nn แม้ข้อเท็จจริงจะพบว่าประเทศไทยมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD)สินค้าเหล็กหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กลวด เหล็กท่อซึ่งปัจจุบันสินค้าเหล็กเหล่านี้กำลังถูกต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนส่งสินค้าที่มีลักษณะการหลบเลี่ยงมาตรการ AD เข้ามายังประเทศไทย โดยสินค้าที่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนคือสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ไทยมีมาตรการ AD สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากจีนโดยเริ่มเมื่อประมาณ เดือน ก.พ. 2554 และมีการหลบเลี่ยงโดยการเจือธาตุอัลลอยเข้ามาเพียงเล็กน้อยเพื่อเปลี่ยนพิกัด สามารถทำให้สินค้าอยู่นอกขอบข่ายของมาตรการ AD รวมถึงสามารถหลบเลี่ยงภาษีนำเข้า 5% จากการใช้ FTA ในกรอบ ASEAN-China เนื่องจากภาษีนำเข้าในกรอบ FTA สำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออัลลอยเท่ากับ 0% ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการยกเว้นภาษีที่ต้องการให้การยกเว้นเฉพาะสินค้าพิเศษที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย
จากข้อมูลของสถาบันเหล็กกล้า และสมาคมผู้ผลิตเหล็กชนิดต่างๆ(7 สมาคมฯ) พบว่าปริมาณเหล็กรีดร้อนเจืออัลลอย ที่มีการหลบเลี่ยง AD พบว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา (ปี’54-65) มีปริมาณสูงถึงกว่า 3.36 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 66,000 ล้านบาทส่งผลให้มูลค่าภาษี AD ที่ภาครัฐสูญเสียไปจากการหลบเลี่ยงสูงถึงประมาณกว่า 20,700 ล้านบาท (ภาษี AD 30.91%) รวมถึงสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้าถึงกว่า 3,300 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ที่ภาครัฐสูญเสียไปกว่า 24,000 ล้านบาท และตัวเลขล่าสุดของครึ่งปีแรก2566 ที่มีการส่งสินค้าประเภทดังกล่าวมายังประเทศไทยสูงขึ้นอย่างมากจากสถานการณ์ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนที่เสี่ยงจะฟองสบู่แตกทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 2,900 ล้านบาท รวมทั้งหมดจนถึงปัจจุบันเท่ากับไทยสูญเสียรายได้จากการหลบเลี่ยงมาตรการ AD สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนถึงกว่า 26,900 ล้านบาท อันนี้ยังไม่นับการหลบเลี่ยงมาตรการ AD สินค้าเหล็กลวด และสินค้าท่อซึ่งหากพิจารณาคาดว่าจะมีมูลค่าที่ภาครัฐสูญเสียรายได้เพิ่มขึ้นอีกมาก
อย่างไรก็ตาม จากการที่กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ได้มีนโยบายที่จะดำเนินการป้องกันความเสียหายให้กับประเทศ และอุตสาหกรรมผู้ผลิตในประเทศโดยกำลังพิจารณาเปิดไต่สวนมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า (Anti circumvention : AC)สำหรับ เหล็ก HRC เป็นเคสแรกของไทยซึ่งเชื่อว่าภาครัฐจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำรายได้ส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศต่อไป
อย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่อมีคนที่กำลังจะเสียผลประโยชน์จึงมีเสียงสะท้อนออกมาจากวงการผู้ผลิตเหล็กว่า บริษัทเหล็กจีนรายใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกหลักของ HRC เจืออัลลอยมาไทย ได้วิ่งเต้นผ่านทางหน่วยงานราชการจีนให้ช่วยคัดค้านการเปิดไต่สวน AC ของไทย โดยเชื่อว่าน่าจะผ่านทางสถานทูตจีนเพื่อติดต่อกับกระทรวงพาณิชย์ของไทย
นอกจากเหล็ก HRC แล้ว จากข้อมูลของกรมศุลกากรพบว่าสินค้าเหล็กลวดเจืออัลลอย(1H)จากจีน ที่นำเข้ามาในช่วงปี 2565-2566 คาดว่ามีปริมาณเหล็กที่หลบเลี่ยงอากร 0.43 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 11,400 ล้าน อากร AD 12.26-36.79% คิดเป็นมูลค่าขั้นต่ำประมาณ 1,400 ล้านบาท (คิดจาก rate 12.26%) จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ กรมการค้าต่างประเทศควรจะเปิดการไต่สวน AC ด้วยเช่นกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และอุตสาหกรรมในประเทศ
ต้องย้ำอย่างนี้ผู้ส่งออกเหล็กของจีนและบริษัทเหล็กสัญชาติจีนที่เข้ามาตั้งเทรดดิ้งในประเทศไทย ที่มีพฤติกรรมทางการที่หลบเลี่ยงภาษีหรือหลบเลี่ยงอากรต่างๆ...ควรจะถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ใน “กลุ่มทุนจีนสีเทา” ด้วยเช่นเดียวกันกับพวกทุนจีนที่เข้ามาทำผิดกฎหมายในไทย เพราะพวก “ทุนเหล็กจีนเทา” ก็สร้างความเสียหายให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศกับประเทศไทยเช่นเดียวกัน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี