l เรามาต่อ “ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ในการปฏิวัติสยาม 2475” โดยอาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
3. บทที่ 6-9 จะเข้าสู่ส่วนของ “อำนาจการเมือง” ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะกำหนดการคลี่คลาย ของเหตุการณ์ทางการเมืองและเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในระยะต่อมา
๑.กลุ่มเจ้านายหรือกลุ่มราชวงศ์เป็นกลุ่มอำนาจที่สำคัญที่สุดในขณะนั้น
ที่คณะราษฎรต้องเข้าไปเผชิญหน้าโดยตรง กลุ่มคณะราษฎรมีแนวคิดร่วมกันว่าต้องการที่จะขจัดอำนาจที่ผูกขาดอยู่ในมือของเจ้านายลง หลังจากเข้าทำการยึดอำนาจ คณะราษฎรก็ทำการบั่นทอน“กำลัง” ของกลุ่มเจ้านาย โดยการเชิญเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจและบารมีให้เดินทางออกนอกประเทศ ส่วนเจ้านายในระดับรองลงมาส่วนใหญ่ต้องออกจากราชการทั้งในสายพลเรือนและสายทหาร และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าไปทำงานร่วมกับคณะรัฐบาลใหม่
๒.คณะราษฎรต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มข้าราชการและทหารอาวุโสซึ่งยังสืบทอดอุดมการณ์เก่า ก่อนการปฏิวัติอย่างเหนียวแน่น ความขัดแย้งดังกล่าวแสดงออกในเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นแรงโต้กลับโดยตรงจากกลุ่มที่ไม่พอใจการกระทำของคณะราษฎร
กบฏบวรเดชเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมืองและโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจของการเมืองไทยสมัยใหม่ ภาระหนักของคณะราษฎรจึงมีทั้งด้านที่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในกลุ่มพวกเดียวกันและกับกลุ่มอำนาจเก่าที่พยายามรักษาสถานภาพและการปฏิบัติแบบเดิม
อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎรก็ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุดอันเนื่องมาจากความแตกต่างของแนวคิดระหว่าง
๑. กลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
๒. กลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
รายละเอียดต่างๆ ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยังมีอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากที่เคยเป็นมา ทำให้อาจารย์นครินทร์สามารถค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้และคำอธิบายที่แตกต่างไปจากเดิม
นอกจากนี้ ยังทำให้การปฏิวัติที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่งหรือถูกครอบงำด้วยชุดความรู้ที่ตายตัวอีกต่อไป และทำให้เราตระหนักว่ายังมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อีกหลายประการที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ
@ ผู้ที่สนใจ ในการสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยฯ ต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป โดยเฉพาะ การนำมาประยุกต์ ใช้กับ “การสรุปบทเรียน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖”ในวาระโอกาส : ครึ่งศตวรรษประชาธิปไตย (๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖)
เรามาเริ่มต่อไป...............
l มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์บางคนนำเสนอโดยตั้งคำถามที่น่าสนใจขึ้น เพื่อนำเสนอเจาะจงไปในบางด้าน ผมจึงนำมาดัดแปลง และนำเสนอให้กลุ่มองค์กรด้านต่างๆ ได้พิจารณา เพื่อก่อให้เกิดแนวคิดใหม่
มรดกคนเดือนตุลา ๒๕๑๖ ต่อสังคมไทย
๑.เวลาพูดถึงคนเดือนตุลา คนไทย จะพูดถึงอะไร?คนในรุ่นนั้น คนรุ่นต่อๆ มา โดยเฉพาะ ในปัจจุบัน
๒.อะไรคือมรดกของคนเดือนตุลาที่มอบให้กับสังคมไทย กรรมการ ชาวนา นักศึกษา นักวิชาการ นักการเมือง กลุ่มทุนทางธุรกิจ กองทัพ ข้าราชการ สื่อ ฯลฯ
๓.มีอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง และ
๔.อะไรที่ถูกละทิ้งไว้ ตกหล่นไม่ต่อเนื่อง
๕.หากเราจะฝันไปว่า เราสามารถสรุปบทเรียน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ได้ดีระดับหนึ่งและเราสามารถย้อนกลับไปนำข้อสรุปนี้ ไปใช้ในเหตุการณ์ “หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงก่อนเกิดเหตุ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๗” เหตุการณ์ จะเป็นไปอย่างไรและจะเกิดผลดีอะไร รวมทั้งสามารถป้องกัน “วิกฤตใหญ่ที่เกิดตามมาได้อย่างไร?”
l ๑. เวลาพูดถึงคนเดือนตุลา คนไทย จะพูดถึงอะไร?
คนในรุ่นนั้น คนรุ่นต่อๆ มา โดยเฉพาะในปัจจุบัน
ภาพแรกๆ ความคิดแรกๆ ที่ออกมาจากความคิดของผู้คนทั่วไป
- ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นประวัติประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่
- จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม / ปรีดี พนมยงค์
- เป็นการแสดงพลังของขบวนการนิสิตนักศึกษานักเรียนอาชีวะและประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคมไทย
- เป็นการล้มระบอบทรราช (๓ ทรราช) นำประชาธิปไตย มาสู่สังคมไทย
- มีการกล่าวขวัญถึง และยกเป็นตำนานการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนไทย เพื่อเป็นแบบอย่าง และใช้เป็นการโฆษณาปลุกนักศึกษาประชาชนในประเทศของเขา ให้เอาแบบอย่าง เช่น ประเทศเกาหลี ฯลฯ
- มีการพูดถึง พลังของนักศึกษาที่ยิ่งใหญ่ คือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
- การออกประชาธิปไตยสัญจรของขบวนการนักศึกษาลงสู่ชนบท
- เน้นในการให้ความรู้และเผยแพร่ประชาธิปไตย
- มีการกล่าวถึง “๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ”
- วีรชน ๑๔ ตุลา และญาติของวีรชนที่เสียสละ
- มีการจัดงานศพญาติวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อย่างยิ่งใหญ่ ปี ๒๕๑๗ ที่ท้องสนามหลวง “พิธีพระราชทานเพลิงศพวีรชนผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ ๑๔ ถึง ๑๖ ตลุาคม ๒๕๑๖”ได้รับการจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ เมรุท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๓-๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งเป็นวาระครบรอบ ๑ ปี ของเหตุการณ์ดังกล่าว
- มีการก่อตั้ง “มูลนิธิ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖” ที่ตึก กตป.เก่าสี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน
- รัฐบาลยกวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นวันประชาธิปไตย
l มีการเขียนประวัติศาสตร์เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยปัจเจกชนหลากหลายทั้งในรูปหนังสือ และเทปฯ มีความหลากหลายความคิด เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และประเด็นสำคัญที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะนักวิชาการคือ “ข้อมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ทำได้บางส่วน ทำยังไม่ได้สมบูรณ์ ครบถ้วน เพียงพอ ที่จะถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยได้”
ธรรมเกียรติ กันอริ หนึ่งในผู้ร่วมเหตุการณ์เดือนตุลา ๒๕๑๖
“ไม่ประสงค์จะยอมจำนนกับวัฒนธรรมประนีประนอมอย่างราชการ ระแวดระวังไม่กล้า “ขัดแย้ง” จนเกินไป อีกทั้งยังยากที่จะเขียนเรื่องราวว่าด้วยความขัดแย้งใหญ่ในประเทศอย่างกรณี ๑๔ ตุลาคม โดยไม่ให้ขัดแย้ง อีกทั้งข้อมูล ความเห็นที่จะนำมาให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองเองให้ครบถ้วน รอบด้านทุกฝ่ายก็กระทำได้ยากยิ่ง”
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ข้อด้อย ในแง่ของความเป็นหนังสือเรียน ด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจากใช้หลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์น้อยมาก, เรียงลำดับเหตุการณ์สับสน และมีปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ผู้เขียนหนังสือ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖(ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ) แม้จะได้รับการรับรอง ว่าเป็นหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็ถูกใช้เป็นเพียง หนังสืออ่านประกอบ ที่ให้ข้อมูลเบื้องต้น และกระตุ้นความสนใจของเด็กเท่านั้น เป็นเรื่องน่ายินดี ที่กระทรวงศึกษาฯ เปิดโอกาสให้มีการเขียนหนังสือ เกี่ยวกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา การทำหนังสือเล่มนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่ ดีกว่าไม่ทำเลย
ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตำราเกี่ยวกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๑๖ ของกระทรวงศึกษาฯ เพราะต้องการให้เด็กๆ จดจำเหตุการณ์นี้ อย่างที่รัฐอยากให้จำ อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ถ้าเขียนไม่ได้เต็มร้อย ก็จะไม่เขียน เพราะวันที่เราสามารถเขียนเรื่อง ๑๔ ตุลา ให้สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งหมด อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่มีการบังคับฝืนใจนั้นไม่มีอยู่จริง ผมคิดว่าต้องเริ่มเขียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นการผลักขีดจำกัดอันนี้ ให้มันขยับถอยออกไปเรื่อย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี