยาบรรณเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่ห่วงแต่คะแนนเสียงเลือกตั้ง

โดยสรุป เห็นกันว่า การใช้เครื่องมือทางการคลังของรัฐบาล ย่อมมีผลกับนโยบายของรัฐบาลในด้านต่างๆ แม้ว่าอาจจะวัดผลได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะมีปัจจัยองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการ

ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
21:05 น. ตัวแม่ทวงบัลลังก์! 'เก๋ ชลลดา'อวดลุคสดใสในชุดว่ายน้ำ โชว์หุ่นสวยสุดเป๊ะ
21:02 น. 'พีระพันธุ์'บรรยายอนาคตพลังงานทดแทน ฉายภาพรวมพลังงานไทย
20:29 น. (คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยความลับ'ทักษิณ' กุเรื่องซัด'อนุทิน'
20:27 น. ‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
20:22 น. 'วัดภูม่านฟ้า'คนแน่น! นักท่องเที่ยวพุ่ง 2 เท่า หลังเขมรอ้างเลียนแบบนครวัด
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

'วัดภูม่านฟ้า'คนแน่น! นักท่องเที่ยวพุ่ง 2 เท่า หลังเขมรอ้างเลียนแบบนครวัด

รู้ทัน'ทักษิณ-ฮุนเซน' 'ปานเทพ'ชี้มีรอยร้าว แต่ไม่ถึงขั้นแตกหัก

ตัวแม่ทวงบัลลังก์! 'เก๋ ชลลดา'อวดลุคสดใสในชุดว่ายน้ำ โชว์หุ่นสวยสุดเป๊ะ

จับตา 3 เรื่องสำคัญ! 'ภาษีทรัมป์'บททดสอบ'ไทย'บนเวทีโลก

หนีตายกลับไทย! ช่างสักถูกหลอกเป็นแก๊งคอลฯ ที่ตึก 8 ชั้นในปอยเปต

  • Breaking News
  • ตัวแม่ทวงบัลลังก์! \'เก๋ ชลลดา\'อวดลุคสดใสในชุดว่ายน้ำ โชว์หุ่นสวยสุดเป๊ะ ตัวแม่ทวงบัลลังก์! 'เก๋ ชลลดา'อวดลุคสดใสในชุดว่ายน้ำ โชว์หุ่นสวยสุดเป๊ะ
  • \'พีระพันธุ์\'บรรยายอนาคตพลังงานทดแทน ฉายภาพรวมพลังงานไทย 'พีระพันธุ์'บรรยายอนาคตพลังงานทดแทน ฉายภาพรวมพลังงานไทย
  • (คลิป) \'เจ๊ปอง\'เผยความลับ\'ทักษิณ\' กุเรื่องซัด\'อนุทิน\' (คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยความลับ'ทักษิณ' กุเรื่องซัด'อนุทิน'
  • ‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
  • \'วัดภูม่านฟ้า\'คนแน่น! นักท่องเที่ยวพุ่ง 2 เท่า หลังเขมรอ้างเลียนแบบนครวัด 'วัดภูม่านฟ้า'คนแน่น! นักท่องเที่ยวพุ่ง 2 เท่า หลังเขมรอ้างเลียนแบบนครวัด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved