วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
เรื่อง เงื่อนไขการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของต่างประเทศ

ดูทั้งหมด

  •  

อาศัยอำนาจตามมาตรา 21 (ฎ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และตามความในหมวด 5การควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม มาตรา 26 ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (6) การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการซึ่งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของต่างประเทศ ทั้งนี้โดยอนุมัติของคณะกรรมการแพทยสภา ดังนั้น คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 12 เดือน เมษายน พ.ศ. 2565 จึงเห็นชอบให้ออกประกาศแพทยสภา เรื่อง เงื่อนไขการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของต่างประเทศ ดังนี้

1.การพิจารณาอนุมัติ


ในการพิจารณาอนุมัติ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการซึ่งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของต่างประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

2.การขออนุมัติ

ให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานกระทรวงทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้รวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง เชิญที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ มาโดยมีวัตถุประสงค์ทางด้านการค้นคว้าวิจัย หรือการให้ความรู้แก่แพทย์ในประเทศไทย หรืออื่นๆ ตามที่คณะกรรมการแพทยสภาเห็นสมควร ทำหนังสือขออนุมัติไปยังเลขาธิการแพทยสภาก่อนวันที่ประสงค์จะได้รับการอนุมัติไม่น้อยกว่าสองเดือนโดยถือวันที่แพทยสภาลงรับหนังสือเป็นหลัก

กรณีที่มีความจำเป็นต้องการปฏิบัติงานอย่างเร่งด่วนให้ขออนุมัติล่วงหน้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมแจ้งเหตุผลที่ไม่สามารถส่งเรื่องให้แพทยสภาพิจารณาก่อนล่วงหน้าสองเดือนได้

3. คุณสมบัติของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการที่จะขอประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศของตนและได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาใดสาขาหนึ่ง หรือเทียบเท่า

ในกรณีที่ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ไม่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการแพทยสภา

4. หนังสือขออนุมัติ

หนังสือขออนุมัติ ให้มีรายละเอียดประกอบการพิจารณา ดังนี้

ก) โครงการที่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ให้มีการระบุสถานที่ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

ข) ชื่อที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมตรงกับหนังสือเดินทาง หากเป็นหนังสือเดินทางฉบับภาษาไทยให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ค) ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบตลอดระยะเวลาที่ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ นั้นมาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

ง) ชื่อแพทย์ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ซึ่งเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบตลอดระยะเวลาที่ ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญนั้นประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

จ) เอกสารแสดงคุณวุฒิและหลักฐานประกอบการพิจารณาของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ พร้อมลงนามรับรองสำเนาโดยหน่วยงานที่ขออนุมัติ ซึ่งประกอบด้วย

- สำเนาแสดงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ

- สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ยังไม่หมดอายุจากต่างประเทศ

- รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ซึ่งถ่ายไม่เกิน 1 ปี)

- รูปถ่ายหน้าพาสปอร์ตที่เป็นปัจจุบัน

- เอกสารการประกันความเสียหายสำหรับผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ

5. ระยะเวลาได้รับการอนุมัติ

ให้การอนุมัติมีผลไปนับแต่วันที่คณะกรรมการแพทยสภามีมติอนุมัติ โดยแพทยสภาจะอนุมัติให้ปฏิบัติงานคราวละไม่เกินหนึ่งปี และไม่เกินระยะเวลาที่ใบอนุญาตเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯหมดอายุลง

6. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว

แพทยสภาจะออกหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราวประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

- ชื่อที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ

- ชื่อโครงการ ตามขอ

- ชื่อหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบ

- ระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

- สถานที่ปฏิบัติงานเฉพาะที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น (ห้ามปฏิบัตินอกเหนือจากที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด)

- เงื่อนไขอื่นๆ ที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนด

7. ค่าธรรมเนียมการขอหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว

ให้ผู้ขอหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว ชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000.- (สองพันบาท)/คน/ครั้ง โดยจัดส่งค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าว ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ สาขากระทรวงสาธารณสุข บัญชีแพทยสภา เลขที่ 340-2-011744 และจัดส่งสำเนาสลิปให้กับแพทยสภาที่ E-mail : rgtmc.th@gmail.com

ค่าธรรมเนียมการขอหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว ดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามมติคณะกรรมการแพทยสภา และเป็นไปตามประกาศแพทยสภา เรื่องอัตราค่าธรรมเนียมนอกเหนือจากที่ประกาศท้ายกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2563 ข้อ 18

8. การปฏิบัติตัวของแพทย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

8.1 แพทย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ได้รับอนุมัติตามหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราวของแพทยสภา ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของไทยรวมทั้งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525ข้อบังคับ แนวทาง ประกาศ มติคณะกรรมการแพทยสภาและกฎเกณฑ์อื่นๆ ของแพทยสภา ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะประกาศใช้บังคับในอนาคต เหมือนแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติเวชกรรมพ.ศ. 2525

8.2 แพทยสภาอาจกำหนดให้หน่วยงานภายใต้การกำกับของแพทยสภาเป็นผู้ติดตามการทำงาน และเป็นผู้ดูแล การปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในฐานะที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ผู้นั้น

8.3 หน่วยงานที่ขออนุมัติ ต้องมีที่อยู่ ที่สามารถติดตามที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่อยู่ในประเทศไทยหรือขณะที่เดินทางออกนอกประเทศไทยแล้ว

8.4 ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ เมื่อได้รับอนุมัติให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว ต้องอยูในความดูแลของแพทย์ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาตามรายชื่อที่แจ้งไว้กับแพทยสภา ตลอดระยะเวลาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย และ ต้องส่งรายงานผลการปฏิบัติงานทุกหกเดือน ทั้งนี้ แพทยสภาอาจขอผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯ ผู้นั้นเป็นระยะๆ ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลาที่อนุมัติ

8.5 ห้ามมิให้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขออนุมัติประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราวตามข้อบังคับนี้ ปฏิบัติงานก่อนวัน เวลาที่ได้รับอนุมัติ โดยเด็ดขาด

แพทยสภาอาจพิจารณายกเลิกการอนุมัติก่อนระยะเวลาที่อนุมัติไว้ หากพบว่า หน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบในการขออนุมัติไม่ปฏิบัติตามที่แพทยสภากำหนด หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของไทยรวมทั้งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ.2525ข้อบังคับ แนวทาง ประกาศ มติคณะกรรมการแพทยสภา และกฎเกณฑ์อื่นๆ ของแพทยสภา

ข้อกฎหมายที่หน่วยงาน ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญฯควรทราบ

1.ความรับผิดทางอาญา เป็นการรับผิดเฉพาะตัว

2.ความรับผิดทางกฎหมายแพ่ง เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

3.ความรับผิดทางจริยธรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ข้อบังคับฯ ประกาศ อนุมัติคณะกรรมการแพทยสภา และกฎเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยตรง : ผู้ซึ่งไม่ได้รับการอนุมัติให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ ตามมาตรา 43 จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2565

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

นายกแพทยสภา

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:32 น. เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน
15:29 น. เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2
15:25 น. จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด
15:09 น. เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น
14:49 น. เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

รวบหนุ่มไทยมุดชายแดน! ขายบัญชีม้าให้แก๊งคอลฯ พบมีคดีออนไลน์17คดี

รัฐผ่อนปรนรถบัสสองชั้นวิ่ง‘6 เส้นทางเสี่ยง’ได้180วัน เริ่ม 21 ก.ค.

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

  • Breaking News
  • เลย์ออฟครั้งใหญ่! \'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ\'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน
  • เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2 เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2
  • จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด
  • เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง \'สุทิน\'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น
  • เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’ เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

12 ก.ค. 2568

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

5 ก.ค. 2568

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

28 มิ.ย. 2568

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

21 มิ.ย. 2568

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

14 มิ.ย. 2568

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

7 มิ.ย. 2568

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

31 พ.ค. 2568

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved