วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / Change with คิด & ทำ
Change with คิด & ทำ

Change with คิด & ทำ

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
วันจันทร์ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
การสรุปบทเรียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ให้เกิดคุณค่าความหมาย ๑๓

ดูทั้งหมด

  •  

lการเรียนรู้และความเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย ควรใช้หลักการ หรือหลักคิดอะไร? หลักคิดหนึ่ง คือ “ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง” ตัวอย่างที่นำมาเสนอ เพื่อ เป็นการศึกษาเรียนรู้ ว่า ควรจะนำมาใช้อย่างไร ? และเราจะนำมาประยุกต์ใช้กับ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” อย่างไร

l“ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ในการปฏิวัติสยาม 2475” โดยอาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ พยายามเน้นการศึกษาไปที่ภาพการเคลื่อนไหวของสังคมการเมืองโดยรวมทั้งหมด นับตั้งแต่ชนชั้นสูง ผู้มีอำนาจทางการเมือง ระบบราชการ ปัญญาชน พ่อค้า ชนชั้นกลาง นักหนังสือพิมพ์ ไล่เลียงลงมาจนถึงระดับของราษฎรทั่วไปการนำเสนอการศึกษา “เหตุการณ์ 24 มิถุนา” โดยมีจุดมุ่งหมายและวิธีการศึกษาที่แน่ชัดคือการเผยให้เห็นว่าความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ที่ควบคุมความรับรู้เกี่ยวกับ “เหตุการณ์ 24 มิถุนา” นั้น มีอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร ส่วนการตีความ/ช่วงชิงความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คงจะเป็นหน้าที่ของผู้อ่าน


การมุ่งสำรวจหลักฐานอย่างกว้างขวางและการขยายกรอบคิดในการศึกษาที่ก้าวพ้นจากแนวทางการศึกษาแบบเดิม ทำให้งานศึกษาการปฏิวัติสยามชิ้นนี้สามารถค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ หลายอย่าง ซึ่งมีข้อเท็จจริงรองรับและถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปลดปล่อยความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์การปฏิวัติสยาม 2475 จากพันธนาการของความคิดความรู้และคำอธิบายดั้งเดิมที่ครอบงำสังคมไทยมายาวนาน

(ประเด็นที่สำคัญยิ่ง คือ “องค์ความรู้ใหม่นั้น” ต้องเป็นองค์ความรู้ ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยอย่างแท้จริง และเป็นการประยุกต์องค์ความรู้ที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากกรอบความคิดตะวันตก ให้สามารถใช้ได้จริงในสังคมไทย) : ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

อาจารย์นครินทร์เริ่มต้นเรื่องของ “ความรู้” โดยการนำเราไปสำรวจขอบเขตและความเป็นมาของความรู้เรื่องอดีตของการปฏิวัติสยาม 2475 ที่มีพัฒนาการสะสมอยู่แล้วในสังคมไทย เป็นการวางรากฐานให้กับผู้ที่สนใจในการเรียนรู้ว่ามีคำอธิบายแบบใดดำรงอยู่แล้วบ้าง และคำอธิบายดังกล่าวมีที่มาและพัฒนาการอย่างไร

l 1. เรื่องของ “ความรู้” โดยการนำเราไปสำรวจขอบเขตและความเป็นมาของความรู้เรื่องอดีตของการปฏิวัติสยาม 2475 ที่มีพัฒนาการสะสมอยู่แล้วในสังคมไทย เป็นการวางรากฐานให้กับผู้ที่สนใจในการเรียนรู้ว่ามีคำอธิบายแบบใดดำรงอยู่แล้วบ้าง และคำอธิบายดังกล่าวมีที่มาและพัฒนาการอย่างไร

การศึกษาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือด้านการรับรู้และด้านของโครงสร้างประวัติศาสตร์ในส่วนแรกจะสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนการรับรู้ในช่วงต่างๆ ซึ่งบางสิ่งสูญหายจากความทรงจำในปัจจุบันไปแล้วและบางสิ่งได้ถูกสร้างขึ้นใหม่-สำหรับในส่วนหลังจะแสดงให้เห็นว่ามีข้อสมมุติมากมายเกี่ยวกับการอธิบาย “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” “ศักดินา” “ประชาธิปไตย”และ “รัฐธรรมนูญ” ที่ต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ต่างกันในท้ายที่สุด

“ประชาธิปไตย” เป็นคำที่อาจจะมีปัญหามากที่สุดนับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ถึงแม้รัฐไทยจะได้ชื่อว่ามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ก็เป็น “ประชาธิปไตย” ที่เดินทางมาอย่างระหกระเหินเต็มที

สำรวจ “วาทกรรมการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยของไทย” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบวิธีคิดและการก่อตัวของวาทกรรมการเมือง 2 ชุดในกระบวนการทางประวัติศาสตร์สยาม/ไทย

๑.วาทกรรมชุดแรกเป็นของสาย “สำนักคิดประเพณี” ซึ่งกำเนิดขึ้นมาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยกลุ่มนักคิดสายราชวงศ์และขุนนางรุ่นแรก ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดตะวันตก นักคิดกลุ่มนี้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยไทยมีมาช้านานหรืออย่างน้อยก็มีแนวโน้มและมีการเตรียมการมายาวนานโดยองค์พระมหากษัตริย์และพิจารณาการเมืองไทยหลัง พ.ศ. 2475 ว่าเป็น “ยุคมืด” กระแสความคิดนี้จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้นำของระบบราชการและทหาร ซึ่งมีอำนาจสืบต่อมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน พ.ศ. 2490

๒.วาทกรรมอีกชุดหนึ่งคือ วาทกรรมของ “สำนักคิดตะวันตก” ซึ่งถือกำเนิดในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เช่นกัน นักคิดกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มนักเรียนนอกที่สนใจวิชากฎหมายและวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง นักคิดกลุ่มนี้จะพิจารณาการเมืองไทยก่อน พ.ศ. 2475 ว่าเป็นการปรับตัวของสถาบันการเมืองซึ่งมีลักษณะเฉพาะและไม่ได้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใด และเห็นว่าการเมืองไทยหลัง พ.ศ. 2475 เป็นยุคใหม่ ยุคแห่งความหวัง

การศึกษาในบทนี้จะเกี่ยวเนื่องกับการให้ “คำนิยาม” ในเรื่องของประชาธิปไตยและการยืนยันระบบความรู้ต่างๆ ที่ตามมาของทั้งสองสำนักคิด

l 2.ส่วนของ “ความคิด” ที่ส่งอิทธิพลต่อการเมืองไทยสมัยใหม่

“ความคิดฝรั่งเศส” ดูจะส่งอิทธิพลต่อกลุ่มผู้นำของคณะราษฎรอย่างเด่นชัดที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนกฎหมายฝรั่งเศสที่เรียกร้องให้มี “กษัตริย์ใต้กฎหมาย”หลักการแบ่งแยกอำนาจถูกนำมาปรับใช้ภายหลังการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ร่างรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยไว้ 4 ทาง คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมการราษฎร และศาล โดยมุ่งหวังให้มีการกำหนดสิทธิและอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนให้ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน และให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจสูงสุด

นอกจากนี้เขายังตั้งใจจะให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม โดยได้ร่าง “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ”ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ซึ่งสะท้อนว่าเขาได้รับอิทธิพลจากความคิดฝรั่งเศสอยู่ด้วยในหลายๆ เรื่อง นอกจากนี้นายปรีดี พนมยงค์ ยังเห็นว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนผ่านระบบการศึกษาด้วย จึงได้ตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 ถึงแม้ความคิดฝรั่งเศสจะมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ใช่ความคิดเดียวและยังต้องเคลื่อนไหวไปตามสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ โครงสร้างอำนาจ และระบบค่านิยมของไทยเอง

ในบทที่ 4 จะเป็นการศึกษาถึงพลังทางภูมิปัญญา ที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษ 2470 รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้คนในระดับต่างๆ ของสังคม การวิเคราะห์ในส่วนนี้จะตระหนักถึงคนจำนวนมากในสังคม ไม่เน้นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจารย์นครินทร์เห็นว่าจะให้ภาพสังคมที่มีความเคลื่อนไหวและใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า

และภาพที่ปรากฏก็คือ สังคมสยามมีการเปลี่ยนแปลงและมีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนหลายระดับ และนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อน พ.ศ. 2475) ที่สำคัญสองลักษณะคือ

๑.วิกฤตการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรม (การเสื่อมศรัทธาในราชวงศ์ มีการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ)

๒.วิกฤตการณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบอบการปกครอง (การที่ระบอบการปกครองมีข้อจำกัดไม่สามารถแก้ปัญหาตามความคาดหวังของผู้คนได้)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:02 น. ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ
13:01 น. แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ อุบัติเหตุรถตกสะพานM6 อาการสาหัส
13:01 น. 'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว
12:57 น. โฆษกเพื่อไทยปัดไม่เคยพูดป่วยวิกฤต แค่บอกว่าป่วยได้รับการผ่าตัด
12:56 น. (คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ อุบัติเหตุรถตกสะพานM6 อาการสาหัส

(คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว

'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ

ชาวคริสต์ทั่วโลกยินดี! เผยโฉมสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่14 โป๊ปชาวอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ

  • Breaking News
  • ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ
  • แห่ส่งกำลังใจ\'จ่าลอด\'นักแสดงไทบ้านฯ อุบัติเหตุรถตกสะพานM6 อาการสาหัส แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ อุบัติเหตุรถตกสะพานM6 อาการสาหัส
  • \'อ้วน รีเทิร์น\'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ \'หมอย้ง\'สยบข่าวรักร้าว 'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว
  • โฆษกเพื่อไทยปัดไม่เคยพูดป่วยวิกฤต แค่บอกว่าป่วยได้รับการผ่าตัด โฆษกเพื่อไทยปัดไม่เคยพูดป่วยวิกฤต แค่บอกว่าป่วยได้รับการผ่าตัด
  • (คลิป) \'ป๋าเสรี\' ฟันธง \'ทักษิณ\' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว (คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

คู่มือมนุษย์คนหนึ่ง : ก้าวผ่าน‘กายใจ สังคม ปัญญา’ ปีที่ 75

5 พ.ค. 2568

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

28 เม.ย. 2568

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

นิพพาน ทัศนะที่มีสาระ เส้นทางสู่สุขที่แท้จริงของชีวิตคนเรา

21 เม.ย. 2568

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

รำลึกวันปีใหม่สงกรานต์ไทย ปี ๒๕๖๘ คุณค่าความหมายในชีวิต ๗๖ ปี ของชายชราคนลำปาง

14 เม.ย. 2568

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

มารู้จัก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากมุมมองของ GEMINI GOOGLE

7 เม.ย. 2568

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเทศไทย ใครได้ใครเสีย ประชาชนและบ้านเมืองได้อะไร

31 มี.ค. 2568

การปราศรัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2568 สตรี เสมอภาค สร้างสรรค์

การปราศรัย ในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2568 สตรี เสมอภาค สร้างสรรค์

24 มี.ค. 2568

เข้าใจ ศาสนา ในแง่ของความเป็นมนุษย์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน มิใช่อนาคตที่ไม่รู้ 3

เข้าใจ ศาสนา ในแง่ของความเป็นมนุษย์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน มิใช่อนาคตที่ไม่รู้ 3

17 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved