วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันพุธ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ความจริงตลาดข้าว ไม่มักง่าย ไม่ใช่ของเด็กเล่น

ดูทั้งหมด

  •  

เวลานักการเมืองต้องการสร้างภาพว่าแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ

ถ้ามักง่าย ก็เห็นวิธีทำ 2 แบบ ได้แก่


หนึ่ง ประกาศขึงขัง ห้ามราคาตกต่ำ ห้ามสินค้าตกค้าง ห้ามโกงน้ำหนัก โกงความชื้นเกษตรกร

สอง หากราคาตกต่ำ ก็เอาเงินหลวงรับซื้อในราคาแพงกว่าท้องตลาด รัฐจะขาดทุนก็ช่างแม่ม

2 แบบนี้ คือสูตรสำเร็จแบบมักง่าย ไม่มีความจริงใจ ไร้ความรู้ความสามารถที่จะแก้ปัญหาที่แท้จริง

1. กรณีราคาข้าวเปลือกนาปรังตกต่ำขณะนี้

เราได้ยินข้อเสนอแก้ปัญหาแบบแปลกๆ มาโดยตลอด เช่น ให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกกล้วย ให้เรากินข้าวมากขึ้นเพื่อช่วยชาวนา ฯลฯ

การให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกกล้วย ช่วยแก้ปัญหาให้เฉพาะชาวนาที่มีพื้นที่ มีปัจจัยการผลิตพร้อมจะเปลี่ยนไปปลูกกล้วย ซึ่งก็ทำไม่ได้ทันที และคงต้องตามไปแก้ปัญหาเมื่อกล้วยราคาตกต่ำต่อไปอีกในอนาคต

ส่วนที่ให้คนไทยช่วยกันกินข้าวมากขึ้นนั้น ข้อเสนอนี้สะท้อนความไม่รู้ไม่เข้าใจโครงสร้างและระบบตลาดข้าวในระดับเป็นหลุมดำเลยก็ว่าได้

2. ความจริงโครงสร้างตลาดข้าว

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรี สรุปสถานการณ์ตัวเลขของโครงสร้างตลาดข้าวล่าสุด กล่าวโดยสรุป ดังนี้

“ข้าว” เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทยชนิดหนึ่ง

ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด (คิดเป็น 49.1% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ)

ครอบคลุมครัวเรือนถึง 5.2 ล้านครัวเรือน (คิดเป็น 67.1% ของจำนวนครัวเรือนภาคเกษตรทั้งหมด)

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นกลุ่มที่ได้รับโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป็นต้น ในอดีตมีโครงการรับจำนำข้าวที่นักการเมืองและพ่อค้าข้าวร่วมกันโกงกินมโหฬาร

ในรอบปีเพาะปลูก 2565/66 ไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งสิ้น 73.44 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง

โดยการปลูกข้าวของไทยเน้นพึ่งน้ำฝน มีช่วงเวลาเพาะปลูกสำคัญตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าฝน (นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี) และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี (เดือนพฤศจิกายน) เรียกว่า “ข้าวนาปี” ผลผลิตมีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว และข้าวเหนียว ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 79% ของผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศในแต่ละรอบปีการเพาะปลูก

ส่วนที่เหลือประมาณ 21% เป็น “ข้าวนาปรัง” คือ ข้าวที่เพาะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน โดยเกษตรกรนิยมเพาะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของปีถัดไป ส่วนใหญ่ปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ

ข้อมูลพึงจำใส่ใจ...

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละ 31-32 ล้านตัน

นำไปสีเป็นข้าวสารได้ประมาณ 20-21 ล้านตัน

ใช้บริโภคภายใน ประเทศเฉลี่ย 10-11 ล้านตัน (ส่วนที่เหลือส่งออกและสต๊อก) ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น

1) ข้าวเพื่อใช้บริโภคโดยตรง มีสัดส่วน 30% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางจำหน่ายสู่ผู้บริโภค 3 ช่องทาง คือ

1.1) การจำหน่ายในลักษณะข้าวบรรจุถุง (สัดส่วน 49.8% ของปริมาณจำหน่ายข้าวสำหรับบริโภคโดยตรงของไทยทั้งหมด) โดยช่องทางจำหน่ายหลักของข้าวสารบรรจุถุงสำหรับบริโภคของไทย ได้แก่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต (สัดส่วน 30.6% ของปริมาณจำหน่ายข้าวสำหรับบริโภคโดยตรงของไทยทั้งหมด) รองลงมาเป็น ร้านสะดวกซื้อ (12.2%) และซูเปอร์มาร์เก็ต (7.0%)

1.2) ร้านขายของชำในท้องถิ่นขนาดเล็ก (Small Local Grocers) และร้านค้าจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่าง มีสัดส่วน 37.9% และ 10.1% ตามลำดับ

1.3) การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ (E-Commerce) และที่ไม่ได้เป็นร้านค้า (Non-Grocery) มีสัดส่วนรวมกัน 2.2%

2) ข้าวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วน 25% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้ดังนี้

2.1)   อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวมีสัดส่วนราว 15% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย อาทิ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว โจ๊กกึ่ง สำเร็จรูป เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมขบเคี้ยว แอลกอฮอล์เครื่องดื่ม น้ำมันรำข้าว และ

2.2)   อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (ส่วนใหญ่เป็นอาหารปศุสัตว์ อาทิ สุกร ไก่ เป็ด) มีสัดส่วนราว 10%

3) ข้าวเพื่อใช้ทำเมล็ดพันธุ์ มีสัดส่วนประมาณ 5% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย

ส่วนข้าวเพื่อการส่งออก มีสัดส่วนประมาณ 40% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย

4) ข้าวเพื่อการส่งออก มีสัดส่วนประมาณ 40% ของปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของไทย

ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยในปี 2566 มีสัดส่วน 39.7% ของปริมาณผลผลิตข้าวสารทั้งหมดของไทย 

โดยข้าวไทยยังคงได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก

ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ อิรัก สหรัฐฯ จีน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

ทั้งนี้ ประเภทข้าวที่ไทยส่งออกปริมาณมาก คือ ข้าวขาว (White Rice) รองลงมาเป็น ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice)9/ ข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice) ปลายข้าว/ข้าวหัก (Broken Rice)10/ ข้าวเหนียว (Glutinous Rice) และข้าวกล้อง (Brown Rice) และข้าวอื่นๆ ตามลำดับ

ข้าวขาว เป็นประเภทของข้าวที่มีปริมาณการค้าสูงสุดในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 4.83 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 55.1% ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวทั้งหมดของไทย

ตลาดส่งออกหลักอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และแอฟริกา โดยส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียสูงสุดที่ 25.7% ของตลาดข้าวขาวทั้งหมด รองลงมาเป็น อิรัก (17.6%) ฟิลิปปินส์ (8.3%) มาเลเซีย (8.2%) ญี่ปุ่น (6.7%) และโมซัมบิก (4.1%) ตามลำดับ

ทั้งนี้ ข้าวขาวจะแบ่งเป็นเกรดต่างๆ ที่มีราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสัดส่วนข้าวหัก โดยหากมีข้าวหักปนอยู่มากราคาจะต่ำลง

5) ตลาดโลกของการค้าขายข้าว

โครงสร้างตลาดข้าว ประการสำคัญ ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก

ปี 2565/2566 ไทยมีผลผลิตข้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (รองจากจีน อินเดีย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย และเวียดนามซึ่งมีสัดส่วนผลผลิต 28.3%, 26.3%, 7.0%, 6.6% และ 5.2% ตามลำดับ)

ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 16.0% รองจากอินเดียที่มีส่วนแบ่งตลาด 37.1% โดยมีคู่แข่งอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ เวียดนาม ปากีสถาน และกัมพูชา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกข้าวทั่วโลกมีสัดส่วนเพียง 10.6% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น ปริมาณการค้าข้าวระหว่างประเทศจึงเป็นผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคในแต่ละประเทศ

ตลาดนำเข้าข้าวส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา และเอเชีย ตามลำดับ 

ปีนี้ เมื่ออินเดียส่งออกข้าวเยอะ ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกต่ำลง

ดูง่ายๆ ราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศผู้ส่งออกโดยเปรียบเทียบ

ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 3 เดือนล่าสุด (พฤศจิกายน 2567 – มกราคม 2568) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 0.59 ล้านตัน สร้างแรงกดให้ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% รับซื้อ ณ ที่นา ณ สิ้นเดือนมกราคม 2568 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2567 โดยปรับลดลงไปแล้วกว่าตันละ 1,400 บาท หรือลดลงแล้วกว่า 13% เมื่อผลผลิตข้าวนาปรังออกมา ก็เพิ่มภาวะที่ผลผลิตล้นกว่าความต้องการเพิ่มเติม ส่งผลให้ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% ปรับลดลงจนเหลือที่ราคาราว 8,000 – 8,800 บาทต่อตัน

หรือปรับลดลงจากราคา ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 6 แล้ว กว่า 17.0% – 24.5% (หรือลดลง 1,800 – 2,600 บาทต่อตัน)

3. แก้ปัญหาข้าว ไม่ใช่ของเด็กเล่น อย่ามักง่าย

จากความจริงของโครงสร้างการผลิตและตลาดข้าวข้างต้น ทำให้เห็นว่า การที่ราคาข้าวช่วงนี้ตกต่ำ มันมีเหตุปัจจัยอย่างไร?

แล้วถ้าคนไทยช่วยกันกินข้าวเยอะขึ้นเพื่อจะช่วยชาวนา จะต้องกินเยอะขึ้นขนาดไหน จึงจะช่วยชาวนาได้จริงๆ

คนไทยสามารถกินข้าวได้ถึง 10 ล้านตันข้าวสารหรือไม่?

แต่จริงๆ สมมุติ ถ้าคนไทยกินข้าวเยอะขึ้นขนาดนั้น ราคาข้าวในประเทศก็จะสูงขึ้น และหากแพงกว่าราคาในตลาดโลก ข้าวในตลาดโลกราคาถูกกว่าก็จะไหลเข้ามาขายในประเทศไทยเราเอง

อย่าลืมว่า เราไม่ใช่ผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก เพียงแต่เราส่งออกเยอะกว่าผู้ผลิตรายใหญ่รายอื่นๆ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองปี 2568 เป็นปีที่ชาวนาไทยเผชิญแรงกดดันอย่างหนักหน่วงอีกครั้ง จากภาวะที่ราคารับซื้อข้าวปรับลดลง จากแรงกดดันของผลผลิตข้าวในปี 2567 ที่ผ่านมาสูงขึ้นถึง 34 ล้านตันข้าวเปลือก (เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ราว 2 ล้านตันข้าวเปลือก) รวมถึงแรงกดดันจากการที่อินเดียเริ่มกลับมาส่งออก

ttb analytics ประเมินต้นทุนการเพาะปลูกในปี 2567 พบว่า ต้นทุนข้าวเปลือกตกอยู่ที่ราว 7,800 – 8,900 บาทต่อตัน (ในกรณีที่เกษตรกรมีต้นทุนค่าเช่านาและเครื่องจักรกลทางการเกษตร) บนสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% ที่ 8,000 – 8,800 บาทต่อตัน และคาดว่าเมื่อข้าวนาปรังออกมาเต็มที่ สถานการณ์อาจรุนแรงมากกว่านี้

ส่งผลให้ชาวนาไทยในปี 2568 มีแนวโน้มเผชิญภาวะขาดทุนที่สูง

ttb analytics มองว่า มาตรการที่รัฐออกมา 3 มาตรการ เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

ได้แก่ 1. โครงการชะลอและเก็บข้าว เพื่อช่วยลดปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ราคาข้าวเปลือกทรงตัวได้ดีขึ้น 2. โครงการชดเชยดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบการที่เก็บสต๊อก โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือดอกเบี้ยในอัตรา 6% แก่ผู้ประกอบการที่เก็บสต๊อก
ข้าวในช่วง 2-6 เดือน และ 3. โครงการเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐจะสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตในราคาที่เหมาะสม

เห็นว่า เป็นเพียงการชะลอราคาไม่ให้ลดลงอย่างรวดเร็วจากภาวะผลผลิตที่เกินความต้องการ

ปัญหาเหล่านี้ ก็ยังคงจะต้องเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีผลผลิตข้าวสูง ซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทางภาครัฐควรหามาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการร่วมกันแก้ปัญหาตั้งแต่ภาครัฐไปถึงชาวนา

พรุ่งนี้ มาติดตามต่อว่า ttb analytics นำเสนอทางแก้ปัญหาอย่างไร?

และทางรอดที่ยั่งยืนของข้าวและชาวนาไทย คืออะไร?

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:35 น. ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ
11:32 น. ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112
11:29 น. จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋
11:23 น. รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ
11:22 น. ร่ำรวย หรูหรา! 'ฮุน เซน' โชว์ภาพนั่งเครื่องบินส่วนตัว ชาวเน็ตถกสนั่น
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ

‘ภูมิธรรม’นำ 2 รมช.มหาดไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช หลังเข้ารับตำแหน่ง

'ญี่ปุ่น'ระส่ำ!! 'ภูเขาไฟชินโมเอะดาเกะ'พ่นเถ้าถ่านสูง5,000เมตร หวั่นปะทุแมกมาออกมา

  • Breaking News
  • ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ
  • ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก \'ตี้ วรรณวลี\' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112 ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112
  • จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋ จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋
  • รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ
  • ร่ำรวย หรูหรา! \'ฮุน เซน\' โชว์ภาพนั่งเครื่องบินส่วนตัว ชาวเน็ตถกสนั่น ร่ำรวย หรูหรา! 'ฮุน เซน' โชว์ภาพนั่งเครื่องบินส่วนตัว ชาวเน็ตถกสนั่น
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

4 ก.ค. 2568

เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน

เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน

3 ก.ค. 2568

อุ๊งอิ๊งค์ 2  ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน

อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน

2 ก.ค. 2568

ถ้าไม่มีนายกฯอุ๊งอิ๊งค์  ประเทศไทยดีกว่านี้

ถ้าไม่มีนายกฯอุ๊งอิ๊งค์ ประเทศไทยดีกว่านี้

1 ก.ค. 2568

ชูวิทย์ กลับมาเพื่อใคร? ฮุนเซน(และทักษิณ) ต้องการอะไร ที่ประเทศไทยให้ไม่ได้?

ชูวิทย์ กลับมาเพื่อใคร? ฮุนเซน(และทักษิณ) ต้องการอะไร ที่ประเทศไทยให้ไม่ได้?

30 มิ.ย. 2568

ถ้าอุ๊งอิ๊งค์ไม่อยู่  ประเทศชาติก็ไม่เสียหาย

ถ้าอุ๊งอิ๊งค์ไม่อยู่ ประเทศชาติก็ไม่เสียหาย

27 มิ.ย. 2568

ดันก.ม.นิรโทษกรรมแบบใด?

ดันก.ม.นิรโทษกรรมแบบใด?

26 มิ.ย. 2568

ยังพูดความจริงไม่หมด

ยังพูดความจริงไม่หมด

25 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved