วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

ดูทั้งหมด

  •  

กระบวนการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยและทั่วโลกในปัจจุบันกำลังพยายามผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันผ่านการแจ้งเบาะแส สังเกตได้จากงานเสวนาในหัวข้อ Unmasking Corruption, Empowering Whistleblowers ที่จัดขึ้นโดย OECD เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ กรุงปารีส ที่ได้กล่าวถึงกลไกการแจ้งเบาะแสว่าเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยการอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการมีกระบวนการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสเพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชัน ประกอบกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกลไกการแจ้งเบาะแสและการปกปิดตัวตนผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ Maslen C., (2023) ที่พบว่ากลไกการแจ้งเบาะแสเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการส่งเสริมการแจ้งเบาะแสและการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสด้วยการแจ้งแบบไม่ระบุตัวตน จะทำให้ผู้แจ้งเบาะแสมีความกล้าในการแจ้งเบาะแสและความมั่นใจในความปลอดภัยของตนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานหรือองค์การที่นำกลไกการแจ้งเบาะแสไปใช้งานจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลที่ดีในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานกลไกการแจ้งเบาะแสได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสร้างความเข้าใจกับบุคลากรเกี่ยวกับขั้นตอนการแจ้งเบาะแส การมีบุคลากรที่ดูแลเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสโดยเฉพาะ การสร้างแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแส การปกป้องผู้แจ้งเบาะแส การอำนวยความสะดวก และการมีกระบวนการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสม


ดังเช่นกรณีตัวอย่างของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับคะแนนดัชนีการรับรู้คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งปี ٢٥٦٠ สะท้อนให้เห็นถึงการคอร์รัปชันที่ลดต่ำลงของเกาหลีใต้ เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมทำให้เกิดผลดังกล่าว จากบทสัมภาษณ์ เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีศึกษา โดย ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก (٢٥٦٨) พบว่า ประเทศเกาหลีใต้ เริ่มมีการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญตั้งแต่ปี ٢٥٥١ จากการควบรวม ٣ หน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันคือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการอุทธรณ์หรือวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง แล้วก่อตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคุ้มครองสิทธิพลเมืองสาธารณรัฐเกาหลี (Anti-corruption & Civil Rights Commission: ACRC) ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ٥ ฉบับ โดยหนึ่งในนั้นคือกฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสที่ได้รับการบัญญัติขึ้นในปี ٢٥٥٤ และต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานสอบสวนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งเกาหลีใต้ (Corruption Investigation Office for High-ranking Officials: CIO) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนเกี่ยวกับการคอร์รัปชันที่กระทำโดยข้าราชการระดับสูงหรือสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะในปี ٢٥٦٤ นอกจากนี้ มีการจัดทำเว็บไซต์ clean.go.kr ซึ่งมีฟังก์ชันในการรับแจ้งเบาะแสจากภาคประชาชน จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประเทศเกาหลีใต้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแจ้งเบาะแสอย่างมาก เนื่องจากการมีช่องทางการแจ้งเบาะแสที่สะดวกและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้แจ้งเบาะแสจากการมีกฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส และมีหน่วยงานที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันทำให้ประชาชนสามารถมั่นใจได้ว่าการแจ้งเบาะแสของตนจะถูกนำไปพิจารณาสืบสวน ตรวจสอบ และลงโทษผู้กระทำความผิดได้

เมื่อกลับมาพิจารณาสถานการณ์ด้านกลไกการแจ้งเบาะแสของประเทศไทย ตามงานศึกษาของ ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ และคณะ (٢٥٦٠) พบว่า กฎหมายและแนวปฏิบัติของไทยในด้านการแจ้งเบาะแสมีประสิทธิภาพตามหลักนิติศาสตร์และได้รับการยอมรับตามเกณฑ์ในระดับสากลแล้ว แต่ในเชิงการปฏิบัติยังพบปัญหาของกระบวนการแจ้งเบาะแสในบางหน่วยงาน ซึ่งอาจเกิดจากมาตรการส่งเสริมการแจ้งเบาะแสที่ไม่เหมาะสมตามความต้องการของผู้แจ้งเบาะแสในด้านความมั่นใจที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอ สอดคล้องกับงานศึกษาของพิศอําไพ สมความคิด และรัชนี แมนเมธ (٢٥٥٧) ที่พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันโดยตรง แต่จะนำหลักการคุ้มครองพยานมาใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ٢٥٤٦ มาใช้โดยมีสํานักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการดูแล ขณะที่ประชาชนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองยังต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นคําร้อง การพิจารณา และการยกเลิกคําร้องผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน ขั้นตอนการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน หากเจ้าหน้าที่ซึ่งทําหน้าที่ในการคุ้มครองผู้เเจ้งเบาะเเสมีความสนิทสนมกับผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และปัญหาความล่าช้าในกระบวนการพิจารณา จึงมีผลให้การแจ้งเบาะแสผ่านหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยอาจยังไม่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับใช้งานกลไกการแจ้งเบาะแสอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความต้องการขับเคลื่อนกระบวนการแจ้งเบาะแสในการต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาสังคม จึงก่อให้เกิดเครื่องมือการแจ้งเบาะแสที่ได้รับการพัฒนาโดยภาคประชาสังคม ตามข้อค้นพบเบื้องต้นในโครงการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย คือ โครงการต้องแฉ (Must Share) Corruption Watch ฟ้องโกงด้วยแชตบอต และปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานในประเทศไทย ทำให้เกิดความสะดวกในการเข้าแจ้งเบาะแส อีกทั้ง ยังไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้แจ้งเบาะแส และยังมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามการคอร์รัปชัน เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการแจ้งเบาะแสของประชาชนจะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและการลงโทษผู้กระทำความผิดได้

แม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ สถานการณ์การแจ้งเบาะแสของประเทศไทยอาจขาดความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านความปลอดภัยของการแจ้งเบาะแสกับหน่วยงานภาครัฐ แต่การใช้งานเครื่องมือของภาคประชาสังคมที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผู้แจ้ง สามารถเป็นตัวกลางที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน และทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนากลไกการแจ้งเบาะแสต่อไปได้ ทั้งนี้ ภาครัฐยังควรมีแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั้งในด้านการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสและเผยแพร่ผลการตรวจสอบคอร์รัปชันเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้จริง ขณะที่ภาคประชาสังคมควรพัฒนาเครื่องมือการแจ้งเบาะแสให้เหมาะสมตามความต้องการของประชาชนเพื่อจูงใจให้มีการแจ้งเบาะแสเพิ่มขึ้น และภาคประชาชนซึ่งมีส่วนสำคัญในกลไกนี้ในฐานะผู้ให้ข้อมูล ควรมีส่วนร่วมและติดตามสถานการณ์คอร์รัปชันที่เกิดขึ้น และแจ้งข้อมูลเบาะแสส่อคอร์รัปชันที่พบไปยังเครื่องมือแจ้งเบาะแส จึงจะทำให้กลไกการแจ้งเบาะแสของประเทศไทยสามารถพัฒนาและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ที่มา :

ต่อภัสสร์ ยมนาค, สุภัจจา อังค์สุวรรณ, เจษฎา จงสิริจตุพร,ศุภชัย เสถียรหมั่น และธนากาญจน์ กันทอง. (٢٥٦٨). โครงการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมทางสังคม เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

พิศอําไพ สมความคิด และรัชนี แมนเมธ. (٢٥٥٧). มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน. สถาบันพระปกเกล้า.

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก. (٢٥٦٨). สู่สังคมโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกาหลีใต้ทำอย่างไรให้การคอร์รัปชันลดลง. https://kraccorruption.com/what-we-do/krac-insight-สู่สังคมโปร่งใส-ตรวจส/

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ, ณัชพล จิตติรัตน์ และ วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์. (٢٥٦٠). การศึกษาวิจัยประเมินประสิทธิภาพของผู้แจ้งเบาะแส. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

Maslen, C. (٢٠٢٣). Responses to common challenges encountered when establishing internal whistleblowing mechanisms. https://knowledgehub.transparency.org/
helpdesk/respo nses-to-common-challenges-encountered-when-establishing-internal-whistleblowing-mechanisms 

Rubiano, C. (٢٠٢٤). OECD - Unmasking Corruption,Empowering Whistleblowers. https://public services.international/resources/news/oecd---unmasking-corruption-empowering-whistleblowers?id=١٤٩٦٠&lang=en

Transparency International. (2025). Corruption Perceptions  Index. https://www.transparency.org /en/cpi/2024/index/kor

ศุภชัย เสถียรหมั่น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:55 น. ‘พิเชษฐ์‘ไม่ไหวทนฟัง! ออกโรงโต้-ให้ตรวจสอบ‘งบฯสภาฯ’ 8 พันล้าน ท้าตรวจกระทรวง-หน่วยงานอื่นด้วย
22:45 น. 'ไอซ์'สับเละงบฯ 69 ชี้ทุจริตภาครัฐทำสูญเงิน 5 แสนล้านต่อปี ซัดโยกงบไปลง'ผู้รับเหมา'หมด
22:33 น. 'ฮุนเซน'ลั่นไม่อยากเห็น การปะทะไทย-เขมร! แต่หนุนรัฐบาลส่งทหาร-อาวุธหนัก ป้องกันชายแดน
22:31 น. รวบแล้ว! หนุ่มคลั่งยา-พนันออนไลน์ วิ่งราวทรัพย์สาวพม่า กราบเท้าแม่สำนึกผิด
22:12 น. 'ดร.อานนท์'ฟาดเดือด! บอก'เท้ง'อย่าสาระแน ปมทรัพย์สิน
ดูทั้งหมด
‘หมอวี’ฉายภาพระบบสาธารณสุข อีก 3 ปีพัง ‘รักษาฟรี’อาจเหลือแค่ในความทรงจำ
‘เซเลบผ้าท้องถิ่น’จัดหนัก! ถล่ม‘อิ๊งค์’ไร้กาลเทศะ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติการทูต
'อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ'ชี้ ลำดับเหตุการณ์ก็รู้ 'ใครรังแก อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์'
วงการแพทย์ทั่วโลกฮือฮา! ผลวิจัยชี้ยารักษาเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
สะพัด!‘อิ๊งค์’รับมือไม่ไหว รัฐบาลส่อแตกหัก จับตาก่อน 13 มิ.ย.เขี่ยทิ้ง‘ภูมิใจไทย’
ดูทั้งหมด
รัฐบาลโจรปล้นชาติ
หลักความเป็นตัวของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ
สู้ว้อย?
สำนักงานพระคลังข้างที่ สภาผู้แทนมติเอกฉันท์ 454 ต่อ 0 เสียง
บุคคลแนวหน้า : 29 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘พิเชษฐ์‘ไม่ไหวทนฟัง! ออกโรงโต้-ให้ตรวจสอบ‘งบฯสภาฯ’ 8 พันล้าน ท้าตรวจกระทรวง-หน่วยงานอื่นด้วย

รวบแล้ว! หนุ่มคลั่งยา-พนันออนไลน์ วิ่งราวทรัพย์สาวพม่า กราบเท้าแม่สำนึกผิด

น่ากลัว! แผ่นซีเมนต์คอนโดหรูร่วงทับ นักท่องเที่ยวแดนจิงโจ้บาดเจ็บ

'เสก โลโซ'แต่งเพลงใหม่ในคุก! อัปเดตชีวิตที่ไม่เหงา เลี้ยงไอติมเพื่อนทั้งแดน

Synopsis TikTok AR Game #หรือฉันก็เป็นเอเลี่ยน

'ผี'กร่อยอีก! บุกพ่าย'อาเซียนออลสตาร์'ชวดแชมป์ที่มาเลเซีย

  • Breaking News
  • ‘พิเชษฐ์‘ไม่ไหวทนฟัง! ออกโรงโต้-ให้ตรวจสอบ‘งบฯสภาฯ’ 8 พันล้าน ท้าตรวจกระทรวง-หน่วยงานอื่นด้วย ‘พิเชษฐ์‘ไม่ไหวทนฟัง! ออกโรงโต้-ให้ตรวจสอบ‘งบฯสภาฯ’ 8 พันล้าน ท้าตรวจกระทรวง-หน่วยงานอื่นด้วย
  • \'ไอซ์\'สับเละงบฯ 69 ชี้ทุจริตภาครัฐทำสูญเงิน 5 แสนล้านต่อปี ซัดโยกงบไปลง\'ผู้รับเหมา\'หมด 'ไอซ์'สับเละงบฯ 69 ชี้ทุจริตภาครัฐทำสูญเงิน 5 แสนล้านต่อปี ซัดโยกงบไปลง'ผู้รับเหมา'หมด
  • \'ฮุนเซน\'ลั่นไม่อยากเห็น การปะทะไทย-เขมร! แต่หนุนรัฐบาลส่งทหาร-อาวุธหนัก ป้องกันชายแดน 'ฮุนเซน'ลั่นไม่อยากเห็น การปะทะไทย-เขมร! แต่หนุนรัฐบาลส่งทหาร-อาวุธหนัก ป้องกันชายแดน
  • รวบแล้ว! หนุ่มคลั่งยา-พนันออนไลน์ วิ่งราวทรัพย์สาวพม่า กราบเท้าแม่สำนึกผิด รวบแล้ว! หนุ่มคลั่งยา-พนันออนไลน์ วิ่งราวทรัพย์สาวพม่า กราบเท้าแม่สำนึกผิด
  • \'ดร.อานนท์\'ฟาดเดือด! บอก\'เท้ง\'อย่าสาระแน ปมทรัพย์สิน 'ดร.อานนท์'ฟาดเดือด! บอก'เท้ง'อย่าสาระแน ปมทรัพย์สิน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

16 เม.ย. 2568

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

9 เม.ย. 2568

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

26 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved