วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันจันทร์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
จุดอับ... บนเส้นทางฟื้นฟูการบินไทย

ดูทั้งหมด

  •  

 


1. เมื่อกระทรวงการคลังขายหุ้นการบินไทยออกไปแล้ว 3.17%

คลังยังคงถือหุ้นการบินไทยอยู่ประมาณ 48% (แต่มีกองทุนรวมวายุภักษ์ และธนาคารออมสิน เป็นผู้ถือหุ้นลดในลำดับถัดไป)

การบินไทยก็ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบ ทอท. (คลังถือหุ้น 70%) หรือ ปตท. (คลังถือหุ้น 51%) อีกต่อไปแล้ว

กระทรวงคมนาคมจะไม่มีอำนาจหน้าที่ไปกำกับดูแลในฐานะรัฐวิสาหกิจภายใต้กำกับอีกต่อไป

กระทรวงการคลังยังมีบทบาทในฐานะ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” ส่งคนไปเป็นกรรมการ ผู้บริหาร ฯลฯ

2. หลังจากนี้ คงจะมีการแต่งตั้งบอร์ดการบินไทยชุดใหม่ แล้วการบินไทยก็จะไปยื่นเรื่องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาล

โดยจะต้องยื่นทั้งต่อศาลไทย และศาลสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการบินไทยมีหนี้ต่างประเทศอยู่กว่าครึ่งหนึ่งของหนี้สินทั้งหมดที่จะต้องปรับโครงสร้างหนี้

3.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จะต้องเร่งให้มีคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูเข้ามาโดยเร็วที่สุด เพราะจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ ส่วนการจ่ายเงินเดือนพนักงานนั้น ได้มอบหมายให้บอร์ดและรักษาการดีดี ไปหารือกับพนักงานว่า จะใช้วิธีเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ขณะนี้ การบินไทยมี 6 หน่วยธุรกิจ ที่สามารถหารายได้ ต้องอยู่บนโลกความเป็นจริง หากตั้งเงื่อนไขว่าเคยได้เงินเดือนเท่านี้ แต่บริษัทไม่มีเงินจ่ายพอจะทำอย่างไร หากจ่ายได้เดือนเดียวแล้วไม่มีจ่ายอีกแล้วจะเอาหรือไม่

“ขณะนี้การบินไทยมีสภาพคล่องเหลืออยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 6,000 ล้านบาท/เดือน (ค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประกอบการปกติทั้งเงินเดือนค่าโอที ทุกรายการ) ซึ่งปัจจุบันน่าจะลดลงเนื่องจากหยุดทำการบิน

สำหรับหนี้สินนั้น ได้มอบหมายให้เร่งทำรายละเอียด ได้แก่ 1. จัดทำบัญชีทรัพย์สิน บัญชีหนี้สิน แจงรายละเอียดหนี้ที่ครบดิว มีเท่าไหร่ 2. ทำบัญชีลูกหนี้ ของการบินไทย เช่น พวกเอเย่นต์ขายตั๋วต่างๆ”

4. ด่านหน้าที่ต้องเผชิญ คือ ปัญหาสภาพคล่องที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของการบินไทย ระหว่างที่ยังไม่ได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาล เพราะมีทั้งรายจ่ายประจำ รายจ่ายชำระหนี้ จะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย เงินที่มีอยู่นั้นเพียงพอถึงเดือนไหน จะถึงเดือน มิ.ย.เท่านั้น หรือไม่?

เชื่อว่า การบินไทยน่าจะต้องหาแหล่งเงินกู้ฉุกเฉินเพื่อต่อลมหายใจออกไปอีกระยะหนึ่งเสียก่อน

5. ด่านต่อไป หลังจากยื่นศาลเพื่อขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็คือการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จะลดหนี้ จะแปลงหนี้เป็นทุน ฯลฯ รวมถึงแผนฟื้นฟูจะออกมาอย่างไร ใครจะทำแผน-บริหารแผน จะผ่านได้หรือไม่? ขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้ด้วย

ลำพังเจ้าหนี้ในประเทศ ส่วนใหญ่ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งหลาย ธนาคาร ฯลฯ
น่าจะเจรจาพูดคุยได้ไม่ยาก เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ของการบินไทยในเวลานี้ คือ กระทรวงการคลัง

แต่จุดตายของการเดินตามแผนฟื้นฟู น่าจะอยู่ที่ด่านเจรจากับเจ้าหนี้ต่างประเทศ

6. ในแฟนเพจ “สื่อศาล” ได้นำเสนอข้อมูลและความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจ ว่าด้วยเรื่อง “กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ของไทยและสหรัฐอเมริกา” โดย “ดร.กนก จุลมนต์”

ทำให้เข้าใจว่า เส้นทางการขอฟื้นฟูกิจการในศาลสหรัฐอเมริกานั้น มิใช่เรื่องง่ายเลย

ยกตัวอย่างบางตอน เช่น

“คำถาม: ทำไมการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ในประเทศไทยจึงอาจไม่เพียงพอต่อการระงับการบังคับชำระหนี้จากเจ้าหนี้?

คำตอบ: เนื่องจากภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาตามมาตรา 90/9 จะเกิดสภาวะพักการชำระหนี้หรือสภาวะหยุดนิ่ง (automatic stay หรือ moratorium) ซึ่งมีขอบเขตและรายละเอียดตามมาตรา 90/12 ซึ่งมีเนื้อหาหลักๆ คือ ห้ามเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง ห้ามมิให้เจ้าหนี้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ห้ามเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย เป็นต้น สภาวะพักการชำระหนี้ดังกล่าว มีผลเฉพาะทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในประเทศไทยเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามหลักดินแดน (territorialism) ดังนั้น เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้ไทยหรือเจ้าหนี้ต่างประเทศยังสามารถดำเนินการฟ้องร้องและหรือบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศได้ เพราะผลตามกฎหมายไทยไม่ได้มีผลคุ้มครองไปถึงทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ

คำถาม: การยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกาสำคัญอย่างไร?

คำตอบ: การยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการในสหรัฐอเมริกาก็จะเกิดสภาวะพักการชำระหนี้แก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก การที่จะก่อให้เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐอเมริกา ต้องใช้กระบวนพิจารณาในส่วนที่เรียกว่า การล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการข้ามชาติ ในหมวด 15 (Chapter 15) ซึ่งกระบวนการเริ่มจากผู้จัดการทรัพย์สินหรือตัวแทนของคดีฟื้นฟูกิจการที่สหรัฐอเมริกาไปยื่นคำร้องขอให้ประเทศต่างๆ ที่บริษัทลูกหนี้มีทรัพย์สินตั้งอยู่รับรองว่ามีกระบวนการฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาแล้ว ขอให้เกิดสภาวะพักการชำระหนี้ในประเทศนั้นๆ ด้วย เหตุที่ผู้จัดการทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกาสามารถกระทำดังกล่าวได้เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีการอนุวัติกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการล้มละลายข้ามชาติของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) เป็นกฎหมายภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลของประเทศผู้ถูกร้องขอจะรับรองกระบวนการฟื้นฟูกิจการในสหรัฐอเมริกาและก่อให้เกิดสภาวะพักการชำระหนี้ตามที่ผู้แทนจากสหรัฐอเมริการ้องขอหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายล้มละลายภายในประเทศนั้นๆ ด้วย...

คำถาม : สรุปกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามหมวด 11 แห่งกฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกา (Chapter 11 Reorganization of the US Bankruptcy Code)?

1. การเริ่มกระบวนพิจารณา : โดยการยื่นคำร้องขอโดยลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอก็ได้ คดีส่วนใหญ่ลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ

2. หากลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอจะเป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 301 ซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์ว่าลูกหนี้ต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ ขอเพียงแค่ลูกหนี้มีหนี้ และไม่มีหลักเกณฑ์เรื่องจำนวนหนี้ขั้นต่ำ หมายความว่ามีหนี้เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ลูกหนี้ที่ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการมักมีปัญหาเรื่องกระแสเงินสดไม่พอชำระหนี้หรือมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน เพราะเงื่อนไขข้อหนึ่งในการที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ คือ การที่ผู้ร้องขอต้องยื่นคำร้องขอโดยสุจริตตามมาตรา 1129 (a)(3)

3. คดีเริ่มต้นเมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอ ผลประการหนึ่งคือ จะเกิด an order for relief (ถ้าแปลตรงตัวจะแปลว่า คำสั่งที่ช่วยบรรเทาลูกหนี้จากภาระหนี้ที่มีทั้งหมด หากแปลเทียบเคียงกับกฎหมายไทยคือ คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ) ผลอีกประการหนึ่งคือ เกิดสภาวะพักการชำระหนี้ตามมาตรา 362 ซึ่งมีเนื้อหาเทียบเคียงได้กับมาตรา 90/12 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ)

4. การยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องขอจะยื่นแผนฟื้นฟูกิจการมาพร้อมคำร้องขอก็ได้ ตามมาตรา 1121(a) ซึ่งกรณีนี้จะช่วยให้กระบวนการเร็วขึ้น หรือผู้ร้องขอจะค่อยมาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังคดีเริ่มต้นแล้วก็ได้ โดยกฎหมายให้โอกาส
ลูกหนี้เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูก่อนในช่วง 120 วันแรกนับจากวันเริ่มต้นคดี ตามมาตรา 1121 (b) ภายหลังจากนั้น หากลูกหนี้ยังไม่ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นๆ โดยส่วนใหญ่คือ เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะยื่นแผนฟื้นฟูกิจการให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาได้

5. หลักเกณฑ์ที่ศาลใช้พิจารณาว่าจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ เป็นไปตามมาตรา 1129 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ เจ้าหนี้แต่ละกลุ่มยอมรับแผนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 1126 เจ้าหนี้แต่ละรายได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสัดส่วนที่จะได้รับชำระหนี้หากลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย การยื่นคำร้องขอเป็นไปโดยสุจริตภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วลูกหนี้มีแนวโน้มที่จะไม่ล้มละลายหรือไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการอีกเว้นแต่เป็นกรณีที่ระบุไว้ในแผน เป็นต้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับระยะเวลาดำเนินการตามแผนตามมาตรา 1123 คือ กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นระยะเวลาเท่าใด แล้วแต่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกัน แต่ตามกฎหมายไทยตามมาตรา 90/42 (9) กำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนไว้ไม่เกิน 5 ปี ระยะเวลาดำเนินการตามแผนขยายได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ตามมาตรา 90/63 วรรคสอง อนึ่ง ระยะเวลาชำระหนี้จริงอาจยาวกว่าระยะเวลาดำเนินการตามแผนได้ ระยะเวลาดำเนินการตามแผนคือ ระยะเวลาที่บริษัทลูกหนี้ต้องบริหารกิจการภายใต้การกำกับของศาลล้มละลายกลางและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สังกัดสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

6. เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนตามมาตรา 1129 ถือเป็นวันที่คดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดไปจากศาลเลย เพราะลูกหนี้จะหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนตามมาตรา 1141 (d)(1)(A) โดยบริษัทลูกหนี้และ
เจ้าหนี้ต้องผูกมัดตามแผนและลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ระบุไว้ในแผนนอกศาล

ตรงนี้เป็นจุดที่เป็นประโยชน์อีกจุดหนึ่งของการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากระยะเวลาภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะสั้นกว่าของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากตามกฎหมายไทย เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วบริษัทลูกหนี้ยังต้องดำเนินการตามแผนภายในระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกิน 5 ปี เว้นแต่มีการขยาย ให้แล้วเสร็จหรือไม่แล้วเสร็จ เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/75 จึงทำให้คดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลง”

 

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:48 น. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
22:21 น. 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
22:18 น. 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
22:08 น. (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
22:05 น. 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
สลดวันพระ! ยิงดับ 2 ศพ คาวัดดัง ย่านเพชรเกษม
ดูทั้งหมด
‘ฮุน เซน’เล่นใหญ่‘ทักษิณขายชาติ’
ซูเปอร์ฮีโร่
สองพ่อลูก
ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง
คนไทยส่วนใหญ่เสียอะไร/ได้อะไรจากเจรจาภาษีการค้ากับสหรัฐ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

(คลิป) 'ฮุนเซน' พร้อมสวนกลับ ขอเวลา 3 ชม. ซัด 'ทักษิณ'

'มหาเธร์'อดีตนายกฯมาเลเซียออกจากรพ.แล้ว โพสต์คลิปเดินปร๋อขึ้นรถยนต์ส่วนตัว

คู่รักสูงวัยถูกหลอกใน‘มาเลเซีย’ เดินทางไกลไปขึ้นกระเช้าที่ไม่มีอยู่จริง-พบแค่คลิปโปรโมทด้วย‘AI’

  • Breaking News
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • \'ปราชญ์ สามสี\' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ\'ศิโรราบ\'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
  • \'กินเนสส์ฯ\'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น\'ชีสที่แพงที่สุดในโลก\'ด้วยราคา1.35ล้าน 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
  • (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก\'ทรัมป์\' อย่าเสีย \'ฐานทัพเรือพังงา\' เป็นพอ (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
  • \'สุทิน\' จวก \'โฆษกเพื่อไทย\' ย้ำรัฐบาล\'ชวน หลีกภัย\'ไม่เคยปรึกษา\'ทักษิณ\' 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ?  ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง

ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง

15 ก.ค. 2568

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เพื่อใคร?

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เพื่อใคร?

14 ก.ค. 2568

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

11 ก.ค. 2568

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู  คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

10 ก.ค. 2568

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

9 ก.ค. 2568

หนักแผ่นดิน

หนักแผ่นดิน

8 ก.ค. 2568

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

7 ก.ค. 2568

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

4 ก.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved