บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เคจีไอ(ประเทศไทย)วิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารคาดว่ากำไรสุทธิ 1Q68F จะเพิ่มขึ้น 14% QoQ และ 6% YoYปัจจัยการเติบโต QoQ เป็นผลจากฐานกำไรต่ำในไตรมาส 4/67 เพราะค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ส่วนการเติบโต YoYเป็นผลจากและ NIM (อัตราดอกเบี้ยสุทธิ)ลดลงและค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ(credit cost )ลดโดยเฉพาะ KBANK, KTB และ SCB แต่ เราคาดว่ากำไร FVTPL(ตราสารหนี้) ของ BBL จะลดลง เพราะผลขาดทุน MTM (มูลค่าราคาตลาด)จากการลงทุนในหุ้นเราคาดว่า credit cost ของ TTB และ KKP จะลดลงจาก LOS ที่ลดลงเพราะราคารถมือสองเพิ่มขึ้น
นอกจากจะปรับลดดอกเบี้ยลงแล้ว การปรับสัดส่วนสินทรัพย์โดยเพิ่มการปล่อยกู้ในตลาดเงินซึ่งมีความเสี่ยงต่ำยังเป็นปัจจัยที่กดดันให้NIM ลดลงเมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า KTB ปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือ KBANK ขณะที่ BBL เพิ่มขึ้น 5% แต่การปล่อยกู้ในตลาดเงินของ SCB และ TTB ลดลง อย่างไรก็ตามธนาคารทุกแห่งปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ลดลงกลยุทธ์นี้น่าจะช่วยให้ธนาคารมีกำไร FVTPL ซึ่งจะมาช่วยชดเชย NIM ที่ลดลง
การที่สหรัฐเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆทั่วโลกครั้งแรกในปี 2561 ตอนนั้นสหรัฐทยอยประกาศขึ้นภาษี โดยใช้ระยะเวลา 8-9 เดือนจากเดือนมกราคม 2561 ถึงกันยายน2561 ส่งผลให้ GDP ลดลงจาก 4.2% ในปี 2561 เหลือ 2.2% ในปี 2562 โดยที่อัตราการขยายตัวของการส่งออกพลิกจาก 3% ในปี 2561 เป็นหดตัวที่ -6% ในปี 2562 อัตราดอกเบี้ยนโยบายแกว่งตัวจาก1.5% เหลือ 1.25% จากปี 2561-2562 ซึ่งช่วงนั้นการดำเนินงานกลุ่มธนาคารไม่ได้แย่มากนักเพราะกำไรสุทธิ(ของธนาคาร 7 แห่ง) เพิ่มขึ้น 6% ในปี 2561 และ พลิกมาเป็นลดลง 0.6% ในปี 2562ขณะที่ NPL เพิ่มขึ้น 3% ในปี 2561 และ 4% ในปี 2562 โดย credit cost ลดลงในปี 2561-2562
ความเสี่ยงจากการตั้งกำแพงภาษีรอบ 2 ของสหรัฐในปี 2568 ขึ้นกับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เราคิดว่าภาวะตลาดปัจจุบันใกล้เคียงกับเมื่อปี 2561 ในแง่ที่ว่ามีการปรับลด NPL ส่วนใหญ่ออกจากงบดุลไปแล้วในปี 2567 ผ่านการตัดหนี้สูญ และขายออกไปให้ AMC ซึ่งคล้ายกับปี 2560 ก่อนที่มีมาตรการภาษีของสหรัฐ อีกทั้งปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่ยังมีสำรองส่วนเกิน และมีรายได้สูงกว่าช่วงปี 2561 เราคิดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะรับมือในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ได้ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจะมาจาก NIM ที่ลดลงตามระดับความรุนแรงของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ปัจจัยเสี่ยงจากNPLs เพิ่มขึ้นและตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน
ที่มา..บล.เคจีไอ(ประเทศไทย)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี