วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / Change with คิด & ทำ
Change with คิด & ทำ

Change with คิด & ทำ

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
วันจันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
การสรุปบทเรียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ให้เกิดคุณค่าความหมาย

ดูทั้งหมด

  •  

•กรอบคิดของนักคิดไทย สายวิชาการ มักมีข้อจำกัดใหญ่ คือ

การมอง “ขั้วอำนาจไทย” มี ๒ ขั้ว แบบเก่า


ได้รับอิทธิพลความคิด “เสรีนิยม” จาก“ตะวันตก” และหรือ “สังคมนิยม” แบบตะวันออกและรัสเซีย

ที่มองสังคมไทยแคบๆ โดยไม่ได้เข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย

•นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

(บางส่วนอ้างถึงความคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ฯลฯ)

๑.ขั้วอำนาจเก่าหรือวิสัยทัศน์ คือกลุ่มคนที่เชื่อมั่นในรัฐที่เข้มแข็ง

ยึดมั่นในจารีตประเพณี

มีความศรัทธาในอำนาจของสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

๒.ขั้วอำนาจใหม่หรือวิสัยทัศน์ที่ คือกลุ่มคนที่เชื่อมั่นในอำนาจของประชาชน

ยึดมั่นในแนวคิดเรื่องคนเท่ากัน ต่อต้านความเหลื่อมล้ำและการกดขี่ทุกรูปแบบ

นี่คือวิสัยทัศน์แบบใหม่ที่มีต้นธารมาจากกลุ่มคณะราษฎร

(ไม่พูดต่อว่า ความผิดพลาดใหญ่ ๑ ของคณะราษฎร คือ นำกรอบคิดมาจากตะวันตก)

ไม่เว้นแม้กระทั่งเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

ที่ว่ากันว่าเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของขบวนการนักศึกษาและประชาชน เป็นหมุดหมายสำคัญของการเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ คืนประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย

มองย้อนไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นคือหนึ่งในจุดหมายสำคัญของการเมืองไทย

แต่ประเด็นที่ไม่ค่อยมีใครตั้งคำถามคือ

เหตุใดชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้นจึงมีระยะเวลาแสนสั้นเหลือเกิน

มิหนำซ้ำยังลงเอยด้วยบาดแผลที่ยากจะลบลืม และ

กลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของวังวนเดิมๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า

•คำถามและการให้ความคิดเห็น เกี่ยวกับ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่น่าใส่ใจ นำไปคิดต่อ

๑.ตัวอย่างที่ดีว่า แม้คนในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีตัวตนจริงๆ ยังอยู่

ยังเกิดการเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนได้

(๑)ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

- ถ้าเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ไม่เกิดการปะทะ จะเป็นอย่างไร

คำตอบก็คือ ไม่เกิดความรุนแรง ผู้ชุมนุมก็กลับบ้านอย่างปลอดภัย แต่เมื่อมีการปะทะ มันพลิกทุกอย่าง

- ข้อมูลเกี่ยวกับพวกผม 6 คนที่ถูกจับกุมในเช้าวันที่ 6 ตุลา ที่นำเสนอในนิทรรศการหลายแห่งมีความคลาดเคลื่อน

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราทุกคนไม่ได้มอบตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐไทย” สุรชาติ ให้ข้อเท็จจริง

(๒)มีผู้นำบางคน ไปปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในเช้าวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖

ได้ให้ข่าวว่า “กรรมการศูนย์นิสิตนักศึกษา ศนท. หายไปหมด

ความจริง คือ ผู้นำ ศนท. ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อ.ธีรยุทธ บุญมี ฯลฯ

เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการร่วมแก้วิกฤตการเมือง ที่ประชาชนยังแสดงการคัดค้านต่อต้านรัฐบาลอยู่

(เพราะ ไม่ทราบเหตุการณ์ที่คลี่คลายไป มีรัฐบาลใหม่แล้ว)

และได้ออกไปชี้แจงกับชาวบ้าน ตลอดทั้งวันและทั้งคืน จนเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายฯ

ผม กับ คุณราชันย์ รุจิพรรณ นายกรามคำแหง) ใช้รถปชส.ตระเวนไปรอบกรุงเทพฯและปริมณฑล

๑.สมชาย หอมลออ

-ยังมีข้อเท็จจริงที่ลึกลับซับซ้อนอยู่อีกมาก

เช่น ทำไมขบวนผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเป้าหมายที่สวนรื่นฤดีหรือสวนจิตรลดา ทำไมขณะที่ผู้ชุมนุมประกาศสลายการชุมนุมและเริ่มทยอยกลับบ้านหรือมหาวิทยาลัยแล้ว

แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าโจมตีผู้ชุมนุม มีใครเป็นผู้สั่งหรือไม่

-เรียกร้องให้คนเดือนตุลาผนึกกำลังกับคนรุ่นใหม่

ผลักดันให้โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนผ่านจากอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตย

หลังครบ 50 ปี 14 ตุลา แต่สังคมไทยยังเหมือนเดิม

“ผมจึงอยากให้ช่วงเวลา 50 ปี 14 ตุลา เป็นจุดเริ่มต้นของการถอดบทเรียนและถ่ายทอดให้กับสังคม”

“ถ้าปราศจากซึ่งความร่วมมือของคนแต่ละรุ่นที่มีอุดมการณ์เดียวกัน โอกาส 50 ปี 14 ตุลา จะไร้ความหมาย และประเทศไทยจะตกอยู่ในวังวนเดิม”

-ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา มีที่มา ที่เป็น และที่ไปอย่างไร

ยังขาดข้อเท็จจริง ขาดการประมวล และวิเคราะห์อย่างจริงจังและเป็นระบบ

จึงอยากจะเชิญชวนคนเดือนตุลา นักวิชาการนักประวัติศาสตร์ รวมทั้งเยาวชนรุ่นต่อมา ได้ร่วมส่วนในกระบวนการการรวบรวมดังกล่าว

แทนที่จะฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เพียงปีละครั้ง

๒.อภินันท์ บัวหภักดี

ในฐานะที่เรียนประวัติศาสตร์มา มีคำสำคัญคำหนึ่งคือ “ชำระประวัติศาสตร์”

สรุปแล้วทั้ง 14 ตุลา และ 6 ตุลา ยังไม่ได้รับการชำระทางประวัติศาสตร์

กระบวนการทางประวัติศาสตร์ นอกจากการกรองข้อเท็จจริงแล้ว ยังต้องผ่านการตีความและการให้คุณค่า

๓.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

-ทำไม 14 ตุลา ต้องนองเลือด ทั้งที่รัฐบาลยอมถอยแล้ว

-“คำถามคือจะทำอย่างไรไม่ให้มันเกิดซ้ำอีก

ที่มันเกิดซ้ำอีกเพราะเราขาดการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตของเรา”

-ภาคประชาชนขาดการทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรื่องของปัญหา ไม่ใช่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

เราเลยมีรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้

๔.ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางส่วน ระบุว่า

คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ 14 ตุลาน้อย เพราะเหตุการณ์อื่นน่าสนใจกว่า

• หลักคิดในการมองและเข้าใจ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

ต้องยึดความเป็นจริงของเหตุการณ์ ที่เกิดจากการศึกษา ทำความเข้าใจด้วยสติปัญญาความจริง

แม้มีหลายเรื่องที่เราไม่รู้ไม่ได้เห็น แต่หากเราใช้ตรรกะที่เป็นวิทยาศาสตร์ และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามมา

เราก็พอจะสรุปได้ในบางระดับ

ผมขอยก ข้อคิดและมุมมองบางคน

นักวิชาการอาวุโส อาจารย์วิทยากร เชียงกูล ที่ได้เขียนหนังสือออกมา

(๕๐ ปี ๑๔ ตุลา และอนาคตประเทศไทย)

-พลังนักศึกษาประชาชน เป็นทั้งปัจจัยเริ่มต้นและปัจจัยที่สำคัญที่สุด

แม้ปีกอำนาจอื่น (พลเอกกฤษณ์ และคณะ) มีความต้องการหลักดัน กลุ่มจอมพลถนอม ประภาสฯลง)

แต่ไม่มีช่องทางและสถานการณ์ที่เหมาะสม ที่จะทำได้จริง

(อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวกับ เสกสรร ประเสริฐกุล ว่า “ไม่ใช่พวกคุณ แต่เป็นเพราะ พลเอกกฤษณ์

พี่อุทัย พิมพ์ใจชน พูดกับผม ว่า “ไม่ใช่พวกนักศึกษาแต่เป็นเพราะพวกผม พลเอกประเสริฐ)

-เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เกิดขึ้นตามสถานการณ์ที่พัฒนาไปต่อเนื่องกัน เป็นลูกโซ่

อย่างที่ไม่มีใครวางแผนหรือ คาดหมายล่วงหน้า

และอาจจะมีปัจจัยอื่นที่เกื้อกูลหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการแทรกแซงใช้เหตุการณ์

ให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตนของบางฝ่าย รวมทั้งอาจจะใช้ วิธีเจรจาแบบบอกว่า “ขอให้ ออกไปชั่วคราว

เพื่อให้สถานการณ์ ที่มีลักษณะจลาจล ยุติลงก่อน

-ทำไมตำรวจ ใช้ความรุนแรงในเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

เป็นประเด็นที่ยังมีผู้สงสัย และอาจสืบค้นวิเคราะห์ต่อได้

๑.กลุ่มอำนาจอื่นที่ต้องการล้มกลุ่มถนอม ประภาสฯ อาจจะเป็นผู้ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ที่กำลังปิดฉาก

๒.สถานการณ์ชุลมุนและความตึงเครียดของทั้ง ๒ ฝ่ายพาไปสู่สถานการณ์ปะทะกันเรื่องบานปลายเอง

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ดร.บุญส่ง ชเลธร คุณเชิดสกุลเมฆศรีวรรณ (นักข่าวเดลินิวส์) เห็นด้วยกับ ข้อ ๑.

-บทบาททางสังคมของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ชัยชนะที่มีขอบเขตจำกัด

ขบวนการนักศึกษาประชาชนในยุคนั้น รวมตัวกันขึ้นมาเฉพาะกิจแบบหลวมๆ

ไม่ได้มีกำลังคนและการจัดตั้งองค์กรเข้มแข็ง ฯลฯ

จึงไม่ได้ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมอย่างแท้จริง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:30 น. โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง
12:29 น. 'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น
12:27 น. 'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก
12:08 น. 'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย
12:07 น. 'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง

'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น

'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

  • Breaking News
  • โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง
  • \'ดิว อริสรา\'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง\'คุณพ่อวิชิต\' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น 'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น
  • \'บิว\'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก 'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก
  • \'ทักษิณ\'หมดทางแล้ว! \'เสรีพิสุทธ์\' ชี้ยัดคุกได้เลย 'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย
  • \'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ\'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

5 พ.ค. 2568

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

28 เม.ย. 2568

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

21 เม.ย. 2568

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

14 เม.ย. 2568

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

7 เม.ย. 2568

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

31 มี.ค. 2568

การปราศรัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2568 สตรี เสมอภาค สร้างสรรค์

การปราศรัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2568 สตรี เสมอภาค สร้างสรรค์

24 มี.ค. 2568

เข้าใจ ศาสนา ในแง่ของความเป็นมนุษย์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน มิใช่อนาคตที่ไม่รู้ 3

เข้าใจ ศาสนา ในแง่ของความเป็นมนุษย์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน มิใช่อนาคตที่ไม่รู้ 3

17 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved