l เราสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจ ตนเอง ผู้อื่น สถานการณ์ไทยและโลก ได้
๑. เข้าใจ และเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการรับรู้ข่าวสารที่เป็นจริง
๒. รู้หลักของการ “ศึกษา รับรู้ เข้าใจ” ข่าวสารสาระที่สำคัญต่อชีวิต และสังคม
๓. ศึกษาเรียนรู้ “ผู้มีภูมิรู้” ตัวจริง แล้วติดตาม“ข่าวสาระจากท่านเหล่านี้”
๔. ติดตามข่าวสาระ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
๕. การฝึกหัดวิเคราะห์ ข่าวสาระ และสรุปพัฒนาตนเอง
๖. การเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นหัวใจของการรู้แจ้ง รู้ทั้งหลักทฤษฎีและปฏิบัติ
๗. เข้าร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยน กับผู้รู้ โดยยึดหลัก การเรียนรู้ และการเคารพความคิดเห็นต่อกัน
๘. การเป็นผู้รับฟังที่ดี ฟังและคิด และควรมีการเตรียมตัวก่อนไปร่วมเสวนาฯ
๙. การเขียน หรือการบรรยาย เล่า “สถานการณ์การเมืองฯ” เป็นการเสริมต่อยอด
๑๐. สรุป และประเมินผลประจำ
l รู้ข่าวสารการเมืองในสภา เรื่องเศรษฐกิจสังคมฯ และเรื่องข่าวต่างประเทศไปทำไม?
ปัญหาใหญ่คือ
๑. การนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากน้อยเท่าใด
๒. โอกาสจะรู้ข้อเท็จจริง ก็ยาก
๓. กลุ่มสื่อ และฝ่ายต่างๆ ทั้งการเมือง กลุ่มทุนนักวิชาการ ภาคส่วนต่างๆ มักนำเสนอข่าวด้านเดียว
๔. ข่าวที่เป็นสาระ มีประโยชน์ต่อผู้คน และสังคม มีน้อย
๕. ......
@ ที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีส่วนเป็นข้อเท็จจริง ไม่น้อย
l แต่ เราในฐานะเป็นสัตว์สังคม
อยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยพึ่งพา อยู่ร่วมกับผู้คน สังคม
เรื่องที่เรารับรู้ และเข้าใจ นอกจากตัวเราเองแล้ว เราควรรู้ ต้องรู้ เรื่องของส่วนรวม บ้านเมือง และโลกด้วย โดยเฉพาะเรื่องราวทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ฯลฯ ที่มี ผลกระทบ หรือผลสะเทือนต่อความเป็นไปของประเทศและโลก ซึ่งจะสะท้อนกลับมาสู่ ตัวเรา ครอบครัว ลูกหลาน และคนที่เรารัก
l การศึกษาติดตามข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีคุณค่าความหมายต่อตนเองและสังคม
๑.ต่อตนเอง
(๑) เป็นการยกระดับความรู้
สังคมกว้างใหญ่ไพศาล และนับวันยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อย่างก้าวกระโดด รวดเร็วการติดตามข่าวสาร การแสวงหาข้อมูล และการเรียนรู้ ทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวและไกลตัว ทำให้เรามีความรู้ เท่าทัน กับสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
(๒) เข้าใจตนเอง
เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการเข้าใจชีวิต และการเข้ากับผู้อื่น ซึ่งต้องเริ่มจากความเข้าใจตนเอง เราเป็นใคร กำลังทำอะไร มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร
(๓) พัฒนาตนเอง
สังคมและผู้คน มีการพัฒนามากขึ้น อย่างรวดเร็ว หากเราอยู่ที่เดิม หรือ นิ่งเฉย ไม่ทำอะไร เราก็จะเป็นคนล้าหลัง และถูก
ผู้อื่นแทรกหน้าไป ทั้งในเรื่องความรู้ การงาน และอื่นๆ
(๔) การเข้าใจผู้อื่น
เป็นเรื่องที่สำคัญ ในการอยู่ร่วม การร่วมมือกันทำงาน สร้างสรรค์งานให้ก้าวหน้า การทำงานให้สำเร็จ บรรลุเป้าหมาย
(๕) การเข้าใจชุมชน สังคม ประเทศและโลก
เป็นเรื่องที่ตามมา ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ชุมชน สังคมและโลก ซึ่งจะมีผลสะท้อนกลับมาถึงตัวเรา และจะย้อนกลับมา
ยังตัวเรา และหากเราได้เข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง เราก็จะเข้าใจผู้อื่น ครอบครัว พี่น้อง เพื่อนมิตร ชุมชนสังคมประเทศและโลกมากขึ้น อันมีผลทำให้เราดีขึ้น และดีขึ้นไปเรื่อยๆ
2.ต่อผู้อื่น เพื่อนมิตร ชุมชน สังคม ประเทศและโลก
การติดตามข่าวสารข้อมูล การรับฟังทัศนะความคิด
ความเห็นของเพื่อนมิตร คนรู้จัก คนไม่รู้จัก จะทำให้เราเข้าใจ เพื่อนมิตร และบุคคลต่างๆ ได้เห็น ได้รับรู้ ความรู้ สติปัญญา ของบุคคลอื่นๆ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัด “คุณภาพของคน ชุมชน สังคม ประเทศ” ว่า อยู่ในขั้นใด และเข้าใจถึงผลที่จักเกิดขึ้น คือ หาก ผู้คนส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ และระบบสังคมโครงสร้าง เหลื่อมล้ำไม่เสมอภาคเป็นธรรม โอกาสของการพัฒนาชุมชน สังคม ให้ก้าวหน้าพัฒนา ย่อมไปได้ยาก หากคนส่วนใหญ่มีคุณภาพ เราก็จะได้เห็น การเลือกตั้งผู้นำที่มีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศ ก้าวพ้น ระบบโครงสร้างสังคมให้เป็นธรรม เป็นประชาธิปไตยได้จริง
3.ต่อการเป็นอยู่ การทำงาน การใช้ชีวิตในสังคม
การรับรู้ และเข้าใจ ตนเอง ผู้อื่น สังคม ทำให้เรารู้และเข้าใจว่าเราควรจักใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อให้เกิดผลดี ได้ประโยชน์
(๑) ถ้าสังคม ขาดคุณภาพ บ้านเมืองมีปัญหา
เราในฐานะเป็นมนุษย์ที่เกิดมาในสังคมนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่จะต้องทำหน้าที่ของพลเมืองดี คือ การต่อสู้ตามอุดมคติ เพื่อสร้างสังคมอุดมคติขึ้น โดยทำให้ดีที่สุด มากที่สุด เท่าที่กำลังและพลังเรามี และเราต้องทำร่วมกับผู้อื่น ที่มีอุดมคติใกล้เคียงกัน สร้างความร่วมมือกับพลังต่างๆ ที่มีทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีพลังมากเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญ และจำเป็นที่ “นักอุดมคติ” ต้องเรียนรู้และเข้าใจ คือ การต่อสู้เพื่ออุดมคติ ในช่วงที่สังคมกำลังเปลี่ยนผ่าน หากเราชนะ แน่นอนคนก็จะมาร่วมแสดงความยินดีกับเราด้วย หากเราแพ้ เราโดนคดี เราติดคุก เราจะติดคนเดียว เราจักรับไปคนเดียวเต็มๆ เราอย่าโกรธ ไม่พอใจ ใครๆ ก็ตามว่า ไม่ช่วยเรา ไม่สนับสนุนเรา เพราะเราทำด้วยอุดมคติทำด้วยความเต็มใจ และสุขใจที่ได้ทำ ผลดีมีแน่ อาจจะได้รับเป็นครั้งคราว แต่ที่แน่นอน ในอนาคตอีกยาวนาน สังคม
จักดีขึ้นแน่นอน
(๒) ถ้าสังคมดี มีคุณภาพ
ความจำเป็น ในการที่เราต้องกระโดดเข้าไปทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม ก็มีน้อยลง แต่อย่างน้อย เราต้องใช้ชีวิตที่ดีงาม เป็นพลเมืองดี ไม่สร้างปัญหา หรือ ทำตัวเป็นอุปสรรคขวางทาง
l ความเข้าใจ การมีความรู้ การเข้าใจตัวเอง ผู้อื่น และสังคม
(๑) เป็นกระบวนการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจตลอดชีวิต จะเป็นการสะสมความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ยิ่งทำมาก ทำนาน ต่อเนื่อง เราก็จะยิ่งมีความรู้ ประสการณ์มากขึ้น โดยต้องมีการสรุปบทเรียน แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง ยกระดับตัวเราให้ก้าวหน้าไปตลอด คือ การพัฒนาตนเองไปตลอดชีวิต
(๒) “ความผิดพลาด หรือความล้มเหลว เป็นมารดาแห่งความสำเร็จ”
อนึ่ง มิใช่หมายความว่า เราจะทำแต่เรื่องดี ถูกต้อง ไปทุกเรื่อง คนเรา มีอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ฉะนั้น บางช่วงบางจังหวะ เราก็อาจจะพลาดผิดได้ แต่เราต้องมาสรุป สำนึก และรู้ถึงความผิดพลาดนั้น แล้วแก้ไขปรับปรุง
การศึกษาเรียนรู้ เราต้องรู้จริง กว้างไกล โดยการศึกษาพัฒนาไปตลอดเวลา และที่สำคัญคือการใช้ความรู้ ความเข้าใจ “ข่าวสารข้อมูล สถานการณ์ต่างๆ” มาพัฒนา ยกระดับ “สติปัญญาการแสวงหาความเป็นจริง” (ซึ่งเป็นขั้นสูงขึ้น) เสมือน เป็น“บัวพ้นน้ำ” ยืนอยู่บนยอดเขาสูง ที่จักมองเห็นได้กว้างไกล เห็นความเป็นจริงของสังคม โลก ธรรมชาติ
อนึ่ง คนเรา แม้เก่งปานใด ก็ยังเป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่เปรียบเทียบกับโลกใหญ่ไม่ได้ ฉะนั้น เราต้องรู้ตนเองให้ถูกต้อง และเราต้องประเมินตัวเองให้ถูกต้องด้วย เรามีความรู้แค่ไหน อย่างไร และจำเป็นต้องพัฒนายกระดับไปตลอด
l สุภาษิต ข้อคิด : ต่อการ “รับรู้ความจริง”
๑. ในเรื่องของการรู้จริง รอบรู้ รู้ทุกฝ่าย
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” เป็นประโยคที่คุ้นหูกันดี ซึ่งเป็นข้อคิดเชิงปรัชญาจากซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู
การชนะทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย “จึงถือว่าเป็นวิธีการอันวิเศษยิ่ง” และ “หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธ์นั้นแล”
๒. คุณค่า และความหมายของ “ประสบการณ์”
อมตะวาจา โดย อาจารย์ปรีดี พนมยงค์
“เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ก็ไม่มีประสบการณ์ แต่เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจ” ในปี ค.ศ. ๑๙๓๒ ข้าพเจ้าอายุ ๓๒ ปี
พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และ (ให้สัมภาษณ์ เอเชียวีค ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๓)
l ๓. ในเรื่องของการรู้ตัวเอง
รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ โคลงโลกนิติ
รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ
แปลความ
คนที่อยู่ในโลกหรือสังคมที่แคบย่อมคิดว่าสิ่งที่ตนพบเห็นนั้นยิ่งใหญ่แล้ว ตรงกับสำนวน กบในกะลา อึ่งอ่างในกะลา หิ่งห้อยในกะลา
l นั้นคือ เราต้องรู้จักตนเอง และพัฒนาตนเองไปตลอดชีวิตเพื่อที่จะได้มีทักษะ ประสบการณ์ และปัญญาที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง และก่อคุณค่า ประโยชน์ ต่อตนเอง และส่วนรวม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี