เวชศาสตร์วิถีชีวิต ( Lifestyle Medicine : LM ) คือ การบูรณาการแนวทางเวชศาสตร์ปฏิบัติด้านวิถีชีวิตเข้ากับหลักการของการแพทย์ปัจจุบัน ซึ่งการบูรณาการนี้มีจุดมุ่งหมายที่เน้นให้แต่ละบุคคลมุ่งและตั้งใจปฏิบัติ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ทำให้สุขภาวะของแต่ละคนอยู่อย่างยาวนาน (healthy aging) และในกรณีที่เป็นโรคอยู่แล้วก็สามารถใช้เป็นแนวทางเสริมในการบำบัดรักษาได้
แนวทางนี้เริ่มใช้มากขึ้นและให้บูรณาการในปี ค.ศ. 2007 โดยให้คำจำกัดความของเวชศาสตร์วิถีชีวิตว่า เป็น “การประยุกต์ใช้หลักการด้านสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมศาสตร์ การแพทย์ และแรงจูงใจที่แต่ละคนต้องปฏิบัติในการจัดการปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในระดับคลินิก หรือคงความมีสุขภาวะให้ยืนยาวในคนที่ปราศจากโรค เวชศาสตร์วิถีชีวิตเป็นเวชศาสตร์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันถึงประโยชน์ต่อการมีสุขภาวะและได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสตร์ที่จะสามารถจัดการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง(NCDs)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเวชศาสตร์วิถีชีวิตเป็นเวชปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการช่วยบุคคลและชุมชนด้วยในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างครอบคลุมกว้างขวาง
เวชศาสตร์วิถีชีวิตประกอบไปด้วยข้อพึงปฏิบัติอยู่ 6 เสาหลัก (Six Pillars) ได้แก่ 1.โภชนาการ 2.การออกกำลังกาย และการมีกิจกรรมทางกาย 3.การจัดการความเครียด 4.การนอนหลับที่มีคุณภาพ 5.การงด (ลด ละ เลิก) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเสพติดให้โทษ 6.พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ขาดความรับผิดชอบ และการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกในสังคมและในครอบครัว
โดยคำว่าเสาหลักนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงความจำเป็นของทุกเสาหลักที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อส่งผลให้เกิดการมีสุขภาพที่ดี ความสำคัญของแนวทางการเป็นองค์รวม (Holisticapproach) ซึ่งไม่สามารถใช้เพียงแค่ 1-2 องค์ประกอบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต
6 เสาหลักของวิถีชีวิต lifestyle medicine ประกอบไปด้วย
1. การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
2. การออกกำลังกายเป็นประจำหรือสม่ำเสมอ เป็นการส่งเสริมให้บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและปรับให้เหมาะสมกับความสามารถและความชอบของแต่ละคน
3. การจัดการความเครียด เป็นการสอนเทคนิคการลดความเครียดและส่งเสริมกลไกการเผชิญปัญหาที่ดี เพื่อจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการมีความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่อการมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วหรือผิดปกติ และทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ที่อาจจะมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน และส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานด้วย
4. การนอนหลับที่ก่อให้เกิดการมีความสุขภาพดี การนอนหลับที่ไม่ดีส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อและทำให้ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการนอนหลับที่พอเพียงในประชากรส่วนมากจะอยู่ในช่วงประมาณ 7-9 ชั่วโมง เวชศาสตร์วิถีชีวิตมีบทบาทในการประเมินสภาวะสุขภาพในด้านการนอน ด้วยการแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการนอนหลับสนิทที่ดี
5. การงด (ลด ละ เลิก) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติดให้โทษ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ขาดความรับผิดชอบ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังหลายประการ เวชศาสตร์วิถีชีวิตจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการ งด ลด ละ เลิกและหลีกเลี่ยงการรับสารที่ก่อให้เกิดโทษต่อ ร่างกายและจิตใจ
6. การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกทางสังคม คือการมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้อื่น รู้สึกเป็นที่รัก ห่วงใย เห็นคุณค่าและได้รับการชื่นชมจากผู้อื่น และมีการสนับสนุนทางอารมณ์เมื่อรู้สึกแย่ โดยแพทย์เวชศาสตร์วิถีชีวิต จะประเมินสภาวะการแยกตัวออกจากสังคม หาสาเหตุ และให้คำแนะนำความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
ความสำคัญของเวชศาสตร์วิถีชีวิต มีแนวทางการดูแลสุขภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นความสำคัญของการดูแลเฉพาะบุคคล การตัดสินใจร่วมกัน และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและผู้นั้นต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหรือประชาชนบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพและเป็นศาสตร์ที่เน้นการทำงานแบบสหวิทยาการ ที่รวบรวมสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงโภชนาการ สรีระวิทยาการออกกำลังกาย จิตวิทยา และสาธารณสุข โดยรัฐหรือหน่วยงานต่างๆ จัดให้มีกิจกรรม หรือเปิดโอกาสให้มีการทำกิจกรรมร่วมกันให้ง่ายขึ้น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี