วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนให้คิด
เขียนให้คิด

เขียนให้คิด

เฉลิมชัย ยอดมาลัย
วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เขาเลือกนักการเมืองหน้าใหม่ เพราะเชื่อว่าไม่โกง

ดูทั้งหมด

  •  

นักการเมือง คือบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ ในระดับของผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายสาธารณะ สามารถสั่งการในฐานะผู้มีอำนาจรัฐนักการเมืองสามารถเข้าสู่อำนาจการเมืองได้โดยผ่านการเลือกตั้ง แต่งตั้ง การรัฐประหาร หรือวิธีการอื่นใดก็ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ในบ้านเมืองของเรา มีนักการเมืองในระดับชั้นต่างๆ เช่น นักการเมืองระดับท้องถิ่น และระดับชาติ โดยนักการเมืองจะเข้าไปมีอำนาจในฐานะฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ 


ก่อนจะเข้าใจคำว่านักการเมืองได้ดี ต้องเข้าใจก่อนว่าการเมืองคืออะไร การเมืองในคำจำกัดความด้านรัฐศาสตร์ โดยอ้างจากคำนิยามของ Harold  Dwight Lasswell นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน และศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐฯ 

Harold D. Lasswell บอกว่า In Politics : Who Gets What, When, How. แปลความได้ว่า ในทางการเมืองจะบอกได้ว่าใครจะได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร

ดังนั้น จึงไม่ต้องประหลาดใจว่าทำไมคนจำนวนไม่น้อยจึงต้องการมีอำนาจการเมือง แล้วทำไมคนจำนวนไม่น้อยจึงต้องการเป็น สส. สว. รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี 

นักการเมืองต้องการมีอำนาจการเมืองไปเพื่ออะไร เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ 

สำหรับประเทศไทย คุณเชื่อหรือว่านักการเมืองส่วนใหญ่พยายามแย่งชิงอำนาจการเมือง เพราะว่าต้องการเข้าไปสร้างคุณประโยชน์ให้สาธารณะ

นักการเมืองในความเข้าใจ และความคิดเห็นของคุณๆ จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับมุมมอง และประสบการณ์ตรงของแต่ละคน บางคนอาจจะชื่นชมนักการเมือง เพราะได้รับผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากนักการเมือง แต่บางคนอาจรังเกียจนักการเมือง เพราะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจากนักการเมือง 

แต่ไม่ว่าคุณๆ จะมองนักการเมืองด้วยสายตาอย่างไรก็ตาม ก็ต้องระลึกไว้เสมอว่านักการเมืองมาจากประชาชน(ในกรณีมีการเลือกตั้ง) ดังนั้น การจะบอกว่านักการเมืองดีหรือเลว ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าคนที่เลือกนักการเมืองเป็นคนดีหรือเลว เพราะหากเราเชื่อว่าคนดีต้องเลือกคนดีก็หมายความว่าต้องไม่มีนักการเมืองเลวในบ้านเมืองหากประชาชนเป็นคนดีโดยแท้จริง แต่หากเกิดมีนักการเมืองเลว ก็ย่อมหมายความว่าต้องมาจากคนเลือกที่เลว 

แต่ไม่ว่าจะมีนักการเมืองดีหรือเลว แต่หากระบบการเมืองดีแล้ว ก็ย่อมช่วยคัดกรองนักการเมืองได้ในระดับหนึ่ง เพราะในระบบการเมืองดีนั้น ย่อมไม่สามารถมีนักการเมืองเลวได้ คำว่าระบบการเมืองดีหมายถึงระบบที่มีการตรวจสอบพฤติกรรมนักการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการถ่วงดุลการใช้อำนาจของนักการเมืองโดยกลไกต่างๆ ของสังคม ไม่ปล่อยให้นักการเมืองใช้อำนาจรัฐตามอำเภอใจ 

ขึ้นชื่อว่านักการเมืองแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว ก็สามารถจะเป็นคนเลวได้ไม่ต่างกัน เพราะการปล่อยให้นักการเมืองมีอำนาจรัฐ
และสามารถใช้อำนาจรัฐได้โดยไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ก็หมายความว่าปล่อยให้นักการเมืองเหลิงอำนาจ ใช้อำนาจรัฐโดยปราศจากการถูกควบคุม เมื่อคนใดก็ตามเหลิงอำนาจแล้ว ก็มักจะเสพติดอำนาจ และไม่ยอมลงจากอำนาจโดยง่าย เพราะการอยู่โดยปราศจากอำนาจคือการอยู่โดยปราศจากผลประโยชน์ ดังนั้น คนที่เสพติดอำนาจและเสพติดผลประโยชน์เสียแล้ว จึงต้องทำทุกหนทางเพื่อให้อยู่ในอำนาจไปโดยตลอด

ในยุคนี้ เราได้ยินคำว่านักการเมืองหน้าใหม่เป็นประจำ แล้วก็ยังได้เห็นนักการเมืองหน้าใหม่ที่ไร้ประสบการณ์การเมืองลอยหน้าชูคอเข้ามามากมาย นักการเมืองหน้าใหม่ไม่ใช่สิ่งผิด และไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ หากตั้งใจเข้ามาช่วยดูแลบริหารบ้านเมืองด้วยความตั้งใจจริง แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่นักการเมืองหน้าใหม่มีก็คือ การขาดประสบการณ์การเมือง ถามว่าคนไร้ประสบการณ์การเมืองจะสามารถบริหารประเทศได้หรือไม่ ตอบว่าอาจจะบริหารได้ แต่ก็จะเป็นการบริหารแบบบริหารไปแล้วเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน 

ถามว่าการบริหารประเทศไปพร้อมๆ กับเรียนรู้ไปแบบ learning by doing ทำให้ประเทศเสียหายหรือทำให้ประเทศได้ผลดี เรื่องนี้ก็ต้องถามกลับว่า คุณต้องการให้คนเพิ่งขับรถยนต์เป็นใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆเป็นสารถีให้คุณ เมื่อคุณต้องเดินทางไกลหลายๆ ร้อยกิโลเมตรในแต่ละวันหรือไม่ ฉันใดก็ฉันนั้น การปล่อยนักการเมืองหน้าใหม่ ไร้ประสบการณ์เข้าไปรับภาระบริหารราชการแผ่นดิน ก็คงไม่ต่างจากการปล่อยให้คนเพิ่งขับรถยนต์เป็นใหม่ ขับรถยนต์พาคุณไปขึ้นเขาลงห้วยเดินทางไกล

อาจจะมีผู้ถามว่า แล้วทำไมประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจึงมีผู้นำการเมืองอายุน้อยมากขึ้นมาบริหารประเทศได้ คำถามที่ต้องถามกลับคือ แล้วผู้นำอายุน้อยมากๆ รายนั้น สามารถบริหารประเทศได้มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศฟินแลนด์ เคยมีนายกรัฐมนตรีหญิง ชื่อซันนา มารีน อายุ 34 ปี แรกๆ เมื่อเธอขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นานาชาติต่างให้ความสนใจอย่างมาก และจับตาดูว่าเธอจะบริหารประเทศได้สักกี่วัน แล้วจะนำพาประเทศไปในทิศทางไหน

ซันนา มารีน ก้าวขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฟินแลนด์ช่วงปลายปี 2019 แล้วก็ต้องลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2023 หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งในช่วงต้นเดือนเมษายน 2023 

หลายคนถามว่า ทำไมฟินแลนด์มีนายกรัฐมนตรีหญิงอายุน้อยได้ แล้วทำไมประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีอายุน้อยบ้างไม่ได้ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่อายุมากหรือน้อยของนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ที่ความสามารถในการบริหารบ้านเมืองมากกว่า เราไม่ปฏิเสธเลย หากคนอายุน้อยสามารถบริหารบ้านเมืองได้ แต่คำถามคือ คนอายุน้อยที่อยากขึ้นมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยนั้นมีความสามารถในการบริหารจริงหรือ หรือเป็นแค่เพียงกระแสวูบๆ วาบๆ เท่านั้น 

ไม่มีใครคัดค้านการปล่อยให้เด็กน้อยขึ้นไปบริหารประเทศ หากเด็กน้อยรายนั้นมีความสามารถในการบริหารอย่างแท้จริง แต่คำถามคือเด็กน้อยมีความสามารถบริหารจริงๆ หรือ บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่น จึงไม่สามารถปล่อยให้เด็กไร้เดียงสารับหน้าที่บริหารประเทศเพียงลำพัง เพราะหากประเทศชาติพังพินาศขึ้นมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดล้มเหลวของเด็กอมมือ ก็หมายความว่าความพินาศจะมาเยือนทุกคนโดยไม่มีใครรอดพ้นจากความพินาศบรรลัยนั้นได้

ที่นี้ลองมาพิจารณาว่า หากเราจำเป็นต้องให้เด็กขึ้นไปบริหารประเทศ เราจะเลือกเด็กชนิดใดให้เข้าไปทำหน้าที่สำคัญนั้น 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า เด็กก็คือเด็ก แต่ก็มิได้หมายความว่าเด็กทุกคนจะไร้ความสามารถในการบริหารเสมอไป แล้วก็ไม่ได้หมายความด้วยว่า คนโตหรือผู้ใหญ่จะมีความสามารถในการบริหารบ้านเมืองให้ดีได้เสมอไป ดังนั้นเราน่าจะต้องช่วยกันคัดเลือกให้เด็กที่มีความตั้งใจดีได้ร่วมบริหารประเทศกับผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ตรง และต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่คนเลวร้าย เสพติดอำนาจรัฐ

น่าสนใจที่เด็กผู้ซึ่งเพิ่งมีสิทธิเลือกตั้ง สส. มักตัดสินใจเลือกตัวแทนของเขาโดยดูจากการโฆษณาผ่านระบบ social media สารพัดชนิด โดยละเลยการดูประสบการณ์การเมืองของผู้ที่ตนเองเลือก ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่านี่คือการเลือกโดยอาศัยข้อมูลจาก social media มากกว่าอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์

จากการสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส. ครั้งแรก ได้คำตอบที่ชวนให้ช็อกคือ เลือกโดยดูจากหน้าตาของผู้สมัคร บางรายตอบว่าเลือกโดยดูจากภาพลักษณ์ของผู้สมัคร บางรายหนักกว่านั้น ตอบว่าเลือกเพราะผู้สมัครมีหน้าตาและการแต่งกายเหมือนนักร้องนักแสดงเกาหลีใต้ บางรายตอบว่าเลือกเพราะเบื่อรัฐบาลเก่า เนื่องจากเป็นคนแก่ บางรายตอบว่าต้องการเห็นคนรุ่นใหม่เข้าไปบริหารประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น บางคนตอบว่าเลือกเพราะดูว่าผู้สมัครมีความทันสมัยก้าวหน้า ดูแล้วเป็นมิตรมากกว่านักการเมืองที่มีอายุมาก 

แต่เมื่อถามลึกลงไปว่า แล้วมั่นใจได้อย่างไรว่าคนที่เลือกมีความสามารถบริหารประเทศได้จริง คำตอบคือ ไม่ทราบ แต่เลือกเพราะเห็นว่าเป็นของใหม่ เป็นสินค้าใหม่ ต้องการให้สินค้าใหม่เข้าไปเปลี่ยนสินค้าเก่า เบื่อสินค้าเก่า เพราะไม่สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อถามต่อไปว่า แล้วจะตอบอย่างไรกับผลงานการพัฒนาประเทศในเชิงกายภาพที่รัฐบาลชุดปัจจุบันทำไว้มากมาย ก็ได้รับคำตอบว่า ก็ไม่มีอะไรน่าประทับใจมากนัก เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็สามารถพัฒนาประเทศได้ไม่ต่างกัน หากมีเงินลงทุนก็สามารถพัฒนาประเทศได้ 

เมื่อถามเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความรักชาติ รักแผ่นดิน รักความเป็นไทย ก็จะได้คำตอบว่าเรื่องชาติบ้านเมืองเป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ แต่สิ่งจับต้องได้คือ ต้องเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเก่าๆ ต้องทำให้บ้านเมืองพัฒนาไป ต้องให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เพราะคนรุ่นเก่าสร้างปัญหาไว้มากมาย ต้องให้คนรุ่นใหม่เข้าไปแก้ไขปัญหา

เมื่อถามว่า แล้วคิดว่าคนรุ่นใหม่จะมีความสามารถบริหารประเทศได้จริงหรือคำตอบคือ ก็ต้องลองให้เข้าไปบริหารดู 

จะพบว่าการสนทนานี้เวียนวนไปมาระหว่างคำว่า คนรุ่นเก่าสร้างปัญหาไว้มาก ต้องให้คนรุ่นใหม่เข้าไปแก้ปัญหา และก็ยังเจอกับคำว่า คนรุ่นใหม่ไร้ประสบการณ์บริหารประเทศ กับคนรุ่นเก่าเสพติดอำนาจรัฐ

ครั้นถามต่อไปว่า แล้วแน่ใจหรือว่าเมื่อคนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจรัฐแล้ว จะไม่เสพติดอำนาจรัฐเหมือนคนรุ่นเก่า คำตอบคือไม่แน่ใจ แต่ต้องให้ลองดูก่อน หากมีปัญหาก็ค่อยกลับมาแก้ไขกันใหม่ แต่ดีกว่าปล่อยให้คนรุ่นเก่ามีอำนาจรัฐต่อไป เพราะไม่ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น

อันที่จริงยังมีอีกหลายประเด็นในการสนทนากัน เช่น นักการเมืองรุ่นใหม่มีจริยธรรมสูงกว่านักการเมืองรุ่นเก่าจริงหรือ มีความซื่อสัตย์สุจริตมากกว่านักการเมือง
รุ่นเก่าหรือ มีความรู้ความสามารถมากกว่าหรือ มีความฉลาดเฉลียวจริงๆ หรือ เป็นคนเก่งและคนดีจริงๆ หรือ

สิ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการพูดคุยกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้เพิ่งมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกคือ นักการเมืองรุ่นเก่าเป็นคนเลวร้ายกว่านักการเมืองรุ่นใหม่ เพราะนักการเมือง
รุ่นเก่าก่อปัญหาต่างๆ นานา ให้กัประเทศมายาวนานแล้ว ต้องให้นักการเมืองรุ่นใหม่เข้าไปชำระสะสางปัญหาเดิมๆ 

บางคนตอบว่าสาเหตุที่เลือกนักการเมืองรุ่นใหม่เพราะดูแล้วเป็นคนรุ่นเดียวกัน น่าจะพูดจาภาษาเดียวกัน และมีความเป็นมิตรมากกว่าคนรุ่นเก่า ส่วนเรื่องประสบการณ์การทำงานบริหารประเทศ เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ เพราะนักการเมืองเก่าก็ต้องเรียนรู้เรื่องการเมืองเช่นกันในวันที่เริ่มลงสนามการเมืองครั้งแรก

คำตอบที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ เลือกคนอายุใกล้เคียงกันกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก เพราะเชื่อว่าเป็นคนหัวใหม่ หัวก้าวหน้า เป็นคนไม่นิยมความเป็นเผด็จการ 

เมื่อถามต่อไปว่า แล้วมั่นใจได้อย่างไรว่านักการเมืองหน้าใหม่ไม่เป็นเผด็จการ ก็ได้รับคำตอบว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมเผด็จการ และต่อต้านเผด็จการ และย้ำว่าคนรุ่นเก่ามีแนวโน้มเป็นเผด็จการมากกว่าคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ สามารถบ่งบอกได้ว่า การตัดสินใจเลือกตัวแทนทางการเมือง หรือเลือก สส. ของคนรุ่นใหม่ใช้การเลือกจากความเชื่อของปัจเจกโดยแท้ เชื่อโดยเน้นเพียงว่าคนรุ่นใหม่ต้องไม่โกงเหมือนคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ฉลาดกว่าคนรุ่นเก่า เป็นมิตรมากกว่าคนรุ่นเก่า และมีความเป็นเสรีนิยมมากกว่าคนรุ่นเก่า โดยไม่ได้สนใจเรื่องประสบการณ์การเมือง ไม่สนใจเรื่องมโนธรรม ความรักชาติ รักแผ่นดิน  

น่าศึกษาต่อไปว่า การเลือก สส. โดยยึดหลักคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ก็ไม่ต่างไปจากการยึดหลักพวกตนมากกว่าให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของส่วนรวม 

เรามาตามดูกันต่อไปว่า คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่แวดวงการเมืองจะนำพาประเทศชาติไปในทิศทางใด แล้วต้องกันต่อไปว่า เมื่อคนรุ่นใหม่มีอำนาจรัฐแล้วจะเสพติดอำนาจรัฐหรือไม่ แล้วจะใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อสาธารณะ 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส. จำเป็นต้องพึงระลึกไว้เสมอคือ อย่าเชื่อว่านักการเมืองรุ่นใหม่จะไม่เสพติดอำนาจการเมือง หากเชื่อว่านักการเมืองรุ่นเก่าเสพติดอำนาจการเมือง เพราะขึ้นชื่อว่านักการเมืองแล้ว ไม่มีใครไม่มีเสพติดอำนาจรัฐ ดังนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องรู้เท่าทันพฤติกรรมการเมืองของนักการเมือง และอย่าเชื่อว่านักการเมืองหน้าเก่าต้องเลวกว่านักการเมืองหน้าใหม่ เพราะขึ้นชื่อว่านักการเมืองแล้ว ก็คือนักการเมืองเหมือนๆ กัน ไม่น่าจะมีใครดีหรือเลวต่างกัน ย้ำว่านักการเมืองที่ดีต้องใช้อำนาจรัฐเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้สาธารณะ แต่คำถามคือเราจะหานักการเมืองที่ดีพบหรือไม่

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:40 น. 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
15:20 น. ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
15:14 น. 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
15:09 น. วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี
15:03 น. ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

  • Breaking News
  • \'อนุสรณ์\'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
  • ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย  3 อำเภอในยะลา ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
  • \'ทวี\'เผย\'กกต.\'ประสาน\'ดีเอสไอ\'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
  • วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี
  • ไอจีไฟลุก! \'เป้ย ปานวาด\'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้ ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ปากแจ๋ว ปากพล่อย อ้างวิชาการบังหน้า

ปากแจ๋ว ปากพล่อย อ้างวิชาการบังหน้า

4 พ.ค. 2568

ประเทศวิบัติ เพราะนักการเมืองโง่มีอำนาจรัฐ

ประเทศวิบัติ เพราะนักการเมืองโง่มีอำนาจรัฐ

27 เม.ย. 2568

อันวาร์, มิน อ่อง หล่าย, ทักษิณ และแพทองธาร

อันวาร์, มิน อ่อง หล่าย, ทักษิณ และแพทองธาร

20 เม.ย. 2568

แพทองธารไม่เห็นปัญหา reciprocal tariff

แพทองธารไม่เห็นปัญหา reciprocal tariff

13 เม.ย. 2568

แก้ปัญหา US tariff ด้วยสติปัญญาของแพทองธาร!!!

แก้ปัญหา US tariff ด้วยสติปัญญาของแพทองธาร!!!

6 เม.ย. 2568

แผ่นดินไหว ภัยพิบัติที่รัฐบาลไทยไม่เคยเตรียมตัว

แผ่นดินไหว ภัยพิบัติที่รัฐบาลไทยไม่เคยเตรียมตัว

30 มี.ค. 2568

ดูเตอร์เต-ทักษิณ ความเหมือนที่ต่างกันกับสงครามปราบยาเสพติด

ดูเตอร์เต-ทักษิณ ความเหมือนที่ต่างกันกับสงครามปราบยาเสพติด

23 มี.ค. 2568

ทักษิณ ชินวัตร กลัวถูกซักฟอกกลางสภา แต่อยากมีอำนาจการเมือง

ทักษิณ ชินวัตร กลัวถูกซักฟอกกลางสภา แต่อยากมีอำนาจการเมือง

16 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved