วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
กฎหมายจากอำนาจเผด็จการยังรอการแก้ไข อีกหลายฉบับ

ดูทั้งหมด

  •  

๑.

บรรทัดฐานในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์


จากจารึกของกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ ๑ ประกาศเมื่อจุลศักราช ๑๑๖๖ อันตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๗ “พระธรรมศาสตร์” อันเป็นโบราณราชนิติของกฎหมายนั้น เป็นหลักของกฎหมายอันมีชั้นสูงสุดเปรียบเสมือนพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป็นธรรมชั้นสูงในพระไตรปิฎกนั้นเอง

พระธรรมศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวงดังกล่าวนั้น ได้กำหนดบทกฎหมายที่จะนำมาใช้ปกครองบ้าน ปกครองเมืองนั้น จะต้องถูกกำหนดขึ้น โดย ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้แก่องค์พระมหากษัตริย์ ดังปรากฏในบาญแผนกกฎหมายตราสามดวง ความว่า

“แลฝ่ายข้างอาณาจักรนี้กระษัตริย์ ผู้จะดำรงแผ่นดินนั้นอาไศรยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมายพระไอยการอันกระษัตริย์แต่ก่อนบัญญัติไว้ได้เป็นบันทัตถาน จึงพิพากษาตราสินเนื้อความราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และพระราชกำหนดบทพระไอยการนั้นก็ฟั่นเฟือนวิปริตซ้ำต่างกันไปเป็นอันมากด้วยคนอันโลภหลงหาความละอายแก่บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิพากษาพาให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นไปก็มีบ้าง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อม...ชำระพระราชกำหนดบทพระไอยการ......ครั้นชำระแล้ว ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกฉบับไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่งไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้ ณ ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ ไว้ บัวแก้ว ทุกเล่มเป็นสำคัญ ถ้าพระเกษมไกรสี เชิญพระสมุด พระราชกำหนดบกพระไอยการออกมาพิพากษาถึงคดีใดๆ สู่ขุนทั้งปวงใช่เห็นปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ บัวแก้ว สามดวงนี้”

นี่คือบรรทัดฐานอันเป็นรูปแบบของกฎหมายตามพระธรรมศาสตร์

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมให้ทันสมัยเยี่ยงนานาประเทศนั้น ศาลยุติธรรมก็ได้วินิจฉัยคดีตามหลักนิติศาสตร์ของอารยประเทศ คือพระบรมราชโองการใดๆ ของมหากษัตริย์จะเป็นคำสั่ง คำบังคับปวงชนได้นั้นก็ต้องตราเป็น “บทกฎหมาย” คือ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด ประกาศพระบรมราชโองการ ถ้าพระราชดำรัสหรือพระหัตถเลขา ซึ่งเป็นเพียงความเห็นของพระองค์นั้นขัดแย้งกับบทกฎหมายที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นก็ดี หรือที่พระมหากษัตริย์ปางก่อนทรงบัญญัติขึ้นก็ดีซึ่งยังมิได้ยกเลิกนั้น ก็ต้องเชื่อถือตามบทกฎหมายใหญ่ๆ มิใช่พระมหากษัตริย์ตรัสคำใดก็แก้บทความหมายได้

๒.

บรรทัดฐานในระบอบประชาธิปไตย

แม้ภายหลังประเทศไทยจะได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วก็ตาม แต่รูปแบบของบทกฎหมายไทย ก็หาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมของโบราณราชนิติแต่อย่างใดไม่ เพราะประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติที่ถือเป็นกฎหมายอันมีความสำคัญมาจากรัฐธรรมนูญนั้นจะตราขึ้น ก็แต่โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภาเท่านั้น ซึ่งเมื่อได้ผ่านขบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา หรือในกรณีที่เป็นกฎหมายของฝ่ายบริหารอันได้แก่ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและบทกฎหมายพระราชหัตถเลขาหรือพระบรมราชโองการใด อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินนั้น จะต้องมีนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

จะเห็นได้ว่าในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ดีในสมัยระบอบประชาธิปไตยก็ดี บทกฎหมายทุกรูปแบบนั้นจะต้องตราขึ้นโดยการลงปรมาภิไธย

๓.

กำเนิดของคำสั่งคณะปฏิวัติ

ขบวนการนิติบัญญัติของไทยที่สืบตกทอดมาจากขนบธรรมเนียมประเพณี และขบวนการนิติบัญญัติตามตามระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนมานั้นจะต้องจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ว่าโบราณราชนิตินั้น ได้ถูกลบล้างไปในยุคของเผด็จการที่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เผด็จการนั้นไม่เพียงแต่ทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่าง อันนำชาติไปสู่การถอยหลังกลับเท่านั้น แม้แต่ในขบวนการนิติบัญญัติ อันได้แก่ บทกฎหมายต่างๆ เผด็จการโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่อันนับว่าเป็นรอยด่างอันเศร้าหมองของกฎหมายและขบวนการนิติบัญญัติของไทย สิ่งนี้ได้แก่

ประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติและคณะปฏิรูป ซึ่งมีผลเป็นกฎหมาย กำเนิดคำสั่งคณะปฏิวัติและคณะปฏิวัติอันเป็นรากเหง้าต่อมาของคำสั่งคณะปฏิรูปได้เริ่มอุบัติขึ้น เมื่อ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับพวกบริวารได้ร่วมกันจัดตั้งคณะปฏิวัติโดยทำการล้มระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) แล้วสถาปนาระบอบการปกครองเผด็จการใช้วิธีการปกครองโดย “คำสั่งของคณะปฏิวัติ” ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายสูงสุด อันทำให้คนไทยอกสั่นขวัญหาย เพราะคณะปฏิวัติมีอำนาจจับคนไปประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลสถิตยุติธรรม

ประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ปฏิรูปนั้น ต้องยอมรับว่ามีสภาพเป็นกฎหมายและยังมีผลใช้บังคับอยู่ เพราะการรับรองผลของการปฏิวัติหรือรัฐประหารนั้นเมื่อได้กระทำสำเร็จย่อมเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงในรัฐ แม้ในตอนกระทำตอนแรกก่อนที่จะได้รับความสำเร็จจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้กระทำสำเร็จมีอำนาจที่แท้จริงโดยสมบูรณ์แล้ว และคณะนั้นสามารถยืนหยัดอันแท้จริงนั้นได้ ก็อยู่ในฐานะที่จะให้รัฐธรรมนูญยกเลิกรัฐธรรมนูญเดิมหรือจะตราบทบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ ตามความต้องการของหัวหน้าคณะปฏิวัติอย่างไรก็ได้

คำสั่งของคณะปฏิวัตินั้น ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕/๒๔๙๑ และ ๑๖๖๒/๒๕๐๕ ก็ได้พิพากษารับรองผลในทางกฎหมายของประกาศของคณะรัฐประหารไว้ว่า

“คณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จย่อมมีอำนาจออกและยกเลิกแก้ไขกฎหมายได้”

“ประกาศของคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายแม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม”

แม้ว่าคำสั่งของคณะปฏิวัติ ปฏิรูป จะมีผลเป็นกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่สาธุชนที่รักชาติและประชาธิปไตย คงจะเห็นได้ว่า คำสั่งของคณะปฏิวัติ หรือคณะปฏิรูปนั้นเผด็จการได้นำเอาคำว่า “ปฏิวัติ” ไปใช้เรียกการกระทำของตน สมดังความหมายตามมูลศัพท์ว่า “การเปลี่ยนหลักมูลกลับ” หรือ การถอยหลังกลับไปสู่ระบอบเผด็จการนำชาติถอยหลัง ฉะนั้น สาธุชนผู้รักชาติและประชาธิปไตย ซึ่งมีความต้องการที่จะพัฒนาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า สู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์จึงไม่ควรปล่อยให้คำว่า “ปฏิวัติ” หรือ “ปฏิรูป” ซึ่งมีความหมายเฉพาะการกระทำของเผด็จการกับพวก คงไว้สำหรับเรียกชื่อบทกฎหมายของไทย.....

ศาสตราจารย์พิเศษ

ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:10 น. ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
12:07 น. คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
12:03 น. รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
12:00 น. ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’

รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

  • Breaking News
  • ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’ ‘วิโรจน์’พร้อมยกมือให้‘นายกฯชั่วคราว’เพื่อผ่าน‘งบ 69’ แลกเงื่อนไขสิ้นปี‘ยุบสภา’
  • คอนเสิร์ตนั่งใกล้ \'เจ เจตริน\'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว คอนเสิร์ตนั่งใกล้ 'เจ เจตริน'สุดมันส์! เซอร์วิสแฟนสุดฟิน! ใกล้ระยะประชิดตัว
  • รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลเตือนคนไทยอย่าเป็นนิมินีต่างชาติ ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น\'ใบเตย\'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า\'ดีเจแมน\'ให้กำลังใจ ยังรับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น'ใบเตย'เปิดใจโรคซึมเศร้ารุมเร้า'ดีเจแมน'ให้กำลังใจ
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved