วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
การศึกษาไทยและเด็กที่หายไประหว่างทาง

ดูทั้งหมด

  •  

ปัญหาเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาในประเทศไทยมีมาอย่างยาวนาน โดยสาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดการเข้าถึงโอกาสของผู้ที่มีรายได้น้อย แม้ประเทศไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนระดับมัธยมปลาย แต่ยังพบอุปสรรคที่เป็นช่องโหว่ของนโยบายเรียนฟรี 15 ปีในส่วนของเงินอุดหนุนรายการปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนที่ยังไม่ครอบคลุมนักเรียนยากจนในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมปลาย และยังพบว่าการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อนักเรียนยากจนมีเพียงร้อยละ 0.5 ของงบประมาณด้านการศึกษาเท่านั้น ยิ่งส่งผลให้เด็กที่ครอบครัวเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยยิ่งขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

จากสถิติข้อมูลนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เฉพาะในส่วนที่บริหารจัดการในภาครัฐ พบว่าเด็กนักเรียนชั้น ป.1 - ม.6/ปวช.3 ช่วงปี 2565 พบว่ามีอัตราเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 118,861 คน หรือคิดเป็น 20.4% ส่วนหนึ่งตัดสินใจออกจากระบบเพื่อไปศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง, ระบบ Home School หรือ กศน. แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่จำใจต้องออกจากระบบการศึกษาด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจภายในครอบครัว


เพราะไม่มีทุนในการศึกษา จึงต้องเดินหน้าในทางที่ไม่ได้เลือก

“ทุนการศึกษา” ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยมอบโอกาสทางการศึกษาให้เด็กด้อยโอกาสได้สามารถ

กลับมาเรียนได้อีกครั้ง แต่ไม่ใช่เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาทุกคนจะได้รับ “โอกาส” เพราะทุนการศึกษามีจำกัด เด็กด้อยโอกาสจำนวนมากจึงต้องแข่งกันเพื่อคว้าทุนการศึกษา ผู้เขียนได้เล็งเห็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทุนการศึกษาในสังคมไทยมีดังนี้

1.จำนวนทุนการศึกษาที่มีอย่างจำกัดไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กด้อยโอกาส ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้มีผู้ที่บริจาคทุนการศึกษาน้อยลง รวมไปถึงรัฐบาลที่ได้มีการตัดงบการศึกษา จึงทำให้เด็กด้อยโอกาสจำนวนมากต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งทุนการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัด

2.เด็กด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงทุนการศึกษาได้ ไม่ใช่เด็กทุกคนจะรู้และสามารถเข้าถึง ทุนการศึกษาได้ เพราะเด็กส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทุนการศึกษา และยังมีเด็กบางกลุ่มที่ไม่กล้าขอทุนการศึกษาเพราะอายเพื่อน ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการของสถานศึกษาบางกลุ่มที่ละเลยเด็ก จนทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงทุนการศึกษาได้

3.หลักเกณฑ์การพิจารณาทุนการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม เมื่อพูดถึงการให้ทุนการศึกษา “เด็กด้อยโอกาส” คือกลุ่มคนแรกๆ ที่สมควรได้รับโอกาสทางการศึกษา แต่มีเด็กด้อยโอกาสอีกมากที่ไม่ผ่านการพิจารณาทุนด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาทุนที่ไม่ใช่แค่ยากจนอย่างเดียว เช่น ต้องมีผลการเรียนที่ดี ต้องมีการทำกิจกรรมต่างๆ จนทำให้เด็กยากจนที่ไม่ได้เรียนเก่งหรือมีต้นทุนสำหรับการไปร่วมทำกิจกรรมต่างๆ พลาดโอกาสในการได้รับทุนในการศึกษา อีกหนึ่งปัญหาการพิจารณาทุนที่ไม่เท่าเทียมที่พบมากคือ “ระบบคนสนิท” มีครูบางส่วนที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาทุนให้เด็กมักจะให้ทุนกับเด็กนักเรียนที่ตัวเองมีความสนิทสนมด้วย หรือเด็กนักเรียนที่เป็นญาติกัน

4.ประชาชนทั่วไปรวมถึงเด็กนักเรียนไม่สามารถตรวจสอบความโปร่งใสของการใช้งบทุนการศึกษาได้ เงินทุนที่เหลือจะทำอย่างไร? เงินทุนกว่าจะถึงมือเด็กได้ผ่านมือใครมาบ้าง? ผู้เขียนเชื่อว่าคำถามเหล่านี้ทุกคนล้วนสงสัย สถานศึกษาจึงควรจัดทำการเปิดเผยข้อมูลการจัดสรรงบทุนการศึกษาให้ประชาชนและเด็กได้ทราบ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการจัดทุน

จึงนำไปสู่ผลกระทบ ที่ไม่ได้จบแค่คนกลุ่มเดียว

เพราะเด็กไม่มี “เงิน” จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เด็กเลือกที่จะหันหลังให้กับการศึกษา สังคมมักกล่าวโทษเด็กที่หันหลังให้การศึกษาว่าเป็นเด็กไม่มีความรับผิดชอบ เด็กเกเร แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่กล่าวมาใช่เหตุผลที่แท้จริงหรือไม่ ปัญหาที่เห็นได้ชัดเมื่อเด็กหันหลังให้การศึกษา คือ การหันไปพึ่งยาเสพติด การมีพฤติกรรมเป็นเด็กแว้นที่สร้างความวุ่นวายในสังคม หรือหนักสุดก็คงเป็นการทำผิดร้ายแรงที่อาจทำให้ต้องจำคุก ดังนั้นผู้เขียนจึงเล็งเห็นถึงปัญหาการไม่มีทุนในการศึกษาว่ามีผลกระทบในวงกว้าง มีหลายกลุ่มในสังคมได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็ก ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงสังคม ซึ่งแน่นอนว่า คนที่จะรับผิดชอบผลที่ตามมาไม่ใช่แค่เพียงตัวเด็ก แต่เป็น “ทุกคนในสังคม” ที่จะต้องช่วยกันผลักดันให้เด็กด้อยโอกาสได้เข้าถึงทุนการศึกษา

เพราะการแก้ปัญหาที่ดี เริ่มด้วยการมีหลักธรรมาภิบาล

จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนเห็นว่าเราสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมา ประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านทุนการศึกษาได้ ผู้เขียนเชื่อว่าเราสามารถนำ “หลักความโปร่งใส” มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาทุนการศึกษาได้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสในการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อให้สามารถติดตาม และเข้าใจถึงกระบวนการในการคัดเลือกทุน ปริมาณทุนที่ใช้ไป รวมไปถึงผลลัพธ์ของการใช้ทุนการศึกษา

นอกจากนี้ยังสามารถนำ “หลักการมีส่วนร่วม”เข้ามาประยุกต์ใช้ได้โดยสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักเรียน ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนในการจัดสรรงบประมาณทุนการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย รวมไปถึงพิจารณาในการจัดสรรทุนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบการจัดสรรทุน

ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่าง “โครงการร้อยพลังทางการศึกษา” ที่เปรียบเสมือนกลไกการเชื่อมโยงระหว่างเด็กด้อยโอกาสและผู้สนับสนุน โดยทำหน้าที่สำคัญในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสผ่านเครื่องมือพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เชื่อมโยงคนในสังคมให้มีส่วนในการร่วมระดมทุนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาผ่านช่องทางการบริจาคที่เว็บไซต์ https://donate.tcfe.or.th/donate โดยโครงการนี้มีความโปร่งใสในการจัดสรรทุนการศึกษา เพื่อให้ผู้รับทุนและผู้สนับสนุนทั้งหมดได้เห็นทุกขั้นตอนของการนำเงินไปใช้ โดยทุกคนสามารถเข้ามาตรวจสอบการใช้เงินบริจาคได้ผ่านเว็บไซต์ร้อยพลังการศึกษา (https://www.tcfe.or.th/good-governance/) และยังสามารถติดตามผลการดำเนินงานผ่านเว็บไซต์ได้ทั้งหมดอย่างเปิดเผยและโปร่งใส

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าการนำหลักธรรมาภิบาลเรื่องความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมเข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบการจัดสรรทุนการศึกษา ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้มอบทุนและผู้รับทุน เพราะทุกคนได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสรรทุนการศึกษาให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ เมื่อประชาชนเห็นถึงความโปร่งใสก็อยากที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันบริจาคทุนการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและกลับมาสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กรุ่นต่อๆ ไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:01 น. ไร้ปาฏิหาริย์! 'น้องน้ำตาล'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม
21:00 น. เที่ยวบินหลายลำลงจอดฉุกเฉิน'อู่ตะเภา' หลัง'สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง'เจอฝนถล่มหนัก
20:43 น. 'ในหลวง-พระราชินี' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ
20:33 น. กมธ.พัฒนาสังคมฯจัดสัมมนา‘สลาก กอช.’ หนุน‘หวยเกษียณ’สร้างหลักประกันวัยชรา
20:15 น. 'ในหลวง-พระราชินี' เสด็จฯ ในการตั้งเปรียญแก่พระภิกษุ และสามเณร เนื่องในพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
ดูทั้งหมด
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
‘มาเลเซีย’อ่วม! สงคราม‘อินเดีย-ปากีสถาน’กระทบจัดหา‘ข้าว’
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไร้ปาฏิหาริย์! 'น้องน้ำตาล'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม

คนกรุงร้องจ๊าก! ฝนถล่มหนักต่อเนื่อง หลายจุดการจราจรเป็นอัมพาต

'ศรีสุวรรณ' ลั่นรอชมด่านต่อไป ป.ป.ช.จะชี้มูลเมื่อไหร่ ปมแพทย์ช่วย 'ทักษิณ' ชั้น 14

ยอมให้รื้อถอนแล้ว! ‘อาคารใหญ่ริมน้ำสาย’ จนท.เร่งวางพนัง-ขุดลอกคืบหน้าต่อเนื่อง

คปท.จัดหนักไม่พัก! นัดระดมพลเคลื่อนขบวนไล่บี้ 'ทักษิณ'ยาวตลอดทั้งสัปดาห์

ตรังสั่งเฝ้าระวัง ‘น้ำท่วมฉับพลัน-ดินถล่ม’ ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้9–13พ.ค.นี้

  • Breaking News
  • ไร้ปาฏิหาริย์! \'น้องน้ำตาล\'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม ไร้ปาฏิหาริย์! 'น้องน้ำตาล'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม
  • เที่ยวบินหลายลำลงจอดฉุกเฉิน\'อู่ตะเภา\' หลัง\'สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง\'เจอฝนถล่มหนัก เที่ยวบินหลายลำลงจอดฉุกเฉิน'อู่ตะเภา' หลัง'สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง'เจอฝนถล่มหนัก
  • \'ในหลวง-พระราชินี\' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ 'ในหลวง-พระราชินี' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ
  • กมธ.พัฒนาสังคมฯจัดสัมมนา‘สลาก กอช.’ หนุน‘หวยเกษียณ’สร้างหลักประกันวัยชรา กมธ.พัฒนาสังคมฯจัดสัมมนา‘สลาก กอช.’ หนุน‘หวยเกษียณ’สร้างหลักประกันวัยชรา
  • \'ในหลวง-พระราชินี\' เสด็จฯ ในการตั้งเปรียญแก่พระภิกษุ และสามเณร เนื่องในพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา 'ในหลวง-พระราชินี' เสด็จฯ ในการตั้งเปรียญแก่พระภิกษุ และสามเณร เนื่องในพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

16 เม.ย. 2568

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

9 เม.ย. 2568

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

26 มี.ค. 2568

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

19 มี.ค. 2568

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

12 มี.ค. 2568

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

26 ก.พ. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved