เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ ผู้เขียนได้นำเสนอในส่วนที่เป็นคำนำของหนังสือเล่มที่หายากเล่มนี้ ปรากฏว่ามีท่านผู้สนใจต้องการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่มีอยู่ที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ท่าพระจันทร์ ขณะนี้มหาวิทยาลัยก็ปิด แต่ผู้เขียนเคยได้อ่านและถ่ายเอกสารไว้ทั้งเล่มที่ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง ในตอนที่รับราชการที่กองระบบบัญชีและการคลัง เสียดายมากอาจจะจมน้ำไปตอนท่วมใหญ่ กำลังติดต่อกับทายาทของท่านบุญมา วงศ์สวรรค์ เพื่อขออนุญาตให้ห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์ได้นำหนังสือเล่มที่มีคุณค่า มาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง
วันนี้จึงนำคำนำอีกบางตอนมาให้ท่านผู้สนใจได้อ่าน โดยคงไว้ตามอักขรวิธีที่ใช้เขียนในปี ๒๔๘๕ ตามต้นฉบับเดิมครับ โดยขอให้ท่านผู้อ่านได้กรุณาเติมคำว่า “สงครามโควิด ๑๙” ไว้ท้ายคำว่า “เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงคราม” หนังสือเล่มนี้ยังให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติและนำมาใช้ได้ทุกเวลา
ความนำ[แก้ไข]
๑. เสรสถกิจไนยามสงบ.[แก้ไข]
เสรสถสาสตร์ตั้งแต่สมัยแอดัมสมิธ เป็นลำดับมาส่วนมากสึกสาแต่ปั [ญ] หาเสรสถกิจไนเมื่อสังคมอยู่ไนความสงบเป็นปกติสุข. ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะเหตุ ๒ ประการ
. ประการหนึ่ง, ถึงแม้ว่าประวัติสาสตร์ของโลกจะเต็มไปด้วยการรบราค่าฟัน กบต ทรยส สงครามชิงนางชิงเมืองมากมายก็ตาม, แต่ถึงกระนั้นก็ดี, ยังปรากตว่า โลกเราอยู่ไนความสงบเป็นเวลานานกว่าระยะเวลาที่ไม่สงบ. สงครามอาดเป็นของธรรมดาสำหรับบางคน, แต่ความจิงที่หนีไม่พ้นคือความสงบเป็นของธรรมดายิ่งกว่า. ไทยกับพะม่าได้ทำการรบพุ่งกันมานมนาน, แต่ระยะที่มิได้มีการรบพุ่งกันเป็นเวลานานกว่ามาก. เมื่อความสงบเป็นของธรรมดาก็ไม่น่าปลาดที่การสึกสาวิชาการต่างๆ เป็นการสึกสาเกี่ยวด้วยความสงบ. และเมื่อรำลึกถึงว่า มนุสส์เราไม่ว่าจะเป็นชาติไดภาสาไดย่อมปราถนาความสงบ พร้อมด้วย ความมั่งคั่งสมบูรน์ไนโภคทรัพย์, เพราะว่าถ้าไม่สงบ การเสพโภคทรัพย์ก็คงจะไม่อำนวยสุข,และถ้าไม่มีโภคทรัพย์ที่จะเสพ แม้จะสงบก็คงจะไม่อำนวยสุขเช่นกัน.ถ้ารำลึกถึงข้อนี้, ก็ย่อมจะเห็นได้ชัดว่า ทำไมเสรสถสาสตร์ที่เราสึกสากันจึงเป็นวิชาเกี่ยวกับเสรสถกิจไนยามสงบ.
เหตุผลประการที่สองเป็นเหตุผลเกี่ยวกับอิทธิริทธิ์ของสงคราม. ไนประวัติการน์ไม่เคยปรากตว่ามีสงครามครั้งไดที่ดุร้าย, เหี้ยมโหด, ทรมานสังขารวิ [ญ] [ญ] าน, และทำลายทรัพย์สมบัติมากเท่ามหาสงคราม พ.ศ. ๒๔๕๗-๖๑ (ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๘). ก่อนหน้านั้นโลกเราก็ต้องผเชินกับสงครามมาแล้วไม่น้อย. แต่ไม่มีครั้งไดที่ทำไห้เสรสถกิจของนานาชาติปั่นป่วนมากเท่า. ด้วยเหตุนี้, แต่เดิมมาจึงมิไคร่มีผู้ไดสนไจต่อปั [ญ] หาเสรสถกิจเกี่ยวด้วยสงคราม. ถ้าหากไม่มีสิ่งไดมาสะดุดตาสะกิดไจนักสึกสา, การสึกสาไนสิ่งนั้นก็มักจะถูกปล่อยปละละเลย. สิ่งที่สะดุดตาสะกิดไจที่สุดไนมหาสงครามก็คือ ความหายนะไนด้านเสรสถกิจของแทบทุกชาติไนโลก. เมื่อตัวปั [ญ] หาอุบัติขึ้นแล้ว, การสึกสาไนปั [ญ] หานั้นย่อมจะมีขึ้นเป็นเงาตามตัว. สาสตราจารย์ Pigou เขียนไว้ว่า หลังจากมหาสงครามครั้งนั้นแล้ว, เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงครามได้กลายเป็นวิชาที่จำเป็นต้องสึกสาทีเดียว[1].
ไนตำราเสรสถสาสตร์ทั่วไปท่านจะเรียนรู้ว่า สังคมมนุสส์ไนปัจจุบันนั้นทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยวิธีได. ไนทุกๆ ประเทสท่านจะสังเกตเห็นคนนับแสนนับล้าน แต่ละคนสามารถหาอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, บ้านเรือนที่อยู่, และเครื่องอุปกรน์ความสะดวกสะบายหลายร้อยหลายพันอย่างได้ตามต้องการ. ทั้งนี้สังคมสามารถทำได้อย่างไร ? ผู้ที่ได้สึกสาเสรสถสาสตร์เบื้องต้นมาบ้างแล้วจะสามารถตอบได้ทันทีว่า ไนการเสรสถกิจทั่วไปนั้น เราไช้การแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันเป็นหลัก, และทั้งนี้พร้อมด้วยเครื่องจูงไจอย่างหนึ่ง คือ ผลตอบแทนของผู้อำนวยการ (entrepreneur) ที่เราเรียกกันว่า “กำไร”. เสรสถสาสตร์ปกติมักสึกสาแต่เพียงหลักเกนท์ของการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันนี้, และชี้แจงไห้เห็นว่าระบอบเสรสถกิจดังที่เราพบเห็นอยู่เสมอนั้นสามารถดำเนินไปได้อย่างไรไนยามสงบ, ส่วนไนยามฉุกเฉินแทบจะมิได้กล่าวถึงเสียเลย.
๒. เสรสถกิจไนยามสงคราม.[แก้ไข]
ไนยามสงครามมักจะปรากตว่าทางเดินของเสรสถกิจถูกปัดหันเหไปจากทาง “ธรรมชาติ”. ทั้งนี้เพราะว่าสังคมต้องพยายามดัดแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง - กำลังกาย, กำลังไจ, กำลังทรัพย์ - เพื่อไห้หันเข้าภาวะสงคราม. ไนยามสงบ เราย่อมต้องการโภคทรัพย์เพื่อความอิ่มหมีพีมัน, เพราะว่านั่นแหละเป็นความสุขส่วนไห [ญ่] ของมนุสส์.[2] แต่ไนยามสงคราม ถ้าไครมัวแต่นึกถึงความอิ่มหมีพีมันก็คงจะไปไม่ได้ไกล.ไนยามสงครามเราย่อมมุ่งแต่ที่จะเอาชัย, และเราย่อมจะพยายามทำทุกๆอย่างเพื่อหาหนทางไปสู่ความมีชัย. ความพยายามไนด้านเสรสถกิจเป็นสิ่งสำคันข้อหนึ่ง. สาสตราวุธยุทธภันท์ซึ่งจำเป็นสำหรับสงครามนั้นมิไช่ว่าจะเนรมิตรขึ้นมาได้เฉยๆ; เราจะต้องมีแผนการ ตั้งแต่การตั้งโรงงาน, การจัดหาสัมภาระดิบ, คนงาน, ผู้ควบคุมคนงาน และอื่นๆอีกจิปาถะ. สิ่งเหล่านี้ย่อมเกี่ยวพันกับปั [ญ] หาเสรสถกิจทั้งสิ้น. มิไช่แต่เท่านั้น, การจัดหาสะเบียงอาหารส่งไห้ผู้ที่อยู่ไนแนวรบก็ไช่ปั [ญ] หาเล็กน้อย.ส่วนประชาชนสามั [ญ] นั้นเล่า, รัถจะปล่อยไห้เดือดร้อนไนการกินอยู่มากนักก็ย่อมไม่ได้. ไนยามสงบนั้นรัถมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสรสถกิจน้อยที่สุด (หมายถึงรัถซึ่งตามปกติสนับสนุนหลักเสรีภาพไนอุตสาหกิจ,หลักกรรมสิทธิ์ไนทรัพย์สินส่วนบุคคล, และอื่นๆ[3]); แต่ไนยามสงครามความจำเป็นบังคับไห้รัถต้องเกี่ยวข้องกับการเสรสถกิจมากที่สุด, โดยฉะเพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสงครามไห [ญ่] ๆ เช่นมหาสงครามคราวที่แล้วหรือสงครามโลกไนปัจจุบัน. ด้วยเหตุนี้แหละจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสึกสาถึงหลักเกนท์ของระบบเสรสถกิจไนยามสงครามควบไปกับการสึกสาถึงหลักเกนท์ของระบอบเสรสถกิจไนยามสงบ.
๓. เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงคราม.[แก้ไข]
นักวิทยาสาสตร์ที่แท้ย่อมมุ่งแต่จะค้นหาความจิงของโลก.[4] นักเสรสถสาสตร์ก็ย่อมมุ่งที่จะค้นหาความจิงด้านหนึ่งของโลก คือไนด้านเสรสถกิจ. เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงครามสึกสาถึงส่วนหนึ่งของโลกส่วนหนึ่งของโลกเสรสถกิจ - โลกเสรสถกิจเท่าที่เกี่ยวพันอยู่กับการสงคราม. แต่เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงคราม (economics of war) ไม่ตรงกับสงครามเสรสถกิจ (economics warfare) ทีเดียว. สงครามเสรสถกิจเป็นด้านหนึ่งของการยุทธ, คือ การยุทธไนด้านเสรสถกิจ: การทำลายทรัพย์สมบัติของข้าสึก, การกีดกันไม่ไห้ข้าสึกมีโอกาสได้ไช้เครื่องอุปกรน์เสรสถกิจไนอันที่จะนำมาซึ่งกำลังไนการรบ. กล่าวสั้นๆ สงครามเสรสถกิจเป็นเรื่องของเรากับข้าสึกไนด้านเสรสถกิจ, ส่วนเสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงครามเป็นเรื่องของเราโดยฉะเพาะไนด้านเสรสถกิจซึ่งเกี่ยวกับสงคราม. แต่นี้เป็นเพียงลักสนะแตกต่างอันสำคัน,ฉะนั้นพึงอย่าเข้าไจว่าวิชาสองกิ่งนี้ ไม่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน. ถ้าจะพูดไปแล้วไม่มีวิชาไดไนโลกที่ไม่เกี่ยวพันกับวิชาอื่นๆ เลย.
เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงครามอาดแยกออกได้เป็น ๒ กิ่ง. ไนกิ่งหนึ่งเราจะต้องสึกสาถึงว่าสงครามเป็นเหตุก่อไห้เกิดการเปลี่ยนแปลงไนโครงร่างและนโยบายเสรสถกิจของชาติไนยามสงบประการไดบ้าง. ไนอีกกิ่งหนึ่งเราจะต้องสึกสาถึงว่าโครงร่างและนโยบายเสรสถกิจของชาติไนยามสงบอาดเป็นชะนวนแห่งสงครามได้มากเพียงไร. กล่าวโดยย่อ, เสรสถสาสตร์ว่าด้วยสงครามสึกสาถึงผลและเหตุของสงครามเท่าที่เกี่ยวพันอยู่กับเสรสถกิจ. ข้อแรก (ผล) เป็นเรื่องไห [ญ่] . ความจิงสมุดเล่มนี้ว่าด้วยข้อแรกเป็นส่วนมาก: เราจะได้พิจารนาถึงว่าไนการสงครามนั้น, แต่ละประเทสสามารถนำทรัพย์ของชาติประเภทไดไปไช้ประโยชน์ได้บ้าง, ด้วยวิธีได; ประชาชนต้องรับภาระแห่งสงครามมากน้อยเพียงไร; เสรสถกิจของประเทสอันย่อมจะถูกกระทบกระเทือนนั้นรัถบาลจำเป็นต้องเข้าควบคุมมากน้อยเพียงไร, ด้วยวิธีไร - ควบคุมราคา, ทำการปันส่วน, ตัดทอนบางอุตสาหกรรม, ส่งเสิมบางอุตสาหกรรม, ควบคุมการค้าการติดต่อกับต่างประเทส - เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไนยามสงบรัถบาลอาดมิได้นึกฝันว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย, แต่ไนยามสงครามการเกี่ยวข้องเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด. สำหรับข้อหลัง (เหตุ) ว่าด้วยการที่โครงร่างและนโยบายเสรสถกิจของชาติไนยามสงบอาดเป็นชะนวนแห่งสงครามได้นั้น, คงจะมีมากมายหลายท่านที่มีความเห็นแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าผู้ออกความเห็นได้สึกสามาจากสำนักได, ได้รับการอบรมภายไต้สิ่งแวดล้อมเช่นไร. แต่พึงรำลึกถึงความจิงข้อหนึ่งว่าวิทยาสาสตร์ที่พึ่งเริ่มจะเติบโตขึ้นนั้นย่อมเต็มไปด้วยความเห็นขัดแย้ง, และทางก้าวหน้าของวิทยาสาสตร์ ย่อมขึ้นอยู่กับการสำรวดเหตุผลทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเหตุผลของผู้ได, เพราะว่าจากการสำรวดนี้เท่านั้น เราจึงจะค้นพบคำตอบที่ถูกต้องแท้จิง.
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี