วันเสาร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
จะปกครองกันอย่างไร โดยไม่มีรัฐประหาร

ดูทั้งหมด

  •  

จะปกครองกันอย่างไรโดยไม่มีรัฐประหาร? น่าจะเป็นประเด็นคำถามที่มีความสำคัญเท่าๆ กับปัญหาอื่นๆ ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องปากท้อง ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาการจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์

สังคมไทยนี้เป็นสังคมแห่ง “พาราดอกซ์” นั่นคือ ความขัดแย้งในตนเอง ในขณะที่เป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นสังคมแห่งการให้ แต่ก็แก่งแย่งกันจนสิ้นเนื้อประดาตัว เป็นสังคม
ที่เกรงกลัวอำนาจ แต่ก็เป็นสังคมที่ทำผิดกฎหมายเป็นกิจนิสัย


สังคมไทยมีการรัฐประหารบ่อยครั้ง แต่แทบไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ ในขณะที่การเดินขบวน (โดยสันติ) กลับมีการขว้างปาระเบิดใส่กัน

นี่คือสังคมที่เต็มไปด้วยพาราดอกซ์ (Paradox) - หรือความย้อนแย้งของสรรพสิ่ง

ฉะนั้นจึงอาจมีคำถามย้อนแย้งได้เช่นกัน เมื่อการรัฐประหารแต่ละครั้งก็ไม่นำไปสู่การเสียเลือดเนื้อ เราจะวิตกกังวลให้เกินเหตุทำไม หากระบบการปกครองของเรายังจะต้องมีการรัฐประหารสลับฉากกับระบบรัฐสภา

แต่ปัญหาก็คือ สังคมไทยก็เป็นสังคมอุดมการณ์ ที่ยังยึดติดกับ “ประชาธิปไตย” ซึ่งปัจจุบันก็ต่อเติมให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย คือ “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีอุดมการณ์ แต่ผู้ปฏิบัติอาจจะละทิ้งอุดมการณ์ชั่วครั้งชั่วคราวได้เสมอ ฉะนั้น จึงเล่นสลับฉากระหว่างระบบรัฐสภา กับระบบรัฐประหาร สลับฉากระหว่างเสรีภาพกับการมีวินัย แทนที่จะมีเสรีภาพอย่างมีวินัย

อย่างไรก็ตาม ไหนๆ ก็ได้หยิบยกประเด็นหลักที่กดทับสังคมไทยมาชั่วกาลนานแสนนาน นั่นคือ จะปกครองกันอย่างไร (ตามแบบที่คิดว่าเป็นประชาธิปไตย) โดยไม่มีการรัฐประหาร?

ประการแรก คงต้องตั้งเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม กล่าวคือ อะไรที่เคยยึดถือปฏิบัติ และหากปฏิบัติบ่อยๆ ก็กลายเป็นนิสัย เช่น การรัฐประหาร หากเกิดขึ้นครั้งแรกแล้ว ก็มีโอกาสจะเกิดขึ้นต่อๆ ไป เมื่อเผชิญกับปัญหาดังเดิม

ครั้งแรก พ.ศ. 2475 หากผู้มีอุดมการณ์จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ใช้วิธียึดอำนาจโดยกำลังทหาร แต่ใช้วิธีอื่น เช่น โดยการเดินขบวน และหากสำเร็จ การเดินขบวนก็จะเป็นทางเลือกแรกๆ ของกลุ่มบุคคลที่คิดจะเปลี่ยนแปลง ในทำนองเดียวกัน หากสังคมคุ้นเคย หรืออาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่บังเอิญในกลุ่มผู้นำอาจมีบุคคลที่ถนัดการเจรจาต่อรอง และเสนอวิธีการนี้เป็นวิธีแรกเพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้เขียนเชื่อว่า วิธีการเจรจาต่อรองจะเป็นวิธีการที่สังคมนั้นจะเลือกใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง

โดยสรุป ความคิดเป็นบิดาของการกระทำ กระทำบ่อยๆ ทำให้เกิดอุปนิสัย และอุปนิสัยนำไปสู่คุณลักษณะของผู้คนในสังคมนั้น

ประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะแตกต่างกันในกระบวนการและรายละเอียด แต่ยึดหลักการใหญ่ๆ ที่คล้ายๆ กัน ทั้งนี้เพราะสังคมในโลกตะวันตกมีวิธีคิด วิธีปฏิบัติ สืบทอดมาแต่โบราณคล้ายๆ กัน แต่แตกต่างจากโลกตะวันออก ในโลกตะวันตก ตามคติธรรมทางศาสนา มนุษย์เท่าเทียมกัน เมื่อตายไปแล้วก็จะต้องกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า ส่วนชนชั้นที่แบ่งเป็นขุนนาง สามัญชน และไพร่ เกิดจากระบบศักดินา ซึ่งเป็นระบบถือครองที่ดินเพื่อประโยชน์ในการระดมสรรพกำลังทางทหาร โดยเฉพาะทหารอัศวิน (ทหารม้า) เพื่อการศึกสงคราม กษัตริย์และขุนนางต่างก็จะต้องเคารพศักดิ์ศรีและข้อตกลงซึ่งกันและกัน มีระบบสภาขุนนางเพื่อปรึกษาข้อราชการเกี่ยวกับการเก็บภาษี และออกกฎหมายต่างๆ ฉะนั้น สังคมตะวันตกจึงคุ้นเคยกับระบบรัฐสภามาเป็นเวลาหลายร้อยปี ในขณะเดียวกันในการปกครองระดับหัวเมืองและชนบท ก็เป็นเรื่องที่ขุนนางและชนชั้นอัศวิน ตลอดจนพ่อค้าในเมืองต่างๆ จะต้องจัดการดูแล โดยมีคณะกรรมการ หรือสภาท้องถิ่นเป็นองค์กรระดับนั้น

ฉะนั้นวัฒนธรรมของชาวตะวันตก จึงคุ้นเคยกับการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น คุ้นเคยกับระบบรัฐสภา และภายหลังเมื่อแนวคิด/อุดมการณ์เรื่องประชาธิปไตยไหลบ่ามาจากอารยธรรมโบราณ เช่น กรีก (เอเธนส์) ชาวยุโรปตะวันตกก็ปรับตัว หรือปรับระบบใหม่ให้เข้ากับระบบดั้งเดิมของตนเองอย่างไม่เคอะไม่เขิน

แต่สังคมไทยไม่เคยมีประสบการณ์แบบตะวันตก ไม่เคยมีสภาขุนนางและพระ เพื่อประชุมวินิจฉัยเรื่องภาษีและการบัญญัติกฎหมายต่างๆ เรามีแต่กษัตริย์และขุนนางซึ่งต้องพึ่งพิงกษัตริย์ จะดำรงอิสริยยศต่อไปได้ก็ด้วยพระกรุณาของกษัตริย์เหนือหัว ผู้ทรงเป็นสมมติเทพ อีกทั้งทรัพย์ศฤงคาร เลือกสวน ไร่นาที่ค้ำจุนฐานันดรต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยของล้นเกล้าล้นกระหม่อม

สังคมไทยในสมัยโบราณจึงมิใช่สังคมของอิสระชนโดยแท้จริง แต่เป็นสังคมศักดินาในความหมายของไทย เป็นสังคมแห่งชนชั้น (ฝรั่งก็เป็น แต่คนละแบบ) เป็นสังคมยศศักดิ์- (Status Society) ซึ่งฝรั่งไม่ชัดเจนเหมือนสังคมไทย และเนื่องจากคุณลักษณะดังกล่าว สังคมไทยจึงติดยึดกับ “อำนาจ” และ “ฐานันดร” มากกว่าสังคมตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแม้แต่ระหว่างญาติสนิทมิตรสหายก็จะมีมิติของอำนาจอยู่เสมอ (ว่าใครใหญ่กว่าใคร) ไม่สามารถวางความสัมพันธ์ให้เสมอภาคกันได้อย่างแท้จริง ฉะนั้นเมื่อเกิดสถานการณ์ เช่น ภายหลังการยึดอำนาจของคณะราษฎร พ.ศ. 2475 คณะผู้ยึดอำนาจโดยเฉพาะสี่ทหารเสือ (พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดชพระยาฤทธิอัคเนย์ และพระยาประศาสน์พิทยายุทธ) ก็มีอันต้องแตกแยกกัน โดยมีพันโทหลวงพิบูลสงคราม นายทหารหนุ่มที่จบจากฝรั่งเศส และ “เล่น” เกมการเมืองได้อย่าง “แม็คเคีย เวลลี”ทำให้นายทหารกลุ่มดังกล่าวต้องแตกแยก (2475 เส้นทางคนแพ้โดยบัญชร ชวาลศิลป์) และปูทางไปสู่อำนาจของนายทหารหนุ่มผู้นี้ หลังจากกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476

เหตุการณ์ทางการเมืองในยุคต่อๆ มา ท่านผู้อ่านอาวุโสทั้งหลายก็คงทราบกันดีอยู่ การเมืองของไทยไม่สามารถก้าวหน้าไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยได้ตามความปรารถนา
กลับต้องเผชิญกับยุคมืด ยุครัฐประหาร หลังสงครามโลกครั้งที่สองการปกครองของทหารในยุคจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม จนกระทั่งการเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ของนิสิตนักศึกษา พ.ศ. 2516 ซึ่งเมื่ออุบัติขึ้น ก็สร้างความหวังว่าประชาธิปไตยคงจะได้รับการสถาปนาในสังคมไทยในที่สุด แต่แล้วเหตุการณ์ต่อๆ มา ก็ล้วนแต่สร้างความผิดหวัง เมื่อเกิดการรัฐประหารสลับฉากกับระบบรัฐสภาที่มีผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง

เราจึงต้องถามตัวเราเองว่า สภาพการล้มลุกคลุกคลานทางการเมืองนี้ มีปัจจัยอันใดเป็นต้นเหตุ

หากมองเหตุการณ์อย่างชาวบ้าน ก็อาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆ มาก็ผิดหมด ฉะนั้น อาจจะกล่าวได้หรือไม่ว่า เรากลัดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ที่เคลื่อนกำลังทหารออกจากกรม กอง เพื่อยึดอำนาจวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หากใช้กระบวนการเจรจาต่อรองโดยไม่มีกำลังทหารก็อาจจะเป็นกระบวนการที่ปราศจากความรุนแรง เป็นกระบวนการสันติวิธีที่ยุคสมัยนี้พูดถึงกันอยู่เสมอ

แต่สังคมไทย เคยทำสำเร็จด้วยการเจรจาต่อรองในกรณีใดบ้าง ครั้งที่คณะนายทหารได้จัดเวทีที่ห้องประชุมสโมสรทหารบก เพื่อเจรจาต่อรองกับกลุ่มเดินขบวนและกลุ่มต่อต้าน (ตัวแทนรัฐบาลซึ่งไม่มีอยู่จริงขณะนั้น) เกิดผลสำเร็จแค่ไหน

ประเพณีการถอยคนละก้าว ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น และ “วัฒนธรรม” ของชาวไทยที่มักอะลุ่มอล่วยกันเสมอ ในชีวิตจริงประจำวัน กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องชนะกินรวบในสถานการณ์เผชิญหน้าอยู่เสมอ

วัฒนธรรม “การเมือง” ของชาวไทย เป็นวัฒนธรรมที่เข้าใจยากหรือค่อนข้าง “ประหลาด” ดูตัวอย่างการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ที่ต่อต้านกันและกัน โดยยึดสัญลักษณ์ตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น “ไม่เอานาย ก” “ไม่เอานาย ข” การต่อสู้ทางการเมืองที่ลดระดับจากหลักการสู่ระดับบุคคล มักจะนำไปสู่ความแตกแยก แตกหักอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การเมืองในครรลองของประชาธิปไตยควรจะเปิดช่องให้มีการเจรจาโดยสันติวิธีได้เสมอ เราไม่ควรเป็นศัตรูทางการเมืองเราอาจคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ศัตรูกันเราไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง

ดร.วิชัย ตันศิริ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:34 น. ‘นาวิกโยธิน’ตอบโต้‘กัมพูชา’หนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตย
08:24 น. ‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย
08:15 น. ‘ธนกร’หนุนสภาฯไม่ตัดงบจัดซื้อ‘อาวุธ’กลาโหม ชี้เร่งเพิ่มขีดความสามารถกองทัพไทย
08:09 น. กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ'กองทัพเรือ' เจอ'เขมร'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม
08:06 น. พาณิชย์จับมือส.อ.ท. ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด
ด่วน! ทอ.ส่ง 'F-16' 6 ลำ ทิ้งระเบิดพื้นที่ช่องอานม้าของกัมพูชา
ละลาย! F-16 ทิ้งบอมบ์รอบ 2 ไม่พลาดเป้า 4 เครื่องกลับฐานบินปลอดภัย
เหตุปะทะล่าสุด! เขมรงัดอาวุธหนัก 'อาร์พีจี-ปืนใหญ่กระสุนแตกอากาศ' กระหน่ำยิงไทย
'น้องนนท์' เด็ก Gen Z อัดเขมร ชาวเน็ตชมความคิดดี เก่งกว่า รมต.บางคนอีก
'กัมพูชา'ขอโทษ!เปลี่ยนใช้โลโก้'ซีเกมส์'ไทยเป็นรูปควาย
ดูทั้งหมด
เปิดเวทีฟังความเห็น (ร่าง)บริหารบัตรทองปี’69
บุคคลแนวหน้า : 26 กรกฎาคม 2568
ไม่ใช่พ่อฮุนเซน แต่เป็นขี้ข้าฮุนเซน
Last dinner ฤา Swan song ของพ่อลูก ชินวัตร
ขอมป่าเถื่อน?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย

กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ'กองทัพเรือ' เจอ'เขมร'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม

แม่ซึ้งน้ำใจ! ลูกชาย 'ส.อ.อภิวัฒน์' พ้นขีดอันตรายแล้ว ขอบคุณคนไทยทุกคน

นิวจ๊อบ !นักแสดง 7HD เสิร์ฟความสามารถใหม่ช่อง 7HD คืนกำไรให้แฟน ๆ ต่อยอดผลงาน

ด่วน! กองบัญชาการป้องกันชายแดน ประกาศกฎอัยการศึกในบางพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด

ระวังโดรน! โคราชประกาศห้ามบิน รอบกองบิน 1 รัศมี 9 กม. เข้มงวดไม่มีกำหนด!

  • Breaking News
  • ‘นาวิกโยธิน’ตอบโต้‘กัมพูชา’หนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตย ‘นาวิกโยธิน’ตอบโต้‘กัมพูชา’หนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตย
  • ‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย ‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย
  • ‘ธนกร’หนุนสภาฯไม่ตัดงบจัดซื้อ‘อาวุธ’กลาโหม ชี้เร่งเพิ่มขีดความสามารถกองทัพไทย ‘ธนกร’หนุนสภาฯไม่ตัดงบจัดซื้อ‘อาวุธ’กลาโหม ชี้เร่งเพิ่มขีดความสามารถกองทัพไทย
  • กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ\'กองทัพเรือ\' เจอ\'เขมร\'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ'กองทัพเรือ' เจอ'เขมร'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม
  • พาณิชย์จับมือส.อ.ท. ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ พาณิชย์จับมือส.อ.ท. ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ศาลทหาร

ศาลทหาร

25 ก.ค. 2568

เพียง ‘ส่อ’ ก็ถูกถอดถอนได้แล้ว

เพียง ‘ส่อ’ ก็ถูกถอดถอนได้แล้ว

18 ก.ค. 2568

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved