ไม่ใช่เป็นความเข้าใจผิดกับปรากฏการณ์ทางการเมืองการปกครองของไทยที่ถูกบัญญัติว่า เป็น “อภิวัฒน์สยาม”...“อภิวัฒน์ที่ แปลว่า ความเจริญ”
ความเจริญที่กล่าวได้ว่า เป็นการก่อกำเนิดก่อร่างสร้างรูปของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย รวมถึงระบอบการเมืองปกครองแบบใหม่ที่กำหนดขึ้นไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกนี้ด้วย
“นี่คือปฐมบทแห่ง “ชีวิตรัฐแบบใหม่”ในระบอบการเมืองที่อุบัติขึ้นโดยผลของธรรมนูญการปกครอง(ชั่วคราว)จนกลายเป็นบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ฤๅปรากฏการณ์ว่านี่เป็นแค่มายาคติ 4 ประการในสังคมไทยเท่านั้น นั่นคือ เป็นการชิงสุกก่อนห่าม, เป็นการปฏิวัติของนักเรียนนอกจำนวนน้อย, เป็นการกระหายอำนาจและยึดอำนาจไว้กับกลุ่มคณะราษฎรเพียงลำพังทั้งฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ สุดท้าย เป็นเพียงการรัฐประหาร ไม่ใช่การปฏิวัติที่แท้จริง
จะอย่างไรก็ตามทีจากวันนั้นมาถึงวันนี้ผ่าน 92 ปี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ยังหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามความประสงค์ของกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งที่พยายามสร้างกติกาในห้วงเวลาที่ฝ่ายตนเองมีอำนาจชิงความได้เปรียบโดยหาได้ยึดติดผลประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างได้ยกเว้นเวลาขย้อนสำรอกสำรากกับประชาชนสาธารณชนเท่านั้น
ทว่าสิ่งที่น่าสนใจในอภิวัฒน์สยามนั้นคือ ความคิดเห็นของ “หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม–ปรีดี พนมยงค์” หนึ่งในยอดพีระมิดคณะราษฎร ที่ถูกบันทึกไว้ว่า “...‘สวะสังคม’ (SocialScum) คือ เศษโสมม (Rottenmass) ซึ่งสังคมเก่าได้โยนทิ้งไป แต่ตกค้างอยู่ในสังคมใหม่ นักทฤษฎีสังคมฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายมีทรรศนะตรงกันที่ถือว่า “สวะสังคม” เป็นวรรณะอันตราย(Dangerous Class) ต่างฝ่ายจึงต่างไม่คบเข้าร่วมในขบวนการ เพราะ “สวะสังคม” นั้นเห็นแก่ตัว (Egoist) เป็นสำคัญ ซึ่งแสดงด้วยอาการอวดดี (self conceit) ยกตนเองว่าวิเศษกว่าคนอื่น”
“สิ่งตกค้างของระบบเก่าชนิดนี้ มีทรรศนะที่ผิดจากกฎธรรมชาติและกฎแห่งอนิจจัง ดึงสังคมให้ถอยหลังเข้าคลองยิ่งกว่าพวกถอยหลังเข้าคลองที่จำต้องเป็นไปตามสภาวะของเขา แต่อย่างไรก็ตาม การดึงให้สังคมถอยหลังก็เป็นไปเพียงชั่วคราว เพราะในที่สุดกฎแห่งอนิจจังต้องประจักษ์ขึ้น…”
แน่นอนอย่างที่กล่าวในประวัติศาสตร์ นาทีพลิกแผ่นดินสยามเกิดขึ้นในเช้าวันที่ 24 มิ.ย.2475 ที่คณะราษฎรเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยรัฐบาลที่พระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองโดยรัฐบาลที่องค์ พระมหากษัตริย์ดำรงสถานะภายใต้ “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน หรือรัฐธรรมนูญ
วันนี้ 27 มิถุนายน เป็นวันซึ่ง “ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 7 ... พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 พร้อมทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว”
จึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทของอภิวัฒน์สยาม ที่ต่อเนื่องจากวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
“ประเทศนี้เป็นของราษฎร ... ถ้อยคำจารึกบนหมุดคณะราษฎร” ที่ระลึกถึงจุดอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับแรก โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าฯ ลานพระราชวังดุสิต
การอภิวัฒน์ที่นักการเมืองเสียชาติเกิด,นักเลือกตั้งชังชาติ, นักการเมืองแย่ๆ, นักการเมืองหิวแสง เอามาหากินเพื่อตนเอง ครอบครัวและพวกพ้อง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี