วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

ดูทั้งหมด

  •  

ครม. อุ๊งอิ๊งค์อนุมัติ G-Token ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

นั่นคือ อนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token : G-Token)


อ้างว่า ทำตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์อ่านไอแพดตอบว่า จะเป็นเครื่องมือการระดมทุนรูปแบบใหม่ของกระทรวงการคลัง นำเทคโนโลยีการเงินมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชนมากขึ้น และยังช่วยเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต

น่าสงสัยว่า จะเป็นไปตามที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์พยายามวาดฝันสวยหรู จริงหรือไม่?

1. G-Token คือ การกู้เงินจากประชาชน

นายพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แถลงยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. .... เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token : G-Token)

“จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือการระดมทุนรูปแบบใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างที่ประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ กำลังจะดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน

...กระทรวงการคลัง โดย สบน. ได้กำหนดคุณลักษณะของ G-Token ให้เป็นแหล่งลงทุนศักยภาพสูงให้กับประชาชน

กล่าวคือ มีความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งการกำหนดอัตราผลตอบแทนล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจน ภายใต้การกำกับดูแลตามกฎหมายและประกาศของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อขายในตลาดรอง (Secondary Market) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารจัดการทางการเงินและสภาพคล่องเป็นการเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น

สบน. จะได้กำหนดแผนการเสนอขาย G-Token ให้กับประชาชนครั้งแรกภายในปีงบประมาณ 2568 โดยเป็นการกู้เงินภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 ปรับปรุงครั้งที่ 1

ผลตอบแทนของ G-Token จะเบิกจ่ายจากงบชำระหนี้ในกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะเช่นเดียวกับเครื่องมือระดมทุนอื่นๆ ของ สบน.

ทั้งนี้ สบน. มีแผนที่จะเสนอขาย G-Token อย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกในการลงทุนได้อย่างมั่นใจและมีความต่อเนื่อง....”

2. คำอธิบายของคุณพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ชัดเจนว่า การออก G-Token ก็คือการกู้เงินจากประชาชนนั่นเอง

คล้ายๆ กับการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนของ สบน.

รายงานเพิ่มเติมระบุว่า การออก G-Token รอบแรก คาดว่า จะออกในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการระดมเงินภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 และเป็นไปตามกรอบวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ สบน. วางแผนไว้ว่าในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท

ถ้าแบบนี้ การออก G-Token ในรอบแรกนี้ จะไม่เพิ่ม หรือไม่กระทบต่อ“หนี้สาธารณะ”

และไม่ใช่การระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการดิจิทัล วอลเล็ต โดยเฉพาะ

3. การออก G-Token ชอบด้วยกฎหมาย จริงหรือไม่?

ความภูมิใจที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกก็ดี

การพยายามชูว่าเพิ่มช่องทางลงทุนให้ประชาชนก็ดี

ยิ่งทำให้สงสัยว่า พยายามโฆษณาชวนเชื่อเฉพาะด้าน หรือไม่?

การออก G-Token ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่? มีความเสี่ยง มีช่องโหว่อะไร หรือไม่?

ปัจจุบัน รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรขายผ่านแอปเป๋าตังได้ด้วยซ้ำ ทำไมยังต้องพยายามเพิ่มช่องทางก่อหนี้เพิ่มมาอีก?

ธปท. ได้กำกับดูแลเรื่องนี้หรือไม่ เพราะนี่อาจกระทบกับสภาพคล่องในระบบการเงินของประเทศ?

สบน. ชี้แจงว่า “มติ ครม. วันนี้ เป็นการเปิดทางให้กระทรวงการคลังออกG-Token ตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้ จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ”

ปัจจุบัน การกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้

นอกจากนี้ สบน.ยืนยันว่าธปท.ไม่ได้ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ G-Token นี้

พูดง่ายๆ ว่า ธปท.ไม่ได้เข้ามากับกำกับดูแลเรื่องนี้ !!!

4. ธปท.ย้ำเตือน อย่านำมาใช้เป็นเครื่องมือในการชำระเงิน

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (G-Token)

ระบุว่า G-Token เป็นลักษณะการระดมทุนคล้ายการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นบทบาทในการระดมทุนของภาครัฐบาล ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเรื่องระบบที่ดี ต้องมีความปลอดภัย มีกฎหมายรองรับ และคุ้มครองประชาชน ให้เทียบเคียงกับพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งธปท.อยากเห็นจะเป็นลักษณะนั้น

การออก G-Token ควรให้ความสำคัญในแง่ของระบบ กระบวนการที่ดี เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจ เพราะหากเกิดความไม่มั่นใจอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในพันธบัตรรัฐบาลได้

นอกจากนี้ กฎหมายต้องมีการรองรับให้เทียบเคียงกับการออกพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน

“ลักษณะ G-Token การใช้คงเป็นเครื่องมือคล้ายกับพันธบัตรรัฐบาล คือการระดมทุนเป็นสำคัญ

ธปท. ไม่อยากเห็นในแง่ของการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการชำระเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท.ให้ความสำคัญ” -ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงินกล่าว

พูดง่ายๆ คือ ธปท.กำลังเตือนว่า อย่าให้มีการนำมาใช้แทนเงินตรา ซึ่งถ้าแบบนั้น อาจผิดกฎหมาย

น่าสังเกตว่า แนวทางที่รัฐบาลจะทำ จะให้สามารถซื้อขายในตลาดรอง (Secondary Market) ได้ด้วย

ตรงนี้ จะทำให้มีการบิดเบือนวัตถุประสงค์ กลายไปเป็นเหมือนตราสารทุนอื่นๆ หรือไม่? เพียงใด? และจะผิดกฎหมายหรือไม่?

5. ไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย และรัฐบาลไม่ควรมีหน้าที่ไปออกโทเคน?

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ระบุว่า

แม้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ มาตรา 10 วรรคหนึ่งเปิดให้ใช้วิธีการอื่นใดก็ได้ตามที่ ครม.อนุมัติ แต่ถ้าอ่านตามเนื้อความที่บัญญัติไว้ย่อมจะต้องหมายถึงหลักฐานแห่งหนี้ในทำนองเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้ อย่างไรก็ดีนิยามโทเคนดิจิทัลในกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น ไม่น่าจะเข้าข่ายเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามข้อบัญญัตินี้

นายธีระชัย กล่าวว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล G-Token จะไม่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลดังที่รัฐบาลโฆษณาชวนเชื่อ เพราะในปัจจุบันมีช่องทางที่นักลงทุนรายย่อยจะเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลได้อยู่แล้วด้วยกลไกผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล

ดังนั้น จึงต้องชี้แจงก่อนว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบ G-Token จะเพิ่มความสะดวกแก่นักลงทุนอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องการขายคืน ซึ่งราคาในกองทุนรวมจะเป็นไปตามกติกา โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำกับดูแล แต่กรณี G-Token ผู้ลงทุนจะต้องไปขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งราคาอาจจะผันผวนไปแต่ละชั่วโมงตามแรงเก็งกำไรได้

นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบังคับ เพื่อไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่น เพราะจะเข้าข่ายเป็นเงินตราอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อน

ส่วนกรณีที่นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ระบุว่าการออก G-Token จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ จากเดิมที่ออกพันธบัตรมีค่าธรรมเนียมดำเนินการจากธปท. ในอัตรา 0.03% ของกรอบวงเงินจำหน่ายนั้น ก็ขอให้ชี้แจงว่ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงเท่าไหร่ และใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนโดยมีค่าธรรมเนียมเท่าใด รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแล้วต่ำกว่าอัตราของ ธปท.อย่างไร ซึ่งขอแนะนำอย่าไปกังวลกับเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายให้ ธปท. เพราะเป็นองค์กรของรัฐ เงินไม่รั่วไหลไปไหน

“ผมขอแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการออกโทเคนดิจิทัลมีกฎหมายรองรับอย่างแน่นอน การพัฒนาโทเคนนั้นเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของงานเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด แต่ไม่ใช่เรื่องที่มีความจำเป็นในลำดับต้น การที่กระทรวงการคลังเอามาโปรโมทเป็นด่านหน้านั้น สะท้อนว่าคิดงานเป็นชิ้นๆ แทนที่จะวางแผนเป็นระบบ ผมขอแนะนำให้ศึกษาแนวการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ถ่องแท้ทะลุปรุโปร่งเสียก่อน มิฉะนั้น ก็จะเป็นการวาดฝันสวยหรูแต่ไม่สามารถทำได้จริง ดังที่เกิดขึ้นกรณีโครงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ที่หาเสียงเอาไว้ใหญ่โตเป็นนโยบายเรือธง แต่เวลาผ่านมาสองปีก็ยังทำไม่ได้” - นายธีระชัย กล่าว

การนำประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้สำเร็จนั้น มีเรื่องที่ต้องดำเนินการก่อนหลายอย่าง กล่าวคือ(1) ต้องช่วยให้ประชากรเข้าถึงระบบอินเตอร์เนตอย่างกว้างขวาง (2) ต้องให้ความรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและในกลุ่มประชาคม (3) ต้องพัฒนาธุรกิจการเงินแบบดิจิทัลให้กว้างขวางมากขึ้น (4) ต้องกระตุ้นคนรุ่นหนุ่มสาวให้ลองทำธุรกิจขนาดย่อมด้านดิจิทัลให้มากขึ้น และ (5) รัฐต้องให้บริการทางออนไลน์มากขึ้นรวมทั้งใช้บล็อกเชนในการบริหารราชการให้โปร่งใส

การทำให้โทเคนเกิดขึ้นในหลักทรัพย์ต่างๆ (tokenization) จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน ทั้ง stable coin สกุลบาท ทั้ง smart contract ทั้งระบบเคลียริ่ง และมีกฎหมายรองรับเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด รวมไปถึงการนำโทเคนไปใช้เป็นหลักประกัน โดยต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเอกชนเป็นผู้ริเริ่ม ส่วนรัฐบาลเองไม่ควรมีหน้าที่ไปออกโทเคน

ดังเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศที่ระบบการเงินล้ำหน้าในระดับที่รัฐบาลเป็นผู้ออกโทเคนเอง

6. ประเด็นข้อสงสัยเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นประเด็นเฉพาะหน้าที่สำคัญ

ครม. ฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้

ที่คณะรัฐมนตรีมีมติไป คือ 1.อนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล(Government Token : G-Token) ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ 2.อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หากกระทรวงการคลังพิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดย G-Token มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ถือมีสิทธิได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่ กค. กำหนด จึงมีลักษณะเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ หรือกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง และเข้าข่ายเป็นโทเคนดิจิทัล ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวและกฎเกณฑ์ที่ออกโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.

ความเห็นเช่นนี้ เป็นเอาสีข้างเข้าถูหรือไม่?

เพื่อว่าจะได้ออกโทเคน โดยที่ ธปท.ไม่สามารถเข้ามากำกับดูแล

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:57 น. 'มาวิน-เชฟบุช'พาไปเยือนเมืองสองแคว สัมผัสเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และไม่พลาดชิมเมนูเด็ด
15:53 น. เข้าร่องแข้ง!‘สว.สำรอง’แฉหลักฐาน‘ภาพ-เสียง’ หญิงอำนาจเจริญเอี่ยว‘ฮั้วสว.’
15:46 น. 'เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง'ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าต้อง 'ปาราชิก' ขาดจากความเป็นพระหรือไม่?
15:44 น. ‘กมธ.มั่นคงฯ’ยกข้อมูลกมธ.ไอซีทีสว.ชุดก่อน พบ‘ประธานกสทช.’คนปัจจุบันขาดคุณสมบัติจริง
15:42 น. 'พูห์ กฤติน - พาเวล นเรศ'นักแสดงนำ 'PIT BABE THE SERIES'คว้ารางวัลนักแสดงดาวรุ่งยอดเยี่ยม
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
นิยามของสงครามคือความพ่ายแพ้
มีจีนสีเทา ก็เพราะมีไทยเป็นสีเทา
ชิงเมืองหลวงคืนมา
G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?
บุคคลแนวหน้า : 15 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘กมธ.มั่นคงฯ’ยกข้อมูลกมธ.ไอซีทีสว.ชุดก่อน พบ‘ประธานกสทช.’คนปัจจุบันขาดคุณสมบัติจริง

15 วันต้องจบ!!! มติ'แพทยสภา'ส่งถึงมือ'สมศักดิ์' ชี้หากไม่ส่งกลับถือว่ายอมรับ

ท้าทายแรงโน้มถ่วงโลก! นักกายกรรมสาวโชว์'ห้อยตัวด้วยพลังเส้นผม'ขึ้นแท่นสถิติโลกคนใหม่ (คลิป)

'ญี่ปุ่น'จับ2พ่อลูกชาวไทย ข้อหาทำร้ายพนักงานสายการบิน

เปิด‘ความลับ’ชั้น14! ‘หมอวรงค์’ชี้‘จุดน่าสนใจ’ห้องพิเศษชั้นดี

สวยตะลึง! 'ปู ไปรยา'เจิดจรัสบนพรมแดงคานส์ดุจเจ้าหญิง

  • Breaking News
  • \'มาวิน-เชฟบุช\'พาไปเยือนเมืองสองแคว สัมผัสเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และไม่พลาดชิมเมนูเด็ด 'มาวิน-เชฟบุช'พาไปเยือนเมืองสองแคว สัมผัสเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และไม่พลาดชิมเมนูเด็ด
  • เข้าร่องแข้ง!‘สว.สำรอง’แฉหลักฐาน‘ภาพ-เสียง’ หญิงอำนาจเจริญเอี่ยว‘ฮั้วสว.’ เข้าร่องแข้ง!‘สว.สำรอง’แฉหลักฐาน‘ภาพ-เสียง’ หญิงอำนาจเจริญเอี่ยว‘ฮั้วสว.’
  • \'เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง\'ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าต้อง \'ปาราชิก\' ขาดจากความเป็นพระหรือไม่? 'เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง'ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าต้อง 'ปาราชิก' ขาดจากความเป็นพระหรือไม่?
  • ‘กมธ.มั่นคงฯ’ยกข้อมูลกมธ.ไอซีทีสว.ชุดก่อน พบ‘ประธานกสทช.’คนปัจจุบันขาดคุณสมบัติจริง ‘กมธ.มั่นคงฯ’ยกข้อมูลกมธ.ไอซีทีสว.ชุดก่อน พบ‘ประธานกสทช.’คนปัจจุบันขาดคุณสมบัติจริง
  • \'พูห์  กฤติน - พาเวล นเรศ\'นักแสดงนำ \'PIT BABE THE SERIES\'คว้ารางวัลนักแสดงดาวรุ่งยอดเยี่ยม 'พูห์ กฤติน - พาเวล นเรศ'นักแสดงนำ 'PIT BABE THE SERIES'คว้ารางวัลนักแสดงดาวรุ่งยอดเยี่ยม
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล  ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

15 พ.ค. 2568

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข  ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

14 พ.ค. 2568

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม”  รักชาติ สมเหตุสมผล

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม” รักชาติ สมเหตุสมผล

13 พ.ค. 2568

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

12 พ.ค. 2568

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

9 พ.ค. 2568

\'จิตป่วย\' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

'จิตป่วย' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

8 พ.ค. 2568

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

7 พ.ค. 2568

ถ้าศึกษา แล้วไม่กล้าตัดสินใจ  เปลืองเงิน เปล่าประโยชน์

ถ้าศึกษา แล้วไม่กล้าตัดสินใจ เปลืองเงิน เปล่าประโยชน์

6 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved