วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ความหวังกับนโยบายต้านโกงใหม่ ที่คงยังไม่ได้เห็นจริง

ดูทั้งหมด

  •  

ผ่านวันเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. มาเกือบ 2 เดือนครึ่งแล้ว จนถึงวันนี้เราก็ยังไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นใคร และรัฐบาลใหม่หน้าตาเป็นแบบไหน ได้ยินแต่การคาดเดาสูตรรัฐบาลผสมจากพรรคการเมืองต่างๆ ของนักวิเคราะห์การเมืองและสำนักข่าวที่แตกต่างกันออกไป

ย้อนกลับไปช่วงหลังการเลือกตั้งใหม่ๆ ตัวแทนของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง สส. จำนวนสูงสุด ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้เดินสายไปพูดคุยหารือกับองค์กรด้านต่างๆ ที่น่าจะต้องได้คุยและทำงานร่วมกับรัฐบาลต่อไป โดยหนึ่งในองค์กรที่พรรคก้าวไกลได้มาพูดคุยด้วยคือ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ซึ่งในการพูดคุยวันนั้น เป็นการหารือเรื่องแนวทางและข้อเสนอความร่วมมือในด้านการต่อต้านคอร์รัปชันเท่านั้น ไม่ได้คุยเรื่องสถานการณ์การเมืองเลย บทความตอนนี้จึงจะขอถ่ายทอดและอภิปรายแนวทางและข้อเสนอเหล่านั้น โดยไม่นำสถานการณ์ทางการเมืองมาวิเคราะห์ร่วมด้วยเช่นกัน


ในวันนั้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลนำทีมว่าที่ สส. ของพรรคหลายคน เช่น ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ และรังสิมันต์ โรม โดยพิธาได้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอหลักการในการออกแบบนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่พรรคนำเสนอต่อประชาชน นั่นคือ สมการคอร์รัปชัน ของ Professor Robert Klitgaard ที่บอกว่า C = D + M – A หรือ คอร์รัปชัน = อำนาจดุลยพินิจ + การผูกขาด - กลไกความรับผิดรับชอบ ซึ่งอธิบายได้ว่า หากต้องการลดคอร์รัปชัน จะสร้างกลไกเพื่อลดการใช้อำนาจดุลยพินิจของข้าราชการและนักการเมือง ลดอำนาจผูกขาดทั้งทางการเมืองและธุรกิจ และต้องสร้างกลไกความรับผิดรับชอบของผู้มีอำนาจรัฐให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทั้งนี้ พิธา ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เขาเข้าใจว่าสมการนี้ยังมีข้อบกพร่องที่มองคอร์รัปชันอย่างง่ายๆ เกินไป เพราะในความจริงปัญหานี้ซับซ้อนกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยสมการนี้มาก

บนพื้นฐานของสมการนี้ พรรคก้าวไกล จึงออกแบบนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอย่างครอบคลุมผ่านการสร้าง “ระบบดี” เพื่อให้ “คนดี” มีที่ยืนและสามารถก้าวหน้าได้ ด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ ระบบที่ไม่มีใครอยากโกง ระบบที่ไม่มีใครกล้าโกง ระบบที่ไม่มีใครโกงได้ และระบบที่ไม่มีใครโกงแล้วรอด

เริ่มต้นด้วยระบบที่ไม่มีใครอยากโกง เพราะหาโอกาสโกงยากขึ้น ด้วยการยกเลิกใบอนุญาตอย่างน้อย 50% และยกเลิกทุกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยกระบวนการ Regulatory Guillotine ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังจะทำให้การร้องเรียนไม่เงียบและมีอัปเดตทุกขั้นตอน มีช่องทางกลางเพื่อติดตามสถานะเรื่องร้องเรียนและสุดท้ายกำหนดให้รู้ผลใบอนุญาตใน 15 วัน หากพิจารณาไม่ทันกรอบเวลา ให้ถือว่าอนุญาตโดยอัตโนมัติไปเลย เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ดึงเรื่องเพื่อเรียกร้องสินบน

ต่อมาระบบที่ไม่มีใครกล้าโกง เพราะทุกที่โปร่งใสไปหมด ด้วยการสร้างรัฐเปิดเผย (Open Government) เปิดข้อมูลรัฐทันที ให้ประชาชนเป็นเจ้าของ ภายใต้หลักการเปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น และต้องเปิดข้อมูลในรูปแบบที่นำไปวิเคราะห์ต่อได้ ไม่ใช่เปิดเป็นรูปภาพ JPEG หรือ PDF สร้างรัฐสภาเปิด (Open Parliament) เช่น ถ่ายทอดสดกรรมาธิการ และ การสร้างรัฐบาลที่มีแนวปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ห้ามใช้เงินหลวงโปรโมทตัวเองโดยสามารถใช้งบประชาสัมพันธ์ในการโฆษณาผลงานของหน่วยงานได้เท่านั้น ไม่ทนกับคนภายในคณะรัฐมนตรีและพรรคการเมือง และตัดความสัมพันธ์กับทุนใหญ่-ผู้มีอิทธิพลทางการเมือง

แนวทางที่ 3 คือระบบที่ไม่มีใครโกงได้ ด้วยการอำนวยความสะดวกประชาชน พัฒนาให้ทุกบริการภาครัฐสามารถทำได้ผ่านมือถือ ลดโอกาสการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และลดการพบกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ซึ่งเป็นโอกาสที่เจ้าหน้าที่รัฐจะเรียกสินบนหรือประชาชนอาจจะเสนอสินบนให้ได้รับบริการพิเศษ

สุดท้ายคือ ระบบที่ไม่มีใครโกงแล้วรอด ด้วยการยกระดับกลไกการตรวจสอบ

แนวทางที่ 4 คือ ยกระดับกลไกการตรวจสอบ ใช้ระบบ AI จับโกง โดยใช้ต้นแบบจาก ACTAi ของ ACT เพื่อแจ้งเตือนการทุจริตแบบอัตโนมัติ เพิ่มให้ประชาชนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์อิสระในโครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เพื่อตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐที่มีมูลค่าสูง ดึงให้ ป.ป.ช. ยึดโยงกับประชาชนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต้านโกงสำเร็จในหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่น ฮ่องกง และ สิงคโปร์ โดยกำหนดให้กรรมการ ป.ป.ช. มีที่มาหลากหลายและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย รวมถึงกำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อริเริ่มกระบวนการถอดถอนได้ด้วย และที่จะสร้างผลกระทบใหญ่ได้คือการปฏิรูปตำรวจ ที่มีความพยายามกันมาหลายครั้งในหลายรัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จเสียที

นอกจากนี้ ยังต้องสร้างสังคมต้านโกง ด้วยโครงการ “คนโกงวงแตก” เพื่อจูงใจให้คนที่คิดจะโกงระแวงกันเองและคุ้มครองคนที่ออกมาแฉก่อน คล้ายกับกฎหมายที่ใช้ได้ผลมากในประเทศอังกฤษและอเมริกา และโครงการ“แฉโกง ปลอดภัย ได้เงิน” เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่เปิดโปงการทุจริต และเพิ่มรางวัลให้กับประชาชนที่ชี้เบาะแส

น่าสนใจอย่างยิ่งว่า นโยบายเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันอย่างลึกซึ้งและครอบคลุม สามารถนำหลักวิชาการมาเป็นแนวทางในการออกแบบกลไกที่น่าจะมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในสังคมไทยได้โดยเฉพาะความเข้าใจในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน

แต่น่าเสียดายที่คงจะได้เพียงแต่ฟังนโยบายที่น่าตื่นเต้นและดูมีความหวังเท่านั้น แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นจริงในเร็ววันนี้ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่ประชาชนอย่างเรายังคงทำได้คือส่งเสียงแห่งความหวังว่าผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาลคงจะไม่ใช่คนที่มีประวัติเกี่ยวกับการคอร์รัปชันอย่างชัดเจนมาก่อน และหวังว่าผู้นั้นจะมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นต้นตอแห่งอุปสรรคของการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านครับ

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:03 น. รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
11:59 น. (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!
11:57 น. ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'
11:50 น. 'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'
11:48 น. จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋

รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

‘ภูมิธรรม’นำ 2 รมช.มหาดไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช หลังเข้ารับตำแหน่ง

  • Breaking News
  • รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
  • (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน! (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!
  • ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! \'คุณหญิงกัลยา\'ปัดตอบอนาคต-รับคุย\'ดร.เอ้\' ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'
  • \'ดร.เสรี\'ชี้ \'ปชป.-รทสช.\'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน\'อิ๊งค์\' 'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'
  • จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved