วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญไทยแต่ละฉบับ : อดีต-ปัจจุบัน

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อใดรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศมีปัญหาหรือไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์บ้านเมืองตามสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของแต่ละประเทศ อาจจะต้องมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้นหรือมาตรานั้น ดังนั้น “การยกเลิกรัฐธรรมนูญ” (Abolition Constitution) จึงหมายถึง การไม่ใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับหรือมาตรานั้น จะพบว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญจะเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือการยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วนบางมาตราและการยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเดิม แต่อย่างไรก็ตามยังมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญอีกกรณีหนึ่งเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยการปฏิวัติหรือการรัฐประหารด้วยการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

เมื่อพิจารณาศึกษา “วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยแต่ละฉบับ” จะกำหนดการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับในอดีต-ปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ออกมาแต่ละประเด็น ดังนี้


ประเด็นที่ 1 วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยแต่ละฉบับจะกำหนดการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขจะพบว่ามีคะแนนเสียงการลงมติให้ความเห็นชอบที่แตกต่างกัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 จะกำหนดให้คะแนนลงมติ 2 ใน 3 ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมนอกจากเสียงของสภากึ่งหนึ่งแล้วจะต้องมีเงื่อนไขอีก คือ ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ประเด็นที่ 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับจะกำหนดการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะพบว่า ในวาระที่ 2 ขั้นตอนการพิจารณาเรียงมาตราของร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขจะพบว่ามีคะแนนเสียงการลงมติให้ความเห็นชอบเหมือนกันทุกฉบับ กำหนดให้คะแนนเสียงข้างมากเป็นประมาณเหมือนกันหมดทุกฉบับ แต่จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดเงื่อนไขในวาระที่ 2 เพิ่มเติม คือ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย

ประเด็นที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยแต่ละฉบับ จะกำหนดการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในวาระที่ 3 ขั้นลงมติให้ความเห็นร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไข จะพบว่า มีคะแนนเสียงการลงมติให้ความเห็นชอบที่แตกต่างกัน ดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 จะกำหนดให้คะแนนลงมติ 2 ใน 3 ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จะกำหนดให้คะแนนเสียงมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่อย่างไรก็ตามในวาระที่ 3ลงมติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มขึ้น คือ โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกันและมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ประเด็นที่ 4 พิจารณาถึงการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นอำนาจที่รับมอบจากรัฐธรรมนูญที่มอบอำนาจให้รัฐสภาผู้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จากอดีต-ปัจจุบัน ในแต่ละฉบับมักจะกำหนดให้มีวาระและคะแนนเสียงลงมติให้ความเห็นการพิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากกำหนดให้รัฐสภา ซึ่งเป็นสภาคู่เป็นผู้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย 3 วาระ แต่ละวาระจะมีคะแนนเสียงลงมติให้ความเห็นชอบที่แตกต่างกัน และรัฐธรรมนูญบางฉบับก็จะให้รัฐสภาซึ่งเป็นสภาเดียวเป็นผู้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่ 5 พิจารณาศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในหมวด 15 ถือว่าเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยากมากและเป็นการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจกำหนดเรื่องใดบ้างที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีข้อพิจารณา ดังนี้

1.การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นการกำหนดให้มีวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างยาก กล่าวคือ ในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้ง 2 สภา และต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ซึ่งหมายความว่าแม้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่หากสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถผ่านวาระที่ 1 และ

2.เมื่อผ่านวาระที่ 2 ไปแล้ว ในวาระที่ 3 นั้นนอกจากต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้ง 2 สภาแล้ว รัฐธรรมนูญยังกำหนดไว้ว่าในจำนวนผู้เห็นชอบนั้นจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกันและต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่

3.ในกรณีมีผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนดเข้าชื่อกันยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่า ยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ทรงอำนาจผูกขาดให้ความหมายของข้อจำกัดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า เรื่องใดไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และแม้จะมีการกำหนดให้ต้องทำประชามติในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในบางกรณี แต่ประชามติดังกล่าวก็ไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของปวงชน เนื่องจากยังถูกจำกัดการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ให้ความหมายอยู่นั่นเอง และที่สำคัญในระยะ 5 ปีแรก สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ยากมากขึ้น

รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:22 น. พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
16:12 น. 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
16:09 น. 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
16:01 น. (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
15:50 น. (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย

'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

รวบหนุ่มไทยมุดชายแดน! ขายบัญชีม้าให้แก๊งคอลฯ พบมีคดีออนไลน์17คดี

รัฐผ่อนปรนรถบัสสองชั้นวิ่ง‘6 เส้นทางเสี่ยง’ได้180วัน เริ่ม 21 ก.ค.

เกมเศรษฐี’เชลซี’vs‘เปแอสเช’:ใครจะครองแชมป์ทีมโลก2025

  • Breaking News
  • พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ\'อาชญากรรม-ยาเสพติด\' พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
  • \'นักการเมือง\'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
  • \'ดิว อริสรา\'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
  • (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น\'พรรคส้ม\'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ\'ทักษิณ\'ไม่ใช่\'ทหาร\' (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
  • (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม\'พรรคส้ม\' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112 (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved