วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
อัพเดทประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปบรรยายและนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมทางวิชาการ Cambridge Economic Crime ที่จัดติดต่อกันเป็นปีที่ 40 แล้ว งานนี้ถือเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งเลยที่เดียว มีผู้บริหารหน่วยงานรัฐ ผู้พิพากษานักกฎหมาย นักวิชาการจากทั่วโลกกว่า 600 คน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ และงานวิจัยกันตลอด 1 สัปดาห์เต็มๆ ท่ามกลางบรรยากาศวิชาการแบบขลังๆ ในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร

ไฮไลท์หนึ่งของงานนี้คือ นอกจากในช่วงระหว่างวันที่มีการนำเสนอความคิดและผลงานวิจัยต่างๆ แล้ว ช่วงเย็นทุกวันจะมีการจัด Formal Hall หรือ การรับประทานอาหารค่ำแบบเป็นทางการ ในห้องอาหารต่างๆในมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ละห้องมีอายุหลายร้อยปี บรรยากาศเหมือนกับในหนังเรื่อง Harry Potter เลยล่ะครับ โดยในแต่ละค่ำคืน ผู้จัดงานจะสลับที่นั่งของผู้เข้าร่วมไปเรื่อยๆ ให้ได้นั่งติดกับคนใหม่ๆ เพื่อให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในบรรยากาศแบบแปลกใหม่ ซึ่งทำให้ผมได้เพื่อนใหม่ที่น่าสนใจหลายคนจากหลายประเทศ เช่น อัยการจาก Isle of Man ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ อยู่ระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์ผู้บริหารองค์กรต้านคอร์รัปชันจากจาเมกา สส.จากสิงคโปร์ และนักกฎหมายจากอังกฤษ ซึ่งหลายคนมาร่วมงานนี้ตั้งแต่เมื่อ 20-30 ปีก่อน แล้วก็ยังกลับมาร่วมเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง แสดงว่างานนี้มันต้องมีอะไรแน่ๆ


กลับมาเรื่องเนื้อหางานประชุมนี้บ้างครับ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก และ แต่ละคนก็เป็นตัวจริงของแต่ละเรื่องทั้งนั้น งานเลยต้องจัดยาวถึง 7 วันต่อเนื่องกัน และแต่ละวันรายการก็แน่นมาก แบ่งออกเป็นห้องย่อยๆ หลายห้อง และมีห้องประชุมใหญ่ไว้สำหรับเป็นเวทีกลาง ช่วงวันแรกๆ ผมก็เดินเวียนไปเรื่อยๆ เลยครับ ฟังตั้งแต่เรื่องอาญชากรรมทางไซเบอร์ ที่ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย แต่มีทั่วโลก เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี่ก็สร้างความวุ่นวายให้ทั่วไปหมดเหมือนกัน แต่เวทีนี้ไม่ได้พูดแค่ภัยในปัจจุบัน แต่พูดถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจจะเป็นภัยในอนาคตได้ด้วย หลายๆ เรื่องก็โยงมาที่งานเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ผมกำลังร่วมพัฒนาอยู่ในไทย

อีกประเด็นที่น่าสนใจมาก คือ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติ ทำให้ได้เห็นว่าทุกวันนี้ คอร์รัปชัน ไม่ได้เป็นปัญหาที่จำกัดขอบเขตอยู่ภายในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไปแล้ว อาจเกิดจากนักธุรกิจจากชาติหนึ่ง ที่เข้ามาติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อหาผลประโยชน์ แล้วนำเงินที่ได้มาไปซื้อเป็นอสังหาริมทรัพย์เก็บไว้ที่อีกประเทศหนึ่ง กลายเป็นว่าคอร์รัปชันทีเดียว แต่เกี่ยวกับ 3 ประเทศเลย ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไหน มีอำนาจในการสืบสวน สอบสวน และตรวจยึดทรัพย์ที่เกิดจากอาชญากรรมครั้งนี้จึงเกิดขึ้น ทำให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านคอร์รัปชันจะทวีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อไป

ส่วนการบรรยายของผม เหมือนปีที่แล้วคือ เป็นการบรรยายปิดท้ายในวันสุดท้ายของงาน ซึ่งจัดที่เวทีกลางในห้องประชุมใหญ่ ในปีนี้ผมได้นำผลงานวิจัยที่ทำร่วมกับ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และ คุณธิปไตร แสละวงศ์ นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI เรื่องประสิทธิภาพที่แท้จริงของความโปร่งใสในการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยเราศึกษาผลกระทบจาก โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ
(Infrastructure Transparency: CoST) ว่า การเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐนั้นมีประโยชน์จริงหรือไม่

ขอเริ่มจากอธิบายก่อนว่า CoST คืออะไรอย่างสั้นๆ นะครับ หลักการของ CoST ก็คือ โครงการก่อสร้างภาครัฐไหนตกลงที่จะร่วมกับ CoST จะต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ เช่น ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบวงเงินงบประมาณ ผู้ชนะการประมูล เป็นต้น โดยผู้จัดทำเกณฑ์นี้ระบุว่า ถ้าข้อมูลเหล่านี้ถูกเปิดเผยอย่างครบถ้วนจะสามารถตรวจสอบความเสี่ยงการคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ เช่น ฮั้วประมูล หรือ ฟันราคา ได้แม่นยำขึ้นโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ผู้นำโครงการ CoST เข้ามาสู่ประเทศไทยในปี 2558 เคยนำเสนอในเวทีสาธารณะบ่อยๆ ว่าตลอด 8 ปีที่ผ่านมา CoST นั้น ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดงบประมาณไปได้แล้วกว่า 25,000 ล้านบาททีเดียว!

ผู้อ่านอาจจะสงสัย ว่า ACT คำนวณงบประมาณที่ประหยัดได้อย่างไร สรุปให้ง่ายๆ คือ เอาราคากลางที่หน่วยงานเจ้าของโครงการตั้งไว้ มาลบด้วยราคาจริงที่จัดจ้างผู้รับเหมา ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรีผู้เข้าร่วมประมูลก็จะพยายามเสนอราคาที่ต่ำที่สุดที่สามารถก่อสร้างได้จริงเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ แต่ก็จะไม่เสนอต่ำเกินไปจนไม่สามารถก่อสร้างได้จริง หรือที่เราเรียกว่า ฟันราคา เพราะข้อมูลเหล่านี้จะถูกเปิดสู่สาธารณะ หากผิดพลาดก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการประมูลงานกับหน่วยงานอื่นๆ ต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้น จึงมีสมมุติฐานว่า การเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างอย่างโปร่งใส จะทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณได้เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม

ทีมวิจัยเราเลยสนใจมากว่า เพียงแค่เปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้าง สามารถนำไปสู่การประหยัดงบประมาณได้มากขนาดนี้จริงหรือ หรือ มันเป็นผลมาจากปัจจัยอื่นด้วยหรือไม่ ถ้าเช่นนั้น ผลประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลแท้จริงแล้วมีมากหรือน้อยเพียงใด เราจึงใช้กระบวนการทางสถิติในการศึกษา เริ่มตั้งแต่การทำ Multiple Liner Regression แบบธรรมดา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงการก่อสร้างที่เข้าร่วม CoST กับโครงการอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมด้วย ผลปรากฏว่า โครงการที่เข้าร่วมเปิดข้อมูลตามเกณฑ์ CoST มีผลประหยัดงบประมาณได้จริงเฉลี่ยประมาณ 5.01% ของงบประมาณโครงการ หรือคิดเป็นประมาณ 9.6 ล้านบาทต่อโครงการเลยทีเดียว

ทีนี้ ทีมวิจัยยังเห็นว่าการคำนวณแค่นี้อาจมีความผันผวนจากการเปรียบเทียบโครงการข้ามปีงบประมาณ เพราะแต่ละปีก็จะมีปัจจัยต่างๆ มากระทบแตกต่างกัน ทั้งการเปลี่ยนผู้บริหารหน่วยงาน รายละเอียดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการเอง ดังนั้นเราจึงคำนวณต่อด้วยแบบจำลอง Fixed Effect Model ซึ่งเป็นการตัดความผันผวนตามช่วงเวลาออกไป ผลออกมาว่า ใกล้เคียงกันมาก แต่ละโครงการสามารถประหยัดงบประมาณได้โดยเฉลี่ย 5.09% เลยทีเดียว

ถึงขั้นนี้แล้ว ก็ยังไม่พอ เราพบว่าในการทำงานจริงของ CoST หน่วยงานมีการเลือกโครงการก่อสร้างที่ตัวเองดูแล เพื่อส่งให้คณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมบัญชีกลาง และ ACT พิจารณาให้เข้าสู่การเปิดข้อมูลในระบบ CoST ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีความลำเอียงในการเลือกโครงการที่น่าจะไม่มีคอร์รัปชันอยู่แล้ว เพื่อให้หน่วยงานดูดี หรือ เลือกโครงการที่สุ่มเสี่ยงคอร์รัปชันมากๆ เพื่อให้มีคนกลางช่วยตรวจสอบอีกที ซึ่งเรื่องความลำเอียงในการเลือก หรือ selection bias เป็นปัญหาสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ก็มีวิธีการหนึ่งทางสถิติที่เรียกว่า Propensity Score Matching ที่มีวิธีการคำนวณทางสถิติเพื่อเอาโครงการที่มีลักษณะคล้ายกันมากที่สุด เช่น งบประมาณใกล้เคียงกัน ประเภทเดียวกัน หน่วยงานรับผิดชอบเดียวกัน ฯลฯ แต่อันหนึ่งเปิดเผยข้อมูลตาม CoST อีกอันไม่ใช่ เอามาเปรียบเทียบกันหลายๆ คู่ แล้วเอามาหารค่าเฉลี่ย เพื่อเป็นการลดหรือตัดทอน selection bias ออกไป ผลปรากฏว่า CoST มีผลกระทบให้สามารถประหยัดงบประมาณได้อย่างมีนัยสำคัญอีกแล้ว แต่ตัวเลขก็ใกล้เคียงกับทั้ง 2 วิธีที่ทำก่อนหน้าด้วย เป็นการยืนยันผลของความโปร่งใสต่อการประหยัดงบประมาณโครงการได้อย่างชัดเจน

สุดท้ายเราพยายามสรุปกันว่า ทำไมความโปร่งใสมันนำไปสู่การประหยัดงบประมาณได้ ก็มีหลายสมมุติฐาน เช่น ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นเพราะคนรู้ข้อมูลมากขึ้น ทำให้หน่วยงานรัฐไม่กล้าคอร์รัปชันเพราะรู้ว่าประชาชนสามารถดูข้อมูลได้ทันที และที่เราเห็นด้วยกันอีกประการคือ มันสร้าง Digital footprint คือร่องรองทางดิจิทัล เพราะต่อให้โครงการนี้ไม่ถูกตรวจสอบได้ในวันนี้ แต่ข้อมูลนี้จะถูกเปิดเผยตลอดไป วันใดวันหนึ่งมีใครอยากขุดข้อมูลโครงการต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาก็สามารถทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย ทำให้ผู้รับผิดชอบต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินงานต่างๆ

นอกจากนี้ ตามที่ ACT เคยนำเสนอไว้ นอกจากการประหยัดงบประมาณโดยตรง CoST ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมอีกหลายประการ เช่น สำหรับภาครัฐ ลดช่องทางการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการที่สุจริตสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นการปกป้องไม่ให้มีการใช้อิทธิพลกับข้าราชการ สำหรับภาคธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในประเทศ เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุน เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม การทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐในราคาที่เหมาะสมคุ้มค่าทางการลงทุนและผลตอบแทน และสำหรับภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในระบบราชการ โครงการภาครัฐเหมาะสมกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ได้รับประโยชน์จากภาษีที่จ่ายไปอย่างเต็มที่ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

งานวิจัยนี้ ทีมวิจัยตั้งใจจะส่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Financial Crime ซึ่งเป็นวารสารที่เชื่อมโยงกับงานประชุมวิชาการนี้และจัดเป็นวารสารชั้นนำที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการในลำดับสูง หากได้รับการตอบรับตีพิมพ์แล้ว จะได้นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป

เมื่อผมนำเสนอจบแล้ว ประธานจัดงานได้เดินมาหารือเรื่องนี้ต่อกับผมด้วยความสนใจอย่างยิ่งต่อผลความสำเร็จของ CoST ในประเทศไทย และวิธีการศึกษาผลกระทบที่มีหลักการทางสถิติเช่นนี้ซึ่งมีความต่อเนื่องกับเนื้อหาที่ผมนำเสนอในปีที่แล้ว จึงเชิญให้ผมกลับมาบรรยายและนำเสนอผลงานวิจัยต่อเนื่องในปีหน้าล่วงหน้า 1 ปีเต็ม ทีนี้เลยว้าวุ่นว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรต่อไปครับ

 

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved