l เรื่องราวที่มีคุณค่าความหมาย และมีประโยชน์ต่อส่วนรวมในการสรุปบทเรียนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ การแสวงหาความจริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย เป็นเรื่องยากยิ่ง
l เรามาศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจร่วมกัน ในเรื่องและประเด็น ที่มีสาระ คือ
1. เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นกระบวนการของการต่อสู้ ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
คนส่วนหนึ่ง มองเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ยิ่งใหญ่ และชื่นชมผู้นำทุกฝ่าย โดยเฉพาะนักศึกษาเป็นวีรชน
เพราะเข้าใจว่า “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” เกิดจากเจตนารมณ์ยิ่งใหญ่ของผู้นำในการเคลื่อนไหว
ในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจากผู้นำรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ
ความเป็นจริงของเหตุการณ์สุดท้ายที่เกิดขึ้น มิได้เป็นเป้าหมายเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นกระบวนการของการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชน คือ
๑. จุดเริ่มต้น
๒. ท่ามกลางการต่อสู้
๓. การต่อสู้สุดท้าย
l ๑. จุดเริ่มต้น
กลุ่มผู้นำนักศึกษาประชาชนที่เริ่มต้นนำในการเคลื่อนไหวครั้งแรก คือ “กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ”
ที่มีการรวมตัวกันของ “ผู้นำนักศึกษาและประชาชนวงการต่างๆ”
ที่ต้องการให้รัฐบาล “คืนรัฐธรรมนูญ” ให้กับประชาชน ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
หลังจากการรัฐประหารตัวเองของ “จอมพลถนอมและคณะ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔”
l เรื่องที่สำคัญคือ
(๑) การลงชื่อ ๑๐๐ คนแรก ที่มีผู้ที่มีบทบาทชื่อเสียง และปรารถนาให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
(๒) การเคลื่อนไหวในหลายรูปแบบ เช่น เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ และการเชิญชวนคนมาร่วมมือฯ
(๓) เตรียมการจัด การอบรมเรื่องรัฐธรรมนูญ ให้ความรู้และเป็นการประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหว
(๔) การแถลงข่าวของกลุ่มผู้นำ ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสาฯเย็นวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๕) เริ่มต้นเคลื่อนไหว แจกใบปลิวให้คนมาร่วมฯ เริ่มต้นที่ตลาดนัดสนามหลวง เช้าวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๖
(๖) รัฐบาล สั่งจับ “๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ตั้งข้อหาหนัก แล้วจับไปเข้าคุกที่ บางเขน
l ๒. ท่ามกลางการต่อสู้
เจตนารมณ์ของฝ่ายประชาชน มี ๒ ช่วง ๒ ระดับ
l ช่วงแรก เมื่อรัฐบาลใช้อำนาจไม่เป็นธรรม จับกุม ผู้นำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
(๑) เรียกร้องให้ปล่อย “๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่ถูกรัฐบาลจับ และตั้งข้อหาที่รุนแรง ไม่เป็นธรรม
(๒) ให้มีการคืนอำนาจประชาธิปไตยให้กับประชาชน คือ ให้มีรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
(๓) การชุมนุมใหญ่ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.ร่วมมือกับ “กลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยต่างๆ” ที่มีบทบาทสูง
รวมทั้งมีการสนับสนุนจากประชาชนหลากหลาย สื่อฯ และฝ่ายที่มีพลังซึ่งขัดแย้งกับรัฐบาล
ก่อให้เกิดพลังประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทยครั้งหนึ่ง
(๔) รัฐบาล ได้ตระหนักถึง “พลังการเคลื่อนไหวครั้งนี้” จึงได้พยายามผ่อนเบา
โดยการให้มี “บุคคลหนึ่ง พลโทสนั่น ผิวนวล “ไปยื่นประกัน” ๑๓ กบฏ” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๕) การยื่นคำขาดของ ศนท. ให้รัฐบาลปล่อยตัว “๑๓ กบฏ” อย่างไม่เงื่อนไข มิฉะนั้นจะเดินชุมนุมใหญ่ฯ
(๖) มีการเดินขบวนใหญ่ ไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้าฯ และต่อไปที่หน้าสวนจิตรฯ
(๗) มีการเจรจาได้ข้อตกลงของฝ่ายนักศึกษา และรัฐบาล และ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร ฯลฯ
จึงมีการสลายชุมนุม นักศึกษาประชาชนฯ ต่างแยกย้ายกันกลับ
(๘) มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายนายทหารอีกปีกหนึ่ง ทั้งภายในสวนจิตรและภายนอก
(ต่อมามีการเปิดตัวฯหลังจากเหตุการณ์จบลง คือพลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์)
(๙) เกิดเหตุการณ์ที่หน้าสวนจิตรฯ เช้ามืดของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
มีการยิงแก๊สน้ำตา และทุบตีประชาชน หนีเข้าไปในสวนจิตรฯหลายพันคน
l ช่วงที่สอง : เมื่อมีการปราบปราบประชาชน จากฝ่ายรัฐบาล และจากฝ่ายที่ไม่ปรากฏ
(๑) เรียกร้องให้รัฐบาลถนอมประภาสฯ ลาออก
(๒) มีนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่ มาดำเนินการให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชน
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ซับซ้อน และยังไม่มีการเปิดเผยความจริงทั้งหมดต่อประชาชน
รัฐบาลถนอม ประภาส ณรงค์ ยอมลาออกเดินทางไปต่างประเทศ
และมีรัฐบาลอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ มาดำเนินการบริหารประเทศ ในแนวทางประชาธิปไตย
เจตนารมณ์ของ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
จึงถูกยกระดับและพัฒนาไปตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
คือ เหตุการณ์ที่ขบวนการนักศึกษาประชาชนร่วมใจกันลุกขึ้นมา ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการของผู้ปกครองประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน
นี่เป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
การยกระดับการต่อสู้ ให้สู่เป้าหมาย ตามความเป็นขริงของสถานการณ์
เป็นประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งครั้งหนึ่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยประเทศไทย
คือ เป็นการเปิดฟ้าประชาธิปไตยครั้งสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทย
ให้คนไทยหลากหลายทุกฝ่ายในสังคมไทย ได้มีโอกาสใช้สิทธิเสรีภาพ และศักยภาพของตน
ในการสร้างผลงาน ความก้าวหน้าในงานของตน ให้พัฒนาเติบโตขึ้นในสังคม
l 2. มุมมอง ทัศนะของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในฐานะปัจเจกและภาพรวม
๑. มุมมองของผู้นำที่เป็นปัจเจกชน ที่นำเสนอเรื่องราวในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ แล้วได้นำเสนอต่อ สาธารณะ
เป็นเรื่องที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ ต่อการรับรู้ของผู้คน ในส่วนหนึ่ง
และบางคนไปยึดติดว่า “เรื่องราวเป็นจริงเช่นนั้น”
ทั้งๆ ที่ เป็นการนำเสนอ “ภาพและมุมมองในส่วนเฉพาะของตน”
มิใช่เป็นภาพรวมทั้งหมดของเหตุการณ์
๒. ข้ออ่อนใหญ่ของงานวิชาการของสังคมไทย คือ ขาดการมาร่วมมือกันประชุมหารือ
และสรุปบทเรียนของทุกฝ่าย เพื่อสรุปหาความเป็นจริงของเหตุการณ์นั้นๆ
รวมทั้งฝ่ายรัฐบาล และมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ก็ไม่ให้ความสนใจ หรือให้ความร่วมมือฯ
เพราะ ไม่เข้าใจ ถึงคุณค่าความหมายและประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่
ในการนำเสนอแนวทางทางออกที่สามารถก้าวไปถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชนได้
๓. การเขียนบันทึกและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ มักจะเอนเอียงไปด้านหนึ่งด้านใด
ขึ้นอยู่กับความมีจรรยาบรรณของนักข่าวและสื่อมวลชน
รวมทั้งทัศนคติของผู้บันทึกและสื่อ ที่มีแนวคิดความเชื่อไปด้านหนึ่งด้านใด
๔. การเผยความจริงของเหตุการณ์นั้นๆ มีฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ และได้ประโยชน์จากความจริง
เพราะ “เหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ มีฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
และมีความคิดมุมมองที่ต่างกัน ทั้งในฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายประชาชน
ซึ่งบางส่วนอาจจะตรงและบางส่วนอาจจะไม่ตรงจาก คำบอกเล่า และฝ่ายต่างๆ ที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ
๕. การจัดงานรำลึกขององค์กรที่เกี่ยวข้อง มักจะจัดการไปตามรูปแบบเดิมๆ
ไม่ได้เน้น เพื่อการแสวงหาความเป็นจริงของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ
เพราะเป็นงานที่ยากยิ่ง ในการแสวงหาความเป็นจริง และต้องใช้เวลายาวนาน
l เรื่องสำคัญ ในการเสนอความคิดเห็นของนักวิชาการและสื่อฯ ในวาระ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖มี ๓ แบบ
๑. การเสนอไปตามรูปแบบเก่าๆ แบบที่เคยเสนอมาซ้ำเดิมๆ
ที่มีข้อดี คือ ให้ภาพของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ตามความเข้าใจของตน
ส่วนข้ออ่อน คือ ทำให้คนรุ่นปัจจุบัน ไม่ได้ให้คุณค่าและความสำคัญของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ตามความจริง
ซึ่งเสนอโดยผู้นำส่วนใหญ่ในเหตุการณ์
๒. การเสนอโดยใช้กรอบคิดตะวันตก
มีแง่มุมบางเรื่องที่น่าสนใจ
แต่ข้ออ่อนใหญ่ คือ มีข้อจำกัด และความผิดพลาดในการเข้าใจเหตุการณ์ที่เป็นจริง
๓. การนำเสนอที่ใช้การแสวงหาข้อมูลจากความเป็นจริงของเหตุการณ์
เริ่มมีมากขึ้น และกระตุ้นให้นักอุดมคติ นำไปคิดและดำเนินการต่อ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี