วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
การตกเป็น‘โมฆะ’ของรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะขัดกับกฎ‘ตรรกะ’

ดูทั้งหมด

  •  

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 มาตรา 4 วรรคห้า บัญญัติไว้ดังนี้

“การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้ออกสียงประชามติว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ....”


ตามกฎตรรกะประชาชนที่จะต้องออกเสียง...….เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้….

“ทั้งฉบับ” วิเคราะห์ตามหลักตรรกะได้ ดังนี้

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีทั้งหมด 279 มาตรามีประเด็นที่เกี่ยวข้องนับเป็นร้อยๆ กว่าประเด็นที่ประชาชนผู้จะต้องออกเสียงลงประชามติจะต้องพิจารณาดังนั้นจึง.....

ไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าบางประเด็น บางมาตราของร่างรัฐธรรมนูญ จะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถูกใจและไม่ถูกใจ

ไม่ใช่เรื่องแปลก หากว่าบางคนจะเห็นด้วยในบางมาตรา บางประเด็น และมีอีกบางประเด็นหรือบางมาตราที่ไม่เห็นด้วยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

และความจริงก็ควรที่จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้

แต่การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 บัญญัติว่า “....ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ....”

ถ้าอ่านกันอย่างผิวเผิน ก็อาจนึกว่าเป็นเพียงพลความแต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่า “ทั้งฉบับ” เป็นใจความที่เน้นไว้ในมาตรานี้อย่างชัดเจน การบัญญัติที่พ้นวิสัยอย่างนี้มีมาแล้วในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ 2550

แต่ที่เน้นคำนี้ไม่อาจที่จะหยั่งทราบถึงเจตนาที่แท้จริงได้แต่ข้อความ “ทั้งฉบับ” นี้ มีความชัดเจนอยู่ในบัตรการออกเสียงลงประชามติ (โปรดดูตัวอย่างบัตรการลงประชามติ)

แต่เป็นการบัญญัติให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นการพ้นวิสัยด้วยเหตุผลทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และหลักตรรกะ ดังนี้

1.ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่ประชาชนออกเสียงประชามติมีสองประเด็นคือ

ประเด็นที่ 1 ได้แก่ “ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .......“ทั้งฉบับ”

และประเด็นเพิ่มเติมในประเด็นที่ 2 ที่มีความว่า

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

ในประเด็นที่ 2 นี้มีข้อสังเกตว่า ได้เพิ่มเติมเข้ามาภายหลังและแม้จะเป็นประเด็นเดียว แต่ก็มีความไม่ชัดเจนและกำกวม คลุมเครือ ข้อสำคัญมีความหมายได้หลายนัย

2.ขอย้อนกลับมาในประเด็นที่ 1 การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ “ทั้งฉบับ” ย่อมประกอบด้วย คำปรารภที่มีหมวดและส่วนต่างๆ และบทเฉพาะกาลด้วย

หมวดต่างๆ แต่ละหมวด ย่อมประกอบด้วยมาตราต่างๆ

มาตราต่างๆ แต่ละมาตรานั้น แต่ละมาตราย่อมประกอบด้วยวรรค ต่างๆ

วรรคต่างๆ แต่ละวรรคนั้น แต่ละวรรคย่อมประกอบด้วยประพจน์หรือประโยค (Statement) ต่างๆ

ประพจน์หรือประโยคต่างๆ แต่ละประพจน์หรือประโยคอาจเป็นสิ่งที่คนเห็นชอบหรือเป็นสิ่งที่คนไม่เห็นชอบ เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่านั้น

ดังนั้นจึง....เป็นไปไม่ได้เลยที่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ จะเห็นชอบ ทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งก็คือทุกมาตรา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นชอบทุกหมวด ทั้งฉบับ

อีกทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เห็นชอบ ทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งก็คือทุกมาตรา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ไม่เห็นชอบทุกหมวด ทั้งฉบับ

บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ตรงนี้ จึงบัญญัติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นการพ้นวิสัย ผลคือการนั้นตกเป็นโมฆะ

เพราะบัญญัติในสิ่งที่ไม่ดำรงอยู่จริง

ผลคือบัญญัติในสิ่งที่เป็นเท็จ ย่อมทำลายตัวเอง ใช้บังคับไม่ได้ ไม่ว่าผลการออกเสียงประชามติจะเป็นอย่างไร

3.พิจารณาจากกฎตรรกะ (Logic)

3.1 สิ่งที่เป็นไม่ได้ คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ใครบัญญัติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือผู้ที่บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือบัญญัติความเป็นเท็จ

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่มาจากบทบัญญัติ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เฉพาะในส่วนดังกล่าวนี้ มาจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง นั่นก็คือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในส่วนนี้มาจากบทบัญญัติความเป็นเท็จ ประกาศใช้เมื่อใด ก็เป็นเท็จเมื่อนั้น ย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้

3.2 ทั้งฉบับ คือ ทั้งเซต (set)

หมวด คือ อนุเซต (subset) ของทั้งฉบับ

มาตรา คือ อนุเซตของหมวด

ประพจน์หรือประโยค คือ อนุเซตของมาตรา

เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ = เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค ซึ่งมีเป็นร้อยๆ พันๆ ประพจน์หรือประโยค

เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นการพ้นวิสัยที่บุคคลจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทุกประพจน์หรือทุกประโยค

ข้อเสนอแนะในเชิงปรึกษากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงถ้าจะมีการยกเลิกหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและจะต้องมีประชามติ

ถ้าเป็นไปไม่ได้ควรจะแก้ไขอย่างไร มิใช่เพียงพูดว่า ไม่มีหน้าที่จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ถ้าการเป็นว่าต้องการให้ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ”ที่ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายและกฎตรรกะก็ตามที โดยตัดคำว่า “ทั้งฉบับ” ออกไป เหลือเพียงความให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในรัฐธรรมนูญ เพียงเท่านี้ จะมีคำว่า “ทั้งฉบับ”ตามมาไม่ได้

(ขอให้ดูตัวอย่างในรัฐธรรมนูญทุกฉบับและในมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของวุฒิสภาจะต้องให้ความ “เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ” เท่านั้น ไม่มีคำว่า “ทั้งฉบับ”แต่อย่างใด เป็นการบัญญัติที่ถูกทั้งหลักกฎหมายและกฎตรรกะ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สมาชิกทุกคนจะต้องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างงบประมาณรายจ่ายทุกวงเงินและทุกรายการที่มีหลากหลาย)

ปัจฉิมลิขิต

เมื่อรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ตกไปทั้งฉบับหรือตกเป็น “โมฆะ” ผลสำคัญต้องยกร่างใหม่ขึ้นแทนทั้งฉบับ สมาชิกวุฒิสภาก็จะต้องสิ้นสุดลง (ตกเป็นโมฆะ) มาตั้งแต่แรก

ส่วนหมวดต่างๆ เช่น หมวดพระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎรหมวดศาล จะต้องพิจารณาลงหมวดใด มาตราใด ลงอยู่ในข่ายบทบัญญัติ “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้บังคับแก่ กรณีใดให้กระทำการที่มีหรือวินิจฉัยกรณีที่มีไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย คือ “พระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๗๕

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:56 น. 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
18:31 น. 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
18:31 น. 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
18:22 น. แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
17:58 น. วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!

'อ.ยิ่งศักดิ์'ฟาดยับ 'รัฐบาล'ทำอะไรกัน? 'ลำไย' อ.จอมทอง ดิ่งกิโลละ 1 บาท (ชมคลิป)

แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'

'ผู้นำเผด็จการเมียนมา'ตอบกลับจดหมาย'ทรัมป์' ดีใจสหรัฐฯยอมรับ-ขอบคุณสำหรับภาษีนำเข้า40%

'บิ๊กเต่า'เข้าพบสมเด็จพระราชาคณะ เสนอออกหนังสือเรียกพระในสังกัด เอี่ยว'สีกากอล์ฟ'

'พี่คนดี'ร่ายกลอนเจ็บจี๊ด! ขาประจำ จี้ใจดำคนทำเฮีย 'ตนนั่นแหละ ที่ไทยโกรธ อย่าโทษเตี่ย'

  • Breaking News
  • \'บิ๊กเล็ก\' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม \'บิ๊กเดฟ\'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-\'ศักดา\'นั่งหัวหน้าสำนักงาน 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
  • \'นัสเมียโชค\'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ\'นิ้ง โสภิดา\' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ! 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
  • \'ดร.ดิเรกฤทธิ์\'คาดหวัง\'ศาลฎีกา-ศาล รธน.\' ชี้ชะตาประเทศ \'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ\' 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
  • แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี\'เอม สรรเพชญ์\' ลุกลามหนักด่าถึง\'คุณพ่อดู๋ สัญญา\' แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
  • วิจารณ์ยับ! \'วิรังรอง\'ฟันธง \'พ่อออกโรง\'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved