วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของชาติ

ดูทั้งหมด

  •  

ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของชาติ คือ คน ถ้าชาติ หน่วยงาน มีคน (ส่วนใหญ่)เป็นคนที่ดี เก่ง รอบรู้ และมีสุขภาพที่ดี ชาตินั้นหน่วยงานนั้น จะเจริญ

ฉะนั้นการพัฒนา การสร้างคน จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากต่อทุกหน่วยงาน ประเทศต้องลงทุนสร้างคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยช่วงนี้ที่เรามีเด็กเกิดใหม่น้อยมาก มีอัตราการเกิดเพียง 1.4 คนต่อครอบครัว ซึ่งยังไม่พอสำหรับการทดแทน ปัจจุบันนี้เด็กที่เกิดใหม่มีน้อยกว่าการเสียชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นข้อเสียอันหนึ่งของประเทศไทย เพราะเราจะขาดเด็ก นักเรียน นักศึกษา ที่จะเข้าโรงเรียน มหาวิทยาลัย เราจะขาดแรงงาน ฯลฯ ประเทศจะขาดรายได้


แต่ข้อดีก็มี ถ้าเราใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส คือ ระหว่างที่เราแก้ปัญหาของการมีเด็กเกิดน้อย เราควรถือโอกาสนี้ลงทุนด้วยการ “สร้าง” เด็กที่เกิดใหม่ให้มีคุณภาพทุกๆ คน ด้วยการมีระบบการศึกษาที่ดี ตั้งแต่ครู โรงเรียน ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะนี้ยังมีเด็กที่เรียนแล้ว แต่ยังอ่านเขียนไม่ได้เป็นจำนวนมาก

ในส่วนตัวของผม ในฐานะที่ผมมีโอกาสเป็นผู้บริหารในระดับต่างๆ เป็นแพทย์ เป็นครูแพทย์ เป็นหัวหน้าหน่วย GI (ระบบทางเดินอาหาร) หัวหน้าภาค รองคณบดี ผู้ช่วย ผอ.รพ. นายกสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ เลขาธิการแพทยสภา และสมาชิกวุฒิสภา ผมได้พยายามสร้างคนให้มากที่สุดด้วยการให้โอกาสเขาทั้งหลาย เข้าถึงความรู้ ที่สำคัญ ที่ทันสมัย ที่ถูกต้อง ตลอดเวลา

แต่ในเวลาเดียวกัน เราต้องสอนลูกศิษย์ ลูกหลาน ให้เป็นคนดีด้วย ถ้าเก่งแต่ไม่ดี จะยิ่งเป็นปัญหาต่อบ้านเมือง สังคม การเป็นคนดีโดยสรุป คือ เห็นแก่ส่วนรวม มีเหตุผล เคารพกติกา กฎหมายของบ้านเมือง ของสังคม ขยัน อดทน มีความกตัญญู ฯลฯ

ในฐานะหัวหน้าหน่วยระบบทางเดินอาหาร จุฬาฯ ผมได้จัดให้มีประชุมวิชาการทุกวันตอนเที่ยง โดยกินอาหารไปด้วย จัดการประชุมที่เดิมไม่มี เช่น case discussion (มีการคุยเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคต่างๆ), journal club (ชมรมวารสารคุยเรื่องบทความต่างๆ ในวารสาร), researchclub (ชมรมวิจัย), x-ray conference (ประชุมทางเอกซเรย์), patho conference (ประชุมทางพยาธิ), GI–ศัลย์ conference (ประชุมร่วม GI กับศัลย์) ฯลฯ รวมทั้งจัดให้แพทย์มีโอกาสไป elective ที่อื่นทั้งในไทยและต่างประเทศ

ตอนที่ผมเป็นประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้จัดให้แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ทั่วประเทศไทย ในการฝึกอบรมและสอบ Board Med ต้องทำ topic review (การทบทวนโรคหนึ่งโรคใด) หรือการวิจัยหนึ่งเรื่อง จึงจะมีสิทธิ์สอบ ซึ่งต่อมาต้องทำวิจัยเท่านั้น ไม่ใช่ topic review ตอนนั้นถ้าผมให้ทำวิจัยอย่างเดียวไม่มีทางที่ท่านคณบดีต่างๆ จะเห็นด้วย เพราะสมัยโน้นแม้แต่อาจารย์เองยังทำวิจัยน้อยมาก หลักการของผมเป็นการล่อเสือออกจากถ้ำ!?

ในช่วงที่ผมเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ที่จุฬาฯ ได้จัดให้ Fellows ทุกอนุสาขา (Fellow คือ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดในทุกอนุสาขา เช่น ระบบทางเดินอาหาร หัวใจ ปอด ฯลฯ) ต้องเรียน MSc (ป.โท) ทางด้านระบาดวิทยาวิจัย ฯลฯ ควบคู่กับการฝึกอบรม และสอบ Board Med ไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างแพทย์ต่างๆ เหล่านี้ให้มีพื้นฐานทางด้านการวิจัย ระบาดวิทยา สถิติ ฯลฯ ซึ่งผมมีความภูมิใจมาก เพราะเท่าที่ทราบ เป็นภาควิชาเดียวในประเทศไทยที่ทำเช่นนี้ ทำให้ Fellow ที่จบภาควิชาอายุรศาสตร์จุฬาฯ มีความรู้พื้นฐานทางด้านการวิจัย แต่สำหรับผม เนื่องจากผมเป็นแพทย์ทาง GI สิ่งที่ผมภูมิใจมากที่สุด เพราะทำยากที่สุดถ้าทำอย่างต่อเนื่อง คือ การส่ง Fellow GI ไป elective ที่ต่างประเทศทุกปี ทุกคน เพราะแพง หาที่ elective ยาก

Board GI ในประเทศไทยมีการเริ่มต้นการฝึกอบรมมาตั้งแต่ปี 2536 เป็นรุ่นแรก ซึ่งมีการสอบในปี 2538 ปัจจุบันนี้มี GI Fellow 30 รุ่นแล้ว ความคิดที่ผมจะส่ง Fellows ไป elective ที่ต่างประเทศเกิดขึ้นวันหนึ่ง จากที่ผมไปประชุม DDW (Digestive Disease Week) ซึ่งเป็นการประชุมทางด้านระบบทางเดินอาหารประจำปีของอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ผมเห็นป้ายประชาสัมพันธ์ให้หมอที่กำลังฝึกอบรม Board GI ให้ไปเข้าร่วมประชุม Board GI Review เพื่อเตรียมตัวสำหรับการสอบ ตอนนั้นรุ่น 1 ซึ่งมี Fellow 2 ท่าน คืออ.ปิยะวัฒน์ คุณหมอสันทัด ไปไม่ทันแล้ว แต่รุ่น 2 ซึ่งมี อ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์คุณหมอสุรัสวดี ยังทัน ผมจึงเกิดความคิดที่จะส่งคุณหมอ Fellow รุ่นที่ 2ของจุฬาฯ และประเทศไทยไปเข้าการประชุม

หลังจากคุณหมอทั้ง 2 ไปประชุมกลับมา การประชุมมี 2 วัน เดินทางไปกลับ รวมแล้วประมาณ 5 วันเท่านั้น ผมมาคิดดูรู้สึกว่าการที่เสียเงินคนละแสนบาท บินไปก่อนวันประชุม 1 วัน นั่งหลับ 1 วันในห้องประชุม(เพราะ jet lag) หรืออาจหลับทั้ง 2 วันของการประชุม!? แล้วบินกลับ ผมเห็นว่าไม่คุ้ม เพราะลูกศิษย์ผมไม่น่าที่สอบตก ผมจึงคิดใหม่ และส่ง Fellows รุ่น 3,4,5 ไป elective ที่อังกฤษ ที่ส่งไปอังกฤษเพราะผมเรียนที่ Leeds มีสายสัมพันธ์จึงส่งไปที่ Leeds ค่าที่พักถูกมากหรือไม่เก็บตังค์เลย(จำไม่ได้) ค่าอาหารก็ถูกเพราะกินในโรงพยาบาล เสียแต่ค่าเครื่องบิน แต่หลังจากส่งไป 3 รุ่น ผมก็เปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะที่อังกฤษระบบของเขาคือ ดูแลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ทุกโรค ไม่ได้ดูเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร แต่ Fellows ผมเรียน สอบ เฉพาะโรคทาง GI ผมจึงส่งไปอเมริกา โดย 2 ปีแรกไป UCLA, California พักที่บ้านคุณหมอโรม จุฑาภาแต่หลังจากนั้นจนถึงก่อน COVID ส่งไปที่ Ann Arbor, Michigan เป็นเวลา 20 กว่าปี

ที่ UCLA และ Ann Arbor มีอาจารย์ GI หน่วยละ 80 คน!! ผมถึงกับบอกศิษย์เสมอว่า ถ้าเพียงแต่เดินผ่านอาจารย์ทั้งหลายและหายใจแรงๆ ก็จะได้ความรู้แล้ว?!

แต่ความรู้ทางด้านวิชาการเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ผมต้องการให้ลูกศิษย์ผมมีความรอบรู้และเป็นคนดีที่เก่ง รอบรู้ มีสุขภาพดี อยากให้รอบรู้ทางด้านวิชาการ ทางด้านสังคม ความรู้ทั่วไป รู้ภาษา เก่งเรื่องมนุษยสัมพันธ์ อยากให้ไปเที่ยวเปิดหูเปิดตา เรียนรู้เกี่ยวกับอเมริกา ผมจึงบอกเพื่อนProfessor ที่ Ann Arbor ว่า ช่วงวันจันทร์-ศุกร์ สอน ใช้ ลูกศิษย์ผมให้เต็มที่แต่เสาร์-อาทิตย์อย่ายุ่งกับเขา ให้เขาไปเที่ยวหาความรอบรู้ต่างๆเพื่อเป็นหมอ เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่เหนือสิ่งอื่นใดต้องเป็นคนดีถ้าไม่ดีไม่ต้องมายุ่งกับผม

ผมมีปรัชญาว่า ลูกต้องเก่งกว่าพ่อ ลูกศิษย์ต้องเก่งกว่าอาจารย์โลกจึงจะเจริญได้

แต่การส่งลูกศิษย์ไป elective เหนื่อยมาก แพงมาก ปีหนึ่ง 5 คน ใช้เงินเป็นล้านบาท ถ้าเริ่มสมัยนี้คงทำไม่สำเร็จ หรือได้ไม่นาน ไม่รู้ว่าลูกศิษย์รู้หรือเปล่าว่าอาจารย์ทั้งหลายที่ช่วยเขา ทำอะไรไปบ้าง ลำบากแค่ไหนต้องลงทุนในเรื่องต่างๆ แค่ไหน

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:09 น. เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น
14:49 น. เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
14:44 น. รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง
14:41 น. โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ
14:33 น. สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

พันธมิตรหรือเพื่อนบ้านก็ไม่สน! ‘ทรัมป์’จัดหนักขู่เก็บภาษีสินค้า‘อียู-เม็กซิโก’30%

‘สวนดุสิตโพล’กว่า50%ไม่เชื่อมั่นครม.ใหม่ จี้เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ มองรบ.ไม่น่าแก้ภาษีทรัมป์ได้

บุฟเฟต์ทุเรียนเบตง 90 นาที 400 บาท กินได้ทุกสายพันธุ์

ปลอบอดีตพระสึกใหม่!! แนะทำมาหากินสุจริต กลับตัวในฐานะคนเคยผิดพลาดได้

  • Breaking News
  • เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง \'สุทิน\'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น
  • เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’ เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’
  • รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง
  • โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ
  • สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ สถานการณ์น้ำนครพนม ไม่ถึงขั้นวิกฤต ประตูระบายยังรองรับได้เยอะ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง

ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง

13 ก.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

6 ก.ค. 2568

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

29 มิ.ย. 2568

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

15 มิ.ย. 2568

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

8 มิ.ย. 2568

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

25 พ.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม

ชีวิตประจำวันของผม

18 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved