l การสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์ อย่างมีสติปัญญา ความจริง
โดยต้องอาศัย ความกล้าหาญ เสียสละ ของผู้นำที่กล้าริเริ่ม
เริ่มต้นจากการใช้ โอกาส “๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” เป็นใบบุกเบิก
นำเสนอความคิดของตน “ในแง่มุมใหม่” ที่ผ่านการสรุปบทเรียน “ที่ให้เกิดประโยชน์คุณค่าต่อสังคม”
l เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แนวความคิดและท่าทีของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
1. ฝ่ายที่เสียอำนาจ รัฐบาลจอมพลถนอม ประภาสฯ
(๑) การครองอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนาน โดยมิได้มีการปฏิรูประบบการเมืองและประเทศ
ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและการพัฒนาก้าวหน้าของประเทศ
ประชาชนฝ่ายต่างๆ ต้องการการเปลี่ยนแปลงและชีวิตที่ดีขึ้น
จึงออกมาร่วมกันต่อต้านและปฏิเสธรัฐบาลฯ
(๒) การพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีทางการทหารและการเมือง
ต่อฝ่ายพลเอกกฤษณ์-ประเสริฐ-ทวีและพลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
ทำให้กองทัพฝ่ายต่างๆ จึงหันมาร่วมมือกับฝ่ายพลเอกกฤษณ์
(๓) การยอมรับข้อเสนอ “เพื่อเห็นแก่ความสงบสันติของประชาชนและบ้านเมือง”
โดยการยอมเดินทางออกไปต่างประเทศ ระยะหนึ่ง เพื่อให้สถานการณ์สงบและดีขึ้น
จึงค่อยกลับมาฯ
เป็นการแสดงถึง “ความจงรักภักดีของกองทัพ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
และ ความเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมือง “ของฝ่ายจอมพลถนอม ประภาสฯ
(๔) การยอมรับข้อเสนอฯนี้ ตามข้อ (๓) เป็นเรื่องที่ผู้นำทุกฝ่ายฯควรจะต้องมีการศึกษาทำความเข้าใจ
ถึงฐานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดีฯต่อ กองทัพ และประชาชน
2.ฝ่ายที่ได้อำนาจ
ต้องพูดถึง บริบทในขอบเขตที่จำกัดของแต่ละฝ่าย
ทั้งในกรอบของสังคม และ ในส่วนของปัจเจกในแต่ละฝ่าย
(๑) นักศึกษา-ประชาชน
ทั้ง ๒ ส่วนนี้ มีความจำกัดในเรื่องของ “อำนาจ” และการใช้อำนาจของตน
เพราะ ไม่มีพลังที่เข้มแข็งแท้จริง ไม่มีการจัดตั้งเชิงความคิด ขาดความเป็นเอกภาพ และวินัย
มีลักษณะเชิงปัจเจกสูง
นักศึกษาที่มีพลัง คือ “ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย”(ศนท.) ที่เป็นองค์กรรวมที่เป็นทางการ
แต่ มีวาระอยู่ได้จำกัด
ศักยภาพอยู่ที่ ความเป็นผู้นำของ “เลขาธิการและกรรมการ ศนท.” ที่ต่างกัน
ศนท.มิใช่เป็นองค์กรทางความคิด ที่มีทฤษฎี มีแนวทาง ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนนำพา
ส่วน “กลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยต่างๆ” ที่มีความรู้ทางการเมืองหลากหลาย แต่ก็ขาดประสบการณ์
(๒) ฝ่ายกองทัพ สายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา และพวก
เป็นฝ่ายที่มีกำลังที่แท้จริง แต่ ไม่มีกรอบคิดทางทฤษฎีที่จะพัฒนาปฏิรูปสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง
หลักคิดที่สำคัญที่มี คือ ต้องการให้ “ฝ่ายถนอมประภาสฯ” ลงจากการเป็นผู้นำประเทศ
แต่ ไม่ต้องการ ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ เป็นนายกฯและจัดตั้งรัฐบาลเอง
จึงทำหน้าที่ในการปกป้อง “รัฐบาลสัญญาฯ”และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่
(๓) ฝ่ายที่ได้มีโอกาส จาก“ฟ้าประชาธิปไตยเล็กๆ”ที่เปิดออกมาสู่สังคม
จุดนี้ เป็นส่วนที่สำคัญที่จะได้รับผลประโยชน์ ทั้งของฝ่ายตนและบ้านเมือง
ขึ้นอยู่กับพลังของแต่ละฝ่ายที่มีในด้านต่างๆ ที่สำคัญในเรื่องของ
-หลักคิดอย่างเป็นระบบและมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีจังหวะก้าว ขั้นตอน
-กรอบคิดในการพัฒนาประเทศชาติและประชาชน
-การใช้เงื่อนไขที่ฟ้าประชาธิปไตยเปิด ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและพวกพ้อง
l (1) กลุ่มทุนธุรกิจ
เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะได้รับผลประโยชน์สูงจาก“ฟ้าประชาธิปไตย” เปิดออกมาหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
มีปัจจัยใหญ่ ๓ ประการ
(๑) ถูกปิดโอกาส จากระบบถนอม ประภาสฯ ที่เอื้อแต่กลุ่มทุนธุรกิจในสังกัด ที่อยู่ภายใต้ระบบเก่าฯ
(๒) มีความพร้อมและศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองและกลุ่มของตน ทั้งในระดับประเทศ และการก้าวไปสู่ต่างประเทศ
(๓) เป็นจังหวะของการพัฒนาเติบโตด้านเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค ที่เอื้อต่อการพัฒนาของกลุ่มทุนธุรกิจ
(2) นักวิชาการ
เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพพอควร แต่ส่วนใหญ่ติดกับดักความคิด
-“กรอบคิด ทฤษฎีของต่างประเทศ”
-กรอบคิดของระบบราชการครอบอยู่
-เน้นความคิดเชิงวิชาการในภาควิชาของตน
-ไม่ได้มีการรวมกลุ่มวิชาการที่จะนำเสนอ “ทฤษฎีในการแก้ไขวิกฤตและการพัฒนาประเทศ”ให้ไปสู่ความสำเร็จได้จริง
-ขาดความสัมพันธ์กับ การนำมาพัฒนาศักยภาพประชาชนและความเจริญของประเทศ
(3)สื่อ ฯ
ในช่วงต้นๆ สื่อที่มีอุดมคติ ยังคงมีอยู่
แต่ต่อมา “สื่อ” ได้พัฒนาไปเป็นทุน และทุนใหญ่ ทางด้านสื่อ
มีผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับ นักการเมือง ข้าราชการทหารตำรวจฯ นักธุรกิจ ที่มีอำนาจ
ซึ่งทำให้ “ขาดจรรยาบรรณของสื่อ” ที่เสนอข่าวสารเท็จมาก
สร้างความเสียหายต่อประชาชนและบ้านเมืองฯ
(4)พรรคการเมือง นักการเมือง
ในช่วงหลังจาก ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ยังมีนักการเมืองและพรรคการเมือง ๒ ส่วน
(๑) ส่วนที่มีอุดมคติ ก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ เช่น
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรคแนวร่วมสังคมนิยม และพรรคพลังใหม่ และพรรคประชาธิปัตย์ที่อยู่ในเกณฑ์ ฯลฯ
(๒) อีกส่วนหนึ่ง จัดตั้งโดย กลุ่มทุนระดับประเทศและท้องถิ่นและกลุ่มทุนใหญ่
ในช่วงต้น สามารถรักษาความเป็นนักการเมืองในกรอบประชาธิปไตย
แต่ในช่วงหลัง เมื่อนายทุนใหญ่เข้ามาเป็นเจ้าของพรรคเองได้สร้าง “พรรคระบบทุนสามานย์” ขึ้นมา
เช่น พรรคไทยรักไทย : ใช้ทุกอย่าง ทุกวิธี ในการเข้าสู่อำนาจรัฐ
เงินทุนมหาศาล สื่อ นักวิชาการ มวลชน หัวคะแนน ซื้อเสียง ซื้อสส. ซื้อพรรคการเมืองฯ
เมื่อได้เป็นรัฐบาล ใช้อำนาจ การโกงกิน การคอร์รัปชั่น
การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และกองทัพ ตำรวจข้าราชการฯ
ทำให้เกิดความเสื่อมทรุดของระบบการเมืองไทยแบบเลือกตั้ง
ที่ไม่สามารถได้มาซึ่งนักการเมืองที่ดีมีคุณธรรมได้
(5) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยฯ
มีสมาชิกบางส่วนของพรรคฯ ที่มีความคิดซ้ายจัด
รับแนวคิดสังคมนิยมรุนแรงต่างประเทศ เข้ามา
และไม่เข้าใจ การนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าต่อสังคมไทย
ทำให้เกิดผลเสียใหญ่ ๒ ประการ
หนึ่ง การทำงานที่ใช้กรอบความคิดรุนแรง ซึ่งถูกใจและได้ผลเร็วในบางกรณี
แต่เกิดผลเสีย ที่ทำให้ประชาชนเริ่มถอยห่าง ไม่ยอมรับและคัดค้านมากขึ้น
หลังช่วงปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา
สอง เป็นการสร้างเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้น ที่ฝ่ายขวาจัด ใช้ความรุนแรง ทำร้ายสังหารประชาชน นักการเมืองฯ
4.ประเทศมหาอำนาจ
ประเทศมหาอำนาจ มีความขัดแย้งกัน ในเชิงความคิดผลประโยชน์ และการช่วงชิงกันเป็นใหญ่
ในช่วงก่อน และหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงก่อนเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และหลังนั้น
โลก แบ่งเป็น ๒ ขั้ว คือ สหรัฐอเมริกา(ทุนนิยม) และ สหภาพโซเวียต (สังคมนิยม)
โดยที่ ประเทศจีน อยู่ฝ่ายเดียวกับโซเวียต (พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้การสนับสนุน พคท.)
แต่ต่อมา จีน กับ โซเวียต มีความขัดแย้งกันสูง
จีน จึงนำเสนอ “ทฤษฎี ๓ โลก” โดย โลกที่ ๑ และ ๒ คือ อเมริกา และ โซเวียต
ส่วนจีน อยู่ในโลกที่ ๓
ซึ่งทำให้ “จีน” มีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ กับ ประเทศโลกที่สาม รวมทั้งประเทศไทยด้วย
จีน จึงเพิ่มความสัมพันธ์ และเปิดความสัมพันธ์ กับ รัฐบาลไทย
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ลดการสนับสนุนลงอย่างมาก ต่อ พคท.
ทั้งหมดนี้ มีผลต่อ “การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย” ในเรื่องของ “ขบวนการนักศึกษาและประชาชน”
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี