วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อพูดถึง “4 กรกฎาคม” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา (Independence Day) ภาพที่ปรากฏในความคิดของหลายคนมักเป็นพลุหลากสีเหนือท้องฟ้า ขบวนพาเหรด ธงชาติสหรัฐ และบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจของชาวอเมริกัน ภาพที่คุ้นตาคือครอบครัวที่รวมตัวกันในสวนหลังบ้าน กลิ่นหอมของเนื้อย่างบนเตาบาร์บีคิว เสียงเปิดกระป๋องเบียร์ และฮอทดอกร้อนๆ ที่เสิร์ฟในขนมปังพร้อมมัสตาร์ด

วันที่ 4 กรกฎาคม 1776 (พ.ศ. ๒๓๑๙) คือวันที่สมาชิกสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาได้ลงมติรับรอง คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) โดยแยกตัวออกจากจักรวรรดิอังกฤษ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของประเทศใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นบนแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐ ซึ่งร่างโดยโทมัส เจฟเฟอร์สัน มีลักษณะเป็นปรัชญาการเมืองแบบเสรีนิยมที่เน้น “สิทธิของมนุษย์โดยธรรมชาติ” ได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข โดยเฉพาะข้อความที่ว่า.....


....มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน และได้รับมอบสิทธิอันไม่สามารถจะถูกพรากออกไปจากพวกเขาได้ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการมีชีวิต การมีอิสรภาพและการแสวงหาความสุข..หรือ....that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Right, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness…. ถือเป็นข้อความที่ทรงพลังและได้รับการยกย่องทั่วโลก

แนวคิดนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในพรมแดนของสหรัฐเท่านั้น แต่ได้แพร่ขยายไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปและละตินอเมริกา ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลุกขึ้นต่อต้านเจ้าอาณานิคม และเรียกร้องเอกราชในหลายพื้นที่ เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ที่ได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจากคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และแนวคิด “สิทธิของมนุษย์โดยธรรมชาติ” ที่กลายเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศในเวลาต่อมา

แต่อย่างไรก็ตาม...เป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์อเมริกันและ คำประกาศอิสรภาพ ของเจฟเฟอร์สัน หนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งประเทศ รัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกและประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐ....ผู้รังสรรค์ประโยค...all men are created equal…นั้น เจฟเฟอร์สันหมายถึงเฉพาะคนผิวขาว และเฉพาะเจาะจงผิวขาวที่เป็นผู้ชายด้วยซ้ำ เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว สภาคองเกรสก็พึ่งผ่านมติการแก้รัฐธรรมนูญครั้งที่ 19 เรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของสตรีเมื่อปี 1920 หรือเมื่อ 105 ปีที่แล้วนี้เอง และกว่าสิทธินี้จะครอบคลุมผู้หญิงผิวดำและฮิสแปนิกอย่างแท้จริง ก็ต้องรอจนถึงหลังยุคขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนในทศวรรษ 1960

วันชาติปี 1776 ผู้ชายผิวขาวที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีสิทธิลงคะแนนเสียงและมีบทบาททางการเมือง ในขณะที่ผู้หญิง ไม่ว่าจะผิวขาว ดำ หรือพื้นเมือง ยังไม่มีสถานะทางกฎหมายหรือสิทธิเลือกตั้ง

วันชาติจึงเป็นการเฉลิมฉลองของประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยมองไม่เห็นผู้หญิงในฐานะ“ผู้มีอธิปไตย”

นอกจากนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในปี 1776 ภาพที่คนทั่วไปจินตนาการคือการปลดปล่อยจากการกดขี่โดยเจ้าอาณานิคม แต่สำหรับชนพื้นเมืองอเมริกัน เช่น ชนเผ่าเชอโรกี นาวาโฮ หรือแลกโคตา การก่อตั้งสหรัฐอเมริกาคือ จุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมในรูปแบบใหม่ ภายในเวลาไม่ถึงร้อยปีรัฐบาลกลางสหรัฐ ได้ลงนามและละเมิดสนธิสัญญาหลายสิบฉบับกับชนเผ่าต่างๆ ยึดที่ดิน และขับไล่พวกเขาออกจากถิ่นฐานเดิม แม้ในปัจจุบัน ชนพื้นเมืองยังคงเผชิญปัญหาอย่างความยากจน ความรุนแรงทางเพศในพื้นที่เขตจองจำ และการถูกทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ในสื่อวัฒนธรรมของชาวอเมริกัน

ภาพของวันชาติสำหรับชนพื้นเมืองจึงไม่ใช่การฉลอง แต่คือเครื่องเตือนใจถึงการลบล้างอธิปไตยของเขา

และในช่วงเวลาที่คณะบิดาผู้ก่อตั้งประเทศกำลังจะอ่าน คำประกาศอิสรภาพ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 เพื่อประกาศว่าจะไม่ขึ้นกับการปกครองของอังกฤษ เจ้าอาณานิคมอีกต่อไป เจฟเฟอร์สันก็มีทาสผิวดำติดสอยห้อยตามคอยรับใช้มาด้วยสองคน จากจำนวนทาสหกสิบกว่าคนที่เขามีอยู่ในเวลานั้น และก่อนตายในปี 1826 เจฟเฟอร์สันครอบครองทาสอยู่ทั้งสิ้นกว่า 600 คน โดยไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเขามีเจตจำนงที่จะปลดปล่อยทาส 600 คนนี้ให้เป็นอิสระ ขณะที่จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรก ได้สั่งเสียไว้ก่อนตายว่าให้ปลดปล่อยทาสจำนวนประมาณ 130 หลังจากที่เขาตายแล้ว และปล่อยไปให้หมดที่เหลืออีกเกือบ 200 คน ภายหลังจากที่ภรรยาของเขาได้เสียชีวิตลง

กระนั้นก็ตาม มีหลักฐานหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ค่อนข้างเห็นตรงกันว่า เจฟเฟอร์สันได้ปลดปล่อยให้ทาสหกคนมีอิสรภาพ แต่....ทาสผิวสีหกคนนี้คือ...ลูกๆ ของเจฟเฟอร์สันเองที่เกิดกับ ซัลลี เฮมิงส์ (Sally Hemming) ทาสรับใช้ในบ้าน เจฟเฟอร์สันเริ่มมีความสัมพันธ์กับ ซัลลี ขณะที่เธออายุได้เพียงแค่ 16 ปี และต้องติดตามเจฟเฟอร์สันซึ่งตอนนั้นไปเป็นทูตอยู่ที่กรุงปารีส ระหว่างปี 1785-1789 เพื่อไปเป็นพี่เลี้ยง หรือ moagammy ให้กับลูกของเจฟเฟอร์สันที่เกิดกับอดีตภรรยาซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นสามปี โดยก่อนที่ภรรยาของเขากำลังจะเสียชีวิต ได้เคยขอร้องไม่ให้เขาแต่งงานใหม่

อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าเจฟเฟอร์สันมีเจตจำนงอยู่แล้วที่จะให้ลูกๆ ของเขากับซัลลีเป็นอิสระหรือไม่ ถ้าซัลลีไม่ต่อรองกับเจฟเฟอร์สัน ตอนที่เขาจะต้องกลับอเมริกาเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ในรัฐบาลจอร์จ วอชิงตัน ว่า…เธอจะไม่กลับไปอเมริกาพร้อมกับเขา ถ้าเจฟเฟอร์สันไม่รับปากว่าจะปลดปล่อยลูกของเธอให้เป็นอิสระเมื่ออายุครบ 21....เพราะในที่ฝรั่งเศส ซัลลี เพียงแค่เดินไปที่ศาลาว่าการกรุงปารีส และก็บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า เธอเป็นทาสที่ถูกกักตัวอยู่ในฝรั่งเศส เพียงเท่านี้เธอก็จะได้รับการช่วยให้มีอิสรภาพทันที

คำประกาศอิสรภาพเขียนไว้ว่า “มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาอย่างเท่าเทียม” (all men are created equal) แต่คนผิวดำกว่าครึ่งล้านคนที่ตกเป็นทาสในสหรัฐขณะนั้นไม่มีแม้แต่ “สิทธิในร่างกายของตนเอง”และระบบทาสยังคงอยู่จนถึงปี 1865 เกือบ 90 ปีหลังจากที่ประเทศก่อตั้ง แม้หลังการเลิกทาส คนผิวดำก็ยังเผชิญกับการแบ่งแยก แม้กระทั่งถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในท้องถิ่น เช่น เหตุการณ์ Tulsa Massacre ปี 1921

เหตุการณ์นี้เริ่มจากข้อกล่าวหาชายผิวดำวัย 19 ปี ชื่อ Dick Rowland พยายามทำร้ายร่างกายหญิงผิวขาวในย่านธุรกิจของเมืองทัลซา (Tulsa) รัฐโอคลาโฮมา แม้ต่อมาจะพบว่าไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ข่าวลือและการยุยงจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทำให้สถานการณ์บานปลาย เมื่อ Rowland ถูกจับ ชาวผิวขาวจำนวนมากไปรวมตัวที่สถานีตำรวจเพื่อเรียกร้องให้มีการ “ลงประชามติ” หรืออาจถึงขั้น “รุมประชาทัณฑ์” ขณะที่ชาวผิวดำที่ติดอาวุธก็มาปกป้องเขา สถานการณ์กลายเป็นความรุนแรง จนลุกลามไปยังย่านธุรกิจของเมืองซึ่งเป็นย่านของชาวแอฟริกันอเมริกันที่มั่งคั่ง เรียกว่า “Black Wall Street”

เหตุการณ์นี้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 100-300 (จำนวนจริงอาจมากกว่านี้ แต่ถูกปกปิด) ธุรกิจ 300 กว่าแห่ง ถูกปล้นหรือเผา บ้านเรือน 1,200 กว่าหลัง ถูกเผาทำลาย ชาวแอฟริกันอเมริกันกว่า 10,000 คน กลายเป็นคนไร้บ้าน เจ้าหน้าที่รัฐขณะนั้นไม่เพียงไม่สามารถยุติเหตุการณ์ได้ แต่บางรายยังร่วมมือหรือเพิกเฉยต่อการสังหารและการเผาทำลาย

เรื่องราวของ Tulsa Massacre ถูกปกปิดและไม่ถูกรับรู้อย่างกว้างขวาง ในระบบการศึกษาของอเมริกามานานหลายทศวรรษ จนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์นี้จึงได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาและถูกศึกษาอย่างจริงจัง ในปี 2021 โจ ไบเดนได้ไปเมืองทัลซา ซึ่งถือเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ไปเยี่ยมสถานที่เกิดเหตุ ไบเดนยอมรับว่าเหตุการณ์นี้เป็นการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ”

สำหรับชาวอเมริกัน วันชาติ 4 กรกฎาคม เป็นมากกว่าวันแห่งการเฉลิมฉลองของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่มันสะท้อนถึงการเดินทางของประชาธิปไตยและแนวคิดเรื่องเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม แม้คำว่าประชาธิปไตยและเสรีภาพจะฟังดูสูงส่ง แต่ประวัติศาสตร์ 249 ปีที่ผ่านมาของสหรัฐ ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้ง สงครามกลางเมือง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ การเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิมนุษยชน การต่อสู้เพื่อสิทธิของคนผิวสีและคนพื้นเมืองดั้งเดิม เรื่อยมาจนถึงความแตกแยกทางการเมืองในยุคปัจจุบัน

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
20:35 น. เปิดใจหลวงพ่อ! รับ'พัดยศ'เดินเท้ากลับวัด 'นครปฐม-เพชรบุรี'138กม.
20:30 น. ทุบเปรี้ยง! แฉ 3 ข้อ‘ปชน.-พท.’ประสานเสียง‘วาระซ่อนเร้น’ ชนวนปชช.ฮือไล่‘ฝ่ายค้าน-รัฐบาล’ล่ม
20:14 น. อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'
19:53 น. คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้
19:34 น. ยกแก๊งมอบตัวแล้ว คนร้ายยิงถล่มใส่รถยนต์ที่ปราจีนบุรี
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดใจหลวงพ่อ! รับ'พัดยศ'เดินเท้ากลับวัด 'นครปฐม-เพชรบุรี'138กม.

อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'

(คลิป) 'จิรายุ' ปัด! ส่งมอบโบราณวัตถุ 20ชิ้น ย้ำเรื่องนี้ 25ปีมาแล้ว

'อ.ไชยันต์' ถาม 'ไอติม' จริยธรรมการเมือง ควรใช้ได้แค่ไหน? ชี้ไม่ยื่นอภิปราย 'อิ๊งค์' อาจเสียโอกาสปชช.

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

(คลิป) 'หมอวรงค์' จี้ปม คดีชั้น14 เอ๊ะ! 'มอ กับ จอ' แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

  • Breaking News
  • เปิดใจหลวงพ่อ! รับ\'พัดยศ\'เดินเท้ากลับวัด \'นครปฐม-เพชรบุรี\'138กม. เปิดใจหลวงพ่อ! รับ'พัดยศ'เดินเท้ากลับวัด 'นครปฐม-เพชรบุรี'138กม.
  • ทุบเปรี้ยง! แฉ 3 ข้อ‘ปชน.-พท.’ประสานเสียง‘วาระซ่อนเร้น’ ชนวนปชช.ฮือไล่‘ฝ่ายค้าน-รัฐบาล’ล่ม ทุบเปรี้ยง! แฉ 3 ข้อ‘ปชน.-พท.’ประสานเสียง‘วาระซ่อนเร้น’ ชนวนปชช.ฮือไล่‘ฝ่ายค้าน-รัฐบาล’ล่ม
  • อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก\'อ.ไม้ร่ม\' กวาด9ล้านวิว \'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ\' อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'
  • คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้ คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้
  • ยกแก๊งมอบตัวแล้ว คนร้ายยิงถล่มใส่รถยนต์ที่ปราจีนบุรี ยกแก๊งมอบตัวแล้ว คนร้ายยิงถล่มใส่รถยนต์ที่ปราจีนบุรี
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved