วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี

ดูทั้งหมด

  •  

ตอนนี้คงทราบแล้วว่า...ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับหรือไม่รับ กรณี 40 สว. ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทูลเกล้า ฯ เสนอชื่อ ว่าจะต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่ชั่วคราวหรือไม่ แม้นายพิชิตจะได้...แสดงสปิริต... (คำพูดของนายเศรษฐาเอง) ด้วยการลาออก ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีผลเกี่ยวข้องกับตัวนายกรัฐมนตรีอยู่

ดังนั้น คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับ ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี ก็คือ.....นายเศรษฐาจะแสดงสปิริตอะไรบ้าง... ในฐานะผู้ทูลเกล้าฯเสนอชื่อนายพิชิต ทนายความผู้มีประวัติด่างพร้อยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ว่าจะมีปัญหา เพราะเคยมีการโยนหินถามชื่อนายพิชิตมาครั้งหนึ่งแล้ว ช่วงตั้งรัฐบาลเศรษฐา 1 เมื่อปีที่แล้ว แต่ได้รับเสียง “ยี้” ขึ้นทันทีจากทุกสารทิศ ทำให้นายเศรษฐาต้องถอนชื่อนี้ออกไป (ชั่วคราวก่อน)


ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี อันมาจากภาษาละตินว่า “primus inter pares”หรือ “นายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนที่หนึ่งในจำนวนพวกที่เท่ากัน”

ในประวัติศาสตร์โรมัน คำกล่าวนี้มีมานานแล้วมีที่มาจาก จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) ซึ่งเป็นเหลนของ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ที่ขนานนามตัวเองว่าเป็น princeps หรือ หัวหน้า (principal) อันหมายถึงหัวหน้าของ civitatis หรือ พลเมือง (civil) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “เป็นคนอันดับหนึ่งในหมู่ประชาชนด้วยกัน”

ขณะที่ รัฐบาลอังกฤษจะมีคำกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็น primus inter pares หรือ เป็นคนอันดับแรกในหมู่คนที่เสมอกัน (pares หรือ par) ดังนั้น นายกรัฐมนตรีก็คือ primus inter pares ในหมู่รัฐมนตรีในคณะเดียวกัน เป็น “แนวหน้า” หรือ “ที่หนึ่ง”ในคณะรัฐมนตรี

ส่วน ฝรั่งเศส ก็เอาคำนี้ไปใช้กับเขาด้วยเหมือนกัน คือ le primus inter pares คือ ประธานาธิบดีนั้นมีฐานะเป็นคน(ที่)หนึ่งในหมู่ผู้เสมอกัน

แต่การจะเป็น “แนวหน้า” หรือ “ที่หนึ่ง” นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติอื่นๆ อีกหลายข้อของนายกรัฐมนตรีที่ดีด้วย คุณสมบัติพื้นฐานข้อหนึ่งก็คือ ต้องรู้จักวินิจฉัยตัวบุคคล จัดบุคคลที่จะมาเป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีของการทูลเกล้าฯ เสนอชื่อนายพิชิต (หรือที่รู้จักกัน
อีกชื่อหนึ่งว่า “ทนายถุงขนมสองล้านบาท” ในวงการกินสินบาท คาดสินบน) เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีนั้น ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีไทยได้มากน้อยเพียงไร

อย่างไรก็ตาม เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือนายเศรษฐา ที่เป็น primus inter pares ยังมี ultra primus inter pares หรือบุคคลที่อยู่ในฐานะที่เหนือกว่า/เกินกว่า (ultra) คนที่เป็น “แนวหน้า” หรือ “ที่หนึ่ง” ในคณะรัฐมนตรี อันมีทั้ง นายใหญ่ นายหญิงและนายหญิงน้อย ที่เป็นผู้นำของนายเศรษฐาโดยพฤตินัย (de facto leaders)

และเวลาพูดถึงเรื่องผู้นำทางการเมือง ผมมักจะนึกถึงหนังสือเรื่อง King of the Mountain : The Nature of Political Leadership ของ Arnold M. Ludwig ศาสตราจารย์ด้านจิตแพทย์ จากBrown University อันเป็นงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องผู้นำทางการเมือง ที่เขาได้ใช้เวลาถึง 18 ปีในการรวบรวมข้อมูลของผู้นำ 1,941 คน จาก 199 ประเทศ ในช่วงเวลาตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1900 (พ.ศ. ๒๔๔๓ หรือประมาณช่วงปลายรัชการที่ ๕) จนถึง วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (พ.ศ. ๒๕๔๓)

กว่าจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ Ludwig ต้องศึกษาประวัติชีวิต บุคลิกส่วนตัว ประวัติการทำงานของผู้นำทางการเมืองคนสำคัญๆ รวม 377 คน ที่มีผู้รวบรวมเอาไว้นอกจากนี้ยังต้องใช้ข้อมูลจาก Encyclopedia Britannica และ Encyclopedia Americana รวมไปถึงวิทยานิพนธ์ หนังสือสนธิสัญญาบันทึกทางการเมืองต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชิ้น

ดังนั้น King of the Mountain: The Nature of Political Leadership เล่มนี้ของ Ludwig จึงเต็มไปด้วยเรื่องราว ข้อเท็จจริงต่างๆ อันน่าสนใจของผู้นำทางการเมือง 1,941 คน จาก 199 ประเทศ ในรอบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งแปลกประหลาด น่าตื่นเต้นไปจนถึงน่าสมเพช ตัวอย่างเช่น

เคิร์ท ฟอน ชูสนิกส์ (Kurt Von Schuschnigg) อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรีย ในช่วงปี ค.ศ. 1934-1938 ผู้นำที่ไม่สามารถปกป้องออสเตรียจากการรุกรานของเยอรมันได้และภายหลังเขาได้ถูกฮิตเลอร์พูดจาลบหลู่ หยามเกียรติอย่างรุนแรง ต่อมา ชูสนิกส์ก็มีอาการวิตกจริต เครียดอย่างหนัก สูบบุหรี่วันละสามซอง นอนไม่หลับ พูดจาไม่รู้เรื่อง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษสองสมัย คือ ในช่วงปี ค.ศ. 1964-1970 และ 1974-1976 ผู้นำที่มีรสนิยมชอบดื่มบรั่นดีและมักจะนั่งดื่มอยู่คนเดียวในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยในช่วงเวลาท้ายๆ ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา
วิลสันมีอาการขาดความคิดริเริ่ม มีปัญหาเรื่องความทรงจำ โดยเขาใช้วิธีปกปิดเรื่องนี้ด้วยการโกหก ยกเมฆ กุเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาปิดปัง

เมนาเคม เบกิน (Menachem Begin) อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในช่วงปี ค.ศ.1977-1983 ผู้นำที่มีอาการภาวะตกต่ำทางด้านจิตใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆอย่างไรก็ตาม เมื่อหายจากอาการดังกล่าว เบกินก็จะกลายเป็นคนกร่าง ขี้คุยโม้โอ้อวด พูดจาปราศจากวิจารณญาณที่ดี

พอล พต (Pol Pot) อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและผู้นำเขมรแดง ในช่วงปี ค.ศ. 1976-1979 มีอาการหวาดระแวงผู้อื่นตลอดเวลา คล้ายๆ กับอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของสหรัฐ แต่ในกรณีของพอล พต นั้น หนักกว่า คอยระแวงว่าจะถูกทรยศหักหลัง ต้องเปลี่ยนที่พักอยู่บ่อยๆ เวลาที่ปวดท้องก็คิดว่าคนครัวของเขาพยายามวางยาพิษตัวเขา หรือ เมื่อเวลาใดไฟฟ้าที่บ้านดับ พอล พตก็จะสั่งฆ่าคนที่ดูแลเรื่องนั้นทันที

ครับ ถ้ามีการต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็น่าสนใจว่าผลการศึกษาเรื่องความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีไทยจะออกมาเช่นไร

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

  • Breaking News
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved