อย่างไรก็ตาม การเดินทางเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมยังคงดำเนินต่อไป
ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์สำคัญแทบทุกครั้ง
อย่างเป็นกระบวนการ “ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง สู่ปลายทาง”
และการมีจังหวะก้าวขั้นตอนที่เขยิบสูงขึ้นกว้างไกลขึ้น
- ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์พฤษภาคม 2535
- การเข้าร่วมกับพรรคพลังธรรมในปี 2535
- การผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540
ร่วมในเหตุการณ์
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ๒๕๔๘ -๒๕๕๓
- องค์การพิทักษ์สยาม ๒๕๕๔
- คณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยฯ (กปปส.) ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗
ฯลฯ
ผ่านการร่วมการศึกษาและการเข้าร่วมปฏิบัติทางวิชาการและชีวิตจริง
นอกจากภาคปฏิบัติแล้ว ยังได้ร่วมศึกษาและปฏิบัติงานทางวิชาการและชีวิตจริงในหลายสถาบัน
- สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร ปปร. ๒ ( ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ )
- สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รุ่นแรก ( ๒๕๔๔ - ๒๕๔๘ )
- เป็นอนุกรรมการของวุฒิสมาชิกบางคณะต่อเนื่องมาหลายปี
- ฯลฯ
• หัวใจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นงานรักของชีวิต ทุกเส้นทางเดินที่ผ่านมา
การเข้าร่วมวงเสวนา รับฟัง พูดคุย แลกเปลี่ยน กับ บรรดาผู้นำวงการต่างๆของสังคม
ทั้งการเมือง งานวิชาการ การนำเสนอปัญหา การวิเคราะห์เจาะลึก
รวมทั้งในระดับชาวบ้าน เพื่อนมิตรสหายหลากหลายมีทั้งที่เป็นประจำต่อเนื่อง
กลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนทางการเมือง ที่มีผู้นำใฝ่ดี รักชาติบ้านเมือง และธรรมาภิบาล
หลากหลายมากมาย ทั้งเป็นกลุ่ม และปัจเจก ฯลฯ
การร่วมจัดตั้งและการร่วมบริหารองค์กรของประชาชน
- เริ่มตั้งแต่ สมัยทำหน้าที่กรรมการบริหาร ดูแลกิจการมวลชนของ
- พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยและพรรคพลังธรรม
- มาร่วมก่อตั้ง “สถาบันพัฒนาการเมือง” ณ ตึกช้าง ของ ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ( ๒๕๔๒ - ๒๕๔๖)
- และต่อมา “สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน” ( ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖ )
- สหพันธ์เกษตรกรเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (สกพ.) ๒๕๔๓ - ๒๕๕๐
ฯลฯ
ในเรื่องของธรรมชีวิต
ไปอยู่สวนโมกข์ ท่านพุทธทาส เป็นเวลาหนึ่งเดือน ที่สวนโมกข์ (ไปกับ ดร.ระวี ภาวิไล) ปี ๒๕๑๒
บวชเป็นพระนวกะ ๑ พรรษา กับ ท่านปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ๒๕๑๗
ปี ๒๕๕๔ ลูกชายบวช ณ วัดญาณเวศกวัน ของ พระมหาประยุทธ์โต ปี ๒๕๕๔
ได้มีโอกาส ได้รับฟังธรรม และสนทนาธรรม ศึกษาหลักคิดของท่าน
และการร่วมรับฟัง สนทนาธรรม และที่ยิ่งใหญ่ คือ “ธรรมในวัด สู่ธรรมของการเปลี่ยนแปลง”
กองทัพธรรม ของชาวสันติอโศก พ่อครูสมณะ โพธิรักษ์
จุดสำคัญที่ได้คือ : “ธรรม มิเพียงอยู่ในวัด ในที่สงบ”
“แต่ธรรมที่แท้จริง ต้องอยู่กับ ผลประโยชน์และความสุขของชาวประชา”
คิดและปฏิบัติธรรม ด้วยสติปัญญา ความเป็นจริง ด้วยใจที่สงบ สะอาด สว่าง
เสาหลักแห่งชีวิต
สุดท้ายนี้ เสาหลักแห่งชีวิตและความคิดในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน คือ
พระคุณของพ่อแม่,
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทย และ
บรรดาผู้นำสังคมที่มีจิตใจงดงาม ไม่กลับกลอก ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก
ที่เป็นหลักของชีวิตและความคิด ในการทำงานและใช้ชีวิต ประจำวัน
จากปริมาณสู่คุณภาพ: การเดินทางสู่ความสงบสุข
นี่คือจุดของการพัฒนาจากปริมาณไปสู่คุณภาพ
จากกายสู่ใจ
จากการต่อสู้อันเข้มข้นสู่ความสงบสุข
เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
ที่ใจใฝ่รู้ แสวงหา มุ่งมั่น เอาจริงไม่หยุด เพื่อมุ่งสู่จุดหมายของชีวิต
สรุปแล้วสรุปอีก ในทุกระยะหลักไมล์ของชีวิตในแต่ละช่วงเวลาที่เดินผ่านไป
นำมาปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีก เพื่อให้เกิดความเข้าใจและซึมซับอย่างแท้จริง
การปรับเปลี่ยน ยกระดับ จากดินสู่ภู สู่เนินเขาถึงเขาสูง แล้วจึงเริ่มเห็นฟ้ากว้างไกล
เริ่มเห็นแสงสว่าง จากมุมมืดมิดที่เคยเผชิญ
พบความสงบสุข ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เวลาใด
และแล้ว ทุกสิ่งก็มาบรรจบลงด้วยถ้อยคำที่จั่วหัวเรื่อง...
“ท่ามกลางพายุลมแรง ใจแจ้งสว่างนิ่งสงบ พบแสงสัจธรรม นำทางสู่สุขนิรันดร์เอยฯ”
บทสรุปท้ายสุด คือ
บทกวี : แสงธรรมนำทางใจ
ในห้วงพายุพัด พานพบสัจธรรม
ชีวิตล่วงเลยล้ำ ก้าวข้ามผ่านทุกข์ภัย
วัยเยาว์ วัยหนุ่มสาว เทาขาวดำผ่านไป
เรียนรู้สู่โลกกว้าง มุ่งสร้างสังคมใหม่
จากท้องถนนคนกล้า ป่าเขาสู่ใจ
ประชาธิปไตยในฝัน วันวานไม่เลือนหาย
วิถีแห่งธรรมนำทาง จิตสว่างไสว
สวนโมกข์ ชลประทาน วัดญาณให้แสงธรรม
พ่อครูสอนสัจธรรม มิได้อยู่แต่ในวัด
ประโยชน์สุขประชาชน คือคนต้องสัมผัส
เจ็ดสิบหกก้าวผ่าน สู่สันติภายใน
จากต่อสู้สู่สงบ พบพานความสุขใจ
สว่างสะอาดแจ้งจ้า แสงสัจธรรมนำทาง
ทุกก้าวเดินสุขสงบ มิพบความมืดมัว
พระคุณพ่อแม่ยิ่งใหญ่ ในหลวงรัชกาลเก้า
ผู้นำใจเปี่ยมเมตตา พาสุขนิรันดร์เอย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี