วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การคลังยุคหุ่นยนต์ ตอนที่ 8

ดูทั้งหมด

  •  

ประเด็นของแรงงานมนุษย์ที่กำลังถูกคุกคามด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์นี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงหรือหารือกันอย่างมากในกลุ่มนักคิด นักธุรกิจ และรัฐบาลทั่วโลก และวันนี้เกาหลีใต้ก็เริ่มเลือกทางของตัวเองนำหน้านานาประเทศไปก่อนแล้ว ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าภาษีหุ่นยนต์นี้จะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน1

วรากรณ์ สามโกเศศ นักวิชาการในประเทศไทยได้สรุปความเห็นที่น่าสนใจของบิล เกตส์ ที่แสดงความวิตกเกี่ยวกับการแพร่หลายของหุ่นยนต์กับข้อเสนอทางภาษีไว้ มีสาระดังนี้2


“Bill Gates บอกว่าเพื่อถ่วงเวลาให้หุ่นยนต์แพร่ระบาดในสังคมเราช้าลง ไม่รวดเร็วจนไม่สามารถจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่วิกฤติของสังคม รัฐบาลควรพิจารณาเก็บภาษีจากหุ่นยนต์ในความเห็นของ Bill Gates การทดแทนแรงงานอย่างรวดเร็วของหุ่นยนต์ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมเฉกเช่นเดียวกับคนสูบบุหรี่ ขับรถเร็ว การปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ การปล่อยควันเผาไหม้ของโรงงานหรือรถยนต์ การดูดน้ำบาดาลจนทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งที่เศรษฐศาสตร์เรียกว่าผลกระทบภายนอกที่เป็นลบ (negative externality)กล่าวคือเกิดผลกระทบต่อคนอื่นโดยเขาไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนา

รัฐบาลมีหน้าที่ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือเยียวยาด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ และที่สำคัญคือภาษี เพื่อทำให้การกระทำเหล่านี้มีต้นทุนสูงขึ้นอย่างจงใจจนมีการกระทำน้อยลง

Bill Gates บอกว่าในกรณีของหุ่นยนต์ การเก็บภาษีตอนติดตั้งหรือตอนเกิดกำไรจากการใช้หุ่นยนต์ (อันเนื่องมาจากมีต้นทุนต่ำลงเพราะไม่ต้องใช้คน) จะทำให้ต้นทุนของการใช้หุ่นยนต์สูงขึ้น ผู้ประกอบการก็จะไตร่ตรองไม่รีบนำมาใช้ ส่วนรายได้จากภาษีก็จะนำมาเยียวยาบำบัดแรงงานที่ถูกทดแทน”

พร้อมทั้งวิจารณ์ไว้ว่า

“ข้อเสนอของ Bill Gates นั้นช่วยกระตุ้นเซลล์สมองได้เป็นอย่างดีเพราะตรงข้ามกับความเชื่อในทางวิชาการ เพราะหุ่นยนต์เป็น capital investment ที่สำคัญ ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจผลิตได้มากขึ้นด้วยการใช้วัตถุดิบเท่าเดิม หัวใจสำคัญของการสร้างความกินดีอยู่ดีของทุกสังคมอยู่ที่การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ (productivity) หรือปริมาณผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยวัตถุดิบ หุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ ดังนั้นจึงสมควรส่งเสริม ไม่ควรปิดกั้นด้วยการเก็บภาษี ซึ่งจะทำให้เกิดขึ้นได้ยากขึ้นไม่มีใครสามารถหยุดการแพร่กระจายของหุ่นยนต์ได้แล้วในปัจจุบัน เพราะมันเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าในด้านการแพทย์ (ผ่าตัด ตรวจหรือรักษา) ด้านการบันเทิง ด้านอุตสาหกรรมภาคบริการ ด้านความมั่นคง ด้านการดำรงชีวิต ฯลฯ การเก็บภาษีไม่น่าจะชะลอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกเว้นแต่จะเก็บในระดับสาหัสเท่านั้น การเลียนแบบกันข้ามสังคมอย่างรวดเร็วในยุคสังคมออนไลน์ และการคาดหวังของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในทุกสังคม เป็นตัวผลักดันที่สำคัญในการใช้หุ่นยนต์ เซลล์สมองไม่รู้ว่าตัวของมันเองอยู่ในสมองของใคร ถ้ามันได้รับการดูแลผ่านการกระตุ้นความคิดในแต่ละวัน มันก็จะอยู่ในสภาพที่เสื่อมสลายช้าลงถ้าบังเอิญเจ้าของเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อโลก ไอเดียของ Bill Gatesก็นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายไม่น้อย”

นอกจากนี้ ยังมีบทความที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งของ Sam Mitha CBE เกี่ยวกับภาษีหุ่นยนต์ ซึ่งได้สรุปข่าวการให้ข้อคิดเห็นของ Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ รวมทั้งได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนะทางออกต่างๆ เพิ่มเติมจากข่าวดังกล่าว มีใจความสำคัญที่เกี่ยวกับมาตรการภาษีอากรสำหรับหุ่นยนต์ว่า3

(1) ขั้นตอนแรกในการเก็บภาษีหุ่นยนต์ ต้องกำหนดคำนิยามของหุ่นยนต์ให้ชัดเจน มีความเป็นกลาง ครอบคลุมหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และเครื่องจักรกลที่ประกอบด้วยปัญญาประดิษฐ์ อันมีความเฉลียวฉลาดในลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างกว้างขวาง ต้องไม่พิจารณาเฉพาะแต่ในมุมมองทางกฎหมายแต่ต้องรวมมุมมองทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และแนวทางตามรัฐธรรมนูญด้วย นอกจากนี้ การกำหนดคำนิยามนี้ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นแห่งเทคโนโลยีหุ่นยนต์ด้วย คือไม่ใช่คำนึงถึงแต่หุ่นยนต์ที่มีในปัจจุบันแต่ต้องคำนึงถึงหุ่นยนต์ในอนาคตซึ่งเรียนรู้ด้วยตนเองได้ เช่น รถขับเคลื่อนเองยานไร้คนขับ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์พยาบาล หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิงตุ๊กตาหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ทำการเกษตร เป็นต้น

(2) ปัญหาเกี่ยวกับสถานะในเชิงกฎหมายของหุ่นยนต์ ควรมีการกำหนดให้เจ้าของหุ่นยนต์ต้องรับผิดชอบและรับความเสี่ยงอย่างไรในกรณีที่หุ่นยนต์ทำงานผิดพลาด มีนักวิชาการบางท่านเสนอว่าควรให้หุ่นยนต์มีสถานะเป็นบุคคลในทางดิจิทัล และเจ้าของหุ่นยนต์ต้องร่วมรับผิดชอบในการกระทำของหุ่นยนต์ดุจเดียวกับนายทาสในกฎหมายโรมัน เพราะเป็นผู้ควบคุมดูแลและได้รับประโยชน์โดยตรงจากหุ่นยนต์ที่คล้ายทาส

(3) ทางเลือกของนโยบายเก็บภาษีเกี่ยวกับหุ่นยนต์ เพื่อลดและป้องกันปัญหาการปลดคนงานจากการใช้หุ่นยนต์ทำงานแทน มีหลายทางตัวอย่างเช่น

1) การเก็บภาษีหุ่นยนต์ ซึ่งไม่ใช่เป็นการเก็บภาษีจากหุ่นยนต์ที่ไม่มีสถานะเป็นอิสระหรือไม่มีสภาพบุคคล แต่เป็นการเก็บภาษีจากสัดส่วนการลงทุนในหุ่นยนต์ของบริษัทต่างๆ

2) การเพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องมีการเพิกถอนการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาหุ่นยนต์ควบคู่ไปด้วย เพราะมิฉะนั้นกลับจะทำให้บริษัทเพิ่มการใช้หุ่นยนต์เพื่อให้มีกำไรจากการลงทุนมากขึ้นหลังเสียภาษีเงินได้

3) การเก็บภาษีจ่ายครั้งเดียว ทุกคนรับภาระร่วมกัน ไม่มีการบิดเบือนเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากเป็นภาษีที่ไม่ได้เก็บจากฐานเงินได้หรือการใช้จ่าย คนจนจึงมีภาระหนัก

4) การเก็บภาษีเงินได้บริษัท โดยถือเสมือนว่าบริษัทจ่ายค่าจ้างสมมุติแก่หุ่นยนต์เท่ากับกรณีจ้างแรงงานคน และถือเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินได้ของบริษัท วิธีนี้คำนวณได้ในทางทฤษฎี แต่อาจปฏิบัติยากเพราะไม่ทราบว่าหุ่นยนต์ทำงานอะไรแทนใครบ้าง นอกจากนั้นบริษัทอาจต้องจ่ายเงินค่าประกันสังคมด้วยและจะหักเงินจำนวนค่าจ้างสมมุติเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ภาษีนี้จะกลายเป็นรายได้รัฐทดแทนการขาดหายไปของภาษีเงินได้ที่เก็บจากคนงาน

5) การเก็บภาษีจากผู้ใช้หุ่นยนต์ จำนวนภาษีขึ้นกับว่าหุ่นยนต์ทำให้จำนวนเงินเดือนค่าจ้างที่จ่ายให้คนงานลดลงเท่าใด หรือมีการลงทุนในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในระดับใด จำนวนเท่าใด อาจช่วยกิจการขนาดเล็กโดยยกเว้นฐานภาษีให้ส่วนหนึ่งและควรป้องกันบริษัทใหญ่ที่เลี่ยงภาษีโดยกระจายฐานภาษีไปให้หน่วยภาษีย่อยอื่น การประเมินภาษีนี้อาจติดตามจากข้อมูลว่ามีคนงานก่อนหน้าต้องจ่ายค่าประกันการว่างงานไว้เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้

6) การเก็บภาษีเงินเดือนเสมือนจากจำนวนคอมพิวเตอร์ ถ้าบริษัทต้องเสียภาษีจำนวนมากขึ้นเพราะใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากขึ้น ไม่ใช่เพราะกำไรมากขึ้น บริษัทอาจจ้างคนทำงานมากขึ้นแทนการใช้โปรแกรมคำสั่งหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

7) การไม่ให้บริษัทหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาสำหรับเงินลงทุนในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่จ่ายไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้

8) การเพิ่มอัตราภาษีการบริโภคหุ่นยนต์ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำให้การใช้หุ่นยนต์ทำงานมีต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันอาจกำหนดให้ภาษีซื้อหุ่นยนต์ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายที่บริษัทต้องเสีย

9) การเพิ่มอัตรามูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าเพิ่มที่หุ่นยนต์สร้างขึ้น บริษัทจะใช้หุ่นยนต์แทนคนงานในกรณีที่หุ่นยนต์สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าคนงาน ทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นและมีกำไรมากขึ้น ในทางทฤษฎีวิธีนี้จึงเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นสำหรับการขายสินค้าหรือบริการที่เกิดจากการใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว หรืออาจจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นถ้าบริษัทมีสัดส่วนยอดขายหรือให้บริการต่อจำนวนคนงานสูงกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี วิธีนี้ต้องแยกเก็บหลายอัตรา จึงซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เป็นที่นิยม รวมทั้งรูปแบบนี้อาจขัดกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (เว้นแต่เป็นประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรป)ด้วย

(4) แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันเกี่ยวกับแนวโน้มต่อไปของหุ่นยนต์ ที่จะมีความฉลาดคล้ายมีสมองเหนือมนุษย์ สามารถหาข้อมูลได้เองและมีความน่าเชื่อถือได้อย่างมาก แต่เนื่องจากข้อดีข้อเสียและผลกระทบของการพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะยังไม่ทราบแน่ชัด ยากจะคาดการณ์ถึงปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างรอบด้านทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น จึงมีมุมมองในแง่บวกและแง่ลบต่างๆ อย่างหลากหลาย มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แม้แต่ข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานดูแลพัฒนาการและสถิติข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องหุ่นยนต์ ก็ยังได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร จึงเสนอว่าควรให้หน่วยงานรัฐบาลที่ดูแลธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม (BEIS), การศึกษา, แรงงานและบำเหน็จบำนาญ และการคลังร่วมกันรับผิดชอบออกมาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากพัฒนาการของหุ่นยนต์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับรายได้สาธารณะและการคลังต่อไป

3 https://www.taxjournal.com/.../robots-technological-change-and-taxation-14092017, accessed Dec.5,2017. ข่าวเกี่ยวกับบิล เกตส์ ดูเพิ่มเติมใน https://i1.wp.com/www.tech
-talkthai.com/wp-contenthttps://static.naewna.com/uploads/2017/02/Bill_Gates_June_2015_wiki.jpg?ssl=1, สืบค้น 15 ธันวาคม 2560 นอกจากนี้ดู

1 https://www.adpt.news/2017/08/11/south-korea-world-first-robot-tax/,accessed Dec. 1,2017.

2 ดู วรากรณ์ สามโกเศศ, เก็บภาษีจากหุ่นยนต์, กรุงเทพธุรกิจวันที่ 7 มีนาคม 2560, http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640541, สืบค้น 15 ธันวาคม 2560

ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:10 น. ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
12:07 น. คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
12:03 น. รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
12:00 น. ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’

รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

  • Breaking News
  • ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’ ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
  • คอนเสิร์ตนั่งใกล้ \'เจ เจตริน\'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
  • รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น\'ใบเตย\'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า\'ดีเจแมน\'ให้กำลังใจ ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved