วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
เสรีภาพทางวิชาการ (จบ)

ดูทั้งหมด

  •  

ตอนแรกที่เห็นข่าวในโซเซียลมีเดียว่า...ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่อนุญาตให้ใช้คณะรัฐศาสตร์เป็นสถานที่จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ความมั่นคงภายใน : อำนาจของทหาร ภารกิจของประชาชน” จนต้องย้ายไปจัดที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน แทน...ผมก็นึกว่าเป็น Fake News หรือข่าวปลอมเพื่อต้องการดิสเครดิตกองทัพ ภายหลังตรวจสอบข้อมูลจนแน่ชัด ก็ยิ่งทำให้แปลกใจ เพราะไม่คิดว่าในศตวรรษที่ ٢١ นี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยยังคงมีความคิดที่ไม่ต่างจากผู้บริหารวิทยาลัยอเมริกันในสมัยอาณานิคม เมื่อสี่ร้อยกว่าปีก่อน

ในศตวรรษที่ 19 มหาวิทยาลัยเยอรมันถือเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา เวลานั้นมีนักศึกษาอเมริกันจำนวนมากเดินทางไปยังศูนย์กลางการศึกษาใหม่ของโลกที่เยอรมัน เช่น มหาวิทยาลัยเบอร์ลินและไลป์ซิก จุดเด่นสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันเป็นผู้นำทางด้านปัญญาในศตวรรษที่ 19 ก็คือ แนวคิดที่ว่า.....มหาวิทยาลัยที่แท้จริงต้องรักษาไว้ซึ่ง“เสรีภาพทางวิชาการ” อันประกอบด้วยเสรีภาพของการสอนและเสรีภาพของการเรียน


คำว่า เสรีภาพทางการเรียน นั้นนักวิชาการเยอรมันหมายความถึงการที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกเรียนวิชาใด เมื่อไร ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนหรือสอบ นอกจากการสอบเพื่อรับใบปริญญาบัตรในขั้นสุดท้าย

ส่วน เสรีภาพในทางการสอน หมายถึงเสรีภาพของอาจารย์มหาวิทยาลัยเยอรมันที่จะค้นคว้าวิจัยปัญหาต่างๆ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานข้อค้นพบนั้น โดยการสอนหรือสิ่งตีพิมพ์ไม่ว่าผลงานนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม

เดิมทีช่วงศตวรรษที่ ١٧ ออกซฟอร์ดกับเคมบริดจ์จะเป็นแบบอย่างแรกเริ่มให้กับมหาวิทยาลัยอเมริกันสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ เช่น เนื้อหาในพระราชบัญญัติฉบับแรกของวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ชื่อสมัยนั้น) ก็ได้มาจากพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในใบปริญญาบัตรฉบับแรกของฮาร์วาร์ดก็มีข้อความที่ว่า “ตามธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ”

วิทยาลัยอเมริกันในสมัยอาณานิคมนั้นยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพทางวิชาการเลย เพราะเหตุผลสำคัญที่สุดในการตั้งวิทยาลัยสมัยอาณานิคมก็คือ ความต้องการของคริสต์ศาสนานิกายสำคัญๆ ที่ต้องการจะมีพระที่รู้หนังสือ และได้รับการฝึกฝนจากวิทยาลัยซึ่งชาวอังกฤษในศตวรรษที่ ١٧
เห็นว่าเป็นศูนย์กลางของการถ่ายทอดการเรียนรู้และวัฒนธรรมทางปัญญา

ทั้งฮาร์วาร์ด (ก่อตั้ง ١٦٣٦) หรือเยล (١٧٠١) เมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยสมัยอาณานิคมต่างกำหนดให้ลัทธิทางศาสนาเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในวิทยาลัย การบรรยายของเหล่าคณาจารย์ก็ต้องให้ถูกตามลัทธิศาสนา แม้กระทั่งตัวอธิการบดียังต้องเป็นพระที่กลุ่มศาสนานิกายที่เขาสังกัดอยู่ได้พิจารณาเห็นแล้ว ว่าเป็นผู้ที่มีความคิดความเชื่ออันถูกต้องกับนิกายนั้นๆ และถ้าผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีในสถาบันดังกล่าวไม่ได้เป็นพระ ก็จะต้องบวชเป็นพระก่อนที่จะรับตำแหน่ง เช่น ในปี ١٨٤٦ เมื่อ Theodore D. Woolsey ศาสตราจารย์ด้านภาษากรีก ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีที่ Yale คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ศาสตราจารย์วูลสีย์ต้องบวชเป็นพระในคริสต์ศาสนานิกาย Congregation ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง

สมัยนั้น นักศึกษาเยลกลุ่มหนึ่งเคยร่วมกันลงชื่อเพื่อขออนุญาตพิมพ์หนังสือเรื่อง “Essay on Toleration” หรือ “ความเรียงว่าด้วยขันติธรรม” ของจอห์น ล็อค (John Locke : ١٦٣٢-١٧٠٤) นักปรัชญาแนวเสรีนิยมชาวอังกฤษ แต่กลับถูกอธิการบดี โทมัส แคลป (Thomas Clapp)
ตำหนิและให้ทำการสารภาพผิดต่อสาธารณชน มิฉะนั้นแล้วจะลงโทษโดยไม่ให้รับปริญญาบัตร หนังสือเล่มนี้ของล็อคเขียนถึงเรื่องความอดกลั้นต่อความแตกต่างทางศาสนา มีอิทธิพลมากต่อ เอริลล์แห่งแชฟต์เบอรี่ (Earl of Shaftesbury) ผู้นำพรรค Whig ที่คัดค้านการขึ้น
ครองราชย์ของกษัตริย์ Charles II จนถูกข้อหาว่าเป็นกบฏและต้องลี้ภัยไปอยู่ฮอลแลนด์ ส่วนล็อคในฐานะที่ปรึกษาทางการเมืองของท่านเอริลล์ ก็ถูกปลดจากการเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและลี้ภัยไปยังดินแดนดอกทิวลิปเช่นกัน

ในศตวรรษที่ ١٨ เมื่ออิทธิพลของคริสต์ศาสนาได้คลายตัวลง เพราะต้องหลีกทางให้แก่การเมือง อำนาจการควบคุมเสรีภาพทางวิชาการในอเมริกาจึงได้ย้ายจากวัดมาเป็นของรัฐ เช่น ในรัฐทางใต้ ประเด็นเรื่องทาสเป็นเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดถึงได้อย่างเสรีภายในวิทยาลัยทางรัฐตอนใต้ของสหรัฐ นอกจากนั้น ชาวมลรัฐทางใต้ยังได้ใช้ประเด็นเรื่องทาส รณรงค์ให้นักศึกษาชาวใต้ลาออกจากมหาวิทยาลัยทางเหนือ และไม่ให้ใช้ตำราของรัฐทางเหนือ เช่น อธิการบดี วิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth college) ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ที่อยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐ ต้องลาออกเพราะว่าเขาไปมีความคิดเหมือนคนทางใต้ว่า...ทาสเป็นพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า....

อิทธิพลของเยอรมันที่มีต่อการอุดมศึกษาของอเมริกาเริ่มขึ้น เมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเยอรมันที่สำคัญสามแห่งคือ Halle (1694), Gottingen (1734) และ Berlin (١٨10) การก่อตั้งมหาวิทยาลัยทั้งสามนี้ถือเป็นการสร้างเอกลักษณ์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยเยอรมัน โดยเฉพาะในการสถาปนามหาวิทยาลัยเบอร์ลินที่มีการระดมนักปราชญ์ ราชบัณฑิตต่างๆ มาประชุมกันเพื่อวางหลักการใหม่ในการตั้งมหาวิทยาลัย

จากรูปแบบเดิมที่มหาวิทยาลัยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกลาง ที่ใช้ลัทธิทางศาสนาเป็นกฎเกณฑ์และสอนแต่เทววิทยาเป็นหลัก มหาวิทยาลัยสมัยใหม่นั้นจะต้องเป็นแหล่งรวมสรรพวิทยาการและผลิตความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนควบคู่กับการวิจัย หรือจากการมุ่งเน้นทางด้านการสอนไปสู่การเรียนรู้ทางวิชาการผ่านทางงานวิจัยด้วยตนเอง

ในปี ١٨٠٩ หนึ่งปี ก่อนที่จะมีการสถาปนามหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ได้มีการระดมสมองของบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิชาการทั่วทุกสารทิศเพื่อมาประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปทิศทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยว่าจะวางเข็มผลิตบัณฑิตเพื่อให้มีความรู้รอบด้าน (generalization) หรือเน้นให้มีความรู้เฉพาะทาง (specialization) ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่ประชุมได้ข้อสรุปจากข้อเสนอของ Alexander von Humboldt หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเสนอว่า การผลิตกำลังคนที่มีความรู้เฉพาะทางเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เพื่อไม่ให้มนุษย์หลงยึดไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนมากเกินไป

ดังนั้นนักศึกษาทุกคนคณะในมหาวิทยาลัยเบอร์ลินจะต้องเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ด้วย เช่น ปรัชญา วรรณกรรม วรรณคดี หรือสุนทรียศาสตร์ เพื่อคอยกำกับไม่ให้มนุษย์เตลิดไปกับโลกทางวัตถุ จนลืมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ไป

การแตกตัวขององค์ความรู้ในศตวรรษที่ ١٩ เป็นผลมาจากการที่โลกเริ่มมีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนขึ้นอันเป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ในศตวรรษที่ ١٨ และตามมาด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้จึงได้เกิดเพิ่มพูนขึ้นอย่างมากมาย และได้ถูกแบ่งออกเป็นสาขาวิชา (discipline) ต่างๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน

ในเวลานั้น มหาวิทยาลัยเบอร์ลินกลายเป็นแม่แบบของมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่เข้มข้น เป็นแรงบันดาลใจให้นาย Johns Hopkins นักธุรกิจมหาเศรษฐีชาวอเมริกันบริจาคเงินก้อนโตเพื่อนำไปสร้างมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกิ้นส์ในปี ١٨٧٦ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นการวิจัยแบบเยอรมัน ไม่เพียงเท่านี้การก่อกำเนิดมหาวิทยาลับเบอร์ลินยังมีอิทธิพลต่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่รุ่นแรกๆ ในโลกตะวันตก อย่างเช่น มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด(ก่อตั้งเมื่อปี ١٠٦٩) มหาวิทยาลัยปารีส (١١٥٠) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (١٢٠٩) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (١٦٣٦) ที่ล้วนต้องปรับตัวตามไปด้วย

มหาวิทยาลัยเบอร์ลินมีผลทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันเก่าๆ มีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งไม่ว่าจะเป็น Heidelberg (1305) หรือ Leipzig (1409) และยังทำให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น Breslau (1811), Bonn (1818) และ Munich (182٦)

ผลจากการปฏิรูปการอุดมศึกษาของเยอรมันดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในแง่ของความสำเร็จในการเชื่อมโยงกันระหว่างการสอนและการวิจัย ประมาณกันว่าช่วงปี 1880-1889 มีชาวอเมริกันมากกว่าสองพันคนศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเยอรมันซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยของอเมริกาพึ่งจะเริ่มมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกอย่างจริงจังเมื่อประมาณทศวรรษที่ ١٩٢٠ นี้เอง

ในปี 1914 ปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีนักศึกษาอเมริกันมากกว่าหมื่นคนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆในเยอรมัน จากจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และส่วนที่เหลือเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไลป์ซิก, ไฮเดลเบอร์ก, ฮอลเล, บอนน์, มิวนิค และเกิททิงเง่น

ในบทความเรื่อง “Gottingen’s American Students” ที่ลงใน American-German Review ฉบับเดือนมิถุนายน ١٩٣٧ ระบุว่า นาย Benjamin Smith Barton คือชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยเยอรมัน นั้นคือ ปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเง่น ในปี ١٧٨٧ หลังจากนั้น ศาสตราจารย์บาร์ตันก็กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐ

ในปี ١٩٤٩ มหาวิทยาลัยเบอร์ลินได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งกรุงเบอร์ลิน เพื่อเป็นเกียรติแก่สองพี่น้องตระกูลฮุมโบลท์ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัย คือ Wilhelm และ Alexander von Humboldt พี่น้องฮุมโบลท์คู่นี้เป็นปัญญาชนที่มีความรู้กว้างขวางในหลายสาขาวิชา Alexander ผู้น้องนั้นเป็นทั้งนักภูมิศาสตร์ นักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยา นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาสกุลแนวคิดโรแมนติกส่วน Wilhelm ผู้พี่ก็เป็นทั้งนักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักการทูตและนักการศึกษา

หลักการเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” อันเป็นปรัชญาการศึกษาของเยอรมันนั้นยังเป็นหลักการสำคัญที่ถูกเขียนลงไปในรัฐธรรมนูญเยอรมัน (มาตรา ٥ วรรคสาม) และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งเยอรมันในเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” ได้เป็นตัวอย่างให้กับอีกหลายๆ ประเทศ รวมทั้งรัฐธรรมนูญของไทยด้วย ดังที่เขียนไว้ในบทความสัปดาห์ที่แล้ว

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved