วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนเพื่อคิด
เขียนเพื่อคิด

เขียนเพื่อคิด

กษิต ภิรมย์
วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
การจัดการแม่น้ำไนล์ เทียบกับแม่น้ำโขง

ดูทั้งหมด

  •  

แม่น้ำโขงนั้นมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขงมาช้านาน โดยมีความยาว 3,032 ไมล์ (4,880 กิโลเมตร) จัดเป็นลำดับที่ 2 ของเอเชีย ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม

ส่วนในทวีปแอฟริกามี แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยมีความยาวถึง 4,160 ไมล์ (6,695 กิโลเมตร) ไหลจากใต้ขึ้นเหนือผ่าน 3 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย ซูดาน และอียิปต์


เอธิโอเปียเป็นประเทศต้นน้ำแม่น้ำไนล์ ด้วยสาขาหลักคือ ลำน้ำบลูไนล์ (Blue Nile) ส่วนซูดานอยู่ตรงกลาง และอียิปต์อยู่ปากแม่น้ำที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ณ วันนี้ เอธิโอเปียกำลังสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดยักษ์กำลังผลิต 6,000 กว่ากิโลวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการของครัวเรือน ที่ประชากรร้อยละ 80 ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และเพื่อแก้ปัญหาขาดการลงทุนด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้า ก็ไม่สามารถเปิดโรงงานได้ โดยเขื่อนกักน้ำผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 และมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 80 และเมื่อเอธิโอเปียสร้างเขื่อนเสร็จ (ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีก 5-6 ปี ข้างหน้า) ก็จะเริ่มกระบวนการกักเก็บน้ำให้เต็มเขื่อน และวางเป้าหมายที่จะทำให้ได้ภายในระยะเวลา 6 ปี

ที่ผ่านมา ซูดาน และอียิปต์ ในฐานะประเทศปลายน้ำก็พยายามทำการคัดค้าน การก่อสร้างเขื่อนนี้ของเอธิโอเปียมาโดยตลอด เพราะกลัวว่าจะทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ขาดน้ำ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ด้วยว่าต่างเป็นประเทศท่ามกลางทะเลทรายที่ฝนแทบจะไม่มี ต้องพึ่งน้ำจากแม่น้ำไนล์เป็นหลักเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องของชีวิตและความอยู่รอดของประเทศ อีกทั้งอียิปต์ยังมีเขื่อนอัสวาน (Aswan) ซึ่งใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศ อียิปต์จึงมีความต้องการน้ำจากแม่น้ำไนล์เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนอุตสาหกรรม นอกจากความต้องการทางการเกษตร และเพื่อครัวเรือน

ความเห็นต่างในเรื่องเขื่อนของเอธิโอเปียได้นำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นที่ว่า หากไม่สามารถหาทางออก ไม่มีการออมชอมกันก็จะนำไปสู่สงครามแย่งน้ำ (Water War) ได้ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อฝ่ายใดเลย และยังจะส่งผลกระทบไปทั่วตะวันออกกลาง และแอฟริกา ว่าประเทศไหนจะเข้ามาแทรกแซง และใครจะถือหางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

แต่ถือว่าโลกนี้ยังมีโชคอยู่บ้างที่ทั้ง 3 ประเทศสามารถตกลงกันได้ในหลักการ โดยล่าสุด ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมกันที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา จากการเป็นธุระไกล่เกลี่ย (Broker) โดยสหรัฐอเมริกา และธนาคารโลก และจะมีการลงนามเป็นข้อตกลงผูกมัดกันในเร็ววันนี้

ส่วนประเด็นที่ยังต้องถกเถียงต่อรองหาข้อยุติสมานฉันท์ก็คือ ระยะเวลาของการ “เติม” น้ำให้เต็มเขื่อนที่ชื่อว่า Grand Ethiopian Renaissance Dam - GERD (การเสริมสร้างความรุ่งเรืองที่ยิ่งใหญ่) โดยฝ่ายเอธิโอเปียขอใช้ระยะเวลาเพียง 6 ปีในขณะที่ฝ่ายอียิปต์และซูดานขอให้ยืดระยะเวลาออกไปเป็น 10 ถึง 21 ปี กล่าวคือให้ค่อยๆ กักน้ำ เติมน้ำให้เต็มเขื่อน อย่ากักในทีเดียวเพื่อเป็นการประกันว่า จะมีน้ำไหลลงสู่ปากแม่น้ำไนล์อย่างราบรื่น และเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ต่างๆ

ซึ่งชาวโลกก็คาดว่า ทั้งสามประเทศคงจะสามารถตกลงในเรื่องจำนวนปีของการเติมน้ำให้เต็มเขื่อน บนพื้นฐานจิตใจแห่งการออมชอม โอนอ่อนต่อกันและกัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีไม่ปล่อยให้เรื่องค้างคา และกลายเป็นอริต่อกันอย่างไม่จบสิ้น

ทั้งนี้ เครดิตก็ต้องยกให้กับวิสัยทัศน์ และสติของผู้นำของทั้ง 3 ประเทศ บวกกับการใช้อิทธิพล และทุนทรัพย์ไปในทางสร้างสรรค์ของสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นขาใหญ่สุดของธนาคารโลก ในฐานะผู้ให้เงินกู้ก่อสร้างเขื่อน ซึ่งจะได้เงินต้นและดอกเบี้ยกลับมาคุ้มทุน เป็นการขจัดความเสี่ยง และความเสียหายจากการให้เอธิโอเปียกู้เงิน

ทั้งหมดนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่า การที่สหรัฐอเมริกาจะกลับมายิ่งใหญ่ (Make America Great Again) นั้น ไม่จำเป็นต้องไปแสดงตนเป็นคู่กรณีกับความไม่ถูกต้องต่างๆ โดยตรง หากแต่ยังสามารถเลือกเล่นบทเป็นเครื่องมือเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพก็ได้

แม่น้ำไนล์เคยมีข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 1929 โดย เอธิโอเปียจะต้องอำนวย และประกันการมีน้ำใช้ของอียิปต์ ซึ่งช่วงนั้นอียิปต์ยังอยู่ในอาณัติของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในขณะที่เอธิโอเปียอ่อนแอ ขาดอำนาจต่อรอง ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวขาดความชอบธรรม และกลายเป็นโมฆะไปโดยปริยาย และบัดนี้ ก็ได้มีกระบวนการแก้ไขด้วยข้อตกลงใหญ่ โดยประเทศทั้ง 3 ที่มีความเป็นเอกราช และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง เข้าร่วมกระบวนการ

เมื่อมองดูการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำไนล์แล้ว ก็สามารถพูดได้ว่ามีความก้าวหน้า เพราะสะท้อนภาพความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ และการแบ่งผลประโยชน์ที่ลงตัว
ภายใต้บรรยากาศการออมชอมต่อกันและกัน

ในขณะเมื่อมองกลับมายังปัญหาการแบ่งใช้ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขงของเรา จะหวังให้สหรัฐอเมริกา และธนาคารโลกเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยประคับประคอง ก็คงจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากจีนถือว่าปัจจุบันตนเป็นประเทศใหญ่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาประเทศใดๆ จึงไม่ประสงค์ให้ผู้อยู่นอกเขตลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามาแทรกแซง

พฤติกรรมของจีนนั้นเป็นที่หนักใจของประเทศปลายน้ำโขงอื่นๆ เนื่องจากไม่สนใจความเดือดร้อนของประเทศอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการแบ่งใช้ทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขง โดยจีนได้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงมาแล้ว 10 เขื่อน แถมยังมีแผนจะสร้างเพิ่มอีก 10-11 เขื่อน

เช่นเดียวกับความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ที่กิดขึ้นได้ไม่ใช่เพราะการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน แต่มองประโยชน์ส่วนรวมของภูมิภาคเป็นหลัก ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของจีนนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจีนไม่เอาแต่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขง

จีนควรจะเชิญอีก 5 ประเทศมาร่วมกันตกลงถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการประกันการใช้ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขง ทั้งในด้านการสัญจร และการผลิตไฟฟ้า และการรักษาธรรมชาติแวดล้อมและวิถีชีวิต ตราบใดที่ยังไม่มีข้อตกลง ก็หมายความว่าประเทศอื่นๆ ต้องยอมตาม ยอมจำนนการตัดสินใจของจีน ซึ่งไม่ใช่การร่วมมือกัน โดยในวันนี้ ประเทศต้นน้ำสองประเทศคือ จีน และลาว ต่างก็เอารัดเอาเปรียบประเทศที่เหลือในการสร้างเขื่อนและกักเก็บน้ำโดยไม่สนใจประเทศอื่นๆ ที่ต้องร่วมใช้

มิตรภาพในลุ่มแม่น้ำโขงจึงไม่เกิดอย่างแท้จริง หากแต่เป็นมิตรภาพแบบเสแสร้ง เอาประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง แทนที่จะออกมาในรูปแบบประเทศใหญ่คิดถึงผู้อื่น ส่งผลให้ความยิ่งใหญ่ที่จีนคาดหวังว่าจะได้รับ กลายเป็นเพียงการยอมจำนนจากประเทศที่เล็กกว่า ไม่ใช่เกิดจากการที่เขาเคารพ เลื่อมใส

ในเรื่องปัญหาการแบ่งปันทรัพยากรน้ำ ในแม่น้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำไนล์ หากประเทศอียิปต์ ซูดาน และเอธิโอเปีย เขาสามารถตกลง ทำความเข้าใจกันได้ ไฉน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงจะทำไม่ได้เล่า เพียงแต่ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีมิตรจิตมิตรใจต่อกันและคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ในเรื่องปัญหาการแบ่งใช้ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขง จีนต้องคิดให้หนัก คิดให้ดี ตราบใดที่จีนไม่เอาตัวลงมาแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขงอย่างจริงจังกับประเทศที่เหลือแล้ว ความหวาดระแวง ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อจีน ก็จะคงมีอยู่ต่อไป

และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็อาจกลับกลายมาเป็นการขัดแย้ง และเผชิญหน้ากันโดยใช่เหตุ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อจีน ต่ออาเซียน และต่อประชาคมโลก

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

ไม่เอาเผด็จการ ยังเพียรกับประชาธิปไตยต่อไป

9 ก.ค. 2568

ประธานาธิบดี ทรัมป์  ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

ประธานาธิบดี ทรัมป์ ไม่โปรดพวกตีกินและเกาะกิน

2 ก.ค. 2568

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย  แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด

25 มิ.ย. 2568

Mood ในยุโรป

Mood ในยุโรป

18 มิ.ย. 2568

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง  องค์ประมุข และประมุขประเทศ

การเคารพ ปกป้องคุ้มครอง องค์ประมุข และประมุขประเทศ

11 มิ.ย. 2568

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

บทบาทของประเทศพลังอำนาจขนาดกลาง

4 มิ.ย. 2568

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์  เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต

28 พ.ค. 2568

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

21 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved