วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
24 สิงหาคม ‘ลุงตู่’ จะอยู่หรือไป?!

ดูทั้งหมด

  •  

เห็นการให้สัมภาษณ์ของนายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวถึงกรณีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทยออกมาฟันธงนายกฯหมดวาระ 23 ส.ค.นี้แล้ว ได้แต่นึกเวทนา เพราะทำตัวเหมือน “หมาหวง (และห่วง) เจ้าของ” กระโดดงับไปทั่ว ด้วยความระแวงภัยว่าคนทุกคนจะทำร้ายเจ้านายของตัว โดยมิได้สำรวจประเด็น ความรู้ สติปัญญา แล้วนำมาตอบโต้ให้ตรงเรื่อง

1) นายนิพิฏฐ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว หัวข้อ “วาระ 8 ปีนายกรัฐมนตรี” ว่า


- ตอนนี้ มีวิวาทะเรื่องการตีความวาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ก่อนที่ท่านใดจะแสดงความเห็นเรื่องนี้ ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ “การตีความกฎหมาย” ของ ศ.ดร.อักขราทร จุฬารัตน อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา,อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด ในความเห็นของผมหนังสือเล่มนี้ น่าจะดีที่สุดเท่าที่ปรากฏในแวดวงการตีความกฎหมาย

- หนังสือเล่มนี้ ผมเคยมีหลายเล่ม แต่ให้ผู้สนใจไปหมดแล้ว เมื่อหนังสือหมดก็เลยต้องพริ้นท์เล่มใหม่ มาอ่าน ท่านที่สนใจอ่านได้ใน https://www.admincourt.go.th/admincourt/site/09bookdetail-4821.html

- ในขณะนี้ เท่าที่ติดตามดูการให้ความเห็นของนักกฎหมาย รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณบดีคณะนิติศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์ น่าจะให้ความเห็นไว้ดีที่สุดแล้ว ผมเห็นด้วยกับท่าน และกล่าวได้สั้นๆ ได้เพียงว่า วาระ 8 ปี ของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ครบวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ครับ

2) การโพสต์ของนายนิพิฏฐ์ ไม่มีถ้อยคำใดมุ่งร้ายทำลาย หรือทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเสื่อมเสียเลย คุณนิพิฏฐ์เป็นนักกฎหมาย โพสต์ให้คนยึดหลัก“การตีความกฎหมาย” และบอกว่ามีนักวิชาการโพสต์ข้อความไว้ โดยที่ท่านเห็นว่าเป็นข้อความที่ดีที่สุด และท่านเห็นด้วย ก็เท่านั้นเอง

3) การโต้กลับของชนะศักดิ์ ไม่ใช้ “ความรู้” แม้เพียงเศษผงในสิ่งที่เรียกว่า “ขี้ตีน” มาโต้แย้งเลย โดยนายชนะศักดิ์ กล่าวถึงกรณีนายนิพิฏฐ์ ว่า นายนิพิฏฐ์ ไม่ควรทำตัวเป็นศาลเตี้ย พิพากษาคนอื่นเอง หรือไม่เอาข้อมูลจากที่อื่นมาตีความว่านายกฯหมดวาระแล้ว หากมีคนไปยื่นตีความก็ขอให้รอฟังการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ อย่าออกมาโพสต์เฟซบุ๊คเช่นนี้ เพราะจะถูกมองว่าชี้นำได้ และทำให้ประชาชนเกิดความสับสนกับเรื่องนี้

“นายนิพิฏฐ์ ย้ายพรรคไปสร้างอนาคตไทยแล้ว ตนเองเข้าใจว่าคงอยากสร้างผลงานให้คนในพรรคเห็น แต่ก็ควรที่จะทำผลงานที่เป็นประโยชน์กับประชาชน มากกว่าที่จะมาหิวแสง พูดเรื่องทางการเมืองลักษณะโจมตีนายกฯเช่นนี้ อย่ามีอคติกับนายกฯ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องการดำรงตำแหน่งของนายกฯหากมีผู้ไปยื่น จะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลอยู่ดี และนายกฯ ก็ออกมายืนยันแล้วว่าไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรพร้อมที่จะน้อมรับ ดังนั้นไม่ต้องทำตัวเป็นศาลเสียเอง” นายชนะศักดิ์ กล่าว

นายชนะศักดิ์ ระบุว่า ขณะเดียวกันพรรคสร้างอนาคตไทยไม่ต้องรีบอยากจะเลือกตั้งไวๆ หรือตั้งความหวังไว้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลเป็นรัฐมนตรี เพราะหากสมาชิกพรรคมีพฤติกรรมแบบนี้ ที่หวังเอาไว้ก็คงยาก แนะเอาเวลาไปทำพรรคให้ดี ทำประโยชน์ให้ประชาชนเห็นจะดีกว่า

4) ลำพังการบอกให้รอคำวินิจฉัยของศาลนั้น ก็เพียงพอและเหมาะสมแล้ว แต่การลามปาม ใส่ความ ไปถึงขั้นกล่าวหาว่านายนิพิฏฐ์ทำตัวเป็นศาลเตี้ย หิวแสง อยากสร้างผลงาน ฯลฯ นั้น อาจถูกตีความว่าเป็นอาการ “ปากหมา”หรือ “ขู่กรรโชก” สลับกับ “เห่าใบตองแห้ง” ที่ไม่น่ารัก และจะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ มีศัตรูเพิ่มเพราะ “บริวารเป็นพิษ”อ่านหนังสือไม่แตก จมอยู่ในอาการหวาดระแวงแบบ“ขาดยา” ด้วย อาการจึงหนักเป็นสองเท่า เพราะท่าทีของนายนิพิฏฐ์ เป็นเพียงการ “สังสรรค์ทางวิชาการ” กับกระแส “วาระนายกฯ 8 ปี” เท่านั้น นายชนะศักดิ์ควรเข้าสู่วงสังสรรค์อย่างมีมารยาทและใช้ “ความรู้” จะโต้แย้งในข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือหลักการใด ก็ควรแสดงออกมา ซึ่งหากไม่มีปัญญา ก็เพียงแต่ย้ำว่า รอคำวินิจฉัยของศาลกันเถอะครับ ก็จบ และกำลังเหมาะงาม โดยไม่ต้องลามปามหรือปากพล่อย

5) รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คถึงวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ ว่า

“...การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นพื้นฐานที่สุดในทุกระบบกฎหมาย การจะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายใด ต้องไปค้นหาจากที่มาจากกฎหมายนั้น ซึ่งมักจะถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างกฎหมายหรือในบันทึกหลักการและเหตุผลของกฎหมาย แม้ว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างจะไม่ใช่อย่างเดียวกันกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเสมอไป แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมย่อมถือเป็นเบาะแสที่สำคัญที่สุดที่บ่งชี้ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะฉะนั้นการค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี จะต้องไปค้นหาจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แม้ว่าในประเด็นนี้ จะมีเพียงประธานที่ประชุม (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) และกรรมการบางคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการตีความไว้ แต่เมื่อกรรมการคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านเป็นประการอื่น ย่อมถือได้ว่าที่ประชุมมีความเห็นพ้องต้องกันว่าวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งนี้อยู่ก่อนที่รัฐธรรมนูญจะมีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องไม่เกิน 8 ปี

...นอกจากนี้การตีความให้วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ยังสอดคล้องกับการตีความตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ (หรือหลักกฎหมายทั่วไป) ของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความไปในทางจำกัดอำนาจฝ่ายบริหาร ไม่ให้มีการผูกขาดอำนาจจนกลายเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ นี่เป็นเหตุผลที่รัฐธรรมนูญของรัฐประชาธิปไตยหลายรัฐจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่างเด็ดขาด

...หากศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์และตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ผลของการตีความไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565”

6) ต่อมานายนิพิฏฐ์ได้โพสต์เฟซบุ๊ค หัวข้อ“มาตุฆาตรัฐธรรมนูญ” ความว่า...

- ท่านสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้กระทำมาตุฆาตรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เสียแล้ว ด้วยการให้ความเห็นว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนยึดอำนาจ กับ นายกรัฐมนตรีหลังยึดอำนาจไม่ต้องนับวาระการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกัน โดยตอนที่เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ท่านกล่าวว่า ต้องนับวาระต่อเนื่องกัน

- ท่านกล่าวว่า ตามรายงานคณะกรรมาธิการ เป็นความเห็นของกรรมาธิการบางคน คือ ของท่าน และของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ มิใช่เป็นมติของกรรมาธิการ อันนี้ ใช่ครับ เป็นความเห็นของ 2 ท่าน แต่เมื่อท่านอื่นไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงถือว่า ทุกท่านเห็นด้วยกับความเห็นของท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ และ ท่านสุพจน์ ไข่มุกด์ ผมอยู่ในสภามานานเคยผ่านการพิจารณากฎหมาย และรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับ เราก็พิจารณากันมาอย่างนั้น

- มีบางท่านบอกว่า ก.ม.ไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษ เรื่องนี้ เขาใช้กับโทษทางอาญาครับ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2,3 จะนำมาใช้กับสิทธิในทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ เช่น อดีตสส.สิระ เจนจาคะ ได้รับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยในรธน.ฉบับนี้มาตรา 98(10) ระบุว่า ผู้สมัครต้องไม่เคยถูกศาลพิพากษาจำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ สส.สิระ ทำความผิดเมื่อปี 2538 ก่อนรธน.2560 ถึง 22 ปี โดยทำความผิดในขณะที่ใช้ รธน.ปี 2534 และ รธน.ปี 2534 ขณะทำผิดก็ไม่มีบทต้องห้ามเหมือน รธน.2560 แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ย้อนตัดสิทธิไปถึงปี 2538 เห็นไหมครับ ย้อนหลังตัดสิทธิทำได้ เพราะเป็นสิทธิทางการเมือง ไม่ใช่โทษทางอาญา

- ท่านสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกมธ.ร่างรธน.ได้ทำ “มาตุฆาต” รัฐธรรมนูญไปแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงความเห็นของตัวเอง ตอนนี้ ก็รอฟังเพียงว่า ท่านมีชัย
ฤชุพันธุ์ ประธานร่างรัฐธรรมนูญ ตัวจริงเสียงจริงจะกระทำซ้ำด้วยการ “ปิตุฆาต” รัฐธรรมนูญด้วยหรือเปล่า รอฟังเท่านั้นเองครับ/

7) นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการวินิจฉัยคำร้องคดีต่างๆ ที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในช่วงที่ผ่านมาว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว หากเป็นคำร้องที่ขอให้ตีความในประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายฉบับต่างๆ ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาหลักปฏิบัติที่ศาลรัฐธรรมนูญทำเป็นปกติก็คือ จะทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปถึงสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เพื่อขอให้ส่งเอกสารบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณายกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับตัวคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รวมถึงเอกสารหนังสือแนวทางความต้องการหรือเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งหากมี ศาลรัฐธรรมนูญก็จะขอให้รัฐสภาส่งมาให้ด้วย มาประกอบการพิจารณา แต่ส่วนใหญ่การยกร่างพระราชบัญญัติทั่วไป จะไม่มีการทำหนังสือบันทึกเจตนารมณ์ไว้ จะมีแต่เฉพาะบันทึกเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติกันมาตั้งแต่การยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญรวมถึงหากมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะมีการทำบันทึกเจตนารมณ์ประกอบไว้ด้วย ทำให้เวลาเกิดกรณีมีปัญหาในการตีความรัฐธรรมนูญ ก็มักจะต้องขอทั้งบันทึกเจตนารมณ์และรายงานการประชุมของสภาฯ-วุฒิสภา-คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณายกร่าง พ.ร.บ. ในฉบับนั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัย เพื่อดูว่า ตัวบทที่เขียนไม่ชัดเจนดังกล่าวแนวทางควรเป็นไปในทิศทางใด

“แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นข้อยุติเด็ดขาดอะไร ตามที่อยู่ในบันทึกเหล่านั้น เพราะต้องดูประกอบ บริบท บทบัญญัติในมาตราอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวโยงกันประกอบด้วย ต้องดูบทเฉพาะกาลประกอบด้วย และบางครั้งต้องนำหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ มาประกอบการวินิจฉัยตีความด้วย (“รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม”) ดังนั้น จึงไม่มีใครบอกได้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร บ่อยครั้งในปัญหายากๆ ความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ก็จะแตกเป็นสองทางบ้าง สามทางก็ยังเคยมี กรณีที่ยากๆ เช่นนั้นก็ต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นคำวินิจฉัยของศาลนี้ คือแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติกันมา”

เมื่อถามย้ำว่า หมายถึงการวินิจฉัย อาจไม่จำเป็นต้องดูจากบันทึกการประชุมของคณะกรรมการหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญฯที่ยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับใช่หรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า เวลาดูบันทึกรายงานการประชุมของรัฐสภา บางครั้งพออ่านปุ๊บมันพอเห็นเลยว่า เรื่องนี้ควรต้องเป็นไปในทิศทางไหน แบบนี้มันก็ง่าย แต่บางครั้งตัวบันทึกรายงานการประชุมของรัฐสภา แม้แต่บันทึกเจตนารมณ์ที่ทำกันไว้ก็ดี บางครั้ง มันก็ไม่ชัดเจน โดยหากชัดเจนมันก็ง่าย แต่หากไม่ชัดเจน มันก็มองได้หลายแง่หลายมุม ก็ต้องหาทางออกที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการดูที่สองเครื่องมือข้างต้น

ถามต่อไปว่า หากดูแล้วไม่เคลียร์ อาจใช้วิธีที่ศาลอาจทำหนังสือสอบถามความเห็นไปถามคนที่ยกร่างโดยตรงให้ตอบได้หรือไม่ อย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยทำมาแล้วตอนช่วงมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหนังสือถามไปถึงมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรธ.และนายอุดม รัฐอมฤต อดีตเลขานุการกรธ. นายจรัญกล่าวว่า ไม่ได้เอาที่ตัวบุคคลเป็นหลัก แต่จะต้องเอาที่มติของคณะกรรมการ เพราะการเขียนกฎหมายออกมา ไม่ได้เขียนโดยคนคนเดียวคนใดคนหนึ่ง แต่ทำโดยคณะกรรมการ ก็ต้องว่ากันตามมติที่เป็นความเห็นร่วมกัน แล้วบางครั้งมันก็มีเสียงข้างมากเสียงข้างน้อย เรื่องจึงไม่ง่ายนัก แต่หากมีมติชัดเจนเลยเป็นเอกฉันท์ให้เป็นอย่างไร มันก็ค่อนข้างง่าย คือต้องเอามติกรรมาธิการไม่ใช่เอาความเห็นของคน

ถามย้ำอีกว่า หากอดีตกรธ.ไม่ได้มีมติออกมาอย่างเป็นทางการในการเขียนมาตรา 158 (เรื่องวาระแปดปีนายกรัฐมนตรี) แล้วมีข้อสงสัย ถ้าทำความเห็นไปถึงนายมีชัย ที่เป็นอดีตประธานกรธ.เลย หากนายมีชัยทำความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ความเห็นดังกล่าวถือว่ามีน้ำหนักในการวินิจฉัยหรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า“ก็มีน้ำหนักพอสมควร แต่ไม่ได้หมายความว่า น้ำหนักมากกว่าประเด็นอื่นๆ”

มองว่าคำร้องคดีนี้หากยื่นไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยจบเร็วหรือไม่ เพราะเป็นแค่การพิจารณาข้อกฎหมาย ไม่ได้เปิดห้องพิจารณาคดี อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่า ผมก็ว่าคงเร็ว เว้นแต่ว่าหากศาลอยากจะฟังรายงานการประชุมที่รัฐสภาส่งมา รวมถึงบันทึกเจตนารมณ์ประกอบให้มันรอบคอบ ก็ต้องขอไปก่อน แล้วก็ให้ทุกฝ่าย ที่มีหลายฝ่าย ศาลก็อาจรอให้คนที่เหมือนกับเป็นตัวแทนของแต่ละฝ่าย ทำความเห็นเข้าไปให้ศาลดู จะได้พิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินได้โดยไม่ขาดข้อมูล โดยหากศาลดูข้อมูลครบทุกด้านแล้ว จุดที่ถูกต้องเป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนมากที่สุดอยู่ตรงไหน
ศาลก็คงตีความไปที่จุดนั้น

สรุป : การแสดงความเห็นหรือการให้ความรู้ สร้างสังคมได้ ถ้าความเห็นนั้นตั้งอยู่บนความจริง หลักการวิชาการ โดยปราศจากการบิดเบือนหรืออคติ ถึงที่สุดแล้วภาระในการอธิบายคำวินิจฉัย ให้คนทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม“ความเชื่อ” เข้าใจคำตัดสิน ดูจะยากกว่าการตัดสิน

สำหรับผม บิ๊กตู่คงไม่ต้องลาออกหรือยุบสภาก่อนวันที่ 23-24 สิงหาคม เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องทำอย่างนั้นให้ศาลชี้ขาดดีที่สุด ยุบสภา-สภาไม่ได้ผิดอะไรด้วยลาออก แล้วไงต่อ หากมีพรรคการเมืองขอนำชื่อไปเสนอกับประชาชนอีก หรือสภายังเสนอชื่อให้เป็นนายกฯอีก ก็ต้องให้ศาลตีความอีกอยู่ดี รอศาลวินิจฉัยให้มันชัดเจนไปเสียก็หมดเรื่อง

เช่นเดียวกันกับเรื่อง “ผมพอแล้ว” ที่อ้างถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กันนั้น พล.อ.เปรมท่านพูดได้เพราะไม่ได้อยู่ในสมัยของการเป็นรัฐบาล อยู่ๆ จะให้ พล.อ.ประยุทธ์บอก “ผมพอแล้ว” กลางสมัย แล้วบ้านเมืองจะไปต่อยังไงมึงก็จัดการกันต่อ อย่างนี้มันจะใช้ได้เหรอ?

จะเสนอหรือสนองอะไร ขอความมีสติสัมปชัญญะ และความมีเหตุมีผลกำกับในทุกกรณีนั้นด้วยนะครับ!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
21:09 น. 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
21:02 น. 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
20:54 น. 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
20:53 น. 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
20:48 น. 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

ปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล!! 'กกต.'เผยพบฉีกบัตร 6 ราย ‘นนทบุรี’งามหน้า จับหัวคะแนนพร้อมโพย

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

(คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยพิกัด'เมียน้อย'อยู่เกาะฮ่องกง ให้'เมียหลวง'สิงคโปร์ภรรยานายทุน'กาสิโน'

สง่างาม! 'โอปอล สุชาตา'เปิดตัวสุดอลังการในชุดไทยบนเวที Miss World 2025

  • Breaking News
  • \'หมอวรงค์\'สอนมวย\'นพดล\' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง\'คนชั้น 14\' 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
  • \'สืบตม.อุบลฯ\'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
  • \'พิพัฒน์\'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ\'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย\' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
  • \'สมเด็จพระสังฆราช\'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
  • \'ในหลวง\'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

11 พ.ค. 2568

‘พีระพันธุ์’ จะรอดหรือจะร่วง

‘พีระพันธุ์’ จะรอดหรือจะร่วง

7 พ.ค. 2568

‘ทักษิณ’ จะต้อง ‘ติดคุก’ หรือไม่?

‘ทักษิณ’ จะต้อง ‘ติดคุก’ หรือไม่?

4 พ.ค. 2568

ไอ้นี่มัน ‘เหวง’ ไม่หาย

ไอ้นี่มัน ‘เหวง’ ไม่หาย

30 เม.ย. 2568

‘กฎหมาย’ หรือ ‘ชะตา’ ที่ไล่ล่า ‘แพทองธาร’

‘กฎหมาย’ หรือ ‘ชะตา’ ที่ไล่ล่า ‘แพทองธาร’

27 เม.ย. 2568

เรื่องของ ‘ทราย สก๊อต’

เรื่องของ ‘ทราย สก๊อต’

23 เม.ย. 2568

‘ไชยชนก ชิดชอบ’ ปิดจ๊อบได้สวย

‘ไชยชนก ชิดชอบ’ ปิดจ๊อบได้สวย

20 เม.ย. 2568

เอา ‘ทักษิณ’ ไปเก็บซะ!

เอา ‘ทักษิณ’ ไปเก็บซะ!

16 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved