วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนเพื่อคิด
เขียนเพื่อคิด

เขียนเพื่อคิด

กษิต ภิรมย์
วันพุธ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
อาเซียนยังติดหล่มเรื่องพม่า อินโดนีเซียคือความหวัง

ดูทั้งหมด

  •  

ในช่วงไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมาโดยประมาณ อาเซียนสัมฤทธิผลในการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจพม่า ภายหลังพายุไซโคลนนาร์กีส และขับเคลื่อนผลักดันให้พม่าดำเนินการตามแผน7 ประการ (7 points roadmap) เพื่อให้พม่ากลับคืนสู่สังคมประชาธิปไตย

ความสำเร็จดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้เพราะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ และความพร้อมของฝ่ายพม่าในการรับความร่วมมือช่วยเหลือ และดำเนินการร่วมกัน ซึ่งในตอนนั้นก็ถือเป็นความโชคดีที่พม่ามี นายพล เต็ง เส็ง เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เปิดกว้าง และมีความมุ่งมั่น เป็นนายทหารและผู้นำทางการเมืองที่เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นผู้ที่เคร่งครัดในพุทธศาสนา และในการนี้เมียนมาก็ฟื้นตัวจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมาได้ และต่อมา เมียนมาก็ได้มีการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านการลงประชามติและมีการเลือกตั้งทั่วไป (ในปี ค.ศ. 2010/พ.ศ. 2553 และ ค.ศ. 2020/พ.ศ. 2563)


แต่ทว่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 พม่าก็ได้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจโดยฝ่ายกองทัพพม่า ซึ่งถือเป็นการล้มเลิกระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไปโดยปริยาย และหลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร ฝ่ายกองทัพพม่าก็ดำเนินการกวาดล้างผู้ต่อต้านอย่างกว้างขวาง และโหดร้ายทารุณ จนกระทั่งทุกวันนี้

โดยที่พม่า หรือเมียนมา ในฐานะที่เป็น 1 ใน 10 ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน หรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่า อาเซียน ก็เป็นที่คาดหมาย และเป็นที่เข้าใจกันทั้งในอาเซียน และหมู่ประชาคมโลกว่า “ครอบครัว” อาเซียน จะต้องรับมือร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองเมียนมาในครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะวิกฤตการเมืองเมียนมานั้นส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอาเซียน และต่ออาเซียนโดยรวม เพราะการปฏิวัติรัฐประหารเป็นการบ่อนทำลายหลักสิทธิมนุษยชนที่กฎบัตรอาเซียนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในขณะที่อาเซียนโดยรวมต่างก็มีความหวัง ความตั้งใจ ที่จะได้เห็นความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในหมู่ประเทศสมาชิกและสังคมอาเซียนโดยรวม

การปฏิวัติรัฐประหารที่เมียนมา จึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับวิสัยทัศน์ความคาดหวัง และกฎเกณฑ์กติกาของอาเซียน ส่วนผลกระทบที่จับต้องได้ก็คือ ความทุกข์ยากของชาวพม่า ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองอาเซียน ที่ชาวอาเซียนอื่นๆ และประเทศสมาชิกอาเซียน จะอยู่นิ่งเฉย นิ่งดูดายมิได้ เพราะเป็นเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองอาเซียนด้วยกัน

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) หลังการปฏิวัติรัฐประหาร 2 เดือนกว่า ประเทศบรูไนซึ่งเป็นประธานอาเซียนตลอดช่วงปี ค.ศ. 2020 ได้จัดการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิก โดยทางฝ่ายพม่าก็ได้รับเชิญด้วย และหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายพม่าคือนายพลอาวุโส มิน ออง หล่าย หัวหน้าคณะปฏิวัติ และผู้ครองอำนาจสูงสุดของพม่า ที่ประชุมอาเซียนสามารถตกลงกันได้ว่า จะร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤตเมียนมากันอย่างไร? โดยได้มีการประกาศข้อตกลงแบบฉันทามติ เรียกว่า ฉันทามติ 5 ประการ (Five point consensus) อันได้แก่ การยุติการใช้ความรุนแรง, การพบปะเจรจาหารือระหว่างฝ่ายต่างๆ ของพม่า, การร่วมมือช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม โดยการมอบหมายให้ศูนย์มนุษยธรรมอาเซียนเป็นผู้ดำเนินการ, การแต่งตั้งผู้แทนพิเศษอาเซียนว่าด้วยเรื่องพม่า โดยประธานอาเซียนคือ บรูไน (และต่อมาในปี ค.ศ. 2022 โดยกัมพูชา และในปี ค.ศ. 2023 โดย อินโดนีเซีย ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน) และการอนุญาตให้ผู้แทนพิเศษสามารถเข้าไปพบปะทุกกลุ่มของพม่าได้โดยเสรี

จากเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 จนถึงบัดนี้ปลายปี ค.ศ. 2022 แล้วนี้ แผนฉันทมติ 5 ประการ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้นเว้นการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษอาเซียน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ทั้งในสายตาของอาเซียนเองและในสายตาของประชาคมโลก จัดได้ว่า “อาเซียนติดหล่ม” ในเรื่องวิกฤตเมียนมานี้ซึ่งหากปล่อยให้ยืดเยื้อต่อไป ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ และความน่าเชื่อถือของอาเซียนก็จะยิ่งจืดจาง ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายตัวอาเซียนเอง ในขณะที่ความไม่สงบในพม่าก็ยังคั่งค้างและขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดย ณ วันนี้สถานการณ์ก็ได้เริ่มเข้าสู่สภาวะสงครามกลางเมืองแล้ว และจะเป็นสงครามกลางเมืองที่มุ่งจะเอาแพ้เอาชนะกันให้ถึงที่สุด แทนการหันหน้าเข้าหากันเพื่อเจรจาหาข้อยุติโดยสันติวิธี

ความล้มเหลวของอาเซียนในเรื่องเมียนมานี้ และเมื่อเทียบกับความสำเร็จของอาเซียนในเรื่องการฟื้นฟูพม่าจากไต้ฝุ่นนาร์กีส และการนำเมียนมากลับสู่สังคมประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบก็จะเห็นได้จากการที่ อาเซียนและผู้นำพม่าในขณะนั้นมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการที่จะร่วมมือกัน และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่ในกรณีวิกฤตเมียนมาครั้งนี้มีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงทำให้ฉันทามติ 5 ประการไม่คืบหน้าด้วยเหตุผลว่า

1. นายพลอาวุโส มิน ออง หล่าย ในฐานะผู้นำเมียนมาผิดคำมั่นสัญญา หรือนัยหนึ่งพูดตามภาษาชาวบ้านว่า “เบี้ยว” และไม่ไว้หน้าผู้ใดทั้งสิ้น

2. แผนฉันทามติ 5 ประการนั้น ขาดเงื่อนไขด้านเวลา ว่า แผนแต่ละประการนั้นจะต้องเกิดขึ้น หรือจะต้องยุติเมื่อใด เช่น การยุติการสู้รบ และการเปิดเวทีการเจรจาปรองดอง เป็นต้น อีกทั้งมิได้มีการวางแผนสำรอง หรือการวางแผนการดำเนินการขั้นต่อไป หากฝ่ายกองทัพพม่าไม่ปฏิบัติตามฉันทามติดังกล่าวข้างต้น

3. แผนฉันทามติ 5 ประการมิได้มีการกำหนดวิธีการปฏิบัติการของผู้แทนพิเศษอาเซียน เช่นว่า จะแค่รับคำสั่งจากประธานอาเซียนเพียงอย่างเดียว หรือจะต้องปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อต่อรอง หรือกดดันฝ่ายกองทัพพม่า

4. ฝ่ายอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ ซึ่งต้องร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อกดดันฝ่ายกองทัพพม่านั้น กลับมีความแตกแยกกัน อันสืบเนื่องมาจากความต่างในอุดมการณ์ และระบบการเมือง ในความมากน้อยของการยึดในหลักของการไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศหนึ่งใด และความต่างในระดับความสัมพันธ์ส่วนตัว กับฝ่ายผู้นำกองทัพพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ก็มีข้อสังเกตว่า ประเทศบรูไน และประเทศกัมพูชา ต่างก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพจำกัด และมีน้ำหนักในเวทีอาเซียนที่ยังน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับสถานะของพม่า

ขณะที่อาเซียนติดหล่มในเรื่องวิกฤตพม่านั้น อนาคตก็ยังดูไม่ได้มืดมนไปเสียหมด เพราะประธานอาเซียนประเทศต่อไปคือ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน และเป็นประเทศที่มีความใหญ่โตที่สุด ทั้งในแง่ประชากร พื้นที่ ขนาดเศรษฐกิจ แถมยังเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่โตที่สุดที่มีความเป็นประชาธิปไตย และฉะนั้นอินโดนีเซียจึงมีสถานะแห่งความน่าเชื่อถือ แล้วก็อยู่ในฐานะที่จะพูดจา และชี้แนะ

ชี้ทางให้กับผู้นำฝ่ายกองทัพพม่าได้ ในการที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับชาวพม่าให้กลับมาเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น หน้าตาของอาเซียนโดยรวม และในขณะเดียวกันอินโดนีเซียก็คงอยู่ในฐานะที่จะพูดจาโน้มน้าวให้ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ มาร่วมกับอินโดนีเซียอย่างแข็งขันเพื่อให้มีการยุติการสู้รบในพม่าโดยเร็ว และจัดเวทีให้ฝ่ายกองทัพพม่าเจรจาหารือกับฝ่ายต่อต้าน หรือฝ่ายประชาธิปไตยของพม่า ซึ่งประกอบด้วยผู้คนชาติพันธุ์พม่า ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย เช่น ฉาน (ไทยใหญ่) กะเหรี่ยง มอญ คาเรนนี ชิน คะฉิ่น และยะไข่ เพื่อนำไปสู่การขีดเขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งวางโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของพม่าในกรอบสหพันธรัฐที่เป็นประชาธิปไตย และมีความสมดุลระหว่างอำนาจรัฐบาลกลาง กับรัฐบาลชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งถ้าอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเอาจริงเอาจัง แวดวงต่างๆ ก็มีความเชื่อกันว่า อาเซียนจะไม่ติดหล่มอีกต่อไป และจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความเจริญก้าวหน้าให้กับพม่า และนำเอาชื่อเสียงของอาเซียนกลับมาได้

กษิต  ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ประธานาธิบดี ทรัมป์  ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

ประธานาธิบดี ทรัมป์ ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

2 ก.ค. 2568

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย  แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

25 มิ.ย. 2568

Mood ในยุโรป

Mood ในยุโรป

18 มิ.ย. 2568

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง  องค์ประมุข และประมุขประเทศ

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง องค์ประมุข และประมุขประเทศ

11 มิ.ย. 2568

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

4 มิ.ย. 2568

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์  เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

28 พ.ค. 2568

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

21 พ.ค. 2568

เมื่อตกอยู่ในมุมอับ ต้องถอยออกมาเริ่มต้นใหม่

เมื่อตกอยู่ในมุมอับ ต้องถอยออกมาเริ่มต้นใหม่

14 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved