วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 02.00 น.
การทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญต้องไม่ขัดกับกฎตรรกะ

ดูทั้งหมด

  •  

ในคำวินิจฉัยที่ ๔/๖๔ ของศาลรัฐธรรมนูญเรื่อง “กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖(๑)” ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า....

“รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องให้ประชาชนลงประชามติจะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง”


ต่อประเด็นดังกล่าว ผมได้เคยตั้งข้อสังเกตเรื่อง การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐ นั้นขัดกับ กฎแห่งตรรกะ อย่างไร

.......ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ได้มีการจัดออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๔ วรรคห้า บัญญัติไว้ ดังนี้

“การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ....”

อย่างไรก็ตาม ตามหลักตรรกศาสตร์แล้ว การที่ประชาชนจะต้องออกเสียง “เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ทั้งฉบับ” นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไป
ไม่ได้ ซึ่งวิเคราะห์ตามกฎตรรกะได้ ดังนี้

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๖๐ มีทั้งหมด ๒๗๙ มาตรา และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องนับเป็นร้อยๆ กว่าประเด็น

ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าหากว่าประชาชนผู้จะต้องออกเสียงลงประชามติที่จะต้องพิจารณาบางประเด็น บางมาตราของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถูกใจและไม่ถูกใจ

ไม่ใช่เรื่องแปลก หากว่าบางคนจะเห็นด้วยในบางมาตรา บางประเด็น และมีอีกบางประเด็นหรือบางมาตราที่ไม่เห็นด้วยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และความจริงก็ควรที่จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้

แต่การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ บัญญัติว่า “....ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ....”

ถ้าอ่านกันอย่างผิวเผินๆ ก็อาจนึกว่าเป็นเพียงพลความ แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่า “ทั้งฉบับ”เป็นใจความที่เน้นไว้ในมาตรานี้อย่างชัดเจน แต่ที่เน้นคำนี้ไม่อาจที่จะหยั่งทราบถึงเจตนาที่แท้จริงได้แต่ข้อความ “ทั้งฉบับ” นี้ มีความชัดเจนอยู่ในบัตรการออกเสียงลงประชามติ (โปรดดูตัวอย่างบัตรการลงประชามติ)

แต่เป็นการบัญญัติให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นการพ้นวิสัย ด้วยเหตุผลทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และหลักตรรกะ ดังนี้

๑. ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่จะประชาชนออกเสียงประชามติมีสองประเด็น คือ

ประเด็นที่ ๑ ได้แก่ “ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... “ทั้งฉบับ”

ประเด็นที่ ๒ ที่มีความว่า......“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

ในประเด็นที่ ๒ นี้มีข้อสังเกตว่า ได้เพิ่มเติมเข้ามาภายหลังและแม้จะเป็นประเด็นเดียว แต่ก็มีความไม่ชัดเจนและกำกวม คลุมเครือ ข้อสำคัญมีความหมายได้หลายนัย

ขอย้อนกลับมาในประเด็นที่ ๑ การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ “ทั้งฉบับ” ย่อมประกอบด้วย คำปรารภที่มีหมวดและ ส่วนต่างๆ และบทเฉพาะกาลด้วย

หมวดต่างๆ แต่ละหมวด ย่อมประกอบด้วยมาตราต่างๆ

มาตราต่างๆ แต่ละมาตรานั้น แต่ละมาตราย่อมประกอบด้วยวรรคต่างๆ

วรรคต่างๆ แต่ละวรรคนั้น แต่ละวรรคย่อมประกอบด้วยประพจน์หรือประโยค (Statement) ต่างๆ

ประพจน์หรือประโยคต่างๆ แต่ละประพจน์หรือประโยคอาจเป็นสิ่งที่คนเห็นชอบหรือสิ่งที่คนไม่เห็นชอบ เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่านั้น

เป็นไปไม่ได้เลยที่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ จะเห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งก็คือทุกมาตรา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นชอบทุกหมวด ทั้งฉบับ

อีกทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ จะไม่เห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งก็คือทุกมาตรา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ไม่เห็นชอบทุกหมวด ทั้งฉบับ

บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ตรงนี้จึงบัญญัติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นการพ้นวิสัยผลคือการนั้นตกเป็นโมฆะ

เพราะบัญญัติในสิ่งที่ไม่ดำรงอยู่จริง

ผลคือบัญญัติในสิ่งที่เป็นเท็จ ย่อมทำลายตัวเองใช้บังคับไม่ได้ ไม่ว่าผลการออกเสียงประชามติจะเป็นอย่างไร

๒. พิจารณาจากกฎตรรกะ (Logic)

(๒.๑) สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ใครบัญญัติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้คือผู้ที่บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือบัญญัติความเป็นเท็จ

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่มาจากบทบัญญัติ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เฉพาะในส่วนดังกล่าวนี้ มาจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง นั่นก็คือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในส่วนนี้มาจากบทบัญญัติความเป็นเท็จ ประกาศใช้เมื่อใด ก็เป็นเท็จเมื่อนั้น ย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้

(๒.๒) ทั้งฉบับ คือ ทั้งเซต (set)

หมวด คือ อนุเซต (subset) ของทั้งฉบับ

มาตรา คือ อนุเซตของหมวด

ประพจน์หรือประโยค คือ อนุเซตของมาตรา

เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ = เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งมีเป็นร้อยๆ พันๆ ประพจน์หรือประโยค

เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นการพ้นวิสัยที่บุคคลจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค

ดังนั้น ข้อเสนอแนะก็คือ...ถ้าจะมีการยกเลิกหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและจะต้องมีการทำประชามติ

ถ้าการเป็นว่าต้องการให้ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ที่ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายและกฎตรรกะก็ตามทีโดยตัดคำว่า “ทั้งฉบับ” ออกไป เหลือเพียงให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในรัฐธรรมนูญ เพียงเท่านี้จะมีคำว่า “ทั้งฉบับ” ตามมาไม่ได้

เช่น ในมาตรา ๑๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่บัญญัติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของวุฒิสภาจะต้องให้ความ “เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ” เท่านั้น ไม่มีคำว่า“ทั้งฉบับ” แต่อย่างใด เป็นการบัญญัติที่ถูกทั้งหลักกฎหมายและกฎตรรกะ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สมาชิกทุกคนจะต้องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างงบประมาณรายจ่ายทุกวงเงินและทุกรายการที่มีหลากหลาย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:46 น. 'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social
12:46 น. 'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ
12:40 น. พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ
12:39 น. นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.'สางไฟใต้
12:30 น. โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ

พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ

นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.'สางไฟใต้

โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น

  • Breaking News
  • \'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่\'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social 'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social
  • \'จุลพันธ์\'เผย\'เอดีบี\'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ 'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ
  • นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก\'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.\'สางไฟใต้ นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.'สางไฟใต้
  • โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (1)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (1)

2 พ.ค. 2568

ความคิดในการใช้กฎหมาย

ความคิดในการใช้กฎหมาย

25 เม.ย. 2568

คนตัวเหม็นแต่จิตใจงามไม่เหม็น

คนตัวเหม็นแต่จิตใจงามไม่เหม็น

18 เม.ย. 2568

อเมริกัน(ดับเบิ้ล)สแตนดาร์ด

อเมริกัน(ดับเบิ้ล)สแตนดาร์ด

11 เม.ย. 2568

เอกสารงบประมาณแผ่นดิน

เอกสารงบประมาณแผ่นดิน

4 เม.ย. 2568

การวางแผนภาษี การหลีกเลี่ยงภาษีและหนีภาษี กับจริยธรรมนักการเมือง

การวางแผนภาษี การหลีกเลี่ยงภาษีและหนีภาษี กับจริยธรรมนักการเมือง

28 มี.ค. 2568

จาก Big Dig ถึง พระราม ๒

จาก Big Dig ถึง พระราม ๒

21 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved