วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ฝากฟ้า ฝากดิน
ฝากฟ้า ฝากดิน

ฝากฟ้า ฝากดิน

วิมล ไทรนิ่มนวล
วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
‘พลังของวัฒนธรรมและจริยธรรม’

ดูทั้งหมด

  •  

“วัฒนธรรมและจริยธรรม” อาจเกิดก่อนหรือพร้อมกัน หรือภายหลัง “การปกครอง” ก็ย่อมได้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข มันมีมาแต่ยุคชนเผ่า แต่การปกครองด้วยอำนาจและกฎกติกาอย่างเดียวไม่มีประสิทธิภาพมากพอ เพราะเป็นการใช้อำนาจบังคับและลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎกติกา ไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงต้องมีอุบายอื่นเข้าช่วย เช่น มีหมอผี ซึ่งหลายเผ่าหัวหน้าเผ่าก็เป็นหมอผีเอง ผีบรรพชน เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่จะทำให้คนเกรงกลัวหรือเคารพ เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น

เมื่อชนเผ่าเติบโตขยายทั้งจำนวนประชากรและพื้นที่ก็กลายเป็น “เมือง” เริ่มมีการเลือกหัวหน้าเผ่า บ้างก็สืบต่อสายเลือดจากหัวหน้าเผ่าคนก่อน หัวหน้าเผ่านี้แหละต่อมาเรียกว่า “พ่อเมือง”“เจ้าเมือง” และ “กษัตริย์” (เขตต์ - เกษตร) แปลว่า “ผู้ว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” เพราะสังคมพัฒนาจากยุคล่าสัตว์ เก็บของป่าเข้าสู่ยุคการเกษตร พร้อมกันนั้นก็มี “การสร้างแบบแผนปฏิบัติและพิธีกรรมต่างๆ”เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์มากขึ้น อันเกี่ยวกับการทำมาหากินและความเชื่อต่างๆ ทั้งที่สืบทอดมาจากยุคชนเผ่าและสร้างขึ้นใหม่ เรียกว่า “วัฒนธรรม” ประกอบด้วย “พิธีกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ” ซึ่งมีทั้งของกษัตริย์และพลเมือง แต่ก็ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน


“วัฒนธรรม” หรือ “ขนบธรรมเนียมประเพณี”ก่อเกิดและสร้างสรรค์ขึ้นจากวิถีชีวิตในชุมชน ส่งต่อและแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชนและเมืองใกล้เคียง

เมื่อศาสนาเกิดขึ้น มีการเผยแผ่ศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ เมืองที่ยอมรับเอาศาสนาเป็นเครื่องมือสำหรับอบรมสั่งสอนพลเมือง ทั้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผู้คนในสังคมไว้ด้วยกัน จึงมี “ตัวช่วย” เพิ่มขึ้นอีกคือ “ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา”

เมื่อมีศาสนาเข้าผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม มันจึงเติบโตลงรากปักฐานแน่นหนาในสังคม กลายเป็น “ระบบจริยธรรมใหม่” ที่แข็งแรง ทั้งที่เป็นคำสอนโดยตรงและโดยผ่านขนบธรรมเนียมประเพณี ต่อมาศาสนาก็กลายเป็นแกนหลักทางวัฒนธรรมและจริยธรรมของสังคม ฝังอยู่ในจิตสำนึกและใต้สำนึกของผู้คนและสังคมอย่างยากที่ใครจะเปลี่ยนแปลงได้ตามใจตน

เพราะมันได้พิสูจน์แล้วว่ามันสร้างความสามัคคีและป้องกันปัญหาต่างๆ ในสังคมได้ เป็นการลดภาระของกฎหมาย

ดังจะเห็นได้จากหลายประเทศที่ปฏิวัติเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบเดิม (ราชาธิปไตย เผด็จการ ประชาธิปไตย) เป็น“รัฐสังคมนิยม” นั้น สามารถเอาชนะผู้ปกครองเดิมนั้นได้ แต่เอาชนะวัฒนธรรมและจริยธรรมไม่ได้!

ยกตัวอย่างจีน เมื่อปฏิวัติสำเร็จแล้ว พวกผู้นำสามารถบังคับกดขี่ผู้คนของตนได้ ให้ทำงานหนักได้ โยกย้ายอพยพได้ แต่ไม่สามารถบังคับให้พวกเขาเลิกยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีได้ อย่างคำสอนของขงจื๊อและพระพุทธศาสนา ประเพณีของต่างๆ ประจำถิ่นของตน รวมทั้งพิธีไหว้เจ้า-ไหว้บรรพชนด้วย จนพวกปฏิวัติเห็นว่ามันขัดขวาง “การสร้างวัฒนธรรมสังคมนิยม” และการปกครอง

นั่นคือ พวกเขาเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและจริยธรรม (ทั้งจากศาสนาและลัทธิขงจื๊อ) จึงต้อง “สร้างวัฒนธรรมและจริยธรรมของลัทธิสังคมนิยม” ขึ้น เมื่อสร้างไม่ได้ เพราะสำนึกของพลเมืองยังผูกพันอย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรมเดิม สุดท้ายก็ต้องปฏิวัติอีกครั้ง คือ “ปฏิวัติวัฒนธรรมและจริยธรรม”

คือการทำลายล้างวัฒนธรรมและจริยธรรมเดิม เพื่อสร้างวัฒนธรรมสังคมนิยม

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ในช่วง ค.ศ. 1966 - 1976ดำเนินการโดย เหมา เจ๋อตุง ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน

เริ่มต้นด้วยการตั้ง “กองกำลังยุวชนแดง” จำนวนมาก เมื่อสั่งสอนและปลุกระดมกันจนบ้าคลั่งแล้วก็ใส่รถไฟมาที่ปักกิ่ง การปฏิวัติมุ่งหมายทำลาย “สิ่งเก่าทั้ง 4” ได้แก่ ขนบธรรมเนียมเก่า วัฒนธรรมเก่า อุปนิสัยเก่าและความคิดเก่า และสร้าง“สิ่งใหม่ทั้ง 4” ของพวกเขาขึ้นทดแทน ด้วยการทำร้ายทำลายตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อคนจนถึงการตัดผมการประณาม ประจาน การจองจำ การบุกค้นบ้านทุบตีเข่นฆ่าแม้กระทั่งเพื่อน ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ที่พวกเขาสงสัยว่ามีนิสัย 4 เก่า ทำลายทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ทำลายวัด ศาลเจ้า

แต่ไม่มีใครสามารถทำลายวัฒนธรรมและจริยธรรมที่ฝังอยู่ในใจคนได้

การปฏิวัติยุติไปนานแล้ว แต่จีนก็ไม่พัฒนา ซ้ำล้าหลังประเทศทุนนิยมมากขึ้นทุกที เพราะลัทธิสังคมนิยมเป็นตัวขัดขวางและทำลายทุกด้าน ทั้งแรงงานและการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นการทำลายแม้กระทั่งตัวระบบเอง

เติ้ง เสี่ยวผิง จึงนำจีนเข้าสู่ยุคใหม่ ใช้ลัทธิทุนนิยม(ตลาดเสรี) เข้าพัฒนาประเทศจีน เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงศักยภาพทุกด้านที่เป็นประโยชน์แก่สังคม และแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เก็บซ่อนไว้ในใจตน เช่น การนับถือศาสนา มีผู้คนนับถือพระพุทธศาสนานับล้านคน ลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟูเป็นสถาบัน

ดังนั้นใครก็ตาม ที่ประกาศล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างวัฒนธรรม ล้มล้างระบบจริยธรรม ล้มล้างความกตัญญูกตเวทิตา ต้องการทำลายสิ่งดั้งเดิมที่มีคุณค่า แม้พวกเขาจะปฏิเสธว่าไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ก็จงรับรู้ไว้ว่า พวกเขามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พวกกเฬวราก” ที่ต้องการทำลายชาติให้ย่อยยับ (ทำลายสิ่งเก่าทั้ง 4 เช่นเดียวกับจีน) เพื่อจะได้สร้างวัฒนธรรมกเฬวรากของพวกเขาขึ้นแทน

วิมล ไทรนิ่มนวล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:09 น. เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น
14:49 น. เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
14:44 น. รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง
14:41 น. โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ
14:33 น. สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

พันธมิตรหรือเพื่อนบ้านก็ไม่สน! ‘ทรัมป์’จัดหนักขู่เก็บภาษีสินค้า‘อียู-เม็กซิโก’30%

‘สวนดุสิตโพล’กว่า50%ไม่เชื่อมั่นครม.ใหม่ จี้เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ มองรบ.ไม่น่าแก้ภาษีทรัมป์ได้

บุฟเฟต์ทุเรียนเบตง 90 นาที 400 บาท กินได้ทุกสายพันธุ์

ปลอบอดีตพระสึกใหม่!! แนะทำมาหากินสุจริต กลับตัวในฐานะคนเคยผิดพลาดได้

  • Breaking News
  • เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง \'สุทิน\'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น
  • เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’ เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
  • รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง
  • โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ
  • สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘พรรคการเมืองที่จะสู้กับพรรคส้ม’

‘พรรคการเมืองที่จะสู้กับพรรคส้ม’

11 ก.ค. 2568

‘พวกจิตวิปริตทางการเมือง’

‘พวกจิตวิปริตทางการเมือง’

4 ก.ค. 2568

‘พลังงานราคาถูกกับคนราคาถูก’

‘พลังงานราคาถูกกับคนราคาถูก’

27 มิ.ย. 2568

‘กระแสชาตินิยมกับการฉกฉวย’

‘กระแสชาตินิยมกับการฉกฉวย’

20 มิ.ย. 2568

‘รักสันติวิธีต้องพิสูจน์’

‘รักสันติวิธีต้องพิสูจน์’

13 มิ.ย. 2568

‘ไม่เชื่อพรรคส้ม’

‘ไม่เชื่อพรรคส้ม’

6 มิ.ย. 2568

‘ปัญญาและความรักในเศรษฐกิจพอเพียง’

‘ปัญญาและความรักในเศรษฐกิจพอเพียง’

30 พ.ค. 2568

‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’ ตอนที่ 2

‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’ ตอนที่ 2

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved