วันพฤหัสบดี ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
WHO : อากาศที่ร้อนกับสุขภาพ

ดูทั้งหมด

  •  

ประชาชนในโลกจะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ หนักขึ้น บ่อยขึ้น นานขึ้น เนื่องมาจากโลกกำลังร้อนขึ้นตลอดเวลา (climate change-global warming) ในปี ค.ศ. 2000-2016 เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรง ทำให้มีประชาชนที่ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดหรือคลื่นความร้อน (heat wave) เพิ่มขึ้นประมาณ 125 ล้านคนเฉพาะในปี ค.ศ. 2015 เท่านั้นมีประชาชนที่ต้องเผชิญกับ heat wave เพิ่มมากขึ้นถึง 175 ล้านคน เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ละเหตุการณ์อาจยาวนานหลายสัปดาห์ ปัจจุบันนี้และในอนาคตจะพบ heat wave บ่อยขึ้น ทำให้มีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี ค.ศ.2003 มีประชาชนเฉพาะในยุโรปตายถึง70,000 คน จากอุณหภูมิที่ร้อนจัดเฉพาะเพียงช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ในปี ค.ศ.2010 มีคนตายเพิ่มขึ้น 50,000 คน ในช่วงที่อากาศร้อนจัด 44 วัน ในประเทศรัสเซีย

อากาศที่ร้อนจัดมีผลต่อระบบสรีรวิทยาของมนุษย์ ทำให้ผู้ที่มีโรคต่างๆ อยู่แล้วเป็นมากขึ้น ทำให้มีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีความพิการ (disability) ทั้งๆ ที่ผลเสียของอุณหภูมิที่ร้อนจัดนี้สามารถทำนายและป้องกันได้


อุณหภูมิที่ร้อนจัดมีผลที่ไม่ดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ปอด โรคเบาหวาน และโรคไต heat wave มีผลต่อประชาชนจำนวนมากได้อย่างเฉียบพลันภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เกิดการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ความสูญเสียความสามารถในการทำงานและการผลิต มีปัญหาทางด้านการบริการสาธารณสุข ขาดพลังงาน ส่งผลต่อระบบสาธารณสุข การคมนาคม และระบบน้ำ ฯลฯ

อากาศที่ร้อนจัดมีผลต่อทุกๆ คน แต่โดยเฉพาะบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุเด็กเล็ก เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ทำงานในที่แจ้ง นักกีฬา และผู้ที่ยากจน

อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นได้จากความร้อนของอากาศ และจากการเผาผลาญของร่างกาย การที่ร่างกายมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้ร่างกายมีปัญหาในการควบคุมความร้อนของร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น ตะคริว (heat exhaustion) อ่อนเพลีย หรือโรคเพลียแดด (heat exhaustion) โรคลมร้อน หรือโรคลมแดด (heat stroke) ภาวะตัวร้อนเกินหรือภาวะไข้สูง (hyperthermia) จนถึงเสียชีวิตได้

ภายในหนึ่งวันที่มี heat wave ประชาชนอาจไม่สบายมาก จนต้องเข้า รพ. และอาจเสียชีวิตได้ในวันเดียวกัน หรืออาจเป็นเวลาหลายวันก่อนตาย ทำให้ผู้ที่อ่อนแอเป็นโรคต่างๆ อยู่แล้วเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของ heat waves แม้แต่ความร้อนที่สูงขึ้นนิดเดียวจากฤดูกาลปกติก็ทำให้มีโรคและถึงกับตายได้ อากาศที่ร้อนจัดทำให้โรคที่เป็นอยู่แล้ว เป็นมากขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง ปอด เบาหวาน ฯลฯ

นอกจากนั้น ความร้อนยังมีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ การแพร่เชื้อ การบริการทางสาธารณสุข คุณภาพอากาศ สาธารณูปโภคที่จำเป็นและสำคัญ เช่น ไฟฟ้า การคมนาคม น้ำ ผลของความร้อนจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเวลา ความรุนแรง (intensity) และระยะเวลาที่เป็นระดับความเคยชินหรือปรับตัว (acclimatization) และการปรับสภาพของชุมชน ระบบสาธารณูปโภค และสถาบันต่างๆ รวมทั้งความชื้น ลม การเตรียมตัวของสังคม

ผลโดยตรงของ heat waves ทำให้ร่างกายขาดน้ำ มีตะคริว เป็น heat stroke เสียชีวิตเร็วขึ้นจากโรคที่เป็นอยู่แล้ว เช่น โรคปอด หัวใจ สมอง โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคจิต โรคไต ทำให้ต้องเข้า รพ.ส่วนผลทางอ้อม คือ มีการเรียกรถพยาบาลมากขึ้น ทำให้มีการตอบสนองช้าลง เข้า รพ.มากขึ้น มีผลต่อการเก็บรักษายา ทำให้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น มีการเสียชีวิตมากขึ้นจากการจมน้ำตาย จากการทำงาน มีการบาดเจ็บ (injury) และมีการได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น (poisoning) มีการแพร่เชื้อโรคเพิ่มขึ้นทางอาหาร น้ำ มีปัญหาทางด้านพลังงาน น้ำ คมนาคม ผลผลิต (productivity) น้อยลง

วิธีป้องกันตนเองถ้าเป็นไปได้ คือ ควรมีห้องที่เย็นสบายอย่างน้อย 1 ห้อง ควรใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ การใช้พัดลมร่วมกับเครื่องทำความเย็นจะช่วยให้เย็นขึ้น โดยอาจทำให้ไม่ต้องตั้งเครื่องปรับอากาศเย็นมากไป อากาศที่ไม่ร้อนจัดมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ถ้าอากาศข้างนอกเย็นบางช่วงควรเปิดหน้าต่าง การปิดไฟจะช่วยลดความร้อน ควรลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายในเวลาเดียวกัน กันแดดไม่ให้ส่องเข้าบ้าน แขวนผ้าเช็ดตัวที่เปียกน้ำไว้ในห้อง (แต่ห้องจะชื้นขึ้น)

ถ้าบ้านร้อนมาก อาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในที่ๆ เย็น เช่น ห้างร้านไม่ควรออกไปข้างนอกอาคารในช่วงที่ร้อนที่สุด ไม่ควรออกกำลังกาย หรือทำงานที่หนัก ถ้าต้องทำๆ ในช่วงที่เย็นที่สุดของแต่ละวัน เช่นตี 4-07.00 น. อยู่ในร่ม ไม่ควรทิ้งให้เด็ก สัตว์เลี้ยงอยู่ในรถที่จอด ฯลฯ

วิธีทำให้ตนเองเย็นและไม่ขาดน้ำ (hydrate) คือ อาบน้ำเย็นใช้ผ้าเย็น (cold pack) หรือผ้าเช็ดตัวชุบน้ำเช็ดตัว ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมสวมหมวกที่ใหญ่ ใส่แว่นตากันแดดถ้าต้องออกไปข้างนอกใช้ผ้าปูที่นอนที่บาง ดื่มน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือกาเฟอีน หรือน้ำตาล กินอาหารมื้อละน้อยๆ บ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนมาก

ที่สำคัญ คือ อย่าขาดน้ำ ดูได้ว่าขาดน้ำหรือไม่ด้วยการดูปริมาณและสีของปัสสาวะ ถ้าสีเข้มจัดแสดงว่าขาดน้ำ ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2 ลิตร ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าออกกำลังกายกลางแจ้งด้วยหรือไม่


นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
 

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:42 น. บอร์ด รฟท.ไฟเขียว'รถไฟฟ้าสายสีแดง' 20 บาทตลอดสาย ชงคมนาคมสัปดาห์หน้า
21:53 น. 'ธีระชัย'เตือน'เศรษฐา' อย่าทำลับๆ ล่อๆ เลี่ยงบาลีการตรวจสอบเงินดิจิทัล
21:16 น. ผงะ! เจออีกกว่า 30 ชิ้นส่วนกระดูก คาดเกี่ยวคดีพ่อโหดฆ่าลูก รอผลตรวจดีเอ็นเอ
20:39 น. หนุ่มใหญ่ขับรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าพังยับ ชาวบ้านห้ามวุ่นคนเจ็บเตรียมสตาร์ทไปต่อ
20:36 น. 'สามารถ'ฟาดแรง สส.ก้าวไกล ทำตัวเป็นเบ๊'ช่อ-พรรณิการ์' ถามชาวบ้านได้อะไร?
ดูทั้งหมด
'บุ้ง ทะลุวัง-พวก'รับทราบข้อหาบุกป่วน วธ. ขัดขืนไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ เจอตร.แจ้งข้อหาเพิ่ม
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 17-23 ก.ย.66
อุดรฯอ่วมหนัก!!! น้ำทะลักท่วมหลายอำเภอ ถนนมิตรภาพปิดการจราจร
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 17 - 24 กันยายน พ.ศ. 2566
‘หมอธีระวัฒน์’ชี้ร่างกายดีอย่างเดียวไม่พอ สมองต้องดีด้วย แนะทำอย่างไร‘สูงวัย’อย่างซุปเปอร์
ดูทั้งหมด
เมิดคำสิเว้า!
ยังไม่ทันบริหารก็ผลาญแล้ว
บาทอ่อนค่าเกินคาด...เหตุกังวลรัฐไทยออกบอนด์ ต่างชาติแห่เทขายสินทรัพย์ไทย
ฝีมือรัฐบาลเศรษฐา อยู่ที่ความสามารถในการปรับโครงสร้าง
มหากาพย์คดีโฮปเวลล์ ศาลชี้อะไร? ฝ่ายรัฐชนะ แต่สงครามยังไม่จบ
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บอร์ด รฟท.ไฟเขียว'รถไฟฟ้าสายสีแดง' 20 บาทตลอดสาย ชงคมนาคมสัปดาห์หน้า

เกินต้าน! 'ช้างศึก'พ่าย'โสมขาว'ยับ ชี้ชะตานัดสุดท้ายเอเชี่ยนเกมส์

'หมอชัย'โต้ข่าว'ครม.เศรษฐา'ออกกฎเหล็กปิดปากรมต.-ขรก. ชี้แปลความหมายเกินจริง

'หมอธีระวัฒน์'เตือนคนไทย อายุ 30-40 ปี ที่ความดันสูง ไม่จัดการ อนาคตอาจสมองเสื่อม

'โรม'ข้องใจ'ครม.เศรษฐา'ออกกฎเหล็กห้ามให้ข่าว'อินไซต์' โทษถึงขั้นฟันวินัยร้ายแรง

'ชาย-มิค'กอดคอเล่าทั้งน้ำตา โมเมนต์ซึ้งในครอบครัว รวมตัวกันในรอบ 5 ปี

  • Breaking News
  • บอร์ด รฟท.ไฟเขียว\'รถไฟฟ้าสายสีแดง\' 20 บาทตลอดสาย ชงคมนาคมสัปดาห์หน้า บอร์ด รฟท.ไฟเขียว'รถไฟฟ้าสายสีแดง' 20 บาทตลอดสาย ชงคมนาคมสัปดาห์หน้า
  • \'ธีระชัย\'เตือน\'เศรษฐา\' อย่าทำลับๆ ล่อๆ เลี่ยงบาลีการตรวจสอบเงินดิจิทัล 'ธีระชัย'เตือน'เศรษฐา' อย่าทำลับๆ ล่อๆ เลี่ยงบาลีการตรวจสอบเงินดิจิทัล
  • ผงะ! เจออีกกว่า 30 ชิ้นส่วนกระดูก คาดเกี่ยวคดีพ่อโหดฆ่าลูก รอผลตรวจดีเอ็นเอ ผงะ! เจออีกกว่า 30 ชิ้นส่วนกระดูก คาดเกี่ยวคดีพ่อโหดฆ่าลูก รอผลตรวจดีเอ็นเอ
  • หนุ่มใหญ่ขับรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าพังยับ ชาวบ้านห้ามวุ่นคนเจ็บเตรียมสตาร์ทไปต่อ หนุ่มใหญ่ขับรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าพังยับ ชาวบ้านห้ามวุ่นคนเจ็บเตรียมสตาร์ทไปต่อ
  • \'สามารถ\'ฟาดแรง สส.ก้าวไกล ทำตัวเป็นเบ๊\'ช่อ-พรรณิการ์\' ถามชาวบ้านได้อะไร? 'สามารถ'ฟาดแรง สส.ก้าวไกล ทำตัวเป็นเบ๊'ช่อ-พรรณิการ์' ถามชาวบ้านได้อะไร?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลหิต-เลือด (blood)

โลหิต-เลือด (blood)

17 ก.ย. 2566

มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์-Concert การกุศล

มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์-Concert การกุศล

10 ก.ย. 2566

ไต้หวัน-ไทเป

ไต้หวัน-ไทเป

3 ก.ย. 2566

การป้องกันโรคมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง

27 ส.ค. 2566

การตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปี

20 ส.ค. 2566

‘ว่าที่’ เบาหวาน และโรคเบาหวาน

‘ว่าที่’ เบาหวาน และโรคเบาหวาน

13 ส.ค. 2566

น้ำตาลในเลือด HbA1C

น้ำตาลในเลือด HbA1C

6 ส.ค. 2566

เบาหวาน

เบาหวาน

30 ก.ค. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved