วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
เกิดมาทั้งที ขอมีชีวิตดีๆ หน่อยไม่ได้หรือ

ดูทั้งหมด

  •  

แด่ผู้คนที่ต้องการชีวิตที่ดี

ความต้องการในชีวิตของผมมีเพียงไม่กี่อย่าง เปลี่ยนไปตามช่วงอายุและประสบการณ์ที่พบเจอระหว่างทาง และหนึ่งในความต้องการหรือความฝันอันสูงสุดของผมคงเป็นการได้มี “ชีวิตที่ดี” อยู่ในสังคมที่พร้อมพัฒนา ที่แม้แต่ในขณะผมที่เขียนบทความจะยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า ชีวิตที่ดีของผมคืออะไรกันแน่ แต่หากทุกคนอยากลองขบคิดถึงการมีชีวิตที่ดีไปพร้อมๆ กันกับผม ผมอยากขอให้ทุกคนร่วมอ่านเรื่องราวของผมที่จะทำให้หวนนึกถึงช่วงเวลาที่ผ่านไปจนถึงช่วงเวลาที่ยังมาไม่ถึงกับคำถามที่ว่า ชีวิตที่ดีเกิดขึ้นจากอะไร ใครเป็นคนกำหนด อำนาจเหนือร่างกายของตัวผมเป็นเรื่องจริงหรือเพียงมายาคติในการชี้ทางให้พลเมืองเป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจ ผ่านเรื่องราวการเติบโตของบุคคลธรรมดาคนหนึ่งที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเพียงเพื่อมีชีวิตที่ดี ผนวกรวมกับการตีความบทความและหนังสือชื่อดังอย่าง “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน” ของอาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บุคคลที่มีความสามารถและมีจริยธรรมมากที่สุดคนหนึ่งที่ผมรู้จัก


แม้จะจำรายละเอียดได้ไม่ชัดเจนเท่าไร แต่คงจะเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงที่การเดินและการพูดยังเป็นเรื่องแปลกใหม่ของผม ช่วงนั้นตัวผมเองอาจจะยังไม่มีความต้องการที่เป็นรูปธรรมมากนัก แต่คนที่มีความต้องการอย่างเห็นได้ชัดคงจะเป็นคุณแม่ของผมที่ต้องการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม เพราะคุณแม่เคยเล่าให้ฟังว่า คุณแม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยตัวเองผ่านการขึ้นรถสาธารณะที่เข้าซ้ายสุดออกขวาสุดเสมอเพื่อไปโรงพยาบาลเวลาที่ผมป่วย และเมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็ยังต้องรอเวลาในการเข้าตรวจและรับยาไปพร้อมๆ กับการพบเจอการใช้อำนาจเพื่อเข้าถึงบริการที่โรงพยาบาลก่อนประชาชนผู้มีสิทธิคนอื่นๆ ที่ทำตามกติกาของสังคม ซ้ำร้ายยังต้องกล่อมให้ผมรู้สึกดีขึ้นจากพิษไข้หรืออาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นอยู่บ่อยครั้ง ถัดมาอีกหน่อยคงเป็นช่วงที่ผมต้องเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบาย “เรียนฟรี 15 ปี”ของรัฐบาลในยุคนั้น ผมคงเป็นหนึ่งในคนโชคดีที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนที่ค่อนข้างพร้อมให้การดูแลและเรียนรู้ที่ดีแก่ผม ในช่วงนั้นความต้องการของผมคงไม่ต่างจากคุณแม่ในช่วงก่อนหน้าเท่าไร แต่อีกอย่างที่ผมต้องการคงจะเป็นเวลาจากครอบครัวที่ต้องวิ่งวุ่นทำงานเพื่อหาเงินส่งเสียเลี้ยงดูผมให้สามารถเรียนอยู่ในโรงเรียนเอกชนที่ถึงแม้จะมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาลที่นโยบายสาธารณะอาจครอบคลุมไม่ถึง

จนมาถึงการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาที่อาจไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากบาดแผลสะสมจากการวิ่งวุ่นทำงานของครอบครัวผมที่สร้างความเหนื่อยล้าให้แก่ทั้งครอบครัว หรือตัวผมเองที่ต้องสวมหมวกมากขึ้นจากที่เคยสวมการเป็นพลเมือง เป็นลูกของพ่อแม่ และเป็นนักเรียน แต่กลับต้องสวมการทำงานเข้ามาเพื่อเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้น ตัวผมในตอนนั้นเหนื่อยล้าจากการโดนสังคมบีบรัดให้เข้าสู่วัยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าทรัพยากรที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตโดยไม่จมอยู่ในระบบการหาเลี้ยงชีพ และมีเวลามากพอที่จะค้นหาตัวตนเพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต แต่ความคาดหวังของผมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย เพราะบาดแผลที่เคยเกิดขึ้นนั้นลึกเกินกว่าจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีในการเยียวยา มิหนำซ้ำ การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของผมยังเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากปัญหาที่รุมเร้ามาตั้งแต่การรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างยาวนาน พร้อมทั้งการเดินทางด้วยบริการสาธารณะที่สร้างผลกระทบทางร่างกายจากฝุ่นควัน และมลพิษทางอากาศอื่นๆ มากมาย ส่งผลให้ผมที่เคยป่วยเพียงแค่เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น กลับป่วยอย่างรุนแรงจากภาวะภูมิคุ้มกันลดลงและอาการภูมิแพ้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นต่อร่างกายของผม ไม่รู้ว่าโชคยังเข้าข้างหรือตัวผมยังคงมีความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ถึงสามารถรอดจากสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถหาทางออกของชีวิตที่ดีได้เลย แต่ก็เป็นช่วงนี้เองที่ทำให้ผมได้ตระหนักกับตัวเองว่า ชีวิตผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่าการมีชีวิตที่ดีที่แม้จะเป็นนามธรรมแค่ไหน แต่สมองและใจของผมยังพูดคำนี้อยู่เสมอไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ที่ผมเข้าสู่ช่วงเบญจเพส ยิ่งทำให้ตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง

เมื่อเชื่อมโยงเรื่องราวการล้มลุกคลุกคลานของผมเข้ากับสาระสำคัญของบทความ “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน” จะเห็นได้ว่า ตัวผมนั้นไม่ได้เข้าใกล้การมี “ชีวิตที่ดี” เลยแม้แต่น้อย ตั้งแต่การเข้าถึงบริการสาธารณะที่ยากลำบากส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่าง ทรัพยากรมนุษย์ (human capital) ที่สมควรได้รับโอกาสในการเรียน การมีโภชนาการที่ดี การทำงานอาชีพที่มีความหมาย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตอันดี รวมถึงการเข้าถึงสินค้าสาธารณะอย่างทั่วถึงโดยไม่มีการแข่งขันเพื่อใช้งาน (non-rivalry) หรือการกีดกันการใช้งานของผู้อื่น (non-excludability) และหากอ้างอิงจาก Human Development Index (HDI) จะระบุว่ามนุษย์ควรได้รับการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีและยืนยาว การเข้าถึงการศึกษาและมีการศึกษาที่ดี และการมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี ที่เห็นได้ชัดจากชีวิตของผมว่าสังคมของเราอาจยังไปไม่ถึงจุดนั้นสักเท่าไร หรือลองมองย้อนมาในเรื่องที่คุณแม่ของผมใช้บริการอย่างรถสาธารณะ ก็จะพบว่า การใช้บริการสาธารณะที่ควรสร้างความสะดวกสบายในชีวิตกลับส่งผลกระทบระยะยาวต่อทรัพยากรมนุษย์จากปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศที่เกี่ยวโยงกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ค่าฝุ่น PM2.5 สูงขึ้นอย่างน่ากลัว และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในทุกระดับ ซึ่งตามมาด้วยมาตรการเยียวยาช่วยเหลือต่างๆ อย่างการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ฟรีถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 แต่ก็เกิดข้อถกเถียงในสังคมถึงเรื่องจำนวนผู้ใช้งานและการแบ่งระดับของผู้คน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากต้นทุนการเข้าถึงบริการสาธารณะที่สูงเกินกว่าทุกคนจะเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ทำให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นอย่างกะทันหัน จึงได้ปลุกอารมณ์ของผู้เสียทรัพยากรหลายๆ คนให้ไม่พอใจต่อการพยายามช่วยเหลือผู้คนให้เผชิญปัญหาน้อยลงอย่างถ้วนหน้าสักเท่าไร

อีกเรื่องสำคัญที่พ่วงมากับการมีชีวิตที่ดีคงหนีไม่พ้นการจัดทำนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ และถ้ากล่าวถึงในช่วงนี้ก็คงจะเป็นประเด็นสำคัญอย่าง การเลือกตั้งท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นและหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ ที่ถึงแม้บทความจะไม่มีการกล่าวถึงประเด็นการเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา แต่ได้มีการพูดถึงความสำคัญของประชาชนว่า ประชาชนมีปากมีเสียงในการกำหนดชะตากรรมของบ้านเมือง โดยไม่ถูกกดขี่ข่มเหงประทุษฐภัย(การเบียดเบียน ทำร้าย) หากลองคิดเล่นๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจช่วยทำให้เราได้เข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ อย่างเท่าเทียม มีการกำกับดูแลการใช้อำนาจแทรกแซงอย่างเคร่งครัด มีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเสริมความพร้อมของสถานศึกษาในการพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านต่างๆ อย่างทั่วถึง จะทำให้ชีวิตที่ดีของเราเป็นไปได้ง่ายขึ้นขนาดไหน หรือทรัพยากรมนุษย์จะถูกพัฒนาโดยไร้ข้อจำกัดด้านความไม่เท่าเทียมลดลงไปได้มากขนาดไหน สิ่งเหล่านี้ส่งผลตั้งแต่ในระดับครัวเรือน ประเทศ หรือทั่วโลก ผ่านการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเห็นคุณค่า อันส่งผลให้ประชาชนพร้อมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการหรือทำให้สิ่งนี้เป็นจริงได้ไม่ได้มีเพียงแค่ประชาชนที่มีความต้องการ แต่จำเป็นต้องมีผู้ที่เข้าถึงอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ เพื่อผลประโยชน์โดยรวมอย่างแท้จริงด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การนิยามและยกตัวอย่างชีวิตที่ดีที่ผมได้ร้อยเรียงให้ทุกท่านได้อ่านอาจเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ จากชีวิตของบุคคลธรรมดาคนหนึ่งที่หวังเพียงแค่ว่า เขาจะได้มีชีวิตที่ดีไม่ว่าจะต้องพยายามหรือรออีกนานเท่าไรก็จะยังคงหวังและทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้พูดได้เต็มปากว่า เกิดมาทั้งที ในที่สุดก็มีชีวิตดีๆ สักที สุดท้ายนี้ ปัญหาคุณภาพชีวิตไม่ได้จบเพียงแค่เข้าใจและการปรับความคิด เพราะคุณภาพชีวิตของเราถูกยึดโยงอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างลึกซึ้ง อย่างประเด็นปัญหาฝุ่นหรือการจัดสรรทรัพยากรในท้องถิ่นที่ยังคงต้องการแรงจากประชาชนทุกคนเพื่อสร้างสังคมที่พร้อมให้เรา ลูกหลานของเราสัตว์เลี้ยงที่เรารัก ได้มีชีวิตที่ดีตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน

จากผู้คนที่ต้องการชีวิตที่ดี

วสุพล ยอดเกตุ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:56 น. (คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว
12:53 น. 'สมศักดิ์' ลั่นมีเวลา 15 วันพิจารณา มติแพทยสภาฟันแพทย์ 3 ราย ขออย่าชี้นำสังคมว่าจะยับยั้ง
12:51 น. 'JIGSAW PLAY GROUND VOL.1'เปิดตัวเวที Start up สำเร็จดันศิลปินรุ่นใหม่สู่เวทีระดับประเทศ
12:46 น. 'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social
12:46 น. 'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว

'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ

ชาวคริสต์ทั่วโลกยินดี! เผยโฉมสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่14 โป๊ปชาวอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์

พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.'สางไฟใต้

  • Breaking News
  • (คลิป) \'ป๋าเสรี\' ฟันธง \'ทักษิณ\' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว (คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว
  • \'สมศักดิ์\' ลั่นมีเวลา 15 วันพิจารณา มติแพทยสภาฟันแพทย์ 3 ราย ขออย่าชี้นำสังคมว่าจะยับยั้ง 'สมศักดิ์' ลั่นมีเวลา 15 วันพิจารณา มติแพทยสภาฟันแพทย์ 3 ราย ขออย่าชี้นำสังคมว่าจะยับยั้ง
  • \'JIGSAW PLAY GROUND VOL.1\'เปิดตัวเวที Start up สำเร็จดันศิลปินรุ่นใหม่สู่เวทีระดับประเทศ 'JIGSAW PLAY GROUND VOL.1'เปิดตัวเวที Start up สำเร็จดันศิลปินรุ่นใหม่สู่เวทีระดับประเทศ
  • \'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่\'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social 'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social
  • \'จุลพันธ์\'เผย\'เอดีบี\'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ 'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

16 เม.ย. 2568

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

9 เม.ย. 2568

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

26 มี.ค. 2568

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

19 มี.ค. 2568

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

12 มี.ค. 2568

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

26 ก.พ. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved