วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / อ่านระหว่างบรรทัด
อ่านระหว่างบรรทัด

อ่านระหว่างบรรทัด

สันติสุข มะโรงศรี
วันจันทร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
คดีจัดซื้อฝูงบินมรณะการบินไทย

ดูทั้งหมด

  •  

กรณีการบินไทยจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 ยังผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่การบินไทย


ต่อมา ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวน และแจ้งข้อกล่าวหาแก่นักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการบินไทย

1. ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแต่งตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ในคดีที่เกี่ยวกับการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบิน ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ไต่สวนนายทักษิณกับพวก รวม 5 ราย

ประกอบด้วย นายทักษิณ อดีตนายกฯ นายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีต รมช.คมนาคม นายทนง พิทยะ อดีตประธานกรรมการบริษัทการบินไทย และนายกนก อภิรดี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย

2. ล่าสุด สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ป.ป.ช. มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคล ดังนี้

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีต รมช.คมนาคม

นายทนง พิทยะ อดีตประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย

และนายกนก อภิรดี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย 

ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 ทำให้ บมจ.การบินไทย ได้รับความเสียหาย

เท่ากับว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.คมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งผู้ถูกไต่สวนนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป

เนื่องจากในขณะที่มีการอนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำดังกล่าวนั้นนายสุริยะรมว.ขณะนั้นไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแลบมจ.การบินไทย แต่เป็นนายพิเชษฐ ในฐานะ รมช.คมนาคม ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล บมจ.การบินไทย

3. น่าสังเกตว่า เหตุใดไม่มีระดับผู้บริหารของการบินไทย ถูกแจ้งข้อกล่าวหาด้วยเลย?

ประการต่อมา ในการนำเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม.นั้น โดยปกติ รัฐมนตรีว่าการฯจะเป็นผู้นำเสนอ ตลอดจนแถลงข้อมูล ชี้แจงรายละเอียด เพื่อให้ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาแนวทางข้อเสนอในเรื่องนั้นๆ

การขอให้ ครม.อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ(ขณะนั้น)การบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน ซึ่งแต่ละลำมีราคากว่า 5 พันล้านบาท และจะมีผลได้เสียต่อผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจโดยตรง ย่อมเป็นเรื่องสำคัญ คนระดับรัฐมนตรีว่าการจะต้องกำกับดูแลรับผิดชอบ หรือไม่ ?

อย่างไรก็ตาม คดีนี้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา ป.ป.ช.ยังไม่ได้สรุปผลชี้มูลความผิดเป็นทางการแต่อย่างใด ผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ทุกรายยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

อีกทั้ง ป.ป.ช.ยังไม่ได้ชี้แจงแถลงรายละเอียดในเรื่องนี้ ขอเรียกร้องให้ ป.ป.ช.ชี้แจงเหตุผล ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเรื่องนี้
โดยเร็ว เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

4. กรณีนี้ นายพิเชษฐ สถิรชวาล ให้เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา ว่า จะเดินทางเข้าไปที่ ป.ป.ช. เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในช่วงบ่ายวันที่ 13 ก.พ. 2566 นี้

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายสุริยะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่า 

“...เฮ้ย! จริงหรือเปล่าเป็นไปได้อย่างไร จริงๆ ตามหลักการความต้องการที่เสนอมาทั้งหมดอยู่ที่คณะกรรมการของการบินไทย อยู่ๆ คุณจะซื้อเครื่องบิน คุณต้องมีความต้องการ

....เมื่อบอร์ด (การบินไทย) เสนอมาที่กระทรวงคมนาคม คนที่จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คือตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น คือ นายสุริยะ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่มีอำนาจเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเองได้ เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการฯ เท่านั้น อีกทั้งประเด็นการจัดซื้อเครื่องบินนี้ก็ทราบมาว่าทาง ป.ป.ช.ก็ได้ชี้มูลความผิดนายทนง พิทยะ ในฐานะประธานบอร์ดไปแล้วด้วย ซึ่งเอาจริงๆ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับผมเลย…” - นายพิเชษฐกล่าว

5. สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) พบว่า ในช่วงปี 2546-47 ครม.มีมติเห็นชอบโครงการจัดหาเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำนวน 2 ลอตใหญ่จัดซื้อในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร 

โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.

ลอตแรก เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2546 ครม.เห็นชอบโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2545/46-2549/50 ตามที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ บกท. และนายสุริยะเสนอ โดยให้บริษัทได้ยกเลิกการจัดหาเครื่องบินพิสัยกลาง 1 ลำ ตามโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2543/44-2547/48 และให้บริษัทจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติมจำนวน 15 ลำ รวมถึงแบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบ A340-600 จำนวน 5 ลำ 

สำหรับเครื่องบินแบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบ A340-600 จำนวน 5 ลำนั้น บกท. ทยอยรับมอบเครื่องบินแรกในเดือนมิ.ย.2548 และส่งมอบเครื่องสุดท้ายในเดือน ต.ค.2548 คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 41,609 ล้านบาท โดยมีราคาเครื่องละ 4,898-5,098 ล้านบาท

ลอตที่สอง เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 ครม.มีมติอนุมัติในหลักการให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49-2552/53 จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินแอร์บัส A340-500 จำนวน 1 ลำ และแบบ A340-600จำนวน 1 ลำ

โดยเสนอให้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49-2552/53 ของ บกท.จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท

โดยจะลงทุนในปี 2547-2548 จำนวน 7,818 ถ้านบาท

ระบุด้วยว่า การรับมอบเครื่องบินพิสัยไกพิเศษแบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เงินลงทุน 5,748ล้านบาท จะมีขึ้นในเดือนต.ค.2550 และการรับมอบเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ เงินลงทุน 6,179 ล้านบาท จะมีขึ้นในเดือนต.ค.2551

น่าสงสัยว่า ข้อเท็จจริงข้างต้น ป.ป.ช.นำไปพิจารณาอย่างไร ใครควรถูกแจ้งข้อกล่าวหา – ใครควรรอด?

การตัดสินใจอนุมัติจัดซื้อ จะเป็นการบกพร่องโดยสุจริต หรือทุจริตเชิงนโยบาย?

6. รายงานการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ระบุว่า

“ผู้บริหารบริษัทการบินไทย ไม่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเคร่งครัด จริงจัง โดยไม่ได้มีการพิจารณาในการนำความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง ไปประกอบการดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน”

7. ขอชื่นชมนายถาวร เสนเนียม อดีตรมช.คมนาคม ที่ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบฯ ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธานคณะทำงานฯ และดำเนินการตรวจสอบ ปรากฏเป็นรายงาน นำเสนอต่อนายกฯ เปิดเผยต่อสาธารณชน รวมถึงส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนเอาผิดผู้เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่

รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการของบริษัท และปัญหาการทุจริต บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดทำโดยคณะทำงานฯ ที่มี พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช เป็นประธานฯ ระบุว่า

จุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัท การบินไทย ประสบปัญหาขาดทุน มาจากการจัดซื้อเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษรุ่นแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำมูลค่าตามบัญชี ณ วันส่งมอบ 53,043.04 ล้านบาทซึ่งอยู่ภายใต้โครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจในช่วงปี 2546-2547

ระบุรายละเอียดว่า เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือน ก.ค. 2548 ถึง 7 ม.ค. 2556 ในเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก, กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิสและเส้นทางอื่นๆ รวม 51 เส้นทาง แต่ประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทางที่ทำการบินไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท

เฉพาะเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก และกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส ขาดทุนรวมเป็นเงินถึง 12,496.55 ล้านบาท

ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เป็นเครื่องบินแบบพิสัยไกลพิเศษ ใช้เครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานสูง แต่มีจำนวนที่นั่งน้อย

ขณะเดียวกัน เครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ดังกล่าว มีการใช้งานไม่คุ้มค่า โดยใช้งานได้เพียง 6-10 ปี ซึ่งต่ำกว่าอายุการใช้งานเครื่องบินโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ 20 ปี ปัจจุบันเครื่องบินดังกล่าวได้ปลดระวางแล้ว อยู่ระหว่างการจอดรอจำหน่าย ทำให้บริษัท การบินไทย ขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบินไม่ต่ำกว่า 22,943.97 ล้านบาท

คณะทำงานฯสรุปว่า เมื่อนำผลขาดทุนจากการจัดซื้อและการบริหารจัดการเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ มารวมกัน ทำให้บริษัท การบินไทย ประสบภาวะการขาดทุนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังพบว่าเครื่องยนต์อะไหล่ที่จัดซื้อสำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 คือ เครื่องยนต์อะไหล่รุ่น Trent-500 จำนวน 7 เครื่อง ซึ่งจัดซื้อในปี 2546 เป็นต้นมา และทยอยส่งมอบอะไหล่ตั้งแต่เดือนธ.ค.2557 ถึงเดือนธ.ค.2550 วงเงินรวม 3,523.17 ล้านบาท (อะไหล่เครื่องละ 503.31 ล้านบาท) แต่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้งานแต่อย่างใด

อีกทั้งเครื่องบินแอร์บัส A340-500 ทะเบียน 775/HS-TLD ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องที่ปลดระวางและจอดจำหน่าย พบปัญหาการละเลย ไม่รอบคอบ ไม่ใส่ใจของผู้ดูแลบำรุงรักษา ทำให้เครื่องยนต์ทั้ง 4 เครื่องยนต์เสียหาย และต้องให้บริษัท Rolls Royce ซ่อมแซม โดยมีค่าซ่อมรวม 20 ล้านเหรียญ หรือ 600 ล้านบาท

บริษัท การบินไทย มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสภาพเครื่องบินทั้ง 2 รุ่น เป็นเงินอีก 1,344.87 ล้านบาท

แบ่งเป็นการเข้าร่วมโครงการ Total Care Agreement (TCA) ของเครื่องยนต์ Trent-500 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2550 โดยมีระยะซ่อมบำรุงระหว่างปี 2548-2558 มูลค่า 1,129.60 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงระหว่างปี 2559-2560 (ณ เดือน ม.ค.2560) อีก 215.27 ล้านบาท

“ปัญหาสำคัญอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้การดูแลรักษาสภาพเครื่องบิน A340-500 และ A340-600 มีค่าใช้จ่ายสูง เกิดจากเจ้าหน้าที่ขาดความเคร่งครัดในการดูแลรักษาสภาพเครื่องบินตามคู่มือการซ่อมบำรุง และการบินไทยขาดการสอบทานและติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิดทำให้เครื่องบินไม่สามารถจำหน่าย/ขายให้ผู้ซื้อได้” รายงานผลการตรวจสอบฯ ระบุ

เท่ากับว่า การจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ การจัดหาอะไหล่ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ และลงทุนที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจไม่คุ้มค่า ตลอดจนข้อบกพร่องในการซ่อมบำรุงเครื่องบิน ทำให้บริษัท การบินไทย เสียหายไม่ต่ำกว่า 68,271.53 ล้านบาท

จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถติดตามได้ว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในครั้งนี้เป็นใครบ้าง

สันติสุข มะโรงศรี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:53 น. เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย
22:09 น. ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’
21:53 น. ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา
21:47 น. เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
21:09 น. 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
‘อุ๊งอิ๊งค์-ทวี สอดส่อง’ก็อาจไม่รอดคดี‘ป่วยทิพย์’
แพทย์ พึงรักษาศักดิ์ศรีและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์
คุกนรก (3)
รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้

‘กมธ.ป.ป.ช.’ ซ้ำดาบฮั้ว สว.! เรียก‘กกต.-ผู้ร้อง’ให้ข้อมูลอุดช่องโหว่-สาวขบวนการ

‘สหรัฐฯ-จีน’ถกคลี่คลายศึกกำแพงภาษี ‘ทรัมป์’เผยเป็นนิมิตหมายอันดี

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

  • Breaking News
  • เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย
  • ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’ ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’
  • ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย\'ตำรวจ\'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา
  • เช็คผลที่นี่!!! \'เลือกตั้งเทศบาล\'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
  • \'หมอวรงค์\'สอนมวย\'นพดล\' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง\'คนชั้น 14\' 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ไขปริศนา ทุนการศึกษา จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

ไขปริศนา ทุนการศึกษา จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

12 พ.ค. 2568

ฤาสวรรค์ล่มชั้น 14 ?  2 นายกฯ ลุ้นหนัก

ฤาสวรรค์ล่มชั้น 14 ? 2 นายกฯ ลุ้นหนัก

5 พ.ค. 2568

ยึดทรัพย์ก๊วนจำนำข้าว

ยึดทรัพย์ก๊วนจำนำข้าว

28 เม.ย. 2568

อย่าตัดตอนโยนขี้บริษัทจีน

อย่าตัดตอนโยนขี้บริษัทจีน

21 เม.ย. 2568

ดินพอกหาง กทม.  ต้นทุนของความล่าช้า ราคาของการละเว้น

ดินพอกหาง กทม. ต้นทุนของความล่าช้า ราคาของการละเว้น

14 เม.ย. 2568

เปิดฉากภาค 2  แชร์ลูกโซ่ ดิไอคอนกรุ๊ป

เปิดฉากภาค 2 แชร์ลูกโซ่ ดิไอคอนกรุ๊ป

7 เม.ย. 2568

ตึกถล่ม เพราะแผ่นดินไหว  หรือแทรกซ้อนปัญหาทุจริตโกงกิน?

ตึกถล่ม เพราะแผ่นดินไหว หรือแทรกซ้อนปัญหาทุจริตโกงกิน?

31 มี.ค. 2568

อภิปรายไม่ไว้วางใจ  นายกฯตระกูลชิน

อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯตระกูลชิน

24 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved