วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
กฎหมายกับกฎแห่งความเป็นอนิจจังของสังคม

ดูทั้งหมด

  •  

สุภาษิตละตินบทหนึ่งที่ผู้เรียนมาทางสังคมศาสตร์รู้จักดี มีอยู่ว่า “ubi societas ibi ius”อันหมายความว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั้นย่อมมีกฎหมาย” แสดงให้เห็นชัดเจนว่าสังคมเป็นผู้สร้างหรือกำหนดกฎหมายขึ้นมา เพื่อรับใช้มนุษย์ในสังคมนั่นเอง มิใช่ตัวกฎหมายจะไปกำหนดสังคม แต่สังคมซึ่งเป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นมาดังกล่าวก็มิอาจหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความเป็นอนิจจังของพุทธศาสนาที่ว่า

“สิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดนิ่งอยู่กับที่ ทุกสิ่งมีอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง”


การที่สังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การเมืองการปกครอง หรือแม้กระทั่งระบบครอบครัวได้เปลี่ยนแปลงไปตามความอนิจจังของสังคม การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะเป็นไปในด้านลบหรือด้านบวก เป็นไปได้ทั้งทางก้าวหน้าและลดถอยเป็นไปอย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยมีการวางแผนให้เป็นหรือเป็นไปโดยธรรมชาติ กฎหมายของสังคมก็มิอาจหลีกเลี่ยงให้พ้นไปจากกฎแห่งความเป็นอนิจจังดังกล่าวข้างต้นได้ กฎหมายก็ย่อมต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน

ร.แลงกาต์ ที่ปรึกษากระทรวงยุติธรรมและอาจารย์สอนกฎหมาย ชาวฝรั่งเศส คณะนิติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้กล่าวถึง ความผันแปรเป็นมาของกฎหมายไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์กฎหมาย ของท่านว่า

“กฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งที่รวมแห่งข้อบังคับทั้งหลายซึ่งใช้บังคับแก่กิจการต่างๆ ของมนุษย์ทางชุมชนนั้น ใช่ว่าเป็นสิ่งที่กำหนดแต่งตั้งขึ้นตามอำเภอใจของผู้เป็นประมุขในชุมชนโดยอิสระนั้นหาไม่ เมื่อพิเคราะห์ดูประวัติศาสตร์หรือความผันแปรเป็นมาของกฎหมาย จะเห็นได้ว่าข้อบังคับที่ประกอบรวมเรียกว่ากฎหมายนี้ได้เป็นผลขึ้นโดยตรงจากอาการที่มนุษย์ได้เข้ามารวบรวมอาศัยกันอยู่ในชุมชน เพื่อดำเนินชีวิต...”

แต่ตามธรรมชาติความคิดของมนุษย์ย่อมดำเนินต่อเรื่อยไปหาอยู่คงที่ไม่ ทั้งนี้ก็เพราะความเกี่ยวพันต่างๆ ระหว่างมนุษย์ ยิ่งนับวันก็ยิ่งยุ่งยากโดยปรากฏขึ้นภายในลักษณะแปลกๆ ใหม่ๆมากขึ้น กฎหมายอันเป็นข้อบังคับความเกี่ยวพันระหว่างมนุษย์จึงต้องได้รับการปรับปรุงให้ลงรูปเข้าได้กับความเกี่ยวพันดังกล่าวนี้

กฎแห่งความเป็นอนิจจัง ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดนิ่งคงอยู่กับที่ แม้แต่เมธีกรีกโบราณนักปรัชญายุโรป ก็ค้นคว้ากฎของวิทยาศาสตร์และภาวะทั้งหลายนั้นก็ได้มายุติลงอย่างเดียวกันที่ว่า ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ทุกอย่างต้องมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ดังพระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ก่อนแล้วว่า คนเราเกิดมามีชีวิตอยู่ก็เติบโตไปได้ถึงขีดที่ไม่อาจเติบโตต่อไปได้ ก็เข้าสู่ความแก่ ความเจ็บ ในที่สุดก็ตาย

ศาสตราจารย์พระสารสาสน์ประพันธ์ ได้กล่าวไว้ว่า “กฎหมาย” เป็นเรื่องของความเป็นอยู่(มนุษย์-นิติบุคคล) ปรากฏการณ์ทั้งหลายย่อมเกี่ยวข้องควรได้รับความสนใจประกอบการศึกษาด้วย ความอยากรู้อยากเห็นสังเกตละเอียดถี่ถ้วนหัดไว้เป็นสมบัติที่ดี อย่างน้อยก็เป็นการฝึกความเข้าใจด้านข้อเท็จจริง สะดวกแก่การเข้าใจการใช้กฎหมาย

ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีอะไรหยุดนิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะระยะเวลา ถ้าพบเห็นมิได้สังเกตไว้ยากที่จะรู้ได้ซึ่งความเป็นจริงที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งถ้ามิได้สังเกตขณะพบเห็นพิจารณาการเกิดของมันไว้ ก็ไม่มีโอกาสจะรู้ตลอดเรื่องได้

จะเห็นได้ว่าสัจจะอันนี้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕ ความว่า

“สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถจะมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่”

แสดงให้เห็นชัดเจนว่า กฎหมายกับชีวิตของมนุษย์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความเปลี่ยนแปลงตามกฎแห่งความเป็นอนิจจัง ดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง

ถ้าเรามองย้อนหลังไปพิจารณาถึงความเคลื่อนไหวของสังคมที่เราสัมผัสอยู่ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นถึงความเป็นอนิจจังของกฎหมายกับกฎแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตเราหรือก่อนที่ชีวิตเราเกิด

ตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ถ้าเรามองย้อนหลังไป ก็จะเห็นได้ว่าระบอบการปกครองใหม่ที่สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ได้มีการเคลื่อนไหวทั้งในทางบวกและลบ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่คงกับที่ รัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีมากมายหลายฉบับ บางฉบับก็มีความก้าวหน้า แสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิบไตยที่สมบูรณ์ แต่บางฉบับก็ถอยหลังไปสู่ระบอบเก่ามีระบบเผด็จการเกิดขึ้นบางยุค และในช่วงเวลานั้นก็สิ่งที่เรียกว่า“ธรรมนูญชั่วคราว” บ้าง “คำสั่งคณะปฏิวัติ” บ้าง แม้กฎหมายที่สำคัญบางฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็ยังปรากฏเป็นรูปแบบของคำสั่งคณะปฏิวัติอยู่ น่าที่ผู้เกี่ยวข้องควรจะได้หยิบยกขึ้นมาแก้ไขให้เป็นรูปแบบของกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย

การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของระบบสังคมของมนุษย์นั้น จากประวัติศาสตร์ของชาติไทยเราเองก็ดี หรือแม้แต่ของต่างประเทศก็ดี จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงย่อมจะมีผลกระทบต่อปัจจัยในทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายทุกครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นไปโดย “วิถีสันติ” เช่นการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือโดย “วิถีไม่สันติ”การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ หรือ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ธรรมชาติของมนุษย์ปรารถนาวิถีสันติ การที่มนุษย์ใช้วิถีไม่สันติในการเปลี่ยนแปลงนั้น ก็เพราะระบบสังคมได้กีดกันทางนิตินัยหรือทางพฤตินัยหรือทั้งสองทาง มิให้มนุษย์ใช้วิถีทางสันติได้ มนุษย์จึงจำเป็นต้องใช้วิถีไม่สันติ

วิถีทางหนึ่งที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางสันติอันเป็นสิ่งที่เราทุกคนมีความปรารถนาเพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจก็คือ การเปลี่ยนแปลงความคิดในการใช้กฎหมายให้ประสานกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง

ศาสตราจารย์พิเศษ

ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
07:30 น. นายกฯเสียค่าโง่?! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

ชาวบ้านดุงกรี๊ดลั่น! มทภ.2เยือนโรงเรียนเก่า ย้ำเกษียนไม่เล่นการเมือง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

เช็คอากาศวันนี้! ทั่วไทยฝนตกหนักบางแห่ง กทม.ฟ้าคะนอง 70%

  • Breaking News
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
  • นายกฯเสียค่าโง่?! \'นิพิฏฐ์\'เตือน\'อิ๊งค์\'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว นายกฯเสียค่าโง่?! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'ระวังคำพูดจะย้อนเข้าตัว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved