วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
สรุปประเด็นเสวนาต้านโกงนานาชาติ

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมาศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค หรือ KRAC ได้จัด “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งงานครั้งนี้มีเหล่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ทำงานอยู่ในแวดวงการต่อต้านคอร์รัปชันจากนานาประเทศ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ เครื่องมือและวิธีการจัดการปัญหาคอร์รัปชัน ใน 3 ประเด็นหลักที่กำลังได้รับความสนใจในวงการต่อต้านคอร์รัปชันโลก ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบการจัดการงบประมาณ และกระบวนการนิติบัญญัติ

หัวข้อที่ 1 เรื่อง “การใช้ข้อมูลเปิดเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและคุณธรรม” (Using Open Data to Improve Governance and Integrity) ดำเนินการสนทนาโดย Cynthia Gabriel ผู้ก่อตั้ง The Center to Combat Corruption and Cronyism


เริ่มที่ รองผู้ว่าฯ กทม. ศานนท์ หวังสร้างบุญ ผู้รับผิดชอบโครงการ Open Bangkok ได้กล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.ทำงานภายใต้ 5 หลักการ คือ 1. การให้ความสำคัญกับโครงการใหญ่ และโครงการเส้นเลือดฝอย 2.การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3.การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน 4.การให้บริการสาธารณะ ความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ 5.ความร่วมมือกับประชาชน โดยโครงการ Open Bangkok ทั้ง 5 มิติคือ

1. Open Data (ข้อมูลเปิด): ปรับข้อมูลหน่วยงาน กทม.ให้เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Machine-readable) ตัวอย่าง data.bangkok.go.th

2. Open Service (เปิดการให้บริการ) : ให้ความสำคัญกับการรับฟังประชาชน รับเรื่องร้องเรียนผ่าน Traffy fondue ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมารับเรื่องมาแล้ว 3 แสนเรื่อง แก้ไขไปแล้ว 2.2 แสนเรื่อง

3. Open Contract (เปิดสัญญา) : ทำงานร่วมองค์กรเครือข่าย เช่น Construction Sector Transparency Initiative (CoST) และ Open Contracting Partnership (OCP) เพื่อเปิดข้อมูลสัญญาของ กทม. บนเว็บไซต์ egp.bangkok.go.th

4. Open Policy (เปิดนโยบาย): สร้างเว็บไซต์ให้ประชาชนติดตามนโยบายที่เสร็จสิ้นแล้วตามที่หาเสียงไว้ในopenpolicy.bangkok.go.th

5. Open Innovation (เปิดนวัตกรรม) : สร้างแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เช่น เว็บไซต์จองพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ทำกิจกรรม เว็บไซต์เปิดให้ประชาชนหางาน

ต่อมา Wana Alamsyah จาก Indonesia Corruption Watch and Opentender.net สรุปว่าเทคโนโลยีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนด้วย โดยนำเสนอ Opentender.net ที่เป็นแพลตฟอร์มในประเทศอินโดนีเซียที่ช่วยรวบรวมและเรียบเรียง ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลสัญญา ข้อมูลการแข่งขันของภาครัฐได้ง่าย เพิ่มการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบภาคประชาชน

ตัวอย่างความสำเร็จของ Opentender.net คือโครงการ Monitoring Marathon ที่ชวนให้ประชาชนจัดทีมเข้ามาแข่งขันในการตรวจสอบโครงการรัฐ

ถัดมา Khairil Yusof ผู้แทน Sinar Project ประเทศมาเลเซีย เล่าต่อว่า ข้อมูลเป็นสิ่งได้มายาก โดย 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคะแนนเฉลี่ยการเปิดข้อมูลอยู่เพียงแค่ 25/100 คะแนน ดังนั้น การจะได้มาซึ่งข้อมูลหลายภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทำในส่วนที่ทำได้ แบ่งปันข้อมูลกัน ก็จะได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านปัญหาคอร์รัปชัน

การเปิดข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันจะต้องทำให้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน (Open Data Standard) เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้โดยยกตัวอย่างโครงการ CoST ที่การให้ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ เช่น งบประมาณ ที่ตั้ง วัตถุประสงค์โครงการ

หัวข้อที่ 2 เรื่อง “โครงการริเริ่มสนับสนุนการพัฒนาการกำกับดูแลและส่งเสริมการบริหารการเงินที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ” (Initiatives to Promote Transparent and Accountable Financial Management) ดำเนินการสนทนาโดย Alvin Nicola จาก Transparency International Indonesia.

เริ่มโดย คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เล่าภาพรวมโครงการ Integrity Pact (IP) ที่มีผู้สังเกตการณ์อิสระซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ โดยได้สร้างความสำเร็จไปให้เห็นแล้วบ้าง เช่น ทำให้งบประมาณจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นของประชาชน สร้างค่านิยมเรื่องความโปร่งใสให้กับสังคม และที่สำคัญ สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้แล้วจริงหลายหมื่นล้านบาท

ลำดับถัดมา คุณธนิสรา เรืองเดช CEO & Co-founder ของ Punch Up และ WeVis เล่าถึงบทบาทของ Punch Up ที่ได้นำข้อมูลภาครัฐที่ยุ่งยากมาทำให้เห็นภาพชัดเจน (Visualization) เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ง่ายขึ้น ในตอนท้ายได้กล่าวถึงบทเรียนจากความท้าทายที่ได้เจอหลังจากการทำงาน 4 ปีที่ผ่านมา 3 ประการได้แก่

1. เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น ต้องเปิดพื้นที่ประชาชนและรัฐคุยกันได้มากขึ้น

2. เครื่องมืออาจไม่ต้องยิ่งใหญ่ สามารถเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ และขยายไปเรื่อยได้

3. ระบบที่ยั่งยืนคือการนำระบบให้ไปอยู่ในนโยบายราชการ ไม่อย่างนั้น พอเปลี่ยนผู้บริหาร ระบบนั้นก็จะเปลี่ยนไป

ผู้บรรยายคนสุดท้ายของวงนี้คือ Shreya Basu จาก Open Government Partnership (OGP) ซึ่งได้อธิบายการทำงานขององค์กร OGP ที่มุ่งสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการของรัฐ เพื่อให้ประชาชนในประเทศนั้นๆ

สามารถเข้าไปมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลเปิดเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมในอินโดนีเซีย นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาต่างๆ เช่น เพิ่มรายได้ของรัฐบาล สร้างขวัญกำลังใจในการเสียภาษี ลดการคอร์รัปชัน นอกจากนี้ Shreya ยังได้สรุปบทเรียนจากการทำงานของ OGP ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ การขาดความตระหนักรู้ของประชาชนในการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ความยากของการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐที่มักใช้เวลามาก และความท้าทายในการเปลี่ยนโครงการนำร่องให้เป็นโครงการที่ยั่งยืน

หัวข้อสุดท้าย เรื่อง “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในการกระบวนการนิติบัญญัติ” (Assessing and Addressing Corruption Risk Factors in Legislation) ดำเนินการ สนทนาโดย ศาสตราจารย์ Matthew Stephenson จาก Harvard Law School

เริ่มที่ Jungoh Son ผู้แทนจาก Anti-Corruption and Civil right Commission (ACRC) ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ของโลกที่ได้นำแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันในการออกกฎหมายใหม่ๆ มาใช้แล้วประสบความสำเร็จ โดยเขาเล่าว่า กฎหมายหลายๆ ฉบับ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดก็ตาม หากมีความคลุมเครือ มีข้อกำหนดไม่ชัดเจน ไม่มีความเป็นรูปธรรม ไม่โปร่งใส และขาดการกำหนดกลไกความรับผิดชอบให้ชัดเจนแล้ว โอกาสจะเปิดให้เกิดการคอร์รัปชันนั้น จะสูงมาก

ด้วยเหตุนี้ เกาหลีใต้ จึงนำกระบวนการประเมินความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันในการออกกฎหมายมาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีช่องว่างในการคอร์รัปชันตั้งแต่เริ่มต้นเลย

นอกจากนี้ ACRC ของเกาหลีใต้ ยังใช้มาตรการอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การมี Code of Conduct ในการทำงานของข้าราชการ, การเปิดเผยทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างครอบคลุม และมีช่องทางร้องเรียนที่ปลอดภัย (Whistleblowing)เป็นต้น

ต่อมา Lidya Suryani Widayati หัวหน้าฝ่ายร่างกฎหมายของรัฐสภาอินโดนีเซีย ซึ่งเพิ่งนำกระบวนการประเมินความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันในการร่างกฎหมายไปใช้เมื่อเร็วๆ นี้ ได้อธิบายถึงกระบวนการร่างกฎหมายของอินโดนีเซีย และเสนอแนะว่าการร่างกฎหมายไม่ดีจะเปิดโอกาสให้มีการคอร์รัปชันได้ ดังนั้นในการร่างกฎหมาย ต้องระบุว่ากฎหมายนั้นใช้กับอะไรบ้าง บอกประเภทและระเบียบ และมาตราของกฎหมาย กำหนดวันเวลาที่จะเสร็จสิ้นที่ชัดเจน กำหนดโทษทำและ พฤติกรรมที่เข้าค่ายการทำความผิด

สุดท้าย รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ รองประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล และอดีตที่ปรึกษากรรมการ ป.ป.ช. ได้ยกตัวอย่างปัญหาจริงของกฎหมายบางฉบับในประเทศไทย ที่ไม่มีการประเมินความเสี่ยงของการคอร์รัปชัน นำไปสู่ปัญหามากมาย นั่นคือกฎหมายควบคุมดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่นอกจากจะมีความคลุมเครือ มีข้อกำหนดไม่ชัดเจน ไม่มีความเป็นรูปธรรม ไม่โปร่งใส และขาดการกำหนดกลไกความรับผิดชอบให้ชัดเจนแล้ว ยังกำหนดผู้ดูแลรับผิดชอบอย่างไม่เหมาะสมอีกด้วย ทำให้เกิดกรณีทุจริตต่างๆ มากมาย เช่น กรณีสหกรณ์คลองจั่น

ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันการคอร์รัปชันตั้งแต่แรก

สำหรับผู้สนใจชม “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (International Conference on Anti – Corruption Innovations in Southeast Asia) สามารถรับชมเทปบันทึกภาพทั้งงานได้ที่ https://bit.ly/3CH2zzV

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved