วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การสร้างรัฐธรรมนูญในจิตใจของประชาชน

ดูทั้งหมด

  •  

ในขณะที่นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลกำลังสาละวนอยู่กับกระบวนการที่จะสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการขึ้นต้นก็มีทีท่าว่าจะขัดแย้งกันเสียแล้ว ในการเลือกผู้ที่จะมานั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งกลับเล็งเห็นว่า การสร้างรัฐธรรมนูญในจิตใจของประชาชนอาจมีความสำคัญกว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเสียอีก เพราะฉบับลายลักษณ์อักษรไม่เคยดำรงอยู่ได้นานเกิน 10 ปี (โดยประมาณ) แต่ถ้าหากมาช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญในหัวใจของประชาชน โดยมีสถานศึกษา มหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษา ฯลฯ เป็นองค์กรหลัก เชื่อแน่ว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสถิตในหัวใจของประชาชนจะค้ำจุนระบอบการปกครองของไทยไปชั่วกาลนาน

รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือ วัฒนธรรมการเมืองที่ครอบคลุมความประพฤติของสมาชิกทุกๆ คนในสังคม เช่น ไม่ต่อยใต้เข็มขัด ไม่คิดโครงการฉ้อฉล เช่น แชร์แม่.... ไม่เล่นปาหี่ในสภา หรือพูด “เกิน” ความจริง นักการเมืองโดยเฉพาะผู้แทนราษฎร ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ไม่กักขฬะ แย่งชิงตำแหน่งกัน จนเป็นข่าวลือกันให้แซด กล่าวโดยย่อก็คือ เป็นสุภาพบุรุษบนเวทีการเมือง


การสร้างเยาวชนเพื่อรองรับระบบการเมืองการปกครองดังกล่าว ก็คือ การสร้างสุภาพบุรุษตามขนบธรรมเนียมที่ดีของแต่ละชนชาติ โดยปรับให้มีความทันสมัยขึ้น ฉะนั้น ครู-อาจารย์ จึงต้องคอยสอดส่องความประพฤติ และสั่งสอนเด็กทั้งในเวลาเรียนและนอกห้องเรียน การจัดกิจกรรมก็เพื่อฝึกอบรมความประพฤตินั่นเอง เช่น กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารี ก็เพื่ออบรมบ่มนิสัยของการเป็นผู้นำที่ดี ผู้ตามที่ดี ทำงานเป็นทีมเวิร์ก โรงเรียนพับลิคสกูลของอังกฤษจะออกกฎเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนประจำตื่นแต่เช้าตรู่ อาบน้ำเย็น และเล่นฟุตบอลแต่เช้า ก่อนรับประทานอาหารเช้า เพื่อฝึกความอดทนและวินัยของชีวิต (ตามแบบอย่างปรัชญาของพวกสปาร์ตัน) มีการส่งเสริมให้เด็กวัยรุ่น (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางความคิดใต้กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรม โรงเรียนพับลิคสกูลหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา จัดชั่วโมงให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้รวมกลุ่มอภิปรายปัญหาต่างๆ ที่อาจารย์หรือนักเรียนได้เลือกที่จะศึกษา

ที่สำคัญเช่นกัน จริยธรรมในการทำงาน ในกรม กองต่างๆ หรือคณะวิชาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรจะต้องส่งเสริมบรรยากาศของการปรึกษาหารือระหว่างคณาจารย์แต่ละคณะ ก่อนที่จะมีมติของคณะโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือสวัสดิการของคณาจารย์ทั้งหลาย

การจัดประชุม และกระบวนการ ควรจะต้องมีบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย โดยประธานให้โอกาสแก่ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึงก่อนลงมติ ไม่ควรจะรวบรัด (ยกเว้นรายการที่ไม่สำคัญและไม่มีปัญหาใดๆ) ผู้นำที่ดี ก็คือผู้นำที่สามารถฟังความคิดเห็นของสมาชิกและมีทักษะความสามารถในการสรุป หรือหาทางออกจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา

ประธานาธิบดีลินคอล์น ซึ่งทั่วโลกได้ยกย่องให้เป็นมหาบุรุษ ผู้ฟันฝ่าทำสงครามกลางเมืองเพื่อปลดปล่อยทาสในสหรัฐอเมริกาช่วงกลางคริสต์วรรษที่ 19 ถือว่าเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่างที่ทั่วโลกยกย่องสรรเสริญ ท่านจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอยู่เสมอ และทุกๆ วันเสาร์ จะเปิดทำเนียบให้ประชาชนทุกๆ สาขาอาชีพและพรรคการเมืองได้เข้ามาพบปะกับท่านเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องการดำเนินงานของรัฐบาล

ท่านลินคอล์นไม่เหน็ดเหนื่อยที่จะได้จับมือและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คนทุกๆ อาชีพและเป็นกันเองกับทุกๆ คน เป็นที่น่าสรรเสริญยิ่งและบางคนก็มาหางานทำ หากท่านพอช่วยได้ท่านก็จะช่วย เช่น เขียนนามบัตรฝากไปให้รัฐมนตรีต่างๆ ช่วยดูแล เช่นงานไปรษณีย์ งานช่างรังวัด และจิปาถะ หากเป็นเรื่องที่ยาก ท่านประธานาธิบดีก็มักจะหาเรื่องตลกมาพูดคุยเพื่อจะผ่อนอารมณ์ สร้างความพอใจให้แก่ผู้สนทนาได้เสมอ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ท่านประธานาธิบดีก็จะมีเกร็ดนิทานมาเล่าให้ที่ประชุมฟังอยู่บ่อยๆ เป็นที่เลื่องลือ เพื่อตอกย้ำแนวคิดของท่าน หรือเพื่อหาทางออกจากสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เช่น ในช่วงน่าสิ่วหน้าขวาน ที่มลรัฐภาคใต้กำลังรวมตัวเพื่อที่จะประกาศสงครามกับภาคเหนือ คณะรัฐมนตรีก็มีความคิดแตกออกเป็นหลายฝ่าย บางฝ่ายต้องการจะประนีประนอม บางฝ่ายต้องการจะปราบปรามไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ส่วนลินคอล์นนั้นไม่ต้องการให้มลรัฐภาคใต้ประกาศแยกตัว ขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะใช้กำลังเข้าปราบปราม และก็มีบางฝ่ายที่ใกล้ชิดกับมลรัฐภาคใต้ เช่น เวอร์จีเนีย ที่ยุให้ท่านประธานาธิบดียินยอมผ่อนตามข้อเรียกร้องของฝ่ายใต้ให้ถอนทหารออกจากป้อมปราการที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตมลรัฐภาคใต้ ท่านประธานาธิบดีก็นึกถึงนิทานจากอีสปเรื่อง ราชสีห์ ซึ่งมาสู่ขอลูกสาวของนายพราน นายพรานก็ติติงว่าราชสีห์มีฟันที่ยาวมากดูน่าเกลียดน่ากลัว ราชสีห์ก็กลับไปถอนฟันอันยาวจนหมดปาก และกลับมาหานายพรานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ยังติติงต่อไปว่า เล็บราชสีห์ดูจะยาวไปหน่อย ดูน่าเกลียด ราชสีห์ก็พาซื่อกลับไปถอนเล็บทั้งหมด และกลับมาหานายพราน ซึ่งเมื่อเห็นว่าราชสีห์ปราศจากเขี้ยวเล็บแล้วก็ทุบหัวราชสีห์จนถึงแก่ความตาย

ราชสีห์เสียรู้แก่นายพรานฉันใด พวกเราฝ่ายเหนือก็คงไม่หลงกลภาคใต้ฉันนั้น เป็นอันสรุปการอภิปรายข้อคิดเห็นที่สำคัญของวันนั้น ฝ่ายใต้-มลรัฐจอร์เจีย ก็เปิดฉากโจมตีป้อมปราการซัมเตอร์ และฝ่ายเหนือก็ส่งเรือปืนเพื่อไปป้องกัน เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้ออยู่ถึง 4 ปีเศษ และผู้คนล้มตายไปถึง 600,000 คน และลินคอล์นผู้ยิ่งใหญ่ก็คงจะต้องเล่านิทานไปอีกหลายเรื่องจนกว่าจะสิ้นสุดสงคราม

โดยสรุป หากผู้นำสหรัฐฯ ในช่วงนั้นมิใช่ลินคอล์นผู้มีวาทศิลป์ และศรัทธาในประชาชนผู้เสียสละชีพเพื่อภารกิจของชาติที่ยิ่งใหญ่ ผู้เข้าใจจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนทุกหมู่เหล่า และสามารถหล่อหลอมความคิดของมหาชนสหรัฐฯ (ภาคเหนือ) อาจประสบความพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น และอเมริกาก็อาจจะแตกแยกเป็นหลายประเทศ และคงไม่สามารถผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจครองโลกได้ดังปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยดังที่ท่านประธานาธิบดีลินคอล์นที่หลุมฝังศพเก็ตติสเบิร์ก ก็อาจจะไม่ปรากฏ ทั่วโลกคงไม่ได้ยินข้อความที่ดังกึกก้องในทุกๆ ทวีปที่โหยหาประชาธิปไตย ซึ่งท่านได้นิยามไว้อย่างกะทัดรัดและสวยงามว่า ระบบการเมืองการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ใช่จะเป็นระบบที่ทำให้ทุกๆ คนเท่าเทียมกันได้ทุกๆ เรื่อง แต่จะเป็นระบบที่ช่วยปลดเปลื้องอุปสรรคที่กีดขวางโอกาสเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันของทุกๆ คน เพื่อให้ทุกๆ คนได้เริ่มต้นชีวิตที่มีโอกาสเท่าเทียมกัน ดังตัวอย่างของการปลดโซ่ตรวนออกจากบ่าไหล่ของพวกทาสทั้งหลาย ตลอดจนโซ่ตรวนที่มองไม่เห็นในแทบทุกๆ สังคมโลกในปัจจุบัน

การจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตย จึงสมควรต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศที่ได้ต่อสู้ทางการเมืองมาจนกระทั่งได้ปลดแอกจากโซ่ตรวนทั้งหลาย แต่ศึกษาด้วยใจที่เปิดกว้างและเข้าใจบริบทของแต่ละยุคสมัย เช่น อังกฤษ กว่าจะมาเป็นระบบรัฐสภาดังทุกวันนี้ อังกฤษเริ่มระบบรัฐสภาตั้งแต่ ค.ศ.1215 เมื่อขุนนางได้ต่อสู้/ต่อรองกับกษัตริย์ เพื่อ “กฎมหาบัตร” (Magna Carta) ในปีนั้น และวิวัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นระบบรัฐสภา “Parliament” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 และยังจะต้องใช้เวลาอีกหลายศตวรรษกว่าจะพอมาเป็นต้นแบบของปัจจุบัน โดยต้องผ่านสงครามกลางเมือง ค.ศ. 1641-1648 และการปฏิวัติที่รุ่งโรจน์ ค.ศ. 1688-1689 และยังจะต้องผ่านไปอีก 2 ศตวรรษ จึงจะเริ่มเป็นประชาธิปไตยแบบปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษจะทำให้เข้าใจ-เข้าถึงขั้นตอนวิวัฒนาการของระบบนี้ น่าแปลกใจที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศจะมีคณะหรือแผนก “American Studies” หรือ “Russian Studies” หรืออีกหลายๆ ประเทศ แต่ไม่เคยเห็นมี “English Studies” (ในแง่ของประวัติศาสตร์การเมือง) ประวัติศาสตร์อังกฤษในประเด็นเรื่องวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา น่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับนักรัฐศาสตร์และผู้ที่จะร่างรัฐธรรมนูญทั้งหลาย

ดร.วิชัย ตันศิริ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:10 น. ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
12:07 น. คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
12:03 น. รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
12:00 น. ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’

รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

  • Breaking News
  • ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’ ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
  • คอนเสิร์ตนั่งใกล้ \'เจ เจตริน\'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
  • รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น\'ใบเตย\'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า\'ดีเจแมน\'ให้กำลังใจ ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved