วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
เวชศาสตร์วิถีชีวิต

ดูทั้งหมด

  •  

Lifestyle medicine (เวชศาสตร์วิถีชีวิต) คืออะไร ทำไมต้องมีสาขานี้ขึ้นมา ในเมื่อก็มีหลักสูตรแพทย์อยู่แล้ว ซึ่งน่าจะครอบคลุมทุกอย่าง

ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับตัวผมก่อน เพราะจะทำให้เข้าใจประเด็นได้ดียิ่งขึ้น ผมจบแพทย์จากอังกฤษ 1965 (2508) ทำงาน เรียนต่อ จนสอบ MRCP (Member of The Royal College of Physicians (London, UK) หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสาขาอายุรศาสตร์ (internalmedicine) ได้ในปี ค.ศ. 1970 หรือ พ.ศ.2513 ที่ทางอเมริกาเรียกว่าBoard of Internal Medicine รวมทั้งฝึก ทำงานทางด้านอายุรศาสตร์ และระบบทางเดินอาหารมาตั้งแต่จบ พ.บ. และกลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2514 หรือ ค.ศ.1971


ปี พ.ศ.2520-2524 ผมเป็นกรรมการฝ่ายกิจการนิสิตและ 2524-2528 ได้เป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ผมไปทุกที่กับนิสิต ออกค่าย สร้างห้องน้ำ ห้องสมุด ณ สนามกีฬาพบว่าตัวเองไม่มีความรู้ทางด้านกีฬาเวชศาสตร์ จึงไปเรียนจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้ เป็นแพทย์ประจำทีมนักกีฬาไทยในการแข่งขัน ASEAN, ASIAN Games จนขณะนี้เป็นนายกสมาคมกีฬาเวชศาสตร์ ซึ่งหลักๆ ของสาขานี้ คือ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การกินอาหารที่ดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน ผมจึงสอนนิสิตแพทย์ แพทย์ (ตลอดจนประชาชน) ว่าเวลาดูผู้ป่วยอย่าดูเฉพาะโรคที่เขามาหาเรา แต่ยังต้องสอบถามเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา อาหาร บุหรี่ แอลกอฮอล์ การมีเพศสัมพันธ์ จำได้ว่าที่แจ่มจันทร์คลินิก นานมาแล้ว ที่ผมทำตอนเย็นหรือเสาร์-อาทิตย์ ผมมีที่วัดความดัน ส่วนสูงที่วัดน้ำหนัก โดยขอวัดผู้ป่วยทุกๆ คนที่มาที่คลินิก ไม่ว่าจะมาด้วยอาการอะไร เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองหาโรค เพื่อที่จะได้รักษาได้แต่เนิ่นๆ จะได้รู้ค่า BMI (body mass index หรือดัชนีมวลกาย) จะได้รู้ว่าน้ำหนักเกินไหม ความดันโลหิตสูงไหม ฯลฯ รวมทั้งยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองหาน้ำตาล ไขมันในเลือด การทำงานของตับ ฯลฯ

ผมสอนลูกศิษย์เสมอว่า ถ้ามีเวลา (ไม่มีอยู่แล้วใน รพ.รัฐ แต่อย่างน้อยพยายามหาเวลา) หลังจากตรวจหา “โรค” ที่ผู้ป่วยมาแล้ว ควรคุยกับเขาเกี่ยวกับพฤติกรรมชีวิตตามที่ผมเขียนไว้ข้างบน

ฉะนั้นเมื่อไม่กี่ปีมานี่ ที่เมืองไทยมีหลักสูตร lifestyle medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิตเกิดขึ้นมา ผมจึงไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมี เพราะผมสอน ปฏิบัติมานานแล้ว ในความเห็นของผม หมอทุกคนควรต้องทำอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติ ถ้าไม่มีเวลา เปิดหลักสูตรใหม่ก็จะยังไม่มีเวลาอยู่ดี ถ้าเราไม่แบ่งเวลาให้

ความจริงถ้าถามผม เราควรเอาสิ่งที่สอนใน lifestyle medicine (หรือสาขาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นใหม่ที่สำคัญ) ไปเน้นในหลักสูตรแพทย์ธรรมดาเท่านั้น lifestyle medicine ไม่ใช่ของใหม่ มีอยู่แล้วในหลักสูตรแพทย์ธรรมดา เช่น การกิน ออกกำลังกาย นอน จิตใจ สารเสพติด การนั่งสมาธิ การมีส่วนร่วมในสังคม มีอยู่แล้วทั้งนั้น เพียงแต่หมอไม่มีเวลาที่จะสอน ถ้าทำอย่างนี้อีกหน่อยจะมีสาขาแพทย์โผล่ขึ้นมาอีกมากมาย ถ้าเรามีอะไรอยู่แล้ว แต่มีข้อบกพร่อง เราต้องแก้ตรงนั้น ไม่ใช่ไปเปิดหลักสูตรใหม่

ความรู้ทางด้าน lifestyle medicine ที่ผมได้มา ผมได้มาจากการสนใจของตัวผมเอง ผมไม่เคยเข้าหลักสูตรที่มีการสอนเกี่ยวกับ life style medicine เพราะตอนนั้นยังไม่มีหลักสูตร แต่มาจากการที่ไปศึกษาหาความรู้ทางด้าน sports medicine จึงค่อยๆ เห็นความสำคัญของสาขากีฬาเวชศาสตร์ อาหาร ออกกำลังกาย ฯลฯ จึงค่อยๆ อ่านไปเรื่อยๆ สอน เขียนตลอดเวลา ความรู้ในหัวข้อนี้จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หวาน เค็ม มัน ไขมัน trans อิ่มตัว ไม่อิ่มตัว โปรตีน ไขมัน แป้ง เกลือแร่ น้ำ วิตามิน ผมอ่าน ผมเขียน ผมสอน จนเมื่อเร็วๆ นี้ ไปฟังการบรรยายในหลักสูตร 3 วันของ lifestyle medicine ของสมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิต ผมก็รู้สึกว่าไม่มีอะไรใหม่สำหรับผมมากนัก แต่อย่างน้อยผมก็ดีใจที่ผมมีความรู้ เหมือนผู้บรรยาย ไม่ว่าจะเป็น stress management, meditation ซึ่งผมรู้หัวข้อแต่ไม่รู้ลึก ฯลฯ ซึ่ง 1 ใน 6 เรื่องที่เป็นหัวใจ (pillars) ทางเวชศาสตร์วิถีชีวิต ผมยังมีความเห็นว่าควรเปลี่ยน จาก Avoid Risky Substances ให้เป็น Avoid Risky Behaviours เพราะ “substances” อาจหมายถึง บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเสพติด เท่านั้น แต่ bahaviours รวมทั้งหมด เช่น unsafe sex ฯลฯ อีกด้วย ซึ่ง unsafe sex นี่จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเป็นโรค HIV, Hepatitis B,Hepatitis C ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคตับอักเสบเฉียบพลัน เรื้อรังตับแข็ง และมะเร็งตับได้อีกด้วย

6 ประเด็น (เสาหลัก หรือ pillars) ที่สำคัญทางสาขา lifestyle medicine คือ 1) Healthful eating of whole, plant based food 2) Increase physical activity
3) Develop strategies to manage stress 4) Form and maintain relationships 5) Improve your sleep 6) Avoid risky substances

ซึ่งสำหรับข้อ 6 ผมอยากให้แก้เป็น Avoid risky behaviours

เรื่องที่ผมสอนมาตลอดหลายสิบปี นอกจาก 6 ข้อนี้ แล้วยังมี7) การฉีดวัคซีน 8) การตรวจสุขภาพ 9) การตรวจคัดกรอง10) อุบัติเหตุบนถนน การป้องกันการหกล้ม 11) การมีส่วนร่วมในสังคม 12) ทัศนคติที่เป็นบวก ฯลฯ ซึ่งเป็นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคที่ครบวงจร

Lifestyle medicine เป็นสิ่งที่ดีมาก สำคัญมาก แพทย์ทุกคนต้องรู้ สอน ปฏิบัติ เพียงแต่ผมเห็นว่ามันน่าที่จะไปแก้ เติมเน้นในหลักสูตร พ.บ.ก็น่าจะพอ ถ้าทำอย่างนี้อีกหน่อยจะมีหลักสูตรแพทย์ต่างๆ นานา ออกมาอีกมากมาย ใครเป็นแพทย์ที่ดีจะสอน ปฏิบัติ lifestyle medicine อยู่แล้ว ถ้ามีเวลาให้สอน แนะนำผู้ป่วย

และหลักสูตร พ.บ.-แพทยศาสตรบัณฑิต-ควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลาตามกาลเวลา ยุคสมัยให้ทันสมัย เหมาะกับความรู้ในขณะนั้น

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:51 น. โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
22:39 น. ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
22:23 น. 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
22:07 น. ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
22:04 น. ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
'เจิมศักดิ์'ไม่ทน!!! จี้ถามแรง หลัง'ทักษิณ'โผล่ร่วมประชุมบ้านพิษณุโลก
ดูทั้งหมด
เรามีระบบตรวจสอบ หรือมีแต่ใบอนุญาตที่ซื้อได้?
บุคคลแนวหน้า : 16 กรกฎาคม 2568
ทับละมุ
เชลียร์จนได้เรื่อง!
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

'เก๋ไก๋'โพสต์ครั้งแรก! พ้ออายุ28แล้วยังผิดพลาดตลอด หลังเจอดราม่าใส่กางเกงรัดรูปเข้าวัด

(คลิป) ด่วน! 6พรรคร่วมซวยแน่ ปมหัวหน้าพรรคพบ 'ทักษิณ'

นักท่องเที่ยวต่างชาติมือบอน พ่นสีหัวรถจักร-ตู้โดยสารรถไฟเสียหาย

  • Breaking News
  • โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
  • ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
  • \'วุฒิสภากัมพูชา\'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
  • ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
  • ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง

ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง

13 ก.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

6 ก.ค. 2568

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

29 มิ.ย. 2568

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

15 มิ.ย. 2568

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

8 มิ.ย. 2568

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

25 พ.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม

ชีวิตประจำวันของผม

18 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved