วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เวทีอิสระ
เวทีอิสระ

เวทีอิสระ

วันพฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
การบริหารจัดการแบบประชาธิปไตยในแวดวงธุรกิจและวิชาการ

ดูทั้งหมด

  •  

เวลาเราพูดเรื่องประชาธิปไตย ก็มักจะโยงกับเรื่องการเมืองการปกครองโดยอัตโนมัติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่การจะนำเอาเรื่องประชาธิปไตยไปเกี่ยวโยงกับการบริหารจัดการองค์การทางด้านธุรกิจและองค์กรทางด้านวิชาการแล้ว ถือได้เป็นเรื่องค่อนข้างแปลกใหม่ หรือไม่เป็นที่คุ้นเคยกัน เพราะจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ยินได้ฟังกันมาโดยทั่วไป จะเป็นบริษัท หรือจะเป็นโรงงาน ห้างร้าน หรือแม้กระทั่งสถาบันการศึกษา เราก็จะรู้ว่าโครงสร้างการบริหารจัดการนั้น มักจะมีคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการกำกับดูแล ผู้บริหารระดับต่างๆ และมีที่ประชุมผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว เป็นต้น

ทั้งหมดนี้มักจะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการและการตัดสินใจต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหารจัดการ และคณะกรรมการบริหารกำกับดูแลเป็นหลัก โดยจะไม่ค่อยมีข่าวคราวเกี่ยวกับบทบาทร่วม ของบรรดาลูกจ้าง พนักงาน และแรงงานโดยทั่วไปมาเกี่ยวข้อง เท่ากับว่าบรรดาลูกจ้างทั้งหลายต่างไม่ได้มีสุ้มเสียงในการบริหารจัดการและร่วมตัดสินใจในทิศทางและความเป็นไปขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นไปในระดับบริษัท หรือโรงงาน หรือแม้กระทั่งในระดับโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ซึ่งการตัดสินใจทั้งหมดมักจะกระจุกอยู่ที่ตัวผู้จัดการ ผู้อำนวยการ อธิการ เป็นหลัก โดยอาจจะมีประธานคณะกรรมการ หรือนายกสภาร่วมกับคณะกรรมการเป็นผู้ตัดสินใจในนโยบายและมอบหมายหรือกำกับดูแลทิศทางเกี่ยวกับความเป็นไปขององค์กรนั้นๆ เข้ามาร่วมด้วย


แต่เมื่อประมาณร่วมๆ 100 ปีที่ผ่านมา ระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ คณะกรรมการบริหารจัดการและหรือในคณะกรรมการกำกับดูแล ได้เริ่ม
เปิดโอกาสให้บรรดาลูกจ้างต่างๆ สามารถลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนสัก 2-3 คน เข้าไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการบริหารจัดการ หรือคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลได้ โดยมีคะแนนเสียงคนละ 1 เสียง เท่ากับกรรมการอื่นๆ ที่เป็นตัวแทนของเจ้าของ ผู้ถือหุ้น หรือแม้กระทั่งตัวแทนของธนาคารผู้ให้กู้ยืม และยังได้ขยายไปสู่บริษัท และโรงงาน รวมทั้งแพร่ขยายไปทั่วยุโรป และอเมริกาเหนือ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2โดยเฉพาะประเทศที่มีการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจการค้าในระบอบทุนนิยมการตลาด

การณ์นี้ ได้มีการบัญญัติศัพท์เป็นภาษาอังกฤษขึ้นว่า Co-Determination แปลว่า หลักการว่าด้วยการร่วมกันกำหนดหรือตัดสินใจ เป็นการให้เกียรติ และตระหนัก และเคารพในบทบาทอันมีค่าและสูงส่งของฝ่ายลูกจ้าง และการตระหนักยอมรับว่าผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างนั้นอยู่ในองค์กรเดียวกันและมีอนาคตร่วมกัน จำต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และต้องให้เกียรติต่อกันและกัน

หลักการว่าด้วยการร่วมกันกำหนดหรือตัดสินใจนั้น สะท้อนซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้คนส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ ลูกจ้างในองค์กรหนึ่งใด และเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นประชาธิปไตยขององค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หรือโรงงาน ห้างร้าน หรือจะเป็นสถาบันศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหนึ่งใดก็ตาม

เรื่องนี้เข้าใจว่าในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้มีการปฏิบัติในแวดวงธุรกิจหลักๆ ในแวดวงธนาคารพาณิชย์ ในแวดวงรัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชน และแวดวงวิชาการระดับสูง อีกทั้งก็ยังไม่ได้มีวิชาการเรียนการสอน ว่าด้วยการบริหารจัดการองค์กรภาคธุรกิจและวิชาการที่มีความเป็นประชาธิปไตยอันได้แก่ การมีส่วนร่วม มีสุ้มมีเสียงในการตัดสินใจของฝ่ายบุคลากรข้างมากที่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือแรงงาน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยก็ได้เพียรพยายามที่จะเป็นสังคมประชาธิปไตย และดำรงชีวิตอยู่กับระบบทุนนิยมที่เอกชนเป็นตัวตั้ง เป็นหัวหาด และตัวขับเคลื่อนแต่การกระจุกตัวขององค์กรภาคเอกชนอยู่ที่กลุ่มเจ้าของกลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มผู้บริหารจัดการ เพียงแค่กระหยิบมือเดียว โดยไม่คำนึงถึงคนส่วนใหญ่ที่เป็นบุคลากร เป็นลูกจ้างหรือพนักงานขององค์กรธุรกิจ

ก็เท่ากับว่าความเป็นประชาธิปไตยยังไม่เคลื่อนมาถึงแวดวงธุรกิจและวิชาการ แต่ก็เป็นเรื่องที่พึงควร และมีความจำเป็น มิใช่เพียงเพื่ออยู่ร่วมกันในกรอบความเป็นประชาธิปไตย แต่อำนวยให้องค์กรนั้นๆ มีความสมัครสมานสามัคคี และมีความยั่งยืนอีกด้วย

ตัวเลขโดยทั่วๆ ไปว่า ควรจะเริ่มการนำเอาหลักการว่าด้วยการร่วมกำหนดและตัดสินใจนั้น ควรจะเริ่มที่องค์กรใหญ่-เล็กขนาดไหน ซึ่งตัวเลขที่ได้ศึกษามาก็คงจะเริ่มได้ที่ 2,000 คน เรื่องนี้จะออกเป็นกฎหมายก็ได้ซึ่งต้องใช้เวลา แต่ถ้าสมาคมธุรกิจ องค์กรวิชาชีพต่างๆ ไปจนถึงสภามหาวิทยาลัย ก็สามารถที่จะเปิดทางให้บุคลากรส่วนใหญ่ระดับล่างสามารถลงคะแนนเลือกผู้แทนของตนเอง ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานขององค์กรนั้นๆ แต่จะเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ จากข้างนอกองค์กรของตนก็ได้

ก็ขอฝากผู้อ่านบทความนี้ช่วยกันกระจายข่าวบอกเล่ากันไปด้วยครับ ประชาธิปไตยของเราก็จะได้ไม่กระจุกตัวสาละวนอยู่ที่สถาบันพรรคการเมืองกันเท่านั้น หากแต่ควรจะได้แพร่หลายไปยังทุกภาคส่วนโดยทั่วกัน

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ

ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ

10 ก.ค. 2568

ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง

ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง

3 ก.ค. 2568

ไทยต้องไม่สะทกสะท้านกับฮุนเซน

ไทยต้องไม่สะทกสะท้านกับฮุนเซน

26 มิ.ย. 2568

เหตุการณ์สำคัญของเวียดนามที่ชาวอาเซียน และชาวโลกมองข้ามไปไม่ได้

เหตุการณ์สำคัญของเวียดนามที่ชาวอาเซียน และชาวโลกมองข้ามไปไม่ได้

19 มิ.ย. 2568

Open Government :  ระบบการบริหารราชการแบบเปิด

Open Government : ระบบการบริหารราชการแบบเปิด

12 มิ.ย. 2568

พื้นฐานความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

พื้นฐานความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

4 มิ.ย. 2568

หลักความเป็นตัวของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ

หลักความเป็นตัวของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ

29 พ.ค. 2568

สองผู้ยิ่งใหญ่อเมริกัน  กับสันติภาพโลก

สองผู้ยิ่งใหญ่อเมริกัน กับสันติภาพโลก

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved