วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Sarcopenia

ดูทั้งหมด

  •  

Sarcopenia คืออะไร คือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย คนเราตั้งแต่เกิดจะมีการสร้างสมรรถภาพของร่างกาย ตั้งแต่เล็กจนโตมวลกล้ามเนื้อ เอ็น เอ็นข้อต่อ กระดูกจะมีการเจริญเติบโตอยู่เรื่อยๆ แต่พอประมาณอายุ 30 ปี จะถึงจุดสุดยอดของความแข็งแรงของร่างกายรวมทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ หลังจากประมาณอายุ 30 ปีในบางคน มวลกล้ามเนื้อ เอ็น เอ็นข้อต่อ กระดูกจะเสื่อมสภาพลง กระดูกจะมีการสลายมากกว่าสร้าง จะมีการสูญเสียกล้ามเนื้อตั้งแต่อายุ 30 ปี ประมาณ 1%ของมวลกล้ามเนื้อต่อปี ฉะนั้นถ้ามีอายุถึง 80 ปี อาจมีการสูญเสียกล้ามเนื้อไปถึง 50% ของตอนที่มีอายุ 30 ปี

การที่เรามีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงกำลังวังชาน้อยลง แต่ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI)อาจอยู่ในระดับปกติ คือ ไม่สูงกว่า 23 แต่ความเป็นจริงคือ มวลกล้ามเนื้อลดลง แต่สัดส่วนของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น จึงทำให้ BMI ดัชนีมวลกายมีค่าเท่าเดิมหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ นอกจากดู BMI แล้ว ยังควรดูขนาดของพุงด้วย โดยขนาดของพุงไม่ควรเกิน 90 ซม.ในชาย และ 80 ซม.ในหญิง


ตั้งแต่อายุ 30 ปีในเพศชาย ปริมาณฮอร์โมนเพศชายtestosterone จะลดลงด้วย ประมาณ 1% ต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียกล้ามเนื้อ เพราะหน้าที่หนึ่งของ testosterone คือการสร้างกล้ามเนื้อ ในช่วงแรกๆ อาจไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่หลังอายุ 50 ปี บางคน 60 ปี ฯลฯ มวล พลัง กล้ามเนื้อ จะลดลงจนเห็นได้ชัด จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะบางคนหลังอายุ 60-70 ปี โดยเฉพาะถ้าไม่ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อของทุกส่วนของร่างกาย

เมื่อมวลกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อลดลง ผู้นั้นอาจมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลุกนั่งลำบาก การทรงตัวไม่ดี ทำให้หกล้มบ่อยๆ น้ำหนักลด (หรือไม่ลดเพราะสัดส่วนไขมันเพิ่ม) โดยไม่ตั้งใจ มีภาวะเสี่ยงต่อการมีกระดูกบาง พรุน เปราะ ที่หักได้ง่าย หรือเหนื่อยมาก จนไม่สามารถ หรือมีความจำกัด ในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี อาจทำให้มีโรคซึมเศร้า และเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะมากับการมีอายุสูงขึ้น ยิ่งสูงอายุมากก็จะมีการสูญเสียกล้ามเนื้อมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าร่างกายไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว (physical activity) พบว่าผู้ที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวตลอด จะมีสุขภาพดีกว่าคนที่อยู่นิ่งๆ (sedentary) ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่ถึงแม้มีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมาก เช่น ไม่อยู่นิ่ง ลุกขึ้นเดินไปโน่นมานี่ ทำงานบ้าน ทำครัว ทำสวน เดินขึ้นบันไดลงบันได อยู่ไม่สุข จะมีสุขภาพที่ดีกว่าคนที่นั่งนิ่งๆ อยู่กับโต๊ะ หรือนั่งเล่นคอมพ์ ดูทีวีทั้งวันก็จริง แต่ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำด้วยจะยิ่งดีใหญ่ WHO องค์การอนามัยโลกแนะให้ออกกำลังกายทุกวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที หรือสัปดาห์ละ 150-300 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการออกกำลังกาย

การวินิจฉัยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย คือ การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จากการใช้อุปกรณ์ในการวัดแรงบีบมือ การวัดสมรรถภาพทางกายด้วยการวัดความเร็วของการเดิน การทรงตัว การลุกนั่ง รวมทั้งการวัดปริมาณมวลกล้ามเนื้อ จากเครื่อง DEXA (Dual Energy X-Ray Absorptiometry) และเครื่อง BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) โดยทั้ง 2 เครื่องนี้ สามารถวัดปริมาณมวลกล้ามเนื้อ สัดส่วนของไขมันทั่วร่างกายได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งสามารถวัดความหนาแน่นของกระดูกได้อีกด้วย

ฉะนั้นทุกๆ คนไม่ต้อง ไม่ควร รอให้ตนเองอ่อนแรงหรือสูงอายุก่อนจึงจะทำอะไร ควรออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมตั้งแต่ยังเยาว์วัย ประเด็นที่สำคัญคือ ไม่ใช่ออกกำลังกายเพียงให้หัวใจแข็งแรง ด้วยวิธี aerobic หรือ cardioหรือ endurance exercise เท่านั้น แต่ควรออกกำลังกายให้ครบ 4 วิธี คือ หนึ่ง aerobic exercise (หัวใจ) สอง resistanceexercise หรือเพิ่ม สร้าง พลัง มวลกล้ามเนื้อ สามออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวที่ดี คือ balancing exerciseและสี่ การยืดหยุ่น หรือ flexibility exercise

ถ้าเราออกกำลังกายแบบ aerobic เช่น การเดิน หรือวิ่งอย่างเดียว เราจะทำให้หัวใจ ปอด ระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรงรวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงด้วย แต่กล้ามเนื้อส่วนบนอาจไม่ได้ออกกำลังกายไปด้วย หรือถึงแม้ตีเทนนิสทุกวันก็จะใช้แขนขวา หรือแขนที่ถนัดข้างเดียว

ฉะนั้นทุกๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่จะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียกล้ามเนื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องพยายามหาความรู้ใส่ตัว เพื่อออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ทั้งแขน ขา สะโพก หลัง คอ อก ฯลฯ ควรพยายามหาโอกาสปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้นักกายภาพบำบัดช่วยแนะการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อทุกมัดของร่างกาย ซึ่งอาจไม่ใช่การยกน้ำหนัก หรือใช้เครื่องแพงๆ อย่างเดียว แต่อาจใช้ดึงสายยาง ใช้น้ำหนักตัวเองในการออกกำลังกาย เช่น ดันกำแพง, วิดพื้น (push up) sit up โดยอาจไม่ต้องใช้งบประมาณเลย

ขอให้ทุกๆ คนออกกำลังกายให้ครบทั้ง 4 ชนิด ตั้งแต่บัดนี้ ถ้ายังไม่เคยออก และช่วยบอกคนในครอบครัวด้วย ยิ่งเริ่มต้นเร็วยิ่งดี อย่าลืมว่า 70% ของการเสียชีวิตของชาวโลกมาจากโรคที่ไม่ติดต่อ หรือโรคที่ป้องกันได้

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:45 น. ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่
14:33 น. พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
14:31 น. ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ
14:28 น. กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
14:26 น. ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
คุกรออยู่ถ้า‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’วีโต้
อดีต รมต.คลังแนะว่าอย่าก้มหัวให้สหรัฐหากรัฐบาลอยู่ถึงวันเจรจา
‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’
ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อีโก้ทะลุเมฆ(1)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่

กรรมทันตา! ยักยอกเงินวัด 300 ล้านแทงบาคาร่า 'จากห่มเหลืองอยู่วัดกลายเป็นผู้ต้องหา'

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2568

ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ

ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน

สังขารยังดีต้องทำงานแลก! รัฐบาล‘ทรัมป์’ชงแนวทางใหม่จัดสวัสดิการรัฐชาวอเมริกัน

  • Breaking News
  • ยก 7 เหตุผล\'ทักษิณ\' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี  และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่ ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่
  • พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
  • ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ
  • กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
  • ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

11 พ.ค. 2568

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน

4 พ.ค. 2568

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

27 เม.ย. 2568

โลกร้อน–เราช่วยชาติได้อย่างไร

โลกร้อน–เราช่วยชาติได้อย่างไร

20 เม.ย. 2568

วันผู้สูงอายุ

วันผู้สูงอายุ

13 เม.ย. 2568

Carabao Cup

Carabao Cup

6 เม.ย. 2568

ฟุตบอลอังกฤษ

ฟุตบอลอังกฤษ

30 มี.ค. 2568

โรคอ้วน

โรคอ้วน

23 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved