วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
โปรดแต่งเติมสีสันอันงดงามแห่งการปฏิวัติ

ดูทั้งหมด

  •  

ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการแสวงหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ ประเทศมหาอำนาจทั่วโลกต่างพากันขยายอำนาจไปทั่วโลกผ่านรูปแบบที่แตกต่างกันไป ในอดีตประเทศมหาอำนาจต่างพากันขยายดินแดนผ่านการรุกรานประเทศรอบข้าง แต่ในปัจจุบัน วิธีในการขยายอำนาจได้ขยายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น เช่น ความพยายามในการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ หรือความพยายามที่จะเป็นที่รักและได้มาซึ่งอำนาจและความชอบธรรมผ่านการสร้าง Soft Power อย่างไรก็ตาม ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศสามารถกำหนดชะตา(Self-Determination) และเลือกที่จะอยู่อย่างไรในสถานะไหนบนเวทีระหว่างประเทศที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกันอย่างชัดเจนระหว่างมหาอำนาจ

แม้ในเวทีระหว่างประเทศ จะเต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งอภิมหาอำนาจ (Super Power) ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และมีหลายประเทศพยายามที่จะคงสถานะของการเป็นประเทศมหาอำนาจ (Great Power) โดยเฉพาะอย่างสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหนึ่งในอดีตมหาจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ แม้ในปัจจุบันจะเปลี่ยนสถานะจากอภิมหาอำนาจมาเป็นเพียงมหาอำนาจแล้วก็ตาม แต่จากข่าวการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันที่รัสเซียได้พยายามเข้าไปแทรกแซงประเทศที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียต จนนำมาสู่การรุกรานประเทศยูเครนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่การขึ้นมาสู่อำนาจของรัสเซียได้พบกับอุปสรรคและความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความท้าทายจากการลุกฮือและการประท้วงจากภาคประชาชน


การลุกฮือของประชาชนที่ต่อต้านการขยายอำนาจของรัสเซียในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนขอพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักการปฏิวัติสี (Colour Revolution) ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญต่อการขยายอำนาจของรัสเซีย อันเป็นการปฏิวัติที่เริ่มต้นจากหนึ่งประเทศในยุโรปและแพร่ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชียกลาง

“จักรวรรดิรัสเซียอันยิ่งใหญ่ในอดีตสู่ความพยายามในการหวนคืนสู่มหาอำนาจ”

จักรวรรดิรัสเซียในอดีตถือว่าเป็นมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่ได้ขยายอาณาเขตทางบกไปจนถึงพื้นที่หนึ่งในหกของโลกภายใน ค.ศ. 1990 และเป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองทวีป ได้แก่ ยุโรปและเอเชีย ซึ่งครอบคลุมถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์เอาไว้หลากหลายมาก การขยายอำนาจในลักษณะนี้ แนวคิดสัจนิยมได้ให้คำอธิบายไว้ว่าเป็น การแสวงหาอำนาจให้อยู่รอดในระบบโลกอันเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ผ่านการรวบอำนาจจากรัฐในบริเวณข้างเคียงเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

แม้จักรวรรดิรัสเซียจะล่มสลายไปเมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่รัสเซียยังคงเป็นอภิมหาอำนาจหลังจากนั้นในนามของสหภาพโซเวียต และได้สิ้นสุดการเป็นอภิมหาอำนาจเมื่อสงครามเย็นจบลงใน ค.ศ. 1991 สถานะที่ถูกเปลี่ยนจากอภิมหาอำนาจเป็นมหาอำนาจ เป็นสาเหตุให้ผู้นำรัสเซียในยุคหลังสหภาพโซเวียตตั้งแต่ประธานาธิบดี Boris Yeltsin จนถึงประธานาธิบดี Vladimir Putin (ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีรัสเซียมีประธานาธิบดีเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น) มีความพยายามในการขยายอำนาจของรัสเซียเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่เคยเป็นสมาชิกสหภาพโซเวียตเพื่อทำให้สถานะการเป็นอภิมหาอำนาจของรัสเซียกลับมา และทำให้รัสเซียจะสามารถแข่งขันกับสหรัฐหรือจีนในโลกปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตามความพยายามในการแทรกแซงเหล่านี้ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนในประเทศที่ถูกรุกรานเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่การปฏิวัติสีที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 2003-2005

“Colour Revolution หนึ่งในความท้าทายอันสำคัญต่อการขยายอำนาจของรัสเซีย”

Colour Revolution หรือปฏิวัติสี เป็นคำที่ทางนักรัฐศาสตร์นิยามขึ้นมาภายหลังจากการลุกฮือเพื่อต่อต้านระบอบเก่าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันของ 3 ประเทศ โดยมีสีที่เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ ได้แก่ จอร์เจีย (สีของดอกกุหลาบ) ยูเครน (สีส้ม) และคีร์กีซสถาน (สีของดอกทิวลิปหรือสีชมพู) ซึ่งทั้งสามประเทศนั้นมีจุดร่วมกัน 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง 2. มีการต่อต้านการเลือกตั้งทุจริตและการแทรกแซงจากมหาอำนาจอย่างรัสเซียจากฝ่ายค้านในระบบรัฐสภา 3. มีการปลุกระดมพลังประชาชนจากฝ่ายค้านที่เป็นผลสำเร็จและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

ในระลอกแรกของปฏิวัติที่เกิดขึ้น คือ การปฏิวัติดอกกุหลาบ (Rose Revolution) ที่เกิดขึ้นในจอร์เจียใน ค.ศ. 2003 โดยมีจุดเริ่มมาจากการเลือกตั้งรัฐสภาในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดี Eduard Shevardnadze ซึ่งโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่ามีการทุจริตและคอร์รัปชัน จนนำมาสู่การลงถนนประท้วงการเลือกตั้ง โดยมีผู้นำฝ่ายค้านอย่างนาย Mikheil Saakashivili เป็นผู้นำขบวนและประชาชนที่ร่วมลงถนนนั้นได้ถือ “ดอกกุหลาบ” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการเลือกตั้งใหม่ จนกระทั่งในท้ายที่สุดจอร์เจียได้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง และเป็นผลให้นาย Mikheil Saakashvili ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของจอร์เจีย

การปฏิวัติดอกกุหลาบนี้ นับเป็นหนึ่งในความท้าทายของรัสเซียที่พยายามต้องการเข้ามาแทรกแซงการปกครองของประเทศที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องจากการลุกฮือของภาคประชาสังคมเป็นภาพของการเปลี่ยนแปลงในเชิงความคิดของประชาชนว่า ประชาชนไม่ได้ต้องการการปกครองเผด็จการอย่างที่เคยมีมาในช่วงสงครามเย็น แต่ประชาชนต้องการประชาธิปไตยที่โปร่งใสและเป็นแบบตะวันตก (หรือโลกเสรีนิยมแบบสหรัฐ)

รัสเซียไม่ได้มองว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจอร์เจียกระทบต่อการขยายอำนาจของรัสเซียมากนัก เนื่องจากตั้งแต่ที่จอร์เจียได้พ้นสภาพสมาชิกสหภาพโซเวียต จอร์เจียมีนโยบายต่างประเทศที่เข้าหาสหรัฐอย่างชัดเจนและต่อต้านรัสเซียมาตลอด อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติดอกกุหลาบเกิดขึ้นเพียงหนึ่งปี การลุกฮือของภาคประชาชนก็ได้กลับมาอีกครั้งในภูมิภาคนี้ จนเกิดเป็นการปฏิวัติสีส้มขึ้นในยูเครน

การปฏิวัติสีส้ม (Orange Revolution) ปะทุขึ้นจากความไม่พอใจในการเลือกตั้งรัฐสภาของยูเครนที่ถูกแทรกแซงโดยรัสเซีย จนนำไปสู่การลุกฮือโดยประชาชนและฝ่ายค้านที่ใส่เสื้อสีส้มลงถนน ซึ่งยูเครนถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เคยเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียตที่รัสเซียยังคงให้ความสำคัญ และต้องการเข้าไปแทรกแซงและครอบครองจนถึงปัจจุบัน (เห็นได้จากกรณีสงครามยูเครน-รัสเซียในช่วง ค.ศ. 2023 - 2024 ที่ผ่านมา) โดยการปฏิวัติสีส้มครั้งนี้เกิดผลกระทบต่อรัสเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ยูเครนได้สร้างฐานทัพในทะเลดำ และใช้พื้นที่บริเวณนี้สำหรับให้ทางกองทัพรัสเซียเช่าจอดเรือรบ อีกทั้ง บริเวณทะเลดำเป็นที่ตั้งฐานทัพกระแสน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวของรัสเซียที่สามารถเดินเรือออกไปยังยุโรปหรือภูมิภาคอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ยูเครนยังเป็นพื้นที่ส่งผ่านท่อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเข้าสู่ประเทศในทวีปยุโรปกว่าร้อยละ 80 ดังนั้น การเข้าไปแทรกแซงในระบบการเลือกตั้งของยูเครนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการขยายอำนาจในภูมิภาคยูเรเซียที่รัสเซียให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ในช่วงการเลือกตั้ง ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างฝ่ายรัฐบาลเดิมที่ได้รับการสนับสนุนชัดเจนจากรัสเซีย โดยจะเห็นได้จากการมาเยือนยูเครนของประธานาธิบดีรัสเซียกว่า 7 ครั้งในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง และการวางยาพิษต่อผู้นำฝ่ายค้านในเวลานั้นอย่างนาย Viktor Yushchenkoในช่วงเวลานั้น และเมื่อผู้นำฝ่ายรัฐบาลเดิมชนะการเลือกตั้ง ประชาชนจึงเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากจนเกิดเป็นการปฏิวัติสีส้มในที่สุด

แม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 และนาย Viktor Yushchenko จะได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในเวลานั้น การปฏิวัติสีส้มยังคงส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนและรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากในช่วงก่อนเลือกตั้ง รัฐบาลเดิมได้มีนโยบายการต่างประเทศที่เข้าหารัสเซีย ทำให้การซื้อขายก๊าซธรรมชาติเป็นไปในราคามิตรภาพ แต่ในช่วงรัฐบาลของนาย Yushchenko ราคาก๊าซธรรมชาติถูกซื้อขายในราคาตามกลไกตลาด ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในยูเครนสูงขึ้น

ความพยายามของรัสเซียในการเข้าแทรกแซงยูเครนยังคงมีให้เห็นโดยตลอด ตั้งแต่การเข้าครอบครองและผนวกเขตไครเมีย (ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน) ใน ค.ศ. 2014 และการทำสงครามยูเครนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหลังจากจบการปฏิวัติสีส้ม กระแสการลุกฮือของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านการแทรกแซงจากมหาอำนาจได้ลุกลามไปถึงประเทศในเอเชียกลางอย่างคีร์กีซสถานใน ค.ศ. 2005 ผ่านการปฏิวัติดอกทิวลิป (Tulip Revolution) หรือ ปฏิวัติสีชมพู (PinkRevolution) ที่ประชาชนได้ถือผ้าสีชมพูและออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อให้หลุดพ้นจากอำนาจของรัฐบาลภายใต้การปกครองของนาย Askar Akayev ที่ทุจริตและโกงการเลือกตั้ง ซึ่งแม้คีร์กีซสถานจะเป็นเพียงรัฐเล็กๆ ที่ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายอำนาจของรัสเซีย แต่กระแสประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตะวันตกได้เข้ามาในภูมิภาครอบๆ รัสเซียมากยิ่งขึ้น

“การจุดประกายของปฏิวัติสีและการต่อสู้กับมหาอำนาจ”

การปฏิวัติสีเป็นภาพสะท้อนของอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ของรัสเซียในช่วงเริ่มแรกของการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Putin ที่แม้ในบางประเทศจะไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อรัสเซีย แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมอย่างสหรัฐของประเทศเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางแนวคิดของรัฐบาลรัสเซียที่ยึดมั่นในประชาธิปไตยแบบมีการจัดการ (Sovereignty Democracy) ที่คำนึงถึงองค์อธิปัตย์ (Sovereign)มากกว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และได้กระทบต่อการกลับมาสู่บัลลังก์ในการเป็นอภิมหาอำนาจของรัสเซียในภูมิภาคเช่นเดียวกัน

ท้ายที่สุดนี้ จะเห็นได้ว่า การปฏิวัติสีได้จุดประกายให้คนรุ่นหลังจากนั้นลุกขึ้นมาต่อสู้ และไม่ยอมต่อการขยายอำนาจและการแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจ อีกทั้งยังเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ทางความคิดระหว่างประชาธิปไตยแบบรัสเซียและประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างพลวัตของการขับเคลื่อนทางสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ในฐานะพลเมืองของรัฐเพื่อให้รัฐของตนรอดพ้นจากการครอบงำโดยมหาอำนาจ

ศรันย์ชนก ลิมวิสิฐธนกร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:41 น. เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)
14:33 น. เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

  • Breaking News
  • เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป) เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)
  • เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เราสูญเสียโอกาสทางการศึกษามาแค่ไหน? เมื่อระบบถูกกัดกินด้วยก้อนเนื้อร้ายที่ชื่อว่าคอร์รัปชัน

เราสูญเสียโอกาสทางการศึกษามาแค่ไหน? เมื่อระบบถูกกัดกินด้วยก้อนเนื้อร้ายที่ชื่อว่าคอร์รัปชัน

9 ก.ค. 2568

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

25 มิ.ย. 2568

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

18 มิ.ย. 2568

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

11 มิ.ย. 2568

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved